ญี่ปุ่น ถดถอย แต่ตลาดหลักทรัพย์นิวไฮ อยากให้ไทยถดถอยมั่ง
เป็นไปตามที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ไว้ว่าในสิ้นปี 2023 เศรษฐกิจเยอรมนีแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป็นเบอร์ 3 ของโลก โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีอยู่ที่ 4.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 4.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้เยอรมนีเพราะค่าเงินเยนอ่อน และจีดีพีลดลง ขณะที่เยอรมนีเอง สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน กำลังถูกจับตามองด้วยความเป็นห่วงในฐานะที่เป็น “คนป่วยแห่งยุโรป”
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยแพร่รายงานเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2024 ปรากฏว่า จีดีพีไตรมาส 4 ปี 2023 ติดลบ 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนเกียวกันของปีก่อนหน้า (YOY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากในไตรมาส 3 ที่ติดลบ 3.3% (YOY) การที่จีดีพีติดลบต่อกัน 2 ไตรมาส ถือว่าญี่ปุ่นเกิด “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” แล้ว
เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่หดตัวลงเป็นผลมาจากเงินเยนอ่อนค่า และการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งในรายงานยังเผยให้เห็นว่า ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจญี่ปุ่นลดการใช้จ่ายลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันแล้ว
ขณะที่การส่งออกยังมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจชดเชยการหดตัวของการบริโภคภายใน โดยการส่งออกเติบโตขึ้นในเดือนธันวาคม นำโดยการส่งออกรถยนต์ไปยังสหรัฐ และการส่งออกอุปกรณ์การผลิตชิปไปยังจีน และการท่องเที่ยวขาเข้าซึ่งญี่ปุ่นนับว่าเป็นการส่งออกบริการ
สำหรับปี 2024 นี้ จากการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 34 คน เกือบทั้งหมดมองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีจะอยู่ที่ 1.1% มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่มองว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงอีก
หันไปดูที่ฝั่งเยอรมนี แม้เศรษฐกิจจะใหญ่แซงญี่ปุ่น แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีไปกว่าญี่ปุ่น แถมยังมีปัญหาเยอะกว่าด้วย
จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 4 ปี 2023 หดตัวลง 0.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (YOY) หลังจากที่ในไตรมาส 3 มีการประกาศตัวเลขจีดีพีรอบแรกติดลบ 0.8% ก่อนที่รัฐบาลเยอรมันจะแก้ไขโดยใช้คำว่า “ซบเซา” แทน
แม้ว่าตัวเลขล่าสุดนี้จะให้ข้อสรุปว่า เศรษฐกิจเยอรมนีเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทางเทคนิคได้ในรอบนี้ แต่ก็เป็นผลมาจากการปรับปรุงแก้ไขตัวเลขในไตรมาสที่ 3 ใหม่ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข นั่นก็เท่ากับว่าเศรษฐกิจเยอรมนีถดถอยอีกแล้ว
ถอยกลับไปมองก่อนหน้านั้น ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 และไตรมาสแรกของปี 2023 เศรษฐกิจเยอรมนีติดลบ 0.4% และ 0.1% ตามลำดับ เป็นการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามนิยามทางเศรษฐศาสตร์อย่างครบองค์ประกอบ ก่อนที่จะก้าวเท้าออกมาได้ในไตรมาส 2 ปี 2023 ด้วยสภาพเศรษฐกิจชะงักงัน อัตราการเติบโตของจีดีพี 0%
แอนดรูว์ เคนนิงแฮม (Andrew Kenningham) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปของบริษัทวิจัย แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) เรียกเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2023 รวม ๆ ว่า “ถดถอย” โดยเขาวิเคราะห์เศรษฐกิจเยอรมนีว่า “ภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งลากยาวมานับตั้งแต่ปลายปี 2022 คาดว่าจะดำเนินต่อไปในปีนี้”
และแคปิตอล อีโคโนมิกส์ คาดว่า ในปี 2024 นี้ เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโต 0% เนื่องจากการลงทุนที่อยู่อาศัยและธุรกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว การก่อสร้างกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง และรัฐบาลก็กำลังเข้มงวดนโยบายการคลังอย่างรุนแรง
ขณะที่ คอมเมิร์ซแบงก์ (Commerzbank) ธนาคารในเยอรมนีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2024 นี้จะหดตัว 0.3%
ตัวอย่างปัจจัยลบคร่าว ๆ ที่ไม่ได้ให้ความหวังเยอรมนีเลยในตอนนี้ คือ การบริโภคของภาคครัวเรือนหดตัว การใช้จ่ายของภาครัฐก็หดตัว รัฐบาลเผชิญวิกฤตงบประมาณ ยังไม่สามารถหาเงินมาจัดทำงบประมาณรายจ่ายได้เพียงพอ ภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ตกต่ำ ราคาลดลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ขณะที่ตัวเลขการผลิตของภาคอุตสาหกรรมก็ยังหดตัวตามการส่งออก
…
เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ชาวเยอรมันดีใจไม่ออกกับข่าวที่ว่า เยอรมนีแซงญี่ปุ่นขึ้นเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกแล้ว
Cr https://www.prachachat.net/world-news/news-1503077
เยอรมนี ญี่ปุ่น เศรษฐกิจเบอร์ 3 และ 4 ของโลก “ถดถอย” ทั้งคู่
เป็นไปตามที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ไว้ว่าในสิ้นปี 2023 เศรษฐกิจเยอรมนีแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป็นเบอร์ 3 ของโลก โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีอยู่ที่ 4.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 4.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้เยอรมนีเพราะค่าเงินเยนอ่อน และจีดีพีลดลง ขณะที่เยอรมนีเอง สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน กำลังถูกจับตามองด้วยความเป็นห่วงในฐานะที่เป็น “คนป่วยแห่งยุโรป”
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยแพร่รายงานเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2024 ปรากฏว่า จีดีพีไตรมาส 4 ปี 2023 ติดลบ 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนเกียวกันของปีก่อนหน้า (YOY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากในไตรมาส 3 ที่ติดลบ 3.3% (YOY) การที่จีดีพีติดลบต่อกัน 2 ไตรมาส ถือว่าญี่ปุ่นเกิด “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” แล้ว
เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่หดตัวลงเป็นผลมาจากเงินเยนอ่อนค่า และการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งในรายงานยังเผยให้เห็นว่า ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจญี่ปุ่นลดการใช้จ่ายลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันแล้ว
ขณะที่การส่งออกยังมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจชดเชยการหดตัวของการบริโภคภายใน โดยการส่งออกเติบโตขึ้นในเดือนธันวาคม นำโดยการส่งออกรถยนต์ไปยังสหรัฐ และการส่งออกอุปกรณ์การผลิตชิปไปยังจีน และการท่องเที่ยวขาเข้าซึ่งญี่ปุ่นนับว่าเป็นการส่งออกบริการ
สำหรับปี 2024 นี้ จากการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 34 คน เกือบทั้งหมดมองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีจะอยู่ที่ 1.1% มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่มองว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงอีก
หันไปดูที่ฝั่งเยอรมนี แม้เศรษฐกิจจะใหญ่แซงญี่ปุ่น แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีไปกว่าญี่ปุ่น แถมยังมีปัญหาเยอะกว่าด้วย
จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 4 ปี 2023 หดตัวลง 0.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (YOY) หลังจากที่ในไตรมาส 3 มีการประกาศตัวเลขจีดีพีรอบแรกติดลบ 0.8% ก่อนที่รัฐบาลเยอรมันจะแก้ไขโดยใช้คำว่า “ซบเซา” แทน
แม้ว่าตัวเลขล่าสุดนี้จะให้ข้อสรุปว่า เศรษฐกิจเยอรมนีเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทางเทคนิคได้ในรอบนี้ แต่ก็เป็นผลมาจากการปรับปรุงแก้ไขตัวเลขในไตรมาสที่ 3 ใหม่ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข นั่นก็เท่ากับว่าเศรษฐกิจเยอรมนีถดถอยอีกแล้ว
ถอยกลับไปมองก่อนหน้านั้น ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 และไตรมาสแรกของปี 2023 เศรษฐกิจเยอรมนีติดลบ 0.4% และ 0.1% ตามลำดับ เป็นการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามนิยามทางเศรษฐศาสตร์อย่างครบองค์ประกอบ ก่อนที่จะก้าวเท้าออกมาได้ในไตรมาส 2 ปี 2023 ด้วยสภาพเศรษฐกิจชะงักงัน อัตราการเติบโตของจีดีพี 0%
แอนดรูว์ เคนนิงแฮม (Andrew Kenningham) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปของบริษัทวิจัย แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) เรียกเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2023 รวม ๆ ว่า “ถดถอย” โดยเขาวิเคราะห์เศรษฐกิจเยอรมนีว่า “ภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งลากยาวมานับตั้งแต่ปลายปี 2022 คาดว่าจะดำเนินต่อไปในปีนี้”
และแคปิตอล อีโคโนมิกส์ คาดว่า ในปี 2024 นี้ เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโต 0% เนื่องจากการลงทุนที่อยู่อาศัยและธุรกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว การก่อสร้างกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง และรัฐบาลก็กำลังเข้มงวดนโยบายการคลังอย่างรุนแรง
ขณะที่ คอมเมิร์ซแบงก์ (Commerzbank) ธนาคารในเยอรมนีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2024 นี้จะหดตัว 0.3%
ตัวอย่างปัจจัยลบคร่าว ๆ ที่ไม่ได้ให้ความหวังเยอรมนีเลยในตอนนี้ คือ การบริโภคของภาคครัวเรือนหดตัว การใช้จ่ายของภาครัฐก็หดตัว รัฐบาลเผชิญวิกฤตงบประมาณ ยังไม่สามารถหาเงินมาจัดทำงบประมาณรายจ่ายได้เพียงพอ ภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ตกต่ำ ราคาลดลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ขณะที่ตัวเลขการผลิตของภาคอุตสาหกรรมก็ยังหดตัวตามการส่งออก
…เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ชาวเยอรมันดีใจไม่ออกกับข่าวที่ว่า เยอรมนีแซงญี่ปุ่นขึ้นเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกแล้ว
Cr https://www.prachachat.net/world-news/news-1503077