https://www.isranews.org/isranews/62578-report003-62578.html
จันทร์ ที่ 08 มกราคม 2561 เวลา 13:39 น.เขียนโดยทีมข่าวเศรษฐกิจพิเศษ
“...ถ้าเป็นการต่อต้านทุจริตในหน่วยงานรัฐ ข้อมูลออกมาพบว่าทุกอย่างถอยหลังลง โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเราได้รับการร้องเรียนว่าการทุจริตและการโกงกินในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นมาก เรียกได้ว่าเป็นระดับเดียวกับรัฐบาลก่อนๆ หรือกลับมาแทบจะเหมือนเดิม แม้กระทั่งโครงการสร้างหอชมเมืองกรุงเทพที่ไม่มีการเปิดประมูล ตรงนี้ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นักธุรกิจอย่างชัดเจน...”
“ผมไม่ไปยุ่งกับใคร ไม่คบกับใคร โดยเฉพาะคนที่จะมาให้ประโยชน์กับผม และใครจะมาหาผมที่บ้าน ผมก็ไม่ให้มา ไม่เคยเปิดบ้านต้อนรับใคร”
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) กล่าวในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2560 เพื่อสะท้อนจุดยืนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในฐานะผู้นำรัฐบาลคสช.
แต่ทว่าในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา ผลงานต่อต้านและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันที่เคยเป็นจุดแข็งของรัฐบาล คสช.ในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ กลับถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างหนักหน่วง ทั้งในแง่องค์กรและตัวบุคคล ถึงเรื่องความไม่โปร่งใสหลายประการ
เริ่มจากในช่วงเดือนเม.ย.2560 มีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2560 อนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น “Yuan Class S26T” จากจีน 3 ลำ วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท โดยอนุมัติให้จัดซื้อก่อน 1 ลำ วงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท แต่การอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทดังกล่าว กลับ “งุบงิบ” ไม่มีการแถลงต่อสาธารณชน
โดยครม.ให้เหตุผลว่าเป็นเอกสารลับ “มุมแดง” เปิดเผยไม่ได้
ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อครม.ประยุทธ์ ในแง่การเปิดเผยข้อมูล ต่อมาสังคมได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนเมื่อเทียบกับเรือดำน้ำชาติอื่นๆ ตลอดจนเรียกร้องให้กองทัพเรือเปิดเผยหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ท่ามกลางกระแสข่าวที่ว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำครั้งนี้เป็น
เรือดำน้ำชั้น “Yuan Class S26T” ที่ครม.มีมติอนุมัติจัดซื้อเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2560
แม้ว่าในภายหลังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะชี้แจงเหตุผลของการซื้อเรือดำน้ำจากจีนว่า เพราะมีราคาถูกเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพ พร้อมทั้งได้สั่งให้กองทัพเรือตั้งโต๊ะชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน แต่นั่นก็ทำให้รัฐบาล คสช.ต้องสูญเสียความเชื่อถือในด้าน “ความโปร่งใสและตรวจสอบได้”
กระทั่งในเวลาต่อมาสื่อมวลชนได้รวบรวมข้อมูลการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาล คสช.ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า นอกจากการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน 3 ลำ 3.6 หมื่นล้านบาทแล้ว ในช่วงปี 2558-2560 รัฐบาล คสช.ได้อนุมัติงบฯเพื่อจัดซื้ออาวุธเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ได้แก่ รถถังแบบ VT-4 จากจีน 2 ล็อต รวม 38 คัน 7 พันล้านบาท รถเกราะล้อยางแบบ VN1 จากจีน 34 คัน 2.3 พันล้านบาท เฮลิคอปเตอร์แบบลำเรียงรุ่น MI-17V5 จากรัสเซีย 10 ลำ 8 พันล้านบาท เครื่องบินสำหรับฝึกนักบินขับไล่รุ่น T-50TH จากเกาหลีใต้ 8 ลำ 8.9 พันล้านบาท
เฮลิคอปเตอร์รุ่น “แบล็กฮอว์ก” จากสหรัฐ 4 ลำ 3 พันล้านบาท เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) 1 ลำ 5.4 พันล้านบาท เรือตรวจการชายฝั่ง 2 ล็อต รวม 9 ลำ 1.1 พันล้านบาท
เฮลิคอปเตอร์ “แบล็กฮอว์ก” รุ่น UH-60 Black Hawk S-70 Battlehawk
แน่นอนว่าด้วยมูลค่าการจัดซื้ออาวุธของกองทัพที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาล คสช.ต้องจัดสรรงบให้กระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จากระดับ 1.83 แสนล้านบาทในปีงบฯ 2557 เพิ่มเป็น 2.2 แสนล้านบาทในปีงบฯ 2561 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 4% ทุกปี และเพิ่มขึ้นของงบกองทัพนั้น ถือว่าสูงกว่าการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ทุกปี
ที่สำคัญในขณะที่การใช้จ่ายงบจัดซื้ออาวุธของกองทัพ ถูกกีดกันไม่ให้สาธารณชนและสื่อเข้าไปรับรู้หรือก้าวก่าย ทางรัฐบาลคสช.และกองทัพยังคง “ละเลย” ที่จะตรวจสอบและจัดการกับบุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบของกองทัพในโครงการที่ไม่มีความโปร่งใส
เช่น กรณีจัดซื้อเครื่องตรวจจับสสารระยะไกลยี่ห้อ GT-200 หรือ “ไม้ล้างป่าช้า” ที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง โดย 90% ของเครื่องทั้งหมด หรือคิดเป็น 755 เครื่อง วงเงิน 680 ล้านบาท พบว่าเป็นการจัดซื้อของกองทัพบกในสมัยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก แต่ผ่านมา 5 ปีแล้ว หลังจากศาลอังกฤษสั่งจำคุกและยึดทรัพย์ผู้ผลิตเครื่อง GT-200 ไปเมื่อปี 2556
แม้ว่าปัจจุบันคดีดังกล่าวได้ในขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้ว แต่ในส่วนของกองทัพก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆกับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย
หรือกรณีการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางธุรการและขนส่งแบบ AW 139 (ฮ.ท.139) 2 ลำ มูลค่า 1,350 ล้านบาท โดยวิธีพิเศษจากบริษัท Agusta Westland ประเทศอิตาลี พบว่าหลังจากส่งมอบในปี 2557 และเมื่อใช้งานได้เพียงปีเดียว ปรากฎว่าเครื่องบินทั้ง 2 ลำ ไม่ได้นำออกปฏิบัติภารกิจ และต้องนำมาจอดเก็บไว้ที่โรงจัดเก็บของกรมขนส่งทหารบก แต่กองทัพก็ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆทั้งสิ้น
เช่นเดียวกับโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างโซลาร์เซลล์ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งติดตั้งไปแล้ว 1.4 หมื่นจุด มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท แต่ปรากฎว่าไฟติดๆดับๆ หลายจุดดับสนิท และใช้งานไม่ได้มากถึง 80% แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาล คสช.จะแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในโครงการนี้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ “ยังอยู่ดี” เหมือนเดิม
แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการจัดการ “คนนอกกองทัพ” เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 สั่ง “พักงาน” ข้าราชการการเมือง ข้าราชการท้องถิ่น และข้าราชการตำรวจ เพื่อ “ตรวจสอบ” เนื่องจากมีพฤติกรรม “ส่อทุจริต” รวมคำสั่ง 9 ฉบับ มีผู้ถูกสั่งพักงานมากกว่า 300 คน และแน่นอนว่าไม่มี “ทหาร” แม้แต่คนเดียว
นอกจากนี้ ในส่วนของคดีที่ “เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ” ในบริษัท ปตท.และบริษัทการบินไทย รับสินบนข้ามชาติจากบริษัทโรลส์รอยซ์ ซึ่งเป็นข่าวครึกโครมในช่วงเดือนก.พ.2560 แม้ว่าคดีนี้จะเกิดขึ้นก่อนยุคคสช. แต่การติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษยังคง “ล่าช้า” โดยล่าสุดในเดือนพ.ย.2560 นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท ยอมรับว่ายังไม่มีความคืบหน้าถึงขั้นนำตัวคนผิดมาลงโทษได้ ส่วนป.ป.ช.เพิ่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯคดีนี้เมื่อเดือนก.ค.2560
จึงกลายมาเป็นคำถามที่ว่ารัฐบาลคสช.มีความจริงจังในการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นทุกระดับหรือไม่ หรือเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานเหมือนเช่นรัฐบาลชุดก่อนๆ
ไม่เพียงเท่านั้น ในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา รัฐบาล คสช.ได้ตัดสินใจดำเนินการในหลายๆเรื่องที่ทำให้ประชาชนและสังคมรู้สึกเคลือบแคลงสงสัย เช่น กรณีที่ครม.อนุมัติให้ดำเนินการโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร 4.6 พันล้านบาท โดยไม่ต้องเปิดประมูล กรณีที่กระทรวงมหาดไทยให้เอกชนรายใหญ่เช่าพื้นที่ป่าห้วยเม็ก ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ทำที่กักเก็บน้ำสำหรับโรงงานเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
โครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ที่ครม.มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2560
โดยเฉพาะกรณีการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟไทย-จีน วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดการทุจริตอย่างมหาศาล
หลังพล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจตามม.44 สั่งให้ยกเว้นการใช้ระเบียบและกฎหมายการจัดซื้อ 7 ฉบับ เช่น กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2560
ล่าสุดในช่วงปลายปี 2560 รัฐบาลคสช.และพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากอีกครั้ง จากกรณี “แหวนของแม่ นาฬิกาของเพื่อน” ของพล.อ.ประวิตร เนื่องจากปรากฏหลักฐานเป็นภาพถ่ายว่าพล.อ.ประวิตร ได้ถือครอบครองทรัพย์สินที่เป็นทั้งแหวนและนาฬิกาเกือบ 10 เรือน แต่ละเรือนมีมูลค่าเกิน 2 แสนบาท โดยทรัพย์สินเหล่านี้ไม่ได้แจ้งไว้ในรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแจ้งต่อป.ป.ช.
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เครดิตภาพ mgronline.com
แม้ว่าจะมีการโยนเผือกร้อนไปให้ป.ป.ช.ตัดสินชี้ขาด แต่จนถึงขณะนี้สังคมยังไม่ทราบว่าพล.อ.ประวิตร ได้ชี้แจงข้อมูลต่อป.ป.ช.อย่างไรบ้าง หากผลการตัดสินออกมาในทางใดทางหนึ่ง ก็ย่อมส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลคสช. หรือแม้แต่องค์กรอย่างป.ป.ช.เอง ที่เพิ่งได้สิทธิ์นั่งในเก้าอี้ต่ออีก 9 ปีเต็ม และเป็นอภินันทนาการที่ได้จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในยุคคสช.
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่รัฐบาลคสช.ยังคงมั่นใจใน “อำนาจ” ที่ได้จากการทำรัฐประหารหรือในสถานการณ์พิเศษ แต่ในมุมมองของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์คอร์รัปชั่นในช่วงปี 2560 ที่มีต่อรัฐบาลคสช.ต้องถือว่า “แย่ลง” เมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
โดยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ประชาชนเห็นว่าปัญหาการทุจริตรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2559 โดยผู้ประกอบการต้องจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ทุจริตที่ระดับ 5-15% เพิ่มขึ้นจากเดือนธ.ค.2559 ที่จ่ายที่ 1-15% แต่ยังต่ำกว่ายุคก่อนคสช.ที่มีการจ่ายสินบนสูงถึง 15-25%
ที่มา : ผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) เดือนมิ.ย.2560
***ต่อข้างล่างครับ
ส่องข้อครหาสีเทา เสียงเตือนปัญหางุบงิบ-โกงกินพุ่ง-ปราบทุจริตหาย
จันทร์ ที่ 08 มกราคม 2561 เวลา 13:39 น.เขียนโดยทีมข่าวเศรษฐกิจพิเศษ
“...ถ้าเป็นการต่อต้านทุจริตในหน่วยงานรัฐ ข้อมูลออกมาพบว่าทุกอย่างถอยหลังลง โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเราได้รับการร้องเรียนว่าการทุจริตและการโกงกินในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นมาก เรียกได้ว่าเป็นระดับเดียวกับรัฐบาลก่อนๆ หรือกลับมาแทบจะเหมือนเดิม แม้กระทั่งโครงการสร้างหอชมเมืองกรุงเทพที่ไม่มีการเปิดประมูล ตรงนี้ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นักธุรกิจอย่างชัดเจน...”
“ผมไม่ไปยุ่งกับใคร ไม่คบกับใคร โดยเฉพาะคนที่จะมาให้ประโยชน์กับผม และใครจะมาหาผมที่บ้าน ผมก็ไม่ให้มา ไม่เคยเปิดบ้านต้อนรับใคร”
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) กล่าวในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2560 เพื่อสะท้อนจุดยืนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในฐานะผู้นำรัฐบาลคสช.
แต่ทว่าในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา ผลงานต่อต้านและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันที่เคยเป็นจุดแข็งของรัฐบาล คสช.ในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ กลับถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างหนักหน่วง ทั้งในแง่องค์กรและตัวบุคคล ถึงเรื่องความไม่โปร่งใสหลายประการ
เริ่มจากในช่วงเดือนเม.ย.2560 มีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2560 อนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น “Yuan Class S26T” จากจีน 3 ลำ วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท โดยอนุมัติให้จัดซื้อก่อน 1 ลำ วงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท แต่การอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทดังกล่าว กลับ “งุบงิบ” ไม่มีการแถลงต่อสาธารณชน
โดยครม.ให้เหตุผลว่าเป็นเอกสารลับ “มุมแดง” เปิดเผยไม่ได้
ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อครม.ประยุทธ์ ในแง่การเปิดเผยข้อมูล ต่อมาสังคมได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนเมื่อเทียบกับเรือดำน้ำชาติอื่นๆ ตลอดจนเรียกร้องให้กองทัพเรือเปิดเผยหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ท่ามกลางกระแสข่าวที่ว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำครั้งนี้เป็น
เรือดำน้ำชั้น “Yuan Class S26T” ที่ครม.มีมติอนุมัติจัดซื้อเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2560
แม้ว่าในภายหลังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะชี้แจงเหตุผลของการซื้อเรือดำน้ำจากจีนว่า เพราะมีราคาถูกเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพ พร้อมทั้งได้สั่งให้กองทัพเรือตั้งโต๊ะชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน แต่นั่นก็ทำให้รัฐบาล คสช.ต้องสูญเสียความเชื่อถือในด้าน “ความโปร่งใสและตรวจสอบได้”
กระทั่งในเวลาต่อมาสื่อมวลชนได้รวบรวมข้อมูลการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาล คสช.ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า นอกจากการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน 3 ลำ 3.6 หมื่นล้านบาทแล้ว ในช่วงปี 2558-2560 รัฐบาล คสช.ได้อนุมัติงบฯเพื่อจัดซื้ออาวุธเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ได้แก่ รถถังแบบ VT-4 จากจีน 2 ล็อต รวม 38 คัน 7 พันล้านบาท รถเกราะล้อยางแบบ VN1 จากจีน 34 คัน 2.3 พันล้านบาท เฮลิคอปเตอร์แบบลำเรียงรุ่น MI-17V5 จากรัสเซีย 10 ลำ 8 พันล้านบาท เครื่องบินสำหรับฝึกนักบินขับไล่รุ่น T-50TH จากเกาหลีใต้ 8 ลำ 8.9 พันล้านบาท
เฮลิคอปเตอร์รุ่น “แบล็กฮอว์ก” จากสหรัฐ 4 ลำ 3 พันล้านบาท เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) 1 ลำ 5.4 พันล้านบาท เรือตรวจการชายฝั่ง 2 ล็อต รวม 9 ลำ 1.1 พันล้านบาท
เฮลิคอปเตอร์ “แบล็กฮอว์ก” รุ่น UH-60 Black Hawk S-70 Battlehawk
แน่นอนว่าด้วยมูลค่าการจัดซื้ออาวุธของกองทัพที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาล คสช.ต้องจัดสรรงบให้กระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จากระดับ 1.83 แสนล้านบาทในปีงบฯ 2557 เพิ่มเป็น 2.2 แสนล้านบาทในปีงบฯ 2561 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 4% ทุกปี และเพิ่มขึ้นของงบกองทัพนั้น ถือว่าสูงกว่าการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ทุกปี
ที่สำคัญในขณะที่การใช้จ่ายงบจัดซื้ออาวุธของกองทัพ ถูกกีดกันไม่ให้สาธารณชนและสื่อเข้าไปรับรู้หรือก้าวก่าย ทางรัฐบาลคสช.และกองทัพยังคง “ละเลย” ที่จะตรวจสอบและจัดการกับบุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบของกองทัพในโครงการที่ไม่มีความโปร่งใส
เช่น กรณีจัดซื้อเครื่องตรวจจับสสารระยะไกลยี่ห้อ GT-200 หรือ “ไม้ล้างป่าช้า” ที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง โดย 90% ของเครื่องทั้งหมด หรือคิดเป็น 755 เครื่อง วงเงิน 680 ล้านบาท พบว่าเป็นการจัดซื้อของกองทัพบกในสมัยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก แต่ผ่านมา 5 ปีแล้ว หลังจากศาลอังกฤษสั่งจำคุกและยึดทรัพย์ผู้ผลิตเครื่อง GT-200 ไปเมื่อปี 2556
แม้ว่าปัจจุบันคดีดังกล่าวได้ในขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้ว แต่ในส่วนของกองทัพก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆกับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย
หรือกรณีการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางธุรการและขนส่งแบบ AW 139 (ฮ.ท.139) 2 ลำ มูลค่า 1,350 ล้านบาท โดยวิธีพิเศษจากบริษัท Agusta Westland ประเทศอิตาลี พบว่าหลังจากส่งมอบในปี 2557 และเมื่อใช้งานได้เพียงปีเดียว ปรากฎว่าเครื่องบินทั้ง 2 ลำ ไม่ได้นำออกปฏิบัติภารกิจ และต้องนำมาจอดเก็บไว้ที่โรงจัดเก็บของกรมขนส่งทหารบก แต่กองทัพก็ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆทั้งสิ้น
เช่นเดียวกับโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างโซลาร์เซลล์ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งติดตั้งไปแล้ว 1.4 หมื่นจุด มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท แต่ปรากฎว่าไฟติดๆดับๆ หลายจุดดับสนิท และใช้งานไม่ได้มากถึง 80% แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาล คสช.จะแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในโครงการนี้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ “ยังอยู่ดี” เหมือนเดิม
แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการจัดการ “คนนอกกองทัพ” เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 สั่ง “พักงาน” ข้าราชการการเมือง ข้าราชการท้องถิ่น และข้าราชการตำรวจ เพื่อ “ตรวจสอบ” เนื่องจากมีพฤติกรรม “ส่อทุจริต” รวมคำสั่ง 9 ฉบับ มีผู้ถูกสั่งพักงานมากกว่า 300 คน และแน่นอนว่าไม่มี “ทหาร” แม้แต่คนเดียว
นอกจากนี้ ในส่วนของคดีที่ “เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ” ในบริษัท ปตท.และบริษัทการบินไทย รับสินบนข้ามชาติจากบริษัทโรลส์รอยซ์ ซึ่งเป็นข่าวครึกโครมในช่วงเดือนก.พ.2560 แม้ว่าคดีนี้จะเกิดขึ้นก่อนยุคคสช. แต่การติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษยังคง “ล่าช้า” โดยล่าสุดในเดือนพ.ย.2560 นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท ยอมรับว่ายังไม่มีความคืบหน้าถึงขั้นนำตัวคนผิดมาลงโทษได้ ส่วนป.ป.ช.เพิ่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯคดีนี้เมื่อเดือนก.ค.2560
จึงกลายมาเป็นคำถามที่ว่ารัฐบาลคสช.มีความจริงจังในการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นทุกระดับหรือไม่ หรือเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานเหมือนเช่นรัฐบาลชุดก่อนๆ
ไม่เพียงเท่านั้น ในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา รัฐบาล คสช.ได้ตัดสินใจดำเนินการในหลายๆเรื่องที่ทำให้ประชาชนและสังคมรู้สึกเคลือบแคลงสงสัย เช่น กรณีที่ครม.อนุมัติให้ดำเนินการโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร 4.6 พันล้านบาท โดยไม่ต้องเปิดประมูล กรณีที่กระทรวงมหาดไทยให้เอกชนรายใหญ่เช่าพื้นที่ป่าห้วยเม็ก ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ทำที่กักเก็บน้ำสำหรับโรงงานเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
โครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ที่ครม.มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2560
โดยเฉพาะกรณีการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟไทย-จีน วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดการทุจริตอย่างมหาศาล
หลังพล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจตามม.44 สั่งให้ยกเว้นการใช้ระเบียบและกฎหมายการจัดซื้อ 7 ฉบับ เช่น กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2560
ล่าสุดในช่วงปลายปี 2560 รัฐบาลคสช.และพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากอีกครั้ง จากกรณี “แหวนของแม่ นาฬิกาของเพื่อน” ของพล.อ.ประวิตร เนื่องจากปรากฏหลักฐานเป็นภาพถ่ายว่าพล.อ.ประวิตร ได้ถือครอบครองทรัพย์สินที่เป็นทั้งแหวนและนาฬิกาเกือบ 10 เรือน แต่ละเรือนมีมูลค่าเกิน 2 แสนบาท โดยทรัพย์สินเหล่านี้ไม่ได้แจ้งไว้ในรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแจ้งต่อป.ป.ช.
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เครดิตภาพ mgronline.com
แม้ว่าจะมีการโยนเผือกร้อนไปให้ป.ป.ช.ตัดสินชี้ขาด แต่จนถึงขณะนี้สังคมยังไม่ทราบว่าพล.อ.ประวิตร ได้ชี้แจงข้อมูลต่อป.ป.ช.อย่างไรบ้าง หากผลการตัดสินออกมาในทางใดทางหนึ่ง ก็ย่อมส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลคสช. หรือแม้แต่องค์กรอย่างป.ป.ช.เอง ที่เพิ่งได้สิทธิ์นั่งในเก้าอี้ต่ออีก 9 ปีเต็ม และเป็นอภินันทนาการที่ได้จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในยุคคสช.
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่รัฐบาลคสช.ยังคงมั่นใจใน “อำนาจ” ที่ได้จากการทำรัฐประหารหรือในสถานการณ์พิเศษ แต่ในมุมมองของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์คอร์รัปชั่นในช่วงปี 2560 ที่มีต่อรัฐบาลคสช.ต้องถือว่า “แย่ลง” เมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
โดยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ประชาชนเห็นว่าปัญหาการทุจริตรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2559 โดยผู้ประกอบการต้องจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ทุจริตที่ระดับ 5-15% เพิ่มขึ้นจากเดือนธ.ค.2559 ที่จ่ายที่ 1-15% แต่ยังต่ำกว่ายุคก่อนคสช.ที่มีการจ่ายสินบนสูงถึง 15-25%
ที่มา : ผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) เดือนมิ.ย.2560
***ต่อข้างล่างครับ