เงินกู้ 2 ล้าน ๆ ไม่ใช่เงินแผ่นดิน จึงไม่จำเป็นต้องทำตามรัฐธรรมนูญ

กระทู้สนทนา
ทำไมรัฐบาลจึงไม่จัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพราะเป็นโครงการระยะยาว 7 ปี รัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้เงิน 2 ล้านล้าน ภายในปีเดียว แต่อาจจัดสรรเป็นงบรายจ่ายปีละไม่ถึง 3 แสนล้านบาท และถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเพราะทำตามกฎหมายว่าด้วยการงบประมาณ แต่รัฐบาลอ้างว่า  ถ้าทำเป็นปีๆกลัวจะไม่ต่อเนื่อง

แต่โครงการรับจำนำข้าวซึ่งใช้เงินมหาศาล รัฐบาลก็จัดสรรงบประมาณให้ปีต่อปี มีข้อมูลระบุว่าในสองปีที่รัฐบาลนี้บริหารประเทศ ใช้เงินรับจำนำข้าวไปแล้ว 6.8 แสนล้านบาท แต่ขายข้าวได้เพียง 1.4 แสนล้านบาท คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะอนุมัติงบรับจำนำข้าวรอบใหม่ 2.7 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายกำลังเข้าสู่หลักล้านล้านบาท แต่จัดสรรงบเป็นรายปี

ไม่เฉพาะฝ่ายค้านที่ท้วงติงเรื่องนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ก็เคยเตือนว่า อาจจะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่ระบุว่า “การใช้จ่ายเงินแผ่นดิน” ต้องทำตามกฎหมายงบประมาณ แต่รัฐบาลอ้างว่าเงินกู้ 2 ล้านล้าน “ไม่ใช่เงินแผ่นดิน” ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ  คณบดีคณะนิติศาสตร์ นิด้า และกรรมการ คปก.ถามว่า ถ้าไม่ใช่ “เงินแผ่นดิน” จะเป็นเงินใคร?

ไม่ใช่แค่มาตรา 169 แต่ยังมีมาตรา 57 และ 67 ที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติเมื่อจะดำเนินโครงการที่กระทบรุนแรงต่อชุมชน จะต้องผ่านการศึกษาและประเมินผลกระทบ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน  จะต้องผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นประชาชน และรับฟังความเห็นองค์กรอิสระ โครงการรถไฟความเร็วสูงยังไม่ได้ทำอะไร แต่จะกู้เงินเอาไว้ก่อน.

ตัดตอนจากไทยรัฐ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  รัฐบาล รัฐธรรมนูญ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่