มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดว่า รัฐบาลนี้ชอบระบบ “เงินนอกงบประมาณ” ที่ไม่โปร่งใสและยากต่อการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นงบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท งบเงินกู้พัฒนาระบบการขนส่ง 2 ล้านล้านบาท งบกลาง และโครงการรับจำนำข้าว เป็นต้น 3 โครงการใช้เงินกว่า 3 ล้านล้านบาท มากกว่างบรายจ่ายประจำปีคือ 2.5 ล้าน
รัฐธรรมนูญมาตรา 169 ระบุว่า “การใช้จ่ายเงินแผ่นดิน” ต้องทำตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ แต่งบพัฒนาระบบการขนส่ง 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลอ้างว่าไม่ใช่ “เงินแผ่นดิน” เพราะเป็นเงินกู้และไม่ได้นำเข้าคลัง ส่วนงบรับจำนำข้าวซึ่งกำลังจะถึงหลักล้านล้านก็อาจตีความแบบศรีธนญชัยว่า “ไม่ใช่เงินแผ่นดิน” แต่เป็นเงินกู้ของ ธ.ก.ส.ที่ตรวจสอบยาก
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาเป็นผู้อนุมัติ และเป็นผู้ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลให้เป็นไปโดยโปร่งใสเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน แต่ถ้ารัฐสภาใช้จ่ายเงินแผ่นดินไม่โปร่งใสเสียเอง ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ? เงิน “นอกงบประมาณ” ถ้าเปรียบ เทียบกับหนี้ของภาคประชาชน ก็จะเหมือน กับ “หนี้นอกระบบ” ใครจะตรวจสอบ?
รัฐบาลอาจจะอ้างว่าจำเป็นต้องมีเงินนอกงบประมาณเพื่อให้คล่องตัวเหมือนกับการบริหารธุรกิจ ถ้าเป็นเงินส่วนตัวแบบธุรกิจคงจะไม่มีใครว่า แต่งบประมาณแผ่นดินมาจากภาษีของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เงินของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แม้แต่เงินงบประมาณรายจ่าย ฝ่ายค้านก็ได้แค่ทักท้วงหรือโจมตี การอภิปรายงบรายจ่ายจึงดูคล้ายกับพิธีกรรมการเมืองประจำปี.
ตัดตอนจากไทยรัฐ
รัฐบาลนี้ ชอบ เงินนอกงบประมาณ ยากต่อการตรวจสอบ เหมือนหนี้นอกระบบ
รัฐธรรมนูญมาตรา 169 ระบุว่า “การใช้จ่ายเงินแผ่นดิน” ต้องทำตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ แต่งบพัฒนาระบบการขนส่ง 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลอ้างว่าไม่ใช่ “เงินแผ่นดิน” เพราะเป็นเงินกู้และไม่ได้นำเข้าคลัง ส่วนงบรับจำนำข้าวซึ่งกำลังจะถึงหลักล้านล้านก็อาจตีความแบบศรีธนญชัยว่า “ไม่ใช่เงินแผ่นดิน” แต่เป็นเงินกู้ของ ธ.ก.ส.ที่ตรวจสอบยาก
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาเป็นผู้อนุมัติ และเป็นผู้ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลให้เป็นไปโดยโปร่งใสเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน แต่ถ้ารัฐสภาใช้จ่ายเงินแผ่นดินไม่โปร่งใสเสียเอง ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ? เงิน “นอกงบประมาณ” ถ้าเปรียบ เทียบกับหนี้ของภาคประชาชน ก็จะเหมือน กับ “หนี้นอกระบบ” ใครจะตรวจสอบ?
รัฐบาลอาจจะอ้างว่าจำเป็นต้องมีเงินนอกงบประมาณเพื่อให้คล่องตัวเหมือนกับการบริหารธุรกิจ ถ้าเป็นเงินส่วนตัวแบบธุรกิจคงจะไม่มีใครว่า แต่งบประมาณแผ่นดินมาจากภาษีของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เงินของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แม้แต่เงินงบประมาณรายจ่าย ฝ่ายค้านก็ได้แค่ทักท้วงหรือโจมตี การอภิปรายงบรายจ่ายจึงดูคล้ายกับพิธีกรรมการเมืองประจำปี.
ตัดตอนจากไทยรัฐ