“รสนา” เย้ยลากตั้งคืนอำนาจให้นักการเมืองไม่ใช่ประชาชนลั่นต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งสลัดวงจรอุบาทว์ “แม้ว” เชิด “ปู” กลับมาทำผิดซ้ำซาก เหน็บเถรตรงเลือกตั้งไม่ต่างแม่ปูสอนลูกเดิน เตือนรัฐบาลดึงดันอาจเหมือนบังกลาเทศ นองเลือดคนตายเป็นเบือ รัฐสภาล้มเหลว
วันนี้ (5 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 02.30 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล ยกบทเรียนการเลือกตั้งเลือดในบังกลาเทศ เตือนสติรัฐบาลรักษาการของน.ส ยิ่งลักษณ์ และ กกต. ก่อนที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่เส้นทางเดียวกันนั้น ดังนี้
“บทเรียนการเลือกตั้งเลือดในบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2557 ที่สังเวยชีวิตชาวบังกลาเทศซึ่งคัดค้านการเลือกตั้งมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งจนถึงวันนี้มีจำนวนผู้เสียชีวิตไปแล้วถึง 150 ศพ
สภาพที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับบ้านเรา คือ ฝ่ายค้านถอนตัวไม่ลงสมัคร ซึ่งการไม่เข้าลงสมัครเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้านบังกลาเทศ จะทำให้สถานการณ์ของบังกลาเทศเข้าสู่ภาวะรัฐสภาที่ล้มเหลว คือจะมีพรรคใหญ่เพียงพรรคเดียวได้ที่นั่ง และอาจไม่สามารถเปิดสภาฯ ได้ ปรากฏว่ากลุ่มผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป ไม่ยอมรับการเลือกตั้งในบังกลาเทศครั้งนี้ ทั้งยังได้รับการประนามจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนสากลและจากองค์กรต่อต้านการคอร์รัปชันสากลเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
สถานการณ์ของไทยหลังเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็อาจจะล้มเหลวเช่นเดียวกับโมเดลบังกลาเทศ คือจะมีเพียงพรรคใหญ่จัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่มีฝ่ายค้าน หรืออาจจะมีฝ่ายค้านแบบกำมะลอเพื่อให้ดูเสมือนมีทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้าน
หรืออีกสถานการณ์หนึ่ง คือ ไม่สามารถเปิดสภาได้ เพราะได้จำนวน ส.ส ไม่ถึง 95% ทำให้เกิดจุดตีบตันทางการเมือง แม้จะเลือกตั้งได้ แต่ก็จะตั้งรัฐบาล และรัฐสภาไม่ได้
ข้อที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ สถานการณ์แบบบังกลาเทศที่มีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์การคัดค้านการเลือกตั้ง จะต้องไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
บทเรียนของเพื่อนบ้านพอจะเตือนสติรัฐบาลรักษาการของ น.ส ยิ่งลักษณ์ และ กกต.ได้หรือไม่ก่อนที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่เส้นทางเดียวกันนั้น
การที่มีประชาชนจำนวนหลายล้านคนชุมนุมเรียกร้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง นี่คือการแสดงประชาธิปไตยทางตรงที่รัฐบาลควรรับฟังและผ่อนปรน ไม่ควรดึงดันให้มีการเลือกตั้งให้ได้ในวันที่ 2 ก.พ เพราะการเลือกตั้งในวันดังกล่าวมิใช่ไฟล์ทบังคับชนิดที่จะเลื่อนไม่ได้ เพราะที่จริงมีหลายมาตราในรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ปฏิบัติอย่าง เช่น การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญหลายฉบับที่มีกำหนดเวลา แต่รัฐบาลทุกพรรคที่ผ่านมาก็มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
การยืนยันเรื่องการเลือกตั้งให้ได้ โดยอ้างข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งที่ยังสามารถยกข้อถกเถียงทางข้อกฎหมายที่มีน้ำหนักไม่แพ้กันมาเป็นเหตุผลในการเลื่อนได้ ก็ไม่ต่างจากนิทานเรื่องแม่ปูที่บอกลูกปูเดินให้ตรงๆ ในขณะที่ตัวเองก็ยังเดินเป๋ไปเป๋มากระนั้น
การที่รัฐบาลรักษาการอ้างว่า “การเลือกตั้ง” คือ “การคืนอำนาจให้ประชาชน” นั้น ประชาชนเองก็สงสัยว่า แท้ที่จริงแล้วการเลือกตั้งคือ “การคืนอำนาจให้นักการเมือง” ต่างหาก
ดังที่ปรากฏอย่างชัดเจนคือ การที่พรรคเพื่อไทย ยังคงส่ง น.ส ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้สมัคร ส.ส สัดส่วนหมายเลขหนึ่ง และยืนยันสานต่อนโยบายเดิมของพรรคเพื่อไทยนั้น ประชาชนไม่ไว้ใจว่านโยบายที่พรรคเพื่อไทยต้องการเข้ามาสานต่อคือ
1) นโยบายปฏิรูปเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อกระชับอำนาจของฝ่ายการเมือง
2) นโยบายเพื่อนิรโทษคดีทุจริตทั้งปวงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3) นโยบายการเข้ามายึดกองทัพไทยในปี 2557 หลังจากผู้นำทั้ง 3 เหล่าทัพเกษียณในปี 2557 ตามแผนการที่ปรากฏในคลิปถั่งเช่า
4) นโยบายแปลงอำนาจรัฐให้เป็นทุนของตระกูล หรือการทำธุรกิจถอนทุนทางการเมือง ด้วยการสานต่อโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน โครงการป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้าน โครงการรับจำนำข้าวซึ่งใช้เงินกว่า 8 แสนล้านแล้ว แต่กลับไม่พอซื้อข้าวชาวนาไทย เพราะมีการนำเข้าข้าวจากเขมรถึง 2 ล้านตัน และคาดว่ามีการคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวถึงกว่า 4 แสนล้านบาท เป็นต้น
ในธรรมเนียมปฏิบัติของการเมืองไทยในยุครัฐบาลคณะราษฎร และประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า การที่รัฐบาลแพ้โหวตในร่างกฎหมายสำคัญอย่างร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย เหมาเข่ง และร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มาของ ส.ว ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าทำผิดกติการัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องลาออกไปแล้ว แต่มาตรฐานทางจริยธรรมอันตกต่ำของนักการเมืองปัจจุบัน ทำให้ไม่ยอมรับธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองในการแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง
ดังนั้น ณ วันนี้ที่ประชาชนไม่ไว้วางใจให้พรรคเพื่อไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บงการอยู่เบื้องหลังเข้ามาบริหารบ้านเมืองอีก เพราะพรรคเพื่อไทยก็จะยังยืนยันใช้นายกฯคนเดิม ใช้นโยบายเดิมที่ทำผิดกติกาประชาธิปไตยมาใช้ต่อ
การยืนยันทำสิ่งผิดอย่างซ้ำซากเช่นนี้ ก็ไม่ต่างจากการทำอาชญากรรมต่อเนื่องทางการเมือง ซึ่งประชาชนไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไปแล้ว จึงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งเพื่อไปให้พ้นจากวงจรอุบาทว์ทางธุรกิจการเมืองที่กำลังฝังรากลึกในสังคมการเมืองของประเทศไทย”
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001525
ส.ว.รสนา” ถอดบทเรียนเลือกตั้งเลือดบังกลาเทศ เตือนสติ รบ.ดึงดันลากตั้ง
วันนี้ (5 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 02.30 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล ยกบทเรียนการเลือกตั้งเลือดในบังกลาเทศ เตือนสติรัฐบาลรักษาการของน.ส ยิ่งลักษณ์ และ กกต. ก่อนที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่เส้นทางเดียวกันนั้น ดังนี้
“บทเรียนการเลือกตั้งเลือดในบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2557 ที่สังเวยชีวิตชาวบังกลาเทศซึ่งคัดค้านการเลือกตั้งมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งจนถึงวันนี้มีจำนวนผู้เสียชีวิตไปแล้วถึง 150 ศพ
สภาพที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับบ้านเรา คือ ฝ่ายค้านถอนตัวไม่ลงสมัคร ซึ่งการไม่เข้าลงสมัครเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้านบังกลาเทศ จะทำให้สถานการณ์ของบังกลาเทศเข้าสู่ภาวะรัฐสภาที่ล้มเหลว คือจะมีพรรคใหญ่เพียงพรรคเดียวได้ที่นั่ง และอาจไม่สามารถเปิดสภาฯ ได้ ปรากฏว่ากลุ่มผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป ไม่ยอมรับการเลือกตั้งในบังกลาเทศครั้งนี้ ทั้งยังได้รับการประนามจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนสากลและจากองค์กรต่อต้านการคอร์รัปชันสากลเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
สถานการณ์ของไทยหลังเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็อาจจะล้มเหลวเช่นเดียวกับโมเดลบังกลาเทศ คือจะมีเพียงพรรคใหญ่จัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่มีฝ่ายค้าน หรืออาจจะมีฝ่ายค้านแบบกำมะลอเพื่อให้ดูเสมือนมีทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้าน
หรืออีกสถานการณ์หนึ่ง คือ ไม่สามารถเปิดสภาได้ เพราะได้จำนวน ส.ส ไม่ถึง 95% ทำให้เกิดจุดตีบตันทางการเมือง แม้จะเลือกตั้งได้ แต่ก็จะตั้งรัฐบาล และรัฐสภาไม่ได้
ข้อที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ สถานการณ์แบบบังกลาเทศที่มีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์การคัดค้านการเลือกตั้ง จะต้องไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
บทเรียนของเพื่อนบ้านพอจะเตือนสติรัฐบาลรักษาการของ น.ส ยิ่งลักษณ์ และ กกต.ได้หรือไม่ก่อนที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่เส้นทางเดียวกันนั้น
การที่มีประชาชนจำนวนหลายล้านคนชุมนุมเรียกร้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง นี่คือการแสดงประชาธิปไตยทางตรงที่รัฐบาลควรรับฟังและผ่อนปรน ไม่ควรดึงดันให้มีการเลือกตั้งให้ได้ในวันที่ 2 ก.พ เพราะการเลือกตั้งในวันดังกล่าวมิใช่ไฟล์ทบังคับชนิดที่จะเลื่อนไม่ได้ เพราะที่จริงมีหลายมาตราในรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ปฏิบัติอย่าง เช่น การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญหลายฉบับที่มีกำหนดเวลา แต่รัฐบาลทุกพรรคที่ผ่านมาก็มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
การยืนยันเรื่องการเลือกตั้งให้ได้ โดยอ้างข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งที่ยังสามารถยกข้อถกเถียงทางข้อกฎหมายที่มีน้ำหนักไม่แพ้กันมาเป็นเหตุผลในการเลื่อนได้ ก็ไม่ต่างจากนิทานเรื่องแม่ปูที่บอกลูกปูเดินให้ตรงๆ ในขณะที่ตัวเองก็ยังเดินเป๋ไปเป๋มากระนั้น
การที่รัฐบาลรักษาการอ้างว่า “การเลือกตั้ง” คือ “การคืนอำนาจให้ประชาชน” นั้น ประชาชนเองก็สงสัยว่า แท้ที่จริงแล้วการเลือกตั้งคือ “การคืนอำนาจให้นักการเมือง” ต่างหาก
ดังที่ปรากฏอย่างชัดเจนคือ การที่พรรคเพื่อไทย ยังคงส่ง น.ส ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้สมัคร ส.ส สัดส่วนหมายเลขหนึ่ง และยืนยันสานต่อนโยบายเดิมของพรรคเพื่อไทยนั้น ประชาชนไม่ไว้ใจว่านโยบายที่พรรคเพื่อไทยต้องการเข้ามาสานต่อคือ
1) นโยบายปฏิรูปเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อกระชับอำนาจของฝ่ายการเมือง
2) นโยบายเพื่อนิรโทษคดีทุจริตทั้งปวงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3) นโยบายการเข้ามายึดกองทัพไทยในปี 2557 หลังจากผู้นำทั้ง 3 เหล่าทัพเกษียณในปี 2557 ตามแผนการที่ปรากฏในคลิปถั่งเช่า
4) นโยบายแปลงอำนาจรัฐให้เป็นทุนของตระกูล หรือการทำธุรกิจถอนทุนทางการเมือง ด้วยการสานต่อโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน โครงการป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้าน โครงการรับจำนำข้าวซึ่งใช้เงินกว่า 8 แสนล้านแล้ว แต่กลับไม่พอซื้อข้าวชาวนาไทย เพราะมีการนำเข้าข้าวจากเขมรถึง 2 ล้านตัน และคาดว่ามีการคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวถึงกว่า 4 แสนล้านบาท เป็นต้น
ในธรรมเนียมปฏิบัติของการเมืองไทยในยุครัฐบาลคณะราษฎร และประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า การที่รัฐบาลแพ้โหวตในร่างกฎหมายสำคัญอย่างร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย เหมาเข่ง และร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มาของ ส.ว ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าทำผิดกติการัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องลาออกไปแล้ว แต่มาตรฐานทางจริยธรรมอันตกต่ำของนักการเมืองปัจจุบัน ทำให้ไม่ยอมรับธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองในการแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง
ดังนั้น ณ วันนี้ที่ประชาชนไม่ไว้วางใจให้พรรคเพื่อไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บงการอยู่เบื้องหลังเข้ามาบริหารบ้านเมืองอีก เพราะพรรคเพื่อไทยก็จะยังยืนยันใช้นายกฯคนเดิม ใช้นโยบายเดิมที่ทำผิดกติกาประชาธิปไตยมาใช้ต่อ
การยืนยันทำสิ่งผิดอย่างซ้ำซากเช่นนี้ ก็ไม่ต่างจากการทำอาชญากรรมต่อเนื่องทางการเมือง ซึ่งประชาชนไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไปแล้ว จึงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งเพื่อไปให้พ้นจากวงจรอุบาทว์ทางธุรกิจการเมืองที่กำลังฝังรากลึกในสังคมการเมืองของประเทศไทย”
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001525