ขอถามเกี่ยวกับ ความเป็นอิสระของ ส.ส.

ผมสงสัย เลยถามอากู๋ มันก็บอกได้แค่เนี่ย
ถามเป็นความรู้นะครับ เวลาเด็กถามจะได้อธิบายถูก
อย่ามาเหลือง หลิ่ม สาป ควายแดงฯลฯ เลยนะครับ ขอร้อง หรือใครมีLink โพสเลยครับ

"รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติไว้ในมาตรา 122 ว่า

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงปวงชนชาวไทย โดยไม่ตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์

พูดง่ายๆ ก็คือ ให้ ส.ส.และ ส.ว.มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่ต้องไปอยู่ภายใต้คำสั่งของใครทั้งสิ้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน"


  คืออย่างที่รู้ๆกันแหละครับพรรครัฐบาล ก็ต้องเป็นเสียงข้างมากอยู่แล้ว มันก็เลยเป็นอย่างที่เห็น เค้าว่ากัน เป็นพรรคมีเจ้าของ

ถามว่า แต่ก่อนแต่ไรก่อนมีทักษิณ สภาบ้านเราเป็นอย่างไรครับ ผู้เฒ่าผู้แก่มาชี้แนะที
ว่ามันมีมั้ยพวกโหวตสวนมติพรรคแล้วอยู่รอด?
ถามว่าสภาผู้แทน บ้านอื่นเมืองอื่นเค้ามีมั้ยแบบว่า พอฟังฝ่ายค้านอภิปรายแล้ว เกิดกลับใจไม่โหวต อะไรเงี้ยครับ
หรือจริงๆแล้ว ถ้าโหวตสวนมติพรรค ถือเป็นความผิด ต้องโดนไล่ออกจากพรรค? ก็ไหนว่ารัฐธรรมนูญคุ้มครอง?

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับความคิดเห็น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
รธน.๒๕๕๐

มาตรา ๑๐๑
บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๓) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (๔) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด
(๖) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

มาตรา ๑๒๒
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชน ชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่ง ผลประโยชน์


“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒๐ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อ

(๔) พรรคการเมืองมีมติให้ออกตามข้อบังคับพรรคการเมืองเพราะกระทำผิดวินัยหรือจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุร้ายแรงอื่น




//////////////////////////////////////



จากข้อกฏหมายข้างต้น  ดูเหมือนว่า  จริงๆแล้ว  สส.หรือผู้แทนฯ จะมีอิสระในการ"โหวตในสภา"  ตามนัย ม.๑๒๒ ของ รธน. ๒๕๕๐

แต่  ต้องยอมรับว่า  อิสระในการโหวตหรือตัดสินใจกระทำการ-ไม่กระทำการในฐานะ สส.ของเขา  ยังอาจถูกจำกัดด้วย มติหรือข้อบังคับของพรรค  ตามนัย  รธน.๒๕๕๐ ม.๑๐๑(๓)  และ พรบ.ฯพรรคการเมืองฯม.๒๐(๔)


เราต้องเข้าใจว่า  การควบคุมหรือปกครองคน  ไม่ว่าจะชนชั้นใด  ก็ต้องมีกฏกติกา  แม้แต่ ตุลาการ ก็มีกติกาควบคุมของเขา

ดังนั้น  สส.  จึงยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกติกาควบคุม

ในความเห็นส่วนตัวนะครับ  สส. ควรเป็นอิสระในการตัดสินใจในการโหวต นี่คือหลัก   แต่ก็ต้องมีข้อยกเว้นไว้ด้วย (บ่องตง เพื่อป้องกัน สส.วิกลจริต หรือ พวกทุจริคเรียกร้องค่าตัวค่ายกมือ)  คือ  ในเรื่องที่เป็นภาพรวมสำคัญๆ และเรื่องนั้นไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน  พรรคควรสามารถใช้ข้อบังคับพรรคมาบังคับโหวตได้ครับ  ประมาณว่า  ถ้าคูณไม่โหวตตามมติพรรค  พรรคสามารถขับออกจากพรรคได้ตามนัย ม.๒๐ และส่งผลให้ สส.คนนั้นๆต้องสิ้นสภาพตามรธน.ม.๑๐๑(๓)

แต่อย่างไรก็ตาม  ถ้าสิ่งที่พรรคจะบังคับให้โหวตนั้น  ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น  บังคับให้โหวตกฏหมายค้ามนุษย์ได้  ดังนี้  ผมมองว่า  แม้จะขัดมติพรรค  สส.ผู้นั้น  ก็น่าจะมีอิสระในการโหวตได้  และ  ไม่น่าจะโดนขับออกจากพรรค  ครับ


สรุปคือ  สส.  มีอิสระในการทำหน้าที่ แต่ก็น่าจะมีข้อจำกัดในการทำงานอยู่บ้างตามที่ผมยกตัวอย่างข้างต้น   เพราะ  ไม่มีอำนาจใดๆที่ปราศจากการควบคุมตรวจสอบได้ในระบอบประชาธิปไตย  ครับ


อมยิ้ม04อมยิ้ม04
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่