การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 01:00
ทำไมโครงการสามแสนห้าหมื่นล้านไม่โปร่งใส
โดย : บัณฑูร วงศ์สีลโชติ
โครงการสามแสนห้าหมื่นล้านสร้างโอกาสให้การทุจริตอาจเกิดขึ้นได้ และอาจสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
1. โครงการนี้อาจดูเหมือนมีการแข่งขันกันจาก 34 กลุ่มบริษัท แต่กฎเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติมีความไม่ยุติธรรม ทำให้กลุ่มบริษัทจำนวนมากถูกตัดสิทธิให้คงเหลือเพียง 6 บริษัท กฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ต้องมีผลงานอย่างน้อยร้อยละ 10 หรือสามหมื่นห้าพันล้าน ตัดสิทธิแม้บริษัทที่มีผลงานมามากกว่าสองหมื่นล้านจึงไม่ยุติธรรม นอกจากนั้นกำหนดว่าหากเป็นบริษัทต่างชาติ ต้องได้รับการรับรองผลงานจากรัฐบาลของประเทศที่บริษัทนั้นตั้งอยู่ และรับรองอีกครั้งโดยสถานทูตของรัฐบาลนั้นในประเทศไทย ล้วนเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อกำจัดบริษัทต่างๆ ออกไปจากการแข่งขัน และต่อมาเมื่อมีการถอนตัวอีก 2 บริษัท ทำให้คงเหลือเพียง 4 บริษัท ได้แก่ ITD Power China JV K Water กิจการร่วมค้าซัมมิทเอสยูที และกลุ่มบริษัทล็อกซเล่ย์
บริษัทล็อกซเล่ย์ก็ถูกกำหนดให้มีสิทธิประมูลได้เพียงโครงการคลังข้อมูล ฯ มูลค่าเพียง 4,000 ล้านบาท ทำให้สังเกตได้ว่าการแข่งขันไม่ได้เกิดขึ้นจริง อาจเป็นเพียงการแสดงให้ดูเสมือนว่ามีการแข่งขัน เมื่อเหลือเพียงสองบริษัท การป้องกันไม่ให้ฮั้วกัน ระหว่างสองบริษัทย่อมทำไม่ได้
2. การกำหนดกฎเกณฑ์คัดเลือก design & build ไม่มีความโปร่งใส หากจะให้โปร่งใสต้องเปิดเผย แสดงเหตุผล วิธีคัดเลือก หลักเกณฑ์การให้คะแนน และเปิดเผยคะแนนที่แต่ละบริษัทได้ และต้องเปิดโอกาสให้โต้แย้งได้หากหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่สมเหตุสมผล แต่ที่เกิดขึ้นเป็นการคัดเลือกลับๆ ไม่ให้รายละเอียดเหตุผลให้ใครโต้แย้งได้ จึงขาดความโปร่งใส
3. เมื่อประกาศผลจะพบว่า K Water ได้ module A3 & A5 รวมมูลค่าโครงการ 163,000 ล้านบาท ประมาณครึ่งหนึ่งของโครงการทั้งหมด ทำให้ดูเสมือนว่าอาจจะมีการตกลงแบ่งผลประโยชน์เท่าๆ กันระหว่าง K Water & ITD Power China JV กันไว้ก่อนแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ แม้อาจไม่ได้เกิดขึ้น รัฐบาลก็ไม่ควรสร้างโอกาสทำให้อาจเกิดขึ้นได้
4. การประกาศว่าจะให้คณะกรรมการมาต่อรองราคา เมื่อมีการเสนอราคาและแบบการก่อสร้างมาในภายหลัง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีการแข่งขันที่แท้จริง ให้การใช้เงินภาษีเป็นไปอย่างคุ้มค่า ต้องเปิดให้ทุกฝ่ายทราบรายละเอียดของงานที่จะสร้าง และมีการประกวดราคาตามแบบการก่อสร้างและรายละเอียดที่ชัดเจน การเลือกผู้ชนะก่อนแล้วมาต่อรองราคาในภายหลัง โดยปราศจากการแข่งขันด้านราคาเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเกิดขึ้นได้ เพราะการต่อรองราคาย่อมหมายรวมถึง โอกาสการเสนอเงินสินบนจากเอกชนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อสะดวกต่อการเสนอราคา สะดวกต่อการทำงานและตรวจรับงาน เจ้าหน้าที่รัฐอาจเป็นข้าราชการหรือนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง โครงการใหญ่ขนาดนี้ เมื่อไม่มีการแข่งขันด้านราคา เงินสินบนอาจมีมากถึงหนึ่งในสามของมูลค่าโครงการตามที่ปรากฏในการสำรวจของงานวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือกว่าหนึ่งแสนล้าน หากเกิดขึ้นก็ยากจะพิสูจน์จับได้ คำถามที่ต้องถามคือ รัฐบาลมีมาตรการอะไร ป้องกันการเสนอและรับสินบนทำนองนี้ได้ แม้จะอ้างการทุจริตอาจไม่เกิดขึ้นรัฐบาลก็ไม่ควรสร้างโอกาสทำนองนี้ขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังปกป้องไม่ให้ฟ้องร้องกันได้ โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 13 วรรค 4 ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการบริหารจัดการนาและสร้างอนาคตประเทศ 2555 ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพัสดุในการดำเนินโครงการ ฯ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 19 กันยายน 2555 และมติครม.อนุมัติวันที่ 29 มกราคม 2556 กำหนดให้ไม่ต้องใช้ระเบียบพัสดุฯ 2535 ก็ทำได้โดยไม่มีความผิด ฟ้องร้องเอาผิดทางกฎหมายไม่ได้ การต่อรองราคาเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่มีรายละเอียดแน่นอนชัดเจนว่าจะสร้างอะไร สร้างที่ไหน สร้างอย่างไร ดังนั้น หากมีการเรียกสินบนกว่าแสนล้านบาท โครงการนี้จะกลายเป็นการปล้นชาติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
5. วิธีจัดซื้อจัดจ้างทำนองนี้ น่าจะทำให้ประเทศชาติได้ซื้อของแพง คุณภาพต่ำ ภาระจะตกกับประชาชนเนื่องจากรัฐบาลจะต้องเพิ่มภาษีเก็บจากประชาชน เงินหนึ่งแสนล้านหากไม่ถูกโกงไป น่าจะสร้างรถไฟใต้ดินความยาวขนาด บางซื้อ-หัวลำโพง ได้อีกสามสาย รัฐบาลที่ทำงานสุจริตคำนึงถึงประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นประเด็นสำคัญน่าจะได้มองเห็นจุดบกพร่องเหล่านี้
6. หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ตั้งแต่การยอมรับราคา วัสดุที่ใช้ แบบก่อสร้าง ตรวจรับงานไม่ใช่หน่วยงานถาวรของภาครัฐ เช่น กรมชลประทาน หรือ อื่นๆ แต่กลับเป็น กบอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจจัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว หากต่อมายุบ กบอ.นี้ไปขณะที่งานยังทำไม่เสร็จ หน่วยงานรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบต่อไปจะเป็นหน่วยใด
7. โครงการนี้น่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว” ดังนั้น หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น จะมีโอกาสที่โครงการนี้จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่เมื่อได้ทำสัญญากับเอกชนแล้ว เอกชนก็จะได้รับเงินบางส่วนไปโดยไม่ต้องทำงาน
8. โครงการสามแสนห้าหมื่นล้านนี้ ที่จริงสามารถแยกย่อยออกไปหลายสิบโครงการ หากสามารถกำหนดแบบ กำหนดวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆ ชัดเจนแล้วเปิดประมูล ย่อมได้หลายๆ บริษัทมาร่วมการประมูล ยิ่งมีการแข่งขันมาก โอกาสที่จะได้ของดีราคายุติธรรม ย่อมมีมากกว่าการรวมเอาโครงการย่อยๆ เหล่านี้เป็นโครงการเดียวและมอบให้บริษัทใหญ่บริษัทเดียวอย่างที่รัฐบาลทำอยู่นี้ ผลเสียอีกข้อที่น่าจะมองเห็นได้ คือ การทุจริตจะทำได้ง่ายเมื่อรวมโครงการเป็นโครงการใหญ่ เพราะคุยเรื่องสินบนต้องทำกันเป็นความลับ จะคุยกับหลายๆ บริษัทย่อมไม่สะดวก ทำกับบริษัทเดียวหรือสองบริษัทใหญ่ที่มีความสามารถจ่ายสินบนก้อนโต หลายหมื่นล้าน หรือกว่าแสนล้าน ย่อมคุยกันได้ง่ายกว่า ดังนั้น หากรัฐบาลจริงใจต้องการป้องกันการทุจริต วิธีที่ทำอยู่นี้จึงควรหลีกเลี่ยงและไม่ควรทำเพราะเปิดช่องให้ทุจริตทำได้ง่าย แม้จะยืนยันว่าจะไม่มีการทุจริตก็ตาม ยากแก่การสอบสวนหาความจริง ถ้าไม่สร้างโอกาสทุจริตย่อมจะดีกว่า
9. โครงการนี้ระบุว่าต้องใช้เงิน 8,730.83 ล้านบาท เป็นค่าบริหารโครงการ ระยะเวลา 5 ปี หากใช้เงินมากขนาดนี้ในการบริหารโครงการ ทำไมจะแบ่งเป็นโครงการย่อยหลายสิบโครงการ แล้วเปิดประมูลแต่ละโครงการไม่ได้ น่าจะประหยัดเงินของชาติได้มากกว่าแสนล้านบาท อันเป็นผลจากการแข่งขันอย่างกว้างขวางและยุติธรรม อีกทั้งเมื่อต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 5 ปี ความเร่งด่วนที่รัฐบาลอ้างถึงย่อมฟังไม่ขึ้น ไม่สมเหตุสมผล
การทุจริตคอร์รัปชันเป็นการลักทรัพย์ของชาติผิดศีลข้อสองที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ผู้ทำผิดศีลเป็นการทำบาป บาปกรรมจะส่งผลให้ต้องไปชดใช้กรรมในนรก หรือส่งผลให้ต้องทุกข์ทรมานชดใช้กรรมในชาติหน้าและอีกหลายชาติ คนไทยชอบทำบุญแต่ไม่ละบาป เหมือนผ้าขี้ริ้วสกปรก หากจะย้อมสีสวยสีย้อมไม่ติด หรือติดก็ไม่ได้สีสวย ควรล้างผ้าให้สะอาดเสียก่อน ฉันใดก็ฉันนั้น หากไม่ละบาป ทำบุญก็จะไม่ได้บุญ นักการเมืองที่โกงบ้านโกงเมืองแล้วนำเงินบางส่วนที่โกงมาไปสร้างวัด สร้างอีกกี่วัดก็จะไม่ได้บุญ จึงควรหยุดลักทรัพย์ของชาติเสียก่อน ละเว้นการทำบาปจึงจะได้บุญ
(บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล)
ทำไมโครงการสามแสนห้าหมื่นล้านไม่โปร่งใส (แล้วหุ้นที่มันขึ้นมารับโครงการนี้แล้วล่ะ จะหนาวเป็นแม่คะนิ้งมั้ย)
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 01:00
ทำไมโครงการสามแสนห้าหมื่นล้านไม่โปร่งใส
โดย : บัณฑูร วงศ์สีลโชติ
โครงการสามแสนห้าหมื่นล้านสร้างโอกาสให้การทุจริตอาจเกิดขึ้นได้ และอาจสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
1. โครงการนี้อาจดูเหมือนมีการแข่งขันกันจาก 34 กลุ่มบริษัท แต่กฎเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติมีความไม่ยุติธรรม ทำให้กลุ่มบริษัทจำนวนมากถูกตัดสิทธิให้คงเหลือเพียง 6 บริษัท กฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ต้องมีผลงานอย่างน้อยร้อยละ 10 หรือสามหมื่นห้าพันล้าน ตัดสิทธิแม้บริษัทที่มีผลงานมามากกว่าสองหมื่นล้านจึงไม่ยุติธรรม นอกจากนั้นกำหนดว่าหากเป็นบริษัทต่างชาติ ต้องได้รับการรับรองผลงานจากรัฐบาลของประเทศที่บริษัทนั้นตั้งอยู่ และรับรองอีกครั้งโดยสถานทูตของรัฐบาลนั้นในประเทศไทย ล้วนเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อกำจัดบริษัทต่างๆ ออกไปจากการแข่งขัน และต่อมาเมื่อมีการถอนตัวอีก 2 บริษัท ทำให้คงเหลือเพียง 4 บริษัท ได้แก่ ITD Power China JV K Water กิจการร่วมค้าซัมมิทเอสยูที และกลุ่มบริษัทล็อกซเล่ย์
บริษัทล็อกซเล่ย์ก็ถูกกำหนดให้มีสิทธิประมูลได้เพียงโครงการคลังข้อมูล ฯ มูลค่าเพียง 4,000 ล้านบาท ทำให้สังเกตได้ว่าการแข่งขันไม่ได้เกิดขึ้นจริง อาจเป็นเพียงการแสดงให้ดูเสมือนว่ามีการแข่งขัน เมื่อเหลือเพียงสองบริษัท การป้องกันไม่ให้ฮั้วกัน ระหว่างสองบริษัทย่อมทำไม่ได้
2. การกำหนดกฎเกณฑ์คัดเลือก design & build ไม่มีความโปร่งใส หากจะให้โปร่งใสต้องเปิดเผย แสดงเหตุผล วิธีคัดเลือก หลักเกณฑ์การให้คะแนน และเปิดเผยคะแนนที่แต่ละบริษัทได้ และต้องเปิดโอกาสให้โต้แย้งได้หากหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่สมเหตุสมผล แต่ที่เกิดขึ้นเป็นการคัดเลือกลับๆ ไม่ให้รายละเอียดเหตุผลให้ใครโต้แย้งได้ จึงขาดความโปร่งใส
3. เมื่อประกาศผลจะพบว่า K Water ได้ module A3 & A5 รวมมูลค่าโครงการ 163,000 ล้านบาท ประมาณครึ่งหนึ่งของโครงการทั้งหมด ทำให้ดูเสมือนว่าอาจจะมีการตกลงแบ่งผลประโยชน์เท่าๆ กันระหว่าง K Water & ITD Power China JV กันไว้ก่อนแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ แม้อาจไม่ได้เกิดขึ้น รัฐบาลก็ไม่ควรสร้างโอกาสทำให้อาจเกิดขึ้นได้
4. การประกาศว่าจะให้คณะกรรมการมาต่อรองราคา เมื่อมีการเสนอราคาและแบบการก่อสร้างมาในภายหลัง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีการแข่งขันที่แท้จริง ให้การใช้เงินภาษีเป็นไปอย่างคุ้มค่า ต้องเปิดให้ทุกฝ่ายทราบรายละเอียดของงานที่จะสร้าง และมีการประกวดราคาตามแบบการก่อสร้างและรายละเอียดที่ชัดเจน การเลือกผู้ชนะก่อนแล้วมาต่อรองราคาในภายหลัง โดยปราศจากการแข่งขันด้านราคาเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเกิดขึ้นได้ เพราะการต่อรองราคาย่อมหมายรวมถึง โอกาสการเสนอเงินสินบนจากเอกชนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อสะดวกต่อการเสนอราคา สะดวกต่อการทำงานและตรวจรับงาน เจ้าหน้าที่รัฐอาจเป็นข้าราชการหรือนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง โครงการใหญ่ขนาดนี้ เมื่อไม่มีการแข่งขันด้านราคา เงินสินบนอาจมีมากถึงหนึ่งในสามของมูลค่าโครงการตามที่ปรากฏในการสำรวจของงานวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือกว่าหนึ่งแสนล้าน หากเกิดขึ้นก็ยากจะพิสูจน์จับได้ คำถามที่ต้องถามคือ รัฐบาลมีมาตรการอะไร ป้องกันการเสนอและรับสินบนทำนองนี้ได้ แม้จะอ้างการทุจริตอาจไม่เกิดขึ้นรัฐบาลก็ไม่ควรสร้างโอกาสทำนองนี้ขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังปกป้องไม่ให้ฟ้องร้องกันได้ โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 13 วรรค 4 ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการบริหารจัดการนาและสร้างอนาคตประเทศ 2555 ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพัสดุในการดำเนินโครงการ ฯ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 19 กันยายน 2555 และมติครม.อนุมัติวันที่ 29 มกราคม 2556 กำหนดให้ไม่ต้องใช้ระเบียบพัสดุฯ 2535 ก็ทำได้โดยไม่มีความผิด ฟ้องร้องเอาผิดทางกฎหมายไม่ได้ การต่อรองราคาเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่มีรายละเอียดแน่นอนชัดเจนว่าจะสร้างอะไร สร้างที่ไหน สร้างอย่างไร ดังนั้น หากมีการเรียกสินบนกว่าแสนล้านบาท โครงการนี้จะกลายเป็นการปล้นชาติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
5. วิธีจัดซื้อจัดจ้างทำนองนี้ น่าจะทำให้ประเทศชาติได้ซื้อของแพง คุณภาพต่ำ ภาระจะตกกับประชาชนเนื่องจากรัฐบาลจะต้องเพิ่มภาษีเก็บจากประชาชน เงินหนึ่งแสนล้านหากไม่ถูกโกงไป น่าจะสร้างรถไฟใต้ดินความยาวขนาด บางซื้อ-หัวลำโพง ได้อีกสามสาย รัฐบาลที่ทำงานสุจริตคำนึงถึงประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นประเด็นสำคัญน่าจะได้มองเห็นจุดบกพร่องเหล่านี้
6. หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ตั้งแต่การยอมรับราคา วัสดุที่ใช้ แบบก่อสร้าง ตรวจรับงานไม่ใช่หน่วยงานถาวรของภาครัฐ เช่น กรมชลประทาน หรือ อื่นๆ แต่กลับเป็น กบอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจจัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว หากต่อมายุบ กบอ.นี้ไปขณะที่งานยังทำไม่เสร็จ หน่วยงานรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบต่อไปจะเป็นหน่วยใด
7. โครงการนี้น่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว” ดังนั้น หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น จะมีโอกาสที่โครงการนี้จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่เมื่อได้ทำสัญญากับเอกชนแล้ว เอกชนก็จะได้รับเงินบางส่วนไปโดยไม่ต้องทำงาน
8. โครงการสามแสนห้าหมื่นล้านนี้ ที่จริงสามารถแยกย่อยออกไปหลายสิบโครงการ หากสามารถกำหนดแบบ กำหนดวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆ ชัดเจนแล้วเปิดประมูล ย่อมได้หลายๆ บริษัทมาร่วมการประมูล ยิ่งมีการแข่งขันมาก โอกาสที่จะได้ของดีราคายุติธรรม ย่อมมีมากกว่าการรวมเอาโครงการย่อยๆ เหล่านี้เป็นโครงการเดียวและมอบให้บริษัทใหญ่บริษัทเดียวอย่างที่รัฐบาลทำอยู่นี้ ผลเสียอีกข้อที่น่าจะมองเห็นได้ คือ การทุจริตจะทำได้ง่ายเมื่อรวมโครงการเป็นโครงการใหญ่ เพราะคุยเรื่องสินบนต้องทำกันเป็นความลับ จะคุยกับหลายๆ บริษัทย่อมไม่สะดวก ทำกับบริษัทเดียวหรือสองบริษัทใหญ่ที่มีความสามารถจ่ายสินบนก้อนโต หลายหมื่นล้าน หรือกว่าแสนล้าน ย่อมคุยกันได้ง่ายกว่า ดังนั้น หากรัฐบาลจริงใจต้องการป้องกันการทุจริต วิธีที่ทำอยู่นี้จึงควรหลีกเลี่ยงและไม่ควรทำเพราะเปิดช่องให้ทุจริตทำได้ง่าย แม้จะยืนยันว่าจะไม่มีการทุจริตก็ตาม ยากแก่การสอบสวนหาความจริง ถ้าไม่สร้างโอกาสทุจริตย่อมจะดีกว่า
9. โครงการนี้ระบุว่าต้องใช้เงิน 8,730.83 ล้านบาท เป็นค่าบริหารโครงการ ระยะเวลา 5 ปี หากใช้เงินมากขนาดนี้ในการบริหารโครงการ ทำไมจะแบ่งเป็นโครงการย่อยหลายสิบโครงการ แล้วเปิดประมูลแต่ละโครงการไม่ได้ น่าจะประหยัดเงินของชาติได้มากกว่าแสนล้านบาท อันเป็นผลจากการแข่งขันอย่างกว้างขวางและยุติธรรม อีกทั้งเมื่อต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 5 ปี ความเร่งด่วนที่รัฐบาลอ้างถึงย่อมฟังไม่ขึ้น ไม่สมเหตุสมผล
การทุจริตคอร์รัปชันเป็นการลักทรัพย์ของชาติผิดศีลข้อสองที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ผู้ทำผิดศีลเป็นการทำบาป บาปกรรมจะส่งผลให้ต้องไปชดใช้กรรมในนรก หรือส่งผลให้ต้องทุกข์ทรมานชดใช้กรรมในชาติหน้าและอีกหลายชาติ คนไทยชอบทำบุญแต่ไม่ละบาป เหมือนผ้าขี้ริ้วสกปรก หากจะย้อมสีสวยสีย้อมไม่ติด หรือติดก็ไม่ได้สีสวย ควรล้างผ้าให้สะอาดเสียก่อน ฉันใดก็ฉันนั้น หากไม่ละบาป ทำบุญก็จะไม่ได้บุญ นักการเมืองที่โกงบ้านโกงเมืองแล้วนำเงินบางส่วนที่โกงมาไปสร้างวัด สร้างอีกกี่วัดก็จะไม่ได้บุญ จึงควรหยุดลักทรัพย์ของชาติเสียก่อน ละเว้นการทำบาปจึงจะได้บุญ
(บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล)