เปิดใจ "อนุทิน ชาญวีรกูล" กลางกระแสยุบพรรค "ทักษิณ ยังเป็นนาย ของคนในพรรคภูมิใจไทย"
วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 08:06:00 น.
สัมภาษณ์โดย ฟ้ารุ่ง ศรีขาว มติชนทีวี
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่า พรรคภูมิใจไทย อาจถูกยุบพรรค กรณีไม่แจ้งค่าใช้จ่ายค่าเช่าพื้นที่ด่านเก็บเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการยืนแจกเอกสารหาเสียงของพรรค ในการเลือกตั้ง เมื่อปี 2554 โดย คณะอนุกรรมการ ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้เสนอเรื่องไปยัง นายอภิชาต สุคัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะ นายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อพิจารณาว่าเห็นตามคณะอนุกรรมการหรือไม่ และอาจดำเนินการยุบพรรคต่อไป
“มติชนทีวี” สัมภาษณ์ เสี่ยหนู “อนุทิน ชาญวีรกุล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ถึงคดียุบพรรค และ อนาคตของพรรคภูมิใจไทย รวมถึงความสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่คนในพรรคภูมิใจไทยถือว่ายังเป็น “นาย”
@ คดียุบพรรคภูมิใจไทย เกิดจากสาเหตุใด เป็นไปโดยเจตนาหรือไม่
เรื่องเกิดขึ้นก่อนคณะกรรมการชุดปัจจุบันซึ่งมีผมเป็นหัวหน้าเข้ามารับตำแหน่งผมไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมากนักแต่ทราบว่ามีความขัดแย้งของคนภายในพรรคมีการไปร้องเรียนเรื่องค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งเมื่อปี2554ซึ่งอาจจะมีอะไรตกหล่นไปบ้างผมก็ไม่ทราบแต่เท่าที่ทราบตอนนี้มติคณะอนุกรรมการฯ เสนอยุบพรรคภูมิใจไทย ไปยังนายทะเบียนพรรค การเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) หลังจากนั้น อาจจะนำเรื่องเข้า กกต.ชุดใหญ่ แล้วให้ศาลพิพากษา
ผมมองว่า พรรคการเมือง ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของประชาชน พรรคการเมือง ไม่สามารถมีทรัพย์สินได้เลย มันเป็นเหมือนองค์กรที่สมาชิกพรรคทุกคนเป็นเจ้าของ สมาชิกเป็นล้านคน การยุบพรรคทั้งที่บางทีความผิดพลาดอาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ เพราะว่าเวลาเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ หาเสียงสนับสนุนผู้สมัคร มันเยอะมาก แต่ละคนมีรูปแบบแตกต่างกันไป มีเทคนิควิธีแตกต่างกันไป อาจเกิดความผิดพลาดได้ บ้าง
แต่รับรองว่า เงินที่ไม่ได้แจ้ง ไม่ใช่ว่าเราเอาไปซื้อเสียง หรือ กระทำทุจริต แต่เป็นการไปว่าจ้างคนแจกใบปลิวแจกแผ่นพับ ซึ่งค่าจ้างเหล่านี้ ไม่กี่สตางค์ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด ก็คงต้องขอให้ผู้มีอำนาจในการพิจารณาตัดสิน ได้คำนึงถึงผลได้ผลเสีย และเจตนาที่แท้จริงของพรรคด้วยว่ามีเจตนาที่ ตั้งใจปกปิดหรือไม่ เรื่องที่ปกปิดเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ทำให้เสื่อมเสียหรือไม่ เป็นเรื่องทุจริตหรือไม่ คงได้แต่วิงวอนตรงนี้ หวังว่าทุกท่านจะพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ อย่างไรก็ดี ผลออกมาก็น้อมรับ การตัดสินโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
@ ไม่ได้ติดใจว่ามีเงื่อนงำ เบื้องหลัง แต่อาจเป็นความประมาทเลินเล่อในการจัดการ
เรื่องที่เกิดขึ้นก็ผ่านมา 2 ปีแล้ว ตอนนั้น ผมไม่มีบทบาทบริหารพรรค และเพิ่งมารับตำแหน่ง ปลายปีที่แล้ว เมื่ออะไรเกิดขึ้น ก็ต้องเผชิญหน้า และแก้ไข ให้เป็นลบน้อยที่สุด กับบรรดาสมาชิกพรรค หากไม่มีพรรคแล้วจะทำอย่างไรต่อไป
ผมก็ไม่สามารถย้อนกลับไปทำอะไรได้นอกจากปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการก็เชื่อมั่นว่าทุกๆฝ่ายก็คงจะให้ความยุติธรรม
@ คุณอนุทิน เป็นนักเรียน โครงการ พตส. ของ กกต.
ใช่ ผมมีโอกาสได้พบกับ กกต. ทุกท่านครับ แต่เราต้องเคารพ บทบาทของแต่ละคน การที่ผมเป็นนักเรียนในหลักสูตรนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเดินไปขอให้ท่าน ไม่ยุบพรรค ไม่เกี่ยว ต้องเคารพในบทบาทหน้าที่
@ เชื่อมั่นในการพิจารณา ของ ท่านประธานกกต. อภิชาต สุคัคคานนท์ แค่ไหน
ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศ ท่านเติบโตมา ผ่านการเป็นผู้พิพากษามา ท่านต้องมีความยุติธรรม ก็ได้แต่เชื่อ ว่าจะเป็นเช่นนั้น
@ ถ้าโชคร้าย พรรคถูกยุบคุณพ่อ(ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) จะวางมือ เลิกทำงานการเมืองหรือไม่
โดยทางกฎหมายถ้าพรรคถูกยุบแล้วมีความผิดเช่นนี้กรรมการบริหารที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดก็ถูกตัดสิทธิการเลือกตั้ง5ปีซึ่งก็คงรวมไปถึงอดีตหัวหน้าพรรคผมคิดว่าตัวท่านอายุอานาม ปีนี้ก็ 77 แล้ว ถ้าถูกยุบพรรค กว่าจะพ้นออกมา ตอนนั้น ก็อายุ 82
เอาไว้ดูก่อนตอนนั้น ถ้าท่านยังไหวอยู่ก็จะไปยุให้ท่านเล่นการเมืองต่อ ดูท่านบรรหาร (ศิลปอาชา) ท่านพลเอกชวลิต(ยงใจยุทธ) อีกหลายๆ ท่าน ก็ยังมีบทบาททางการเมือง ทั้งที่อายุท่านเกิน 80 ผมว่า ถ้าเจตนารมณ์ คนตั้งใจจะทำประโยชน์ให้บ้านเมือง เรื่องอายุเป็นเพียงตัวเลข แต่อยู่ที่กำลังวังชา ยังไหวอยู่หรือเปล่า สมองยังคิดอะไรเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้หรือเปล่า ยังไม่มีข้อผูกมัดอะไรว่าต้องเลิกเล่นการเมือง ทุกอย่างยังเป็นไปตามกติกา
@คุณอนุทิน มองว่า หลังคดียุบพรรค จะต้องตัดสินใจบนความเป็นไปได้ กี่ทางเลือก
ส่วนตัวผมเอง ถ้าพรรคถูกยุบไป ถ้าเกิดโชคไม่ดีขนาดนั้น ผมก็ยังมีลูกพรรค มีบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ยังไม่ได้หมดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ว่า หากมีการยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้น บรรดาผู้แทนราษฎรที่ ดำรงตำแหน่งอยู่ ก็ต้องไปหาพรรคสังกัด
ทางเลือกก็มี อยู่แค่ 2 ทางเลือกคือ หาพรรคใหม่สังกัด ซึ่งก็ยังไม่ทราบว่าพรรคไหน หรืออีกทางเลือกคือ ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ แล้วดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป
ถ้าถามผมในทางส่วนตัว ผมก็ ต้องเลือกวิธีที่ 2 ในความเป็นหัวหน้าพรรค บรรดากรรมการบริหารพรรคชุดนี้ อย่างน้อยท่านประธานที่ปรึกษาพรรค ท่านสรอรรถ กลิ่นปทุม ตัวผมเอง รวมถึง คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค ก็คงไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์จากคดีนี้ คนที่จะถูกตัดสิทธิ์ก็มีรองหัวหน้าพรรค ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคในชุดที่แล้ว 2-3 ท่าน ความเป็นพรรค ก็ยังมีอยู่ ส.ส. ก็ยังมีอยู่จำนวนมากอยู่
ในเรื่องปาร์ตี้ลิสต์ ที่จะเกี่ยวข้องก็คงมี 2-3 ท่าน เราก็คงติดตาม สถานการณ์วันต่อวันไป มันคงมีวิธีการแก้ไข เช่น มีการเลื่อนลำดับ แล้วถ้าดูแล้วไม่ไหว ก็อาจจะมีคนลาออก เพื่อให้มีการเลื่อนลำดับเพื่อรักษา จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่เรายังไม่ตัดสินใจว่าจะไปทิศทางใด ก็ยังมีเวลาอยู่
@มีการวิเคราะห์ว่า ถ้าพรรคภูมิใจไทยถูกยุบจริงๆ น่าจะเป็นผลบวก ที่ท่านจะได้ย้ายไปอยู่กับพรรคเพื่อไทย
นั่นเป็นการวิเคราะห์ โดยที่คนวิเคราะห์ไม่ได้มาถาม หรือทราบถึงจิตใจของบรรดาสมาชิกพรรคภูมิใจไทย แน่นอนละ ในตัวผมเองส่วนตัว ผมไม่ค่อยกังวลกับปัญหา เพราะ ชีวิตเราเกิดมาต้องมีปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ว่า เราจะเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาอย่างไร ถ้าเรามองว่าปัญหาเป็นโอกาสที่ทำให้เราเติบโต ทำให้เราสามารถ หลุดพ้นจากวังวนเก่าๆ กฎระเบียบ กฎเกณฑ์เก่าๆ วัฒนธรรมเก่าๆ ประเพณีเก่าๆ ให้มันเกิดปัญหาขึ้นบ้างก็ดี เราจะได้สังคายนาระบบ ให้มันเป็นระบบของเราที่เหมาะสม สามารถผสมผสานกับสไตล์ของเราได้ ผมก็ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาอะไร ทุกอย่างในปัญหาก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมก็มองว่ามันมีผลดี ไม่มีดีไปหมดทุกอย่าง และไม่มีเสียไปหมดทุกอย่าง
ประสบการณ์ของแต่ละท่านในพรรคภูมิใจไทย เราก็ต่างเคยประสบปัญหาเหล่านี้มาแล้ว การยุบพรรคการเมืองครั้งแรก ก็คือตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ซึ่งสมัยก่อนผมก็เป็น 1 ใน บ้านเลขที่ 111 รับทราบถึงความรู้สึก ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับเอาไว้ พอมาพรรคพลังประชาชนก็ถูกยุบอีก คราวนี้ถ้า(พรรคภูมิใจไทย) ถูกยุบอีกก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่เราจะต้องมานั่งแก้ไขปัญหา
พรรคไทยรักไทยถูกยุบไป ก็มาเป็นพรรคพลังประชาชน ใหญ่ขึ้น พรรคพลังประชาชน ถูกยุบไป ก็มาเป็นพรรคเพื่อไทย ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก มี ส.ส. พรรคเดียวเกินกึ่งหนึ่งของสภา มันอยู่ที่ความศรัทธาของประชาชน อยู่ที่ความตั้งใจ ความขยันขันแข็ง เอาใจใส่ต่อประชาชน ต่อเขตเลือกตั้ง ต่อบ้านเมือง ของ ส.ส. แต่ละคน อยู่ที่นโยบายของพรรค
ซึ่งในพรรคภูมิใจไทย มีแกนนำ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ต่างก็มีประสบการณ์ ที่สูงมาก เรื่องความเข้าใจ ความเป็นอยู่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาค ก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร
@ เชื่อมั่นในการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ให้มีความเป็นสถาบันทางการเมือง มากกว่าจะกลับไปอยู่พรรคเดิม ที่ตอนนี้ชื่อพรรคเพื่อไทย
ถ้าเลือกได้ ก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่า เรามีเรือของเราเองอยู่ อาจจะไม่ใช่เรือลำใหญ่นัก แต่เป็นเรือที่ปลอดภัย มีความสุข ไม่ต้องแก่งแย่งกันเป็นกัปตัน ต่างคนต่างรู้หน้าที่ตัวเอง ทำหน้าที่ให้เต็มที่ มีภารกิจเดียวคือ ทำงานรับใช้คนที่เลือกเราเข้ามา รับใช้ชาติบ้านเมือง เรามี ส.ส. อยู่ 30 กว่าคน เราสามารถเสนอกฎหมายได้ เราสามารถที่จะเป็นส่วนที่จะสนับสนุน หรือคัดค้าน ในนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลได้ เราสามารถแสดงความรู้สึก แสดงเจตนารมณ์ แสดงอุดมการณ์ แทนพี่น้องประชาชนได้ ผมก็คิดว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปอาศัยบ้านใครเขาอยู่
ถ้าหลังจากยุบพรรคแล้ว ส.ส. ทุกคนยังมีความเชื่อมั่นว่า การอยู่ร่วมกันเป็นเอกเทศของเรา เป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งผมตัดสินใจคนเดียวไม่ได้ เพราะการที่จะไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ต้องได้รับความเห็นชอบ ความยินยอมจาก ผู้แทนราษฎรด้วย
เมื่อยุบพรรคการเมือง แล้ว ข้อผูกมัดต่างๆ ทางนิตินัยมันหมดไป ทุกคนมีอิสระในการอยู่ที่ไหนก็ได้ สำหรับผม มองเป็นสิ่งที่ดี เพราะในขณะที่เกิดวิกฤต ใครอยู่กับเรา ใครไม่อยู่กับเรา มันก็จะเป็นการสร้างเสริม ประสบการณ์ใหม่ๆ และ ทราบถึงสถานะของเรา ก็จะมีประโยชน์ในการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางทางการเมืองในภายภาคหน้า
@ การที่เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย น่าจะเป็นเหตุผล ที่สามารถกลับไปพรรคเดิมได้หรือเปล่า
คงไม่ใช่เหตุผลนั้นและอย่างที่เรียนส่วนตัวคงไม่ได้เลือกทางนั้นเพราะเราก็แยกตัวออกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสามารถทำงานทางการเมืองประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว
การกลับไปอยู่ที่เดิมก็อาจจะไปทำความอึดอัดให้กับเพื่อนๆของเราที่อยู่ในพรรคไม่ใช่เฉพาะพรรคเพื่อไทยพรรคเดียว เรามีพรรคมีพวกอยู่ทุกพรรค มันเป็นพวกเดียวกันหมด เพียงแต่อยู่กันคนละพรรค ฉะนั้น เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ด้วยการพูดคุยกัน ไม่จำเป็น ต้องมาอยู่บ้านเดียวกัน ไม่ต้องไปสร้างความอึดอัดให้ใครเพิ่มเติม ทั้งกับตัวเอง กับพรรคพวกของเรา ที่อยู่ในนั้น ผมคิดว่า ก็คงเลือกที่จะ ถ้าเกิดบ้านเก่าถูกยุบไป พื้นฐานทุกอย่างยังดีอยู่ เฟอร์นิเจอร์ ยังใหม่อยู่ ห้องครัวยังไม่มีกลิ่น ยังสามารถที่จะ สร้างบ้านหลังใหม่ และอยู่กันอย่างมีความสุขต่อไปได้ มั่นใจอย่างนั้น
@ความสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างไร
ท่านนายกฯ ทักษิณ ท่านก็ คือ ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน ก็เป็นเจ้านายของ คนที่อยู่ในพรรคภูมิใจไทยแทบทุกคน เพราะ พวกเราทุกคนเคยสังกัดพรรคไทยรักไทยมาก่อน เคยเป็น สมาชิกพรรคของท่าน เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยพรรคไทยรักไทยมีเสียงข้างมาก เคยเป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของท่าน ฉะนั้น ความเป็นอดีตผู้บังคับบัญชา อย่าง ผม อย่าง คุณเนวิน(ชิดชอบ) คุณสรอรรถ เรามีความ สำนึกครับว่า once ที่เราเรียกใครว่า “นาย” แล้ว เขาก็คือ ลูกพี่ของเรา
ส่วนความแตกต่างในความคิด อุดมการณ์แนวทางทางการเมือง มันเห็นแยกกันได้ เพราะวันนี้ เราไม่ได้ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร เราก็มีความคิดของเราเอง แต่ในเรื่องความเคารพนับถือ เราก็ยังมีเหมือนเดิม ก็ไม่ได้มีอะไรที่ลดน้อยถอยลงไป แล้วก็ไม่ได้เป็นศัตรูกัน
สิ่งใดที่เราเกื้อหนุนให้เกิดประโยชน์ ทำให้ท่านสามารถผลักดัน สามารถทำอะไรได้ที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เราก็พร้อมสนับสนุน
เปิดใจ "อนุทิน ชาญวีรกูล" กลางกระแสยุบพรรค "ทักษิณ ยังเป็นนาย ของคนในพรรคภูมิใจไทย"
วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 08:06:00 น.
สัมภาษณ์โดย ฟ้ารุ่ง ศรีขาว มติชนทีวี
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่า พรรคภูมิใจไทย อาจถูกยุบพรรค กรณีไม่แจ้งค่าใช้จ่ายค่าเช่าพื้นที่ด่านเก็บเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการยืนแจกเอกสารหาเสียงของพรรค ในการเลือกตั้ง เมื่อปี 2554 โดย คณะอนุกรรมการ ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้เสนอเรื่องไปยัง นายอภิชาต สุคัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะ นายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อพิจารณาว่าเห็นตามคณะอนุกรรมการหรือไม่ และอาจดำเนินการยุบพรรคต่อไป
“มติชนทีวี” สัมภาษณ์ เสี่ยหนู “อนุทิน ชาญวีรกุล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ถึงคดียุบพรรค และ อนาคตของพรรคภูมิใจไทย รวมถึงความสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่คนในพรรคภูมิใจไทยถือว่ายังเป็น “นาย”
@ คดียุบพรรคภูมิใจไทย เกิดจากสาเหตุใด เป็นไปโดยเจตนาหรือไม่
เรื่องเกิดขึ้นก่อนคณะกรรมการชุดปัจจุบันซึ่งมีผมเป็นหัวหน้าเข้ามารับตำแหน่งผมไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมากนักแต่ทราบว่ามีความขัดแย้งของคนภายในพรรคมีการไปร้องเรียนเรื่องค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งเมื่อปี2554ซึ่งอาจจะมีอะไรตกหล่นไปบ้างผมก็ไม่ทราบแต่เท่าที่ทราบตอนนี้มติคณะอนุกรรมการฯ เสนอยุบพรรคภูมิใจไทย ไปยังนายทะเบียนพรรค การเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) หลังจากนั้น อาจจะนำเรื่องเข้า กกต.ชุดใหญ่ แล้วให้ศาลพิพากษา
ผมมองว่า พรรคการเมือง ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของประชาชน พรรคการเมือง ไม่สามารถมีทรัพย์สินได้เลย มันเป็นเหมือนองค์กรที่สมาชิกพรรคทุกคนเป็นเจ้าของ สมาชิกเป็นล้านคน การยุบพรรคทั้งที่บางทีความผิดพลาดอาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ เพราะว่าเวลาเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ หาเสียงสนับสนุนผู้สมัคร มันเยอะมาก แต่ละคนมีรูปแบบแตกต่างกันไป มีเทคนิควิธีแตกต่างกันไป อาจเกิดความผิดพลาดได้ บ้าง
แต่รับรองว่า เงินที่ไม่ได้แจ้ง ไม่ใช่ว่าเราเอาไปซื้อเสียง หรือ กระทำทุจริต แต่เป็นการไปว่าจ้างคนแจกใบปลิวแจกแผ่นพับ ซึ่งค่าจ้างเหล่านี้ ไม่กี่สตางค์ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด ก็คงต้องขอให้ผู้มีอำนาจในการพิจารณาตัดสิน ได้คำนึงถึงผลได้ผลเสีย และเจตนาที่แท้จริงของพรรคด้วยว่ามีเจตนาที่ ตั้งใจปกปิดหรือไม่ เรื่องที่ปกปิดเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ทำให้เสื่อมเสียหรือไม่ เป็นเรื่องทุจริตหรือไม่ คงได้แต่วิงวอนตรงนี้ หวังว่าทุกท่านจะพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ อย่างไรก็ดี ผลออกมาก็น้อมรับ การตัดสินโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
@ ไม่ได้ติดใจว่ามีเงื่อนงำ เบื้องหลัง แต่อาจเป็นความประมาทเลินเล่อในการจัดการ
เรื่องที่เกิดขึ้นก็ผ่านมา 2 ปีแล้ว ตอนนั้น ผมไม่มีบทบาทบริหารพรรค และเพิ่งมารับตำแหน่ง ปลายปีที่แล้ว เมื่ออะไรเกิดขึ้น ก็ต้องเผชิญหน้า และแก้ไข ให้เป็นลบน้อยที่สุด กับบรรดาสมาชิกพรรค หากไม่มีพรรคแล้วจะทำอย่างไรต่อไป
ผมก็ไม่สามารถย้อนกลับไปทำอะไรได้นอกจากปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการก็เชื่อมั่นว่าทุกๆฝ่ายก็คงจะให้ความยุติธรรม
@ คุณอนุทิน เป็นนักเรียน โครงการ พตส. ของ กกต.
ใช่ ผมมีโอกาสได้พบกับ กกต. ทุกท่านครับ แต่เราต้องเคารพ บทบาทของแต่ละคน การที่ผมเป็นนักเรียนในหลักสูตรนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเดินไปขอให้ท่าน ไม่ยุบพรรค ไม่เกี่ยว ต้องเคารพในบทบาทหน้าที่
@ เชื่อมั่นในการพิจารณา ของ ท่านประธานกกต. อภิชาต สุคัคคานนท์ แค่ไหน
ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศ ท่านเติบโตมา ผ่านการเป็นผู้พิพากษามา ท่านต้องมีความยุติธรรม ก็ได้แต่เชื่อ ว่าจะเป็นเช่นนั้น
@ ถ้าโชคร้าย พรรคถูกยุบคุณพ่อ(ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) จะวางมือ เลิกทำงานการเมืองหรือไม่
โดยทางกฎหมายถ้าพรรคถูกยุบแล้วมีความผิดเช่นนี้กรรมการบริหารที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดก็ถูกตัดสิทธิการเลือกตั้ง5ปีซึ่งก็คงรวมไปถึงอดีตหัวหน้าพรรคผมคิดว่าตัวท่านอายุอานาม ปีนี้ก็ 77 แล้ว ถ้าถูกยุบพรรค กว่าจะพ้นออกมา ตอนนั้น ก็อายุ 82
เอาไว้ดูก่อนตอนนั้น ถ้าท่านยังไหวอยู่ก็จะไปยุให้ท่านเล่นการเมืองต่อ ดูท่านบรรหาร (ศิลปอาชา) ท่านพลเอกชวลิต(ยงใจยุทธ) อีกหลายๆ ท่าน ก็ยังมีบทบาททางการเมือง ทั้งที่อายุท่านเกิน 80 ผมว่า ถ้าเจตนารมณ์ คนตั้งใจจะทำประโยชน์ให้บ้านเมือง เรื่องอายุเป็นเพียงตัวเลข แต่อยู่ที่กำลังวังชา ยังไหวอยู่หรือเปล่า สมองยังคิดอะไรเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้หรือเปล่า ยังไม่มีข้อผูกมัดอะไรว่าต้องเลิกเล่นการเมือง ทุกอย่างยังเป็นไปตามกติกา
@คุณอนุทิน มองว่า หลังคดียุบพรรค จะต้องตัดสินใจบนความเป็นไปได้ กี่ทางเลือก
ส่วนตัวผมเอง ถ้าพรรคถูกยุบไป ถ้าเกิดโชคไม่ดีขนาดนั้น ผมก็ยังมีลูกพรรค มีบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ยังไม่ได้หมดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ว่า หากมีการยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้น บรรดาผู้แทนราษฎรที่ ดำรงตำแหน่งอยู่ ก็ต้องไปหาพรรคสังกัด
ทางเลือกก็มี อยู่แค่ 2 ทางเลือกคือ หาพรรคใหม่สังกัด ซึ่งก็ยังไม่ทราบว่าพรรคไหน หรืออีกทางเลือกคือ ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ แล้วดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป
ถ้าถามผมในทางส่วนตัว ผมก็ ต้องเลือกวิธีที่ 2 ในความเป็นหัวหน้าพรรค บรรดากรรมการบริหารพรรคชุดนี้ อย่างน้อยท่านประธานที่ปรึกษาพรรค ท่านสรอรรถ กลิ่นปทุม ตัวผมเอง รวมถึง คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค ก็คงไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์จากคดีนี้ คนที่จะถูกตัดสิทธิ์ก็มีรองหัวหน้าพรรค ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคในชุดที่แล้ว 2-3 ท่าน ความเป็นพรรค ก็ยังมีอยู่ ส.ส. ก็ยังมีอยู่จำนวนมากอยู่
ในเรื่องปาร์ตี้ลิสต์ ที่จะเกี่ยวข้องก็คงมี 2-3 ท่าน เราก็คงติดตาม สถานการณ์วันต่อวันไป มันคงมีวิธีการแก้ไข เช่น มีการเลื่อนลำดับ แล้วถ้าดูแล้วไม่ไหว ก็อาจจะมีคนลาออก เพื่อให้มีการเลื่อนลำดับเพื่อรักษา จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่เรายังไม่ตัดสินใจว่าจะไปทิศทางใด ก็ยังมีเวลาอยู่
@มีการวิเคราะห์ว่า ถ้าพรรคภูมิใจไทยถูกยุบจริงๆ น่าจะเป็นผลบวก ที่ท่านจะได้ย้ายไปอยู่กับพรรคเพื่อไทย
นั่นเป็นการวิเคราะห์ โดยที่คนวิเคราะห์ไม่ได้มาถาม หรือทราบถึงจิตใจของบรรดาสมาชิกพรรคภูมิใจไทย แน่นอนละ ในตัวผมเองส่วนตัว ผมไม่ค่อยกังวลกับปัญหา เพราะ ชีวิตเราเกิดมาต้องมีปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ว่า เราจะเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาอย่างไร ถ้าเรามองว่าปัญหาเป็นโอกาสที่ทำให้เราเติบโต ทำให้เราสามารถ หลุดพ้นจากวังวนเก่าๆ กฎระเบียบ กฎเกณฑ์เก่าๆ วัฒนธรรมเก่าๆ ประเพณีเก่าๆ ให้มันเกิดปัญหาขึ้นบ้างก็ดี เราจะได้สังคายนาระบบ ให้มันเป็นระบบของเราที่เหมาะสม สามารถผสมผสานกับสไตล์ของเราได้ ผมก็ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาอะไร ทุกอย่างในปัญหาก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมก็มองว่ามันมีผลดี ไม่มีดีไปหมดทุกอย่าง และไม่มีเสียไปหมดทุกอย่าง
ประสบการณ์ของแต่ละท่านในพรรคภูมิใจไทย เราก็ต่างเคยประสบปัญหาเหล่านี้มาแล้ว การยุบพรรคการเมืองครั้งแรก ก็คือตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ซึ่งสมัยก่อนผมก็เป็น 1 ใน บ้านเลขที่ 111 รับทราบถึงความรู้สึก ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับเอาไว้ พอมาพรรคพลังประชาชนก็ถูกยุบอีก คราวนี้ถ้า(พรรคภูมิใจไทย) ถูกยุบอีกก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่เราจะต้องมานั่งแก้ไขปัญหา
พรรคไทยรักไทยถูกยุบไป ก็มาเป็นพรรคพลังประชาชน ใหญ่ขึ้น พรรคพลังประชาชน ถูกยุบไป ก็มาเป็นพรรคเพื่อไทย ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก มี ส.ส. พรรคเดียวเกินกึ่งหนึ่งของสภา มันอยู่ที่ความศรัทธาของประชาชน อยู่ที่ความตั้งใจ ความขยันขันแข็ง เอาใจใส่ต่อประชาชน ต่อเขตเลือกตั้ง ต่อบ้านเมือง ของ ส.ส. แต่ละคน อยู่ที่นโยบายของพรรค
ซึ่งในพรรคภูมิใจไทย มีแกนนำ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ต่างก็มีประสบการณ์ ที่สูงมาก เรื่องความเข้าใจ ความเป็นอยู่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาค ก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร
@ เชื่อมั่นในการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ให้มีความเป็นสถาบันทางการเมือง มากกว่าจะกลับไปอยู่พรรคเดิม ที่ตอนนี้ชื่อพรรคเพื่อไทย
ถ้าเลือกได้ ก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่า เรามีเรือของเราเองอยู่ อาจจะไม่ใช่เรือลำใหญ่นัก แต่เป็นเรือที่ปลอดภัย มีความสุข ไม่ต้องแก่งแย่งกันเป็นกัปตัน ต่างคนต่างรู้หน้าที่ตัวเอง ทำหน้าที่ให้เต็มที่ มีภารกิจเดียวคือ ทำงานรับใช้คนที่เลือกเราเข้ามา รับใช้ชาติบ้านเมือง เรามี ส.ส. อยู่ 30 กว่าคน เราสามารถเสนอกฎหมายได้ เราสามารถที่จะเป็นส่วนที่จะสนับสนุน หรือคัดค้าน ในนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลได้ เราสามารถแสดงความรู้สึก แสดงเจตนารมณ์ แสดงอุดมการณ์ แทนพี่น้องประชาชนได้ ผมก็คิดว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปอาศัยบ้านใครเขาอยู่
ถ้าหลังจากยุบพรรคแล้ว ส.ส. ทุกคนยังมีความเชื่อมั่นว่า การอยู่ร่วมกันเป็นเอกเทศของเรา เป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งผมตัดสินใจคนเดียวไม่ได้ เพราะการที่จะไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ต้องได้รับความเห็นชอบ ความยินยอมจาก ผู้แทนราษฎรด้วย
เมื่อยุบพรรคการเมือง แล้ว ข้อผูกมัดต่างๆ ทางนิตินัยมันหมดไป ทุกคนมีอิสระในการอยู่ที่ไหนก็ได้ สำหรับผม มองเป็นสิ่งที่ดี เพราะในขณะที่เกิดวิกฤต ใครอยู่กับเรา ใครไม่อยู่กับเรา มันก็จะเป็นการสร้างเสริม ประสบการณ์ใหม่ๆ และ ทราบถึงสถานะของเรา ก็จะมีประโยชน์ในการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางทางการเมืองในภายภาคหน้า
@ การที่เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย น่าจะเป็นเหตุผล ที่สามารถกลับไปพรรคเดิมได้หรือเปล่า
คงไม่ใช่เหตุผลนั้นและอย่างที่เรียนส่วนตัวคงไม่ได้เลือกทางนั้นเพราะเราก็แยกตัวออกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสามารถทำงานทางการเมืองประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว
การกลับไปอยู่ที่เดิมก็อาจจะไปทำความอึดอัดให้กับเพื่อนๆของเราที่อยู่ในพรรคไม่ใช่เฉพาะพรรคเพื่อไทยพรรคเดียว เรามีพรรคมีพวกอยู่ทุกพรรค มันเป็นพวกเดียวกันหมด เพียงแต่อยู่กันคนละพรรค ฉะนั้น เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ด้วยการพูดคุยกัน ไม่จำเป็น ต้องมาอยู่บ้านเดียวกัน ไม่ต้องไปสร้างความอึดอัดให้ใครเพิ่มเติม ทั้งกับตัวเอง กับพรรคพวกของเรา ที่อยู่ในนั้น ผมคิดว่า ก็คงเลือกที่จะ ถ้าเกิดบ้านเก่าถูกยุบไป พื้นฐานทุกอย่างยังดีอยู่ เฟอร์นิเจอร์ ยังใหม่อยู่ ห้องครัวยังไม่มีกลิ่น ยังสามารถที่จะ สร้างบ้านหลังใหม่ และอยู่กันอย่างมีความสุขต่อไปได้ มั่นใจอย่างนั้น
@ความสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างไร
ท่านนายกฯ ทักษิณ ท่านก็ คือ ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน ก็เป็นเจ้านายของ คนที่อยู่ในพรรคภูมิใจไทยแทบทุกคน เพราะ พวกเราทุกคนเคยสังกัดพรรคไทยรักไทยมาก่อน เคยเป็น สมาชิกพรรคของท่าน เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยพรรคไทยรักไทยมีเสียงข้างมาก เคยเป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของท่าน ฉะนั้น ความเป็นอดีตผู้บังคับบัญชา อย่าง ผม อย่าง คุณเนวิน(ชิดชอบ) คุณสรอรรถ เรามีความ สำนึกครับว่า once ที่เราเรียกใครว่า “นาย” แล้ว เขาก็คือ ลูกพี่ของเรา
ส่วนความแตกต่างในความคิด อุดมการณ์แนวทางทางการเมือง มันเห็นแยกกันได้ เพราะวันนี้ เราไม่ได้ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร เราก็มีความคิดของเราเอง แต่ในเรื่องความเคารพนับถือ เราก็ยังมีเหมือนเดิม ก็ไม่ได้มีอะไรที่ลดน้อยถอยลงไป แล้วก็ไม่ได้เป็นศัตรูกัน
สิ่งใดที่เราเกื้อหนุนให้เกิดประโยชน์ ทำให้ท่านสามารถผลักดัน สามารถทำอะไรได้ที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เราก็พร้อมสนับสนุน