หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.8% ส่งผลครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 4.1% และปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2556 เหลือ 3.8-4.3%
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานว่า อาจเพราะรัฐบาลอธิบายการทำงานไม่เก่ง ส่วนตัวยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะเมื่อเทียบเศรษฐกิจกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2555 พบว่าเศรษฐกิจยังเป็นบวก
ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เทียบเคียงเศรษฐกิจที่ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกันว่าเป็นภาวะถดถอยนั้น สมัยที่นายกรณ์ เป็น รัฐมนตรีเศรษฐกิจก็ติดลบติดต่อกัน 3 ไตรมาสเช่นกัน ดังนั้น จึงขอติติงผู้ที่เคยบริหารเศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นผู้ที่เคยเข้าใจเศรษฐกิจของประเทศว่า บางครั้งพูดอะไรก็คิดสักหน่อยก็ดี
“ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 เงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 1 และแข็งค่าสูงสุดในเดือนเมษายน ที่ 28 บาทเศษ จึงกระทบการส่งออก และยังเกิดปัญหาการส่งก๊าซธรรมชาติหยุดซ่อม 10 วัน โรงงานจึงชะลอการผลิต ประกอบกับในเดือนเมษายนก็มีวันหยุดเยอะ การนำข้อมูลไตรมาส 2 ไปเทียบไตรมาส 1 จึงอาจไม่ยุติธรรมมากนัก การใช้ไตรมาสเทียบไตรมาสจึงเป็นเพียงข้อมูลประกอบไม่ใช้เป็นหลักการเปรียบเทียบที่สำคัญ ข้อมูลที่ดีมีสาระสำคัญคือ การนำข้อมูลเทียบเวลาในช่วงเดียวกันของปี 2555 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบข้อมูลครึ่งปีแรกแบบปีต่อปี จะพบว่าในปี 2556 เศรษฐกิจยังเป็นบวก มากกว่านำตัวเลขปี 2555 ไปเทียบกับปี 2554 เสียอีก ดังนั้น เศรษฐกิจก็ยังโตได้” นายกิตติรัตน์กล่าว
นายกิตติรัตน์กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในการประชุม ครม.เศรษฐกิจครั้งนี้คือ รัฐบาลทบทวนสิ่งที่เตรียมการปฏิบัติเพื่อเศรษฐกิจมหภาค เช่น การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ต้องมุ่งมั่นดำเนินการต่อไป ขณะที่การลงทุนโครงการบริหารจัดการน้ำ ไม่มีเหตุผลที่ต้องชะลอไปมากกว่านี้เพราะการทำประชาพิจารณ์ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางสามารถทำได้ในระยะเวลาอันสมควร ส่วนโครงการ 2 ล้านล้านบาท ก็นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรตามขั้นตอน หากมีใครจะดำเนินการตามขั้นตอนอื่น เช่น ยื่นต่อศาลปกครอง ก็ดำเนินการคู่ขนานไป และครึ่งปีหลังต้องทำงานให้มากขึ้น
ขณะที่การใช้งบประมาณรายจ่ายปี 2556 แม้จะได้ผลที่ไม่น่าพอใจนัก แต่ก็ดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ต้องทำให้ดีขึ้นไปอีก โดยในไตรมาสแรกของงบประมาณปี 2557 หรือไตรมาสสุดท้ายของปีปฏิทิน 2556 การใช้จ่ายภาครัฐจะเห็นผลได้ภายในปี 2556 แต่หากไม่เป็นไปตามเป้า ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจปี 2556 จะแย่ เพราะงบประมาณจะไปตกในปี 2557 ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างโครงการใดๆ ที่เป็นภาระของประเทศที่ทำให้เศรษฐกิจดูดีในระยะสั้นๆ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377169205&grpid=00&catid=&subcatid=
"กิตติรัตน์"ย้อน"กรณ์"สมัยเป็น รมต.ติดลบ 3 ไตรมาส ไม่เชื่อการเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานว่า อาจเพราะรัฐบาลอธิบายการทำงานไม่เก่ง ส่วนตัวยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะเมื่อเทียบเศรษฐกิจกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2555 พบว่าเศรษฐกิจยังเป็นบวก
ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เทียบเคียงเศรษฐกิจที่ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกันว่าเป็นภาวะถดถอยนั้น สมัยที่นายกรณ์ เป็น รัฐมนตรีเศรษฐกิจก็ติดลบติดต่อกัน 3 ไตรมาสเช่นกัน ดังนั้น จึงขอติติงผู้ที่เคยบริหารเศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นผู้ที่เคยเข้าใจเศรษฐกิจของประเทศว่า บางครั้งพูดอะไรก็คิดสักหน่อยก็ดี
“ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 เงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 1 และแข็งค่าสูงสุดในเดือนเมษายน ที่ 28 บาทเศษ จึงกระทบการส่งออก และยังเกิดปัญหาการส่งก๊าซธรรมชาติหยุดซ่อม 10 วัน โรงงานจึงชะลอการผลิต ประกอบกับในเดือนเมษายนก็มีวันหยุดเยอะ การนำข้อมูลไตรมาส 2 ไปเทียบไตรมาส 1 จึงอาจไม่ยุติธรรมมากนัก การใช้ไตรมาสเทียบไตรมาสจึงเป็นเพียงข้อมูลประกอบไม่ใช้เป็นหลักการเปรียบเทียบที่สำคัญ ข้อมูลที่ดีมีสาระสำคัญคือ การนำข้อมูลเทียบเวลาในช่วงเดียวกันของปี 2555 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบข้อมูลครึ่งปีแรกแบบปีต่อปี จะพบว่าในปี 2556 เศรษฐกิจยังเป็นบวก มากกว่านำตัวเลขปี 2555 ไปเทียบกับปี 2554 เสียอีก ดังนั้น เศรษฐกิจก็ยังโตได้” นายกิตติรัตน์กล่าว
นายกิตติรัตน์กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในการประชุม ครม.เศรษฐกิจครั้งนี้คือ รัฐบาลทบทวนสิ่งที่เตรียมการปฏิบัติเพื่อเศรษฐกิจมหภาค เช่น การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ต้องมุ่งมั่นดำเนินการต่อไป ขณะที่การลงทุนโครงการบริหารจัดการน้ำ ไม่มีเหตุผลที่ต้องชะลอไปมากกว่านี้เพราะการทำประชาพิจารณ์ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางสามารถทำได้ในระยะเวลาอันสมควร ส่วนโครงการ 2 ล้านล้านบาท ก็นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรตามขั้นตอน หากมีใครจะดำเนินการตามขั้นตอนอื่น เช่น ยื่นต่อศาลปกครอง ก็ดำเนินการคู่ขนานไป และครึ่งปีหลังต้องทำงานให้มากขึ้น
ขณะที่การใช้งบประมาณรายจ่ายปี 2556 แม้จะได้ผลที่ไม่น่าพอใจนัก แต่ก็ดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ต้องทำให้ดีขึ้นไปอีก โดยในไตรมาสแรกของงบประมาณปี 2557 หรือไตรมาสสุดท้ายของปีปฏิทิน 2556 การใช้จ่ายภาครัฐจะเห็นผลได้ภายในปี 2556 แต่หากไม่เป็นไปตามเป้า ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจปี 2556 จะแย่ เพราะงบประมาณจะไปตกในปี 2557 ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างโครงการใดๆ ที่เป็นภาระของประเทศที่ทำให้เศรษฐกิจดูดีในระยะสั้นๆ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377169205&grpid=00&catid=&subcatid=