ทำไม การชุมนุม ทางการเมือง ต้องใช้ สถาบันการศึกษา กรุณางดเลยนะครับ แสดงว่าท่านไม่รู้จักพื้นฐานสิทธิ หน้าที่

กระทู้คำถาม
สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ เป็นของบุคคล ไม่ใช่สถาบันนะครับ
ผมจบมาจาก วิทยาลัยเทคนิค สถาบัน และมหาวิทยาลัย ที่ถูกแอบอ้างไปใช้ในการชุมนุม
แค่พื้นฐานสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ท่านยังไม่รู้ แล้วไปนำชุมนุม
ลองไปดูรายละเอียดข้างล่างนะครับ จะเห็นว่า สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ เป็นของบุคคล ไม่ใช่สถาบันนะครับ



สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ

สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฏหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น

เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็น สิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมาย บัญญัติไว้ จะไม่ปฏิบัติตามไไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยไว้ดังนี้
1) สิทธิของปวงชนชาวไทย
     1. สิทธิในครอบครัวและความเ้ป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
     2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
     3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
     4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
     5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
     6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
     7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
     8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็ฯสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
     9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
     10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
     11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
     12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น

2) เสรีภาพของปวงชนชาวไทย
     1. เสรีภาพในเคหสถาน ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองในการอาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยปราศจากการยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการเข้าไปตรวจค้นเคหสถานโดยไม่มีหมายค้นจากศาลย่อมทำไม่ได้
      2. เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักรหรือห้ามมิให้บุคคลผู้มี สัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้
     3. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น จะจำกัดแก่บุคคลชาวไทยมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
     4. เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการกระทำต่าง ๆเพื่อเผยแพร่ข้อมูลนั้นจะกระทำมิได้
     5. เสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกาย ลัทธิ ความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตน โดยไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นเสรีภาพของประชาชน
     6. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนที่จะใช้ที่ สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยเมื่อประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
     7. เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหพันธ์ สหองค์กร องค์กรเอกชน หรือหมู่คณะอื่น การจำกัดเสรีภาพต่าง ๆเหล่านี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือป้องกันการผูกขาดในทางเศรษฐกิจ
     8. เสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
     9. เสรีภาพในการประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะทำได้ โดยอาศัยกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของ ประเทศ และเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขีนทางการค้า

3) หน้าที่ของประชาชนชาวไทย
     1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการแกครองระบอบประชาธิปไตบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
     2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
     3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้ง โดยไม่แจ้งเหตุผลอันสมควร ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
     4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร
     5. บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐ
     6. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม ปกป้องและสืบสานวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     7. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความ สะดวกและให้บริการแก่ประชาชน

แนวทางการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
     1. เคารพสิทธิของกันและกัน โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น สิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว เป็นต้น
     2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การรักษาสิทธิในการเลือกตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง
     3. รณรงค์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และปลูกฝังแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่ชุมชนหรือสังคมตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำได้ เช้น ให้ความรู้กับสมาชิกครอบครัว จากนั้นจึงค่อย ๆขยายไปยังสถาบันอื่น ๆ ในสังคม เช่น สถานศึกษา เป็นต้น
     4. ร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานขององค์กรที่ปฏิบัติงานในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
     5. การกฏิบัติตามหน้าที่ของชาวไทยตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเสียภาษีให้รัฐเพื่อนำเงินนั้นมาใช้พัฒนาประเทศ การเข้ารับราชการทหาร เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศ หรือการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้ได้คนดีเข้าไปบริหารบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
     6. ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้โดยการให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสารการทุจริตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งประจำเขต เป็นต้น


เห็นไหมครับว่าว่า สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ เป็นของบุคคล ไม่ใช่สถาบันนะครับ
มันเลยกลายเป็นการละเมิดไป เมืองไทยเลยต้องวุ่นวาย หาทางคลี่คลายไม่ได้ ต้องถูกลากจูงไป
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ผมเข้าใจในสิ่งที่จขกท.พยายามจะสื่อครับ ...

สรุปสั้นๆก็คือ จขกท.หมายถึงว่า  การที่บุคคลใดจะออกไปชุมนุม หรือเรียกร้องอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  ในนามส่วนตัว  ไม่ควรใช้ชื่อของสถาบันการศึกษาที่ตนเรียนอยู่หรือจบมาแล้วก็ตามมาอ้างในการเคลื่อนไหวหรือที่แสดงออกนั้น ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่