บางคนระบุว่าโครงการนี้ขัดรัฐธรรมนูญถึง 4 ประเด็น เช่น ไม่รับฟังความคิดเห็นประชาชน และไม่ปฏิบัติตามวิธีการกฎหมายงบประมาณ
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เคยเตือนรัฐบาลว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท อาจขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา รวมทั้งมาตรา 57 และ 67 ที่จะต้องรับฟังความเห็นประชาชนและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ยังมีมาตรา 169 ระบุว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน จะต้องทำตามกฎหมายงบประมาณ แต่รัฐบาลโต้กลับว่าเงินกู้มหาศาลนี้ ไม่ใช่ “เงินแผ่นดิน”
วิธีการที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ดูคล้ายกับว่า “ยิ่งอยากเร็วยิ่งช้า” ชัดเจนที่สุดคือ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท สองปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้จัดการรับฟังความเห็นประชาชน ไม่มีการศึกษาผลกระทบ ทั้งๆที่อ้างว่าเป็นโครงการ “เร่งด่วน” ในที่สุดก็ถูกศาลปกครองสั่งให้ชะลอ ถ้าโครงการขนส่งต้องล่าช้าอย่าโทษคนอื่นต้องโทษรัฐบาลเอง
การบังคับให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนที่จะดำเนินโครงการที่มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ไม่ได้เขียนไว้เพื่อความเท่ แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้รับฟังความเห็นอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เป็นพิธีกรรม เหมือนอย่างที่รัฐมนตรีบางคนพยายามลักไก่ อ้างว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนบางแห่งผ่านประชาพิจารณ์แล้ว น่าจะลงมือได้
ส่วนโครงการ 2 ล้านล้านบาท นักวิชาการหลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม มีโครงการที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย 3 แสนล้านบาท ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ แต่ยังไม่ศึกษาผลกระทบกว่า 5 แสนล้านบาท เพิ่งจะเริ่มศึกษา 5 แสนล้านบาท มีโครงการที่พร้อมแค่ 4 แสนล้านบาท จึงเป็นการออกกฎหมายกู้เงินมาไว้ก่อนแล้วค่อยว่ากัน
ถ้าหากยังไม่ “คิดใหม่ทำใหม่” รัฐบาลนี้จะประสบปัญหาแบบนี้ต่อไป วิธีการแก้ ปัญหาจะต้องขจัดอหังการที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนจึงมีอำนาจสูงสุด จะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ถ้ายังคิดและทำอย่างที่เป็นอยู่ จะไม่แค่ถูกยับยั้งแต่โครงการ แต่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอาจถูกยื่นถอดถอน หรือฟ้องร้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญา.
ตัดตอนจากไทยรัฐ
รัฐบาลเอาแต่โทษคนอื่น เรื่องเงินกู้ 2 ล้านล้าน
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เคยเตือนรัฐบาลว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท อาจขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา รวมทั้งมาตรา 57 และ 67 ที่จะต้องรับฟังความเห็นประชาชนและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ยังมีมาตรา 169 ระบุว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน จะต้องทำตามกฎหมายงบประมาณ แต่รัฐบาลโต้กลับว่าเงินกู้มหาศาลนี้ ไม่ใช่ “เงินแผ่นดิน”
วิธีการที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ดูคล้ายกับว่า “ยิ่งอยากเร็วยิ่งช้า” ชัดเจนที่สุดคือ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท สองปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้จัดการรับฟังความเห็นประชาชน ไม่มีการศึกษาผลกระทบ ทั้งๆที่อ้างว่าเป็นโครงการ “เร่งด่วน” ในที่สุดก็ถูกศาลปกครองสั่งให้ชะลอ ถ้าโครงการขนส่งต้องล่าช้าอย่าโทษคนอื่นต้องโทษรัฐบาลเอง
การบังคับให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนที่จะดำเนินโครงการที่มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ไม่ได้เขียนไว้เพื่อความเท่ แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้รับฟังความเห็นอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เป็นพิธีกรรม เหมือนอย่างที่รัฐมนตรีบางคนพยายามลักไก่ อ้างว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนบางแห่งผ่านประชาพิจารณ์แล้ว น่าจะลงมือได้
ส่วนโครงการ 2 ล้านล้านบาท นักวิชาการหลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม มีโครงการที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย 3 แสนล้านบาท ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ แต่ยังไม่ศึกษาผลกระทบกว่า 5 แสนล้านบาท เพิ่งจะเริ่มศึกษา 5 แสนล้านบาท มีโครงการที่พร้อมแค่ 4 แสนล้านบาท จึงเป็นการออกกฎหมายกู้เงินมาไว้ก่อนแล้วค่อยว่ากัน
ถ้าหากยังไม่ “คิดใหม่ทำใหม่” รัฐบาลนี้จะประสบปัญหาแบบนี้ต่อไป วิธีการแก้ ปัญหาจะต้องขจัดอหังการที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนจึงมีอำนาจสูงสุด จะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ถ้ายังคิดและทำอย่างที่เป็นอยู่ จะไม่แค่ถูกยับยั้งแต่โครงการ แต่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอาจถูกยื่นถอดถอน หรือฟ้องร้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญา.
ตัดตอนจากไทยรัฐ