เศรษฐกิจทรุด-รัฐบริหารพลาด
เมื่อโครงการที่รัฐบาลอัดเงินเข้าไปในระบบหมดลง เราจึงได้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปี 2556 อยู่ในสภาวะติดลบจากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการติดลบต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส
โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปีนี้โตเพียง 2.8% โดยลดลงจาก 5.4% ในไตรมาสที่ 1 และได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 เหลือเพียง 3.8-4.3%
“สัญญาณนี้ถือว่าเป็นภาวะถดถอย ส่วนไตรมาส 3 จะติดลบอีกหรือไม่นั้น มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะโตน้อยกว่าไตรมาส 2 เพราะเรายังไม่เห็นการอัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐเข้ามาในระบบ” เสียงจากนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำประเมิน
ภาวการณ์ถดถอยของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเวลานี้ มีทั้งปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ปฏิเสธไม่ได้ว่าอยู่ที่นโยบายบริหารประเทศของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลหยุดการอัดเงินเข้าสู่ระบบทุกอย่างก็เริ่มนิ่ง อีกทั้งนโยบายที่ผ่านมาทำได้เพียงกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้น ค่าแรง 300 บาทถูกลดทอนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น และหลายคนต้องถูกเลิกจ้าง จำนำข้าวที่เหมือนจะดูดี ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีขึ้นก็จริง แต่ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นตาม ทั้งค่าเช่านา ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง
เม็ดเงินที่รัฐบาลทุ่มลงไปกว่า 6 แสนล้านบาทในโครงการนี้ ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เพราะเงินเหล่านั้นไปกองอยู่ในรูปของสต๊อกข้าวที่ไม่สามารถระบายออกไปได้ เนื่องจากราคาขายในตลาดโลกต่ำกว่าราคารับจำนำ เงินก้อนนี้หากรัฐนำไปใช้เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจได้มากกว่า
ประกอบกับปัจจัยในต่างประเทศในฐานะผู้ซื้อมีปัญหาเศรษฐกิจภายใน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อนที่พรรคเพื่อไทยจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ทุกคนทราบดีว่าสหรัฐฯ ยุโรปมีปัญหา หรือจีนที่ควบคุมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ทำให้สินค้าหลายตัวไม่สามารถขายไปยังต่างประเทศได้เหมือนเดิม
แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2
เศรษฐกิจทรุด-รัฐบริหารพลาด แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ดิ่งวูบ จนน่าใจหาย
เมื่อโครงการที่รัฐบาลอัดเงินเข้าไปในระบบหมดลง เราจึงได้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปี 2556 อยู่ในสภาวะติดลบจากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการติดลบต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปีนี้โตเพียง 2.8% โดยลดลงจาก 5.4% ในไตรมาสที่ 1 และได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 เหลือเพียง 3.8-4.3%
“สัญญาณนี้ถือว่าเป็นภาวะถดถอย ส่วนไตรมาส 3 จะติดลบอีกหรือไม่นั้น มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะโตน้อยกว่าไตรมาส 2 เพราะเรายังไม่เห็นการอัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐเข้ามาในระบบ” เสียงจากนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำประเมิน
ภาวการณ์ถดถอยของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเวลานี้ มีทั้งปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ปฏิเสธไม่ได้ว่าอยู่ที่นโยบายบริหารประเทศของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลหยุดการอัดเงินเข้าสู่ระบบทุกอย่างก็เริ่มนิ่ง อีกทั้งนโยบายที่ผ่านมาทำได้เพียงกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้น ค่าแรง 300 บาทถูกลดทอนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น และหลายคนต้องถูกเลิกจ้าง จำนำข้าวที่เหมือนจะดูดี ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีขึ้นก็จริง แต่ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นตาม ทั้งค่าเช่านา ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง
เม็ดเงินที่รัฐบาลทุ่มลงไปกว่า 6 แสนล้านบาทในโครงการนี้ ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เพราะเงินเหล่านั้นไปกองอยู่ในรูปของสต๊อกข้าวที่ไม่สามารถระบายออกไปได้ เนื่องจากราคาขายในตลาดโลกต่ำกว่าราคารับจำนำ เงินก้อนนี้หากรัฐนำไปใช้เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจได้มากกว่า
ประกอบกับปัจจัยในต่างประเทศในฐานะผู้ซื้อมีปัญหาเศรษฐกิจภายใน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อนที่พรรคเพื่อไทยจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ทุกคนทราบดีว่าสหรัฐฯ ยุโรปมีปัญหา หรือจีนที่ควบคุมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ทำให้สินค้าหลายตัวไม่สามารถขายไปยังต่างประเทศได้เหมือนเดิม
แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2