นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ชี้แจงผ่านเฟสบุ๊ค Team-Korn Chatikavanij Page ถึงกรณี พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล
ที่กำลังจะเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคมนี้
โดยนายกรณ์ ชี้แจงว่า พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่
บัญญัติไว้ว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายจ่ายเงินแผ่นดินตามกฎหมาย
4 ฉบับ ได้แก่
-กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
-กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
-กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ
-กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
และขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 170 ที่บัญญัติว่า เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ให้หน่วยงานนั้นทำรายการรายรับ-จ่าย เสนอคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องเสนอรัฐสภา รวมถึงการใช้
จ่ายรายได้ดังกล่าวนี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการเงินและการคลังตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ยังเข้าข่ายล้มล้าง พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ ที่ออกในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ซึ่งทีมาตราที่สำคัญคือ มาตรา ๒๒ ที่บัญญัติว่า การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมี
ความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือ
จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตรา
ต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยนายกรณ์ ย้ำว่า "โครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนต่างๆ ประเทศไทยจำเป็นต้องมี แต่ต้องไม่ใช่ด้วยวิธี
ออกกฎหมายวิชามารแบบนี้ ที่เป็นการก่อหนี้นอกระบบ มาซุกไว้ยาวนาน 50 ปี ใช้เงินแค่ 7 ปี จ่ายต้นปีที่ 11
และภาระดอกเบี้ยเป็นกว่าเท่าตัวของเงินต้น"
"รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กู้ 2 ล้านล้าน แบกหนี้ 50 ปี
จ้องใช้แค่ 7 ปี เป็นรัฐบาล 2 สมัย
ดอกเบี้ยสะสม 3.16 ล้านล้าน
ภาระท่วมหัวคนไทยรวม 5.16 ล้านล้านบาท"
ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่รัฐบาลกำลังจะ
เสนอร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการปราศรัยของผู้นำฝ่ายค้าน ที่กล่าวหาว่าการกู้ครั้งนี้เป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และซิกแซก
เพื่อโกงนั้น ขอชี้แจงดังนี้
1.การที่รัฐบาลตัดสินใจใช้วิธีการกู้แทนการจัดสรรงบประมาณปกติ เพื่อให้การลงทุนมีความต่อเนื่อง ไม่ต้อง
เปลี่ยนแปลงหรือกระทบจากความผันผวนทางการเมือง เพราะโครงข่ายพื้นฐานที่จะต้องดำเนินการนั้น เป็น
ความจำเป็นของประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน และคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้นของทุกคนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
2.การลงทุนที่จะเกิดขึ้นเสมือนเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนการชะงักงันของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในช่วง 7 ปี
ที่ผ่านมา จากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองและความไม่กล้าตัดสินใจของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งทำให้สถานะ
เศรษฐกิจของประเทศถดถอยอย่างต่อเนื่อง
3.ในขณะเดียวกัน เมื่อลงทุนโดยเงินกู้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารเงินการใช้เงินถูกประเภท คือ เป็นการลงทุน
ในโครงการที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ไม่ใช่การกู้ไปลงทุนในโครงการที่เป็น “เบี้ยหัวแตก” แจกของ
ไปทั่วอย่างโครงการไทยเข้มแข็ง วัดผลไม่ได้ สิ่งของไม่ถาวร ทั้งนี้การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่จะเกิดขึ้นได้มีการ
คิดคำนวณอย่างรอบคอบ ภาระหนี้ของประเทศจะไม่เกินร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถึงแม้จะมีภาระไปอีก
50 ปี แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นห่วง ด้วยโครงการขนาดใหญ่ย่อมมีภาระที่ต้องผ่อนใช้คืนยาว แต่ผลตอบแทนนั้นยาวกว่า
อีกหลายสิบปีหรือร้อยปีด้วยซ้ำ
4.สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบนั้น กฎหมายที่รัฐบาลกำลังจะเสนอสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร มีกระบวน
การที่รับฟังความคิดเห็นของสาธารณะแต่แรกเริ่ม และมีการอธิบายถึงแนวคิดตลอดจนเสนอข้อมูลอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดนิทรรศการ ที่ศูนย์ราชการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในตัวร่างกฎหมายเองมีบัญชีแนบท้ายเพื่อ
วางกรอบการลงทุนใน 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจะแก้ไขไม่ได้ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ปรับ
เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า 2) ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่ง
อำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว ซึ่งแตกต่างกับ “ไทยเข้มแข็ง” ที่
ไม่มียุทธศาสตร์ชัดเจนเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย
5. สำหรับขั้นตอนการเตรียมโครงการ การเสนอโครงการจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และการพิจารณา
อนุมัติโครงการมีความละเอียดรอบคอบเป็นพิเศษ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังพิจารณากลั่นกรองความพร้อม กรอบลงเงิน และแผนการ
ดำเนินงาน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งหมดเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น และไม่มีการ “ซิกแซก” แต่
อย่างใด และจะไม่มีการยกเลิกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบของทางราชการตามที่ฝ่ายค้านโจมตี มีแต่จะ
ดำเนินการให้เข้มข้น และตรวจสอบได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจะเสนอเอกสารโครงการต่าง ๆ ต่อสภาฯใน
ลักษณะ “เอกสารประกอบ” การพิจารณาในลักษณะเดียวกับการเสนอพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่ง
มีกว่า 200 หน้า ดังนั้นที่มีการกล่าวหาว่าการกู้ 2 ล้านล้านไม่มีรายละเอียด จึงไม่เป็นความจริง ซึ่งแตกต่างการ
“ไทยเข้มแข็ง” ของรัฐบาลที่แล้ว ที่กลับกลายเป็นตัวอย่างของความรั่วไหล ล่าช้า และไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
6. โครงการทั้งหมดจะมีการเสนอให้ประเมินผลและรายงานต่อรัฐสภาทุกสิ้นปีงบประมาณด้วย
7. รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความตั้งใจและแนวคิดในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน
ที่สำคัญคือการที่ฝ่ายค้านพยายามพูดว่า คิดมาก่อนแล้ว แต่กลับไม่ทำ เป็นการตอกย้ำว่า “ดีแต่พูด” เพราะเมื่อประชาชน
ได้เลือกให้เข้ามาทำงานแล้วก็ต้องกล้าตัดสินใจและลงมือทำจริง หากจะคิดฝัน จะยกร่างพิมพ์เขียว เชื่อว่าประชาชนรอ
ไม่ได้ ความเจริญก้าวทันโลกไม่รอใคร การที่นายกฯยิ่งลักษณ์กล้าตัดสินใจและลงมือทำจริง ทั้งๆที่หลายโครงการอาจ
ไม่เสร็จในช่วงระยะเวลาของรัฐบาลปัจจุบัน แต่ก็สะท้อนการมีวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตมากกว่าการหาเสียงทางการเมืองด้วย
ลมปากไปวันๆ ส่วนฝ่ายค้านที่คิดจะยกร่างพิมพ์เขียวประเทศไทยสำหรับปี 2020 นั้น จะให้เวลาคิดถึงปีดังกล่าว เพราะ
ถึงเวลานั้น โครงการต่างๆของรัฐบาลก็จะเสร็จ ฝ่ายค้านจะได้คิดต่อและพูดต่อได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364123165&grpid=&catid=01&subcatid=0100
ถามกันจังเรื่องเงินกู้ 2.2 ล้านบาท เอามาให้ดูกันอีกที ...ระหว่าง คุณกรณ์ vs คุณสุรนันท์ ......
ด่ามาร์ค .... อวยปู ...... ค่ะ ไม่ได้บูชาแม้ว ... นะคะ
"กรณ์" จวก เงินกู้ 2 ล้านล้าน ล้มล้างพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ แบกหนี้ 50 ปี "สุรนันทน์"โต้ วิสัยทัศน์สั้น .... ข่าวมติชนออนไลน์
ได้ชี้แจงผ่านเฟสบุ๊ค Team-Korn Chatikavanij Page ถึงกรณี พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล
ที่กำลังจะเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคมนี้
โดยนายกรณ์ ชี้แจงว่า พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่
บัญญัติไว้ว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายจ่ายเงินแผ่นดินตามกฎหมาย
4 ฉบับ ได้แก่
-กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
-กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
-กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ
-กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
และขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 170 ที่บัญญัติว่า เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ให้หน่วยงานนั้นทำรายการรายรับ-จ่าย เสนอคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องเสนอรัฐสภา รวมถึงการใช้
จ่ายรายได้ดังกล่าวนี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการเงินและการคลังตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ยังเข้าข่ายล้มล้าง พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ ที่ออกในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ซึ่งทีมาตราที่สำคัญคือ มาตรา ๒๒ ที่บัญญัติว่า การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมี
ความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือ
จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตรา
ต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยนายกรณ์ ย้ำว่า "โครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนต่างๆ ประเทศไทยจำเป็นต้องมี แต่ต้องไม่ใช่ด้วยวิธี
ออกกฎหมายวิชามารแบบนี้ ที่เป็นการก่อหนี้นอกระบบ มาซุกไว้ยาวนาน 50 ปี ใช้เงินแค่ 7 ปี จ่ายต้นปีที่ 11
และภาระดอกเบี้ยเป็นกว่าเท่าตัวของเงินต้น"
"รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กู้ 2 ล้านล้าน แบกหนี้ 50 ปี
จ้องใช้แค่ 7 ปี เป็นรัฐบาล 2 สมัย
ดอกเบี้ยสะสม 3.16 ล้านล้าน
ภาระท่วมหัวคนไทยรวม 5.16 ล้านล้านบาท"
ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่รัฐบาลกำลังจะ
เสนอร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการปราศรัยของผู้นำฝ่ายค้าน ที่กล่าวหาว่าการกู้ครั้งนี้เป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และซิกแซก
เพื่อโกงนั้น ขอชี้แจงดังนี้
1.การที่รัฐบาลตัดสินใจใช้วิธีการกู้แทนการจัดสรรงบประมาณปกติ เพื่อให้การลงทุนมีความต่อเนื่อง ไม่ต้อง
เปลี่ยนแปลงหรือกระทบจากความผันผวนทางการเมือง เพราะโครงข่ายพื้นฐานที่จะต้องดำเนินการนั้น เป็น
ความจำเป็นของประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน และคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้นของทุกคนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
2.การลงทุนที่จะเกิดขึ้นเสมือนเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนการชะงักงันของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในช่วง 7 ปี
ที่ผ่านมา จากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองและความไม่กล้าตัดสินใจของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งทำให้สถานะ
เศรษฐกิจของประเทศถดถอยอย่างต่อเนื่อง
3.ในขณะเดียวกัน เมื่อลงทุนโดยเงินกู้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารเงินการใช้เงินถูกประเภท คือ เป็นการลงทุน
ในโครงการที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ไม่ใช่การกู้ไปลงทุนในโครงการที่เป็น “เบี้ยหัวแตก” แจกของ
ไปทั่วอย่างโครงการไทยเข้มแข็ง วัดผลไม่ได้ สิ่งของไม่ถาวร ทั้งนี้การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่จะเกิดขึ้นได้มีการ
คิดคำนวณอย่างรอบคอบ ภาระหนี้ของประเทศจะไม่เกินร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถึงแม้จะมีภาระไปอีก
50 ปี แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นห่วง ด้วยโครงการขนาดใหญ่ย่อมมีภาระที่ต้องผ่อนใช้คืนยาว แต่ผลตอบแทนนั้นยาวกว่า
อีกหลายสิบปีหรือร้อยปีด้วยซ้ำ
4.สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบนั้น กฎหมายที่รัฐบาลกำลังจะเสนอสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร มีกระบวน
การที่รับฟังความคิดเห็นของสาธารณะแต่แรกเริ่ม และมีการอธิบายถึงแนวคิดตลอดจนเสนอข้อมูลอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดนิทรรศการ ที่ศูนย์ราชการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในตัวร่างกฎหมายเองมีบัญชีแนบท้ายเพื่อ
วางกรอบการลงทุนใน 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจะแก้ไขไม่ได้ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ปรับ
เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า 2) ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่ง
อำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว ซึ่งแตกต่างกับ “ไทยเข้มแข็ง” ที่
ไม่มียุทธศาสตร์ชัดเจนเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย
5. สำหรับขั้นตอนการเตรียมโครงการ การเสนอโครงการจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และการพิจารณา
อนุมัติโครงการมีความละเอียดรอบคอบเป็นพิเศษ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังพิจารณากลั่นกรองความพร้อม กรอบลงเงิน และแผนการ
ดำเนินงาน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งหมดเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น และไม่มีการ “ซิกแซก” แต่
อย่างใด และจะไม่มีการยกเลิกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบของทางราชการตามที่ฝ่ายค้านโจมตี มีแต่จะ
ดำเนินการให้เข้มข้น และตรวจสอบได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจะเสนอเอกสารโครงการต่าง ๆ ต่อสภาฯใน
ลักษณะ “เอกสารประกอบ” การพิจารณาในลักษณะเดียวกับการเสนอพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่ง
มีกว่า 200 หน้า ดังนั้นที่มีการกล่าวหาว่าการกู้ 2 ล้านล้านไม่มีรายละเอียด จึงไม่เป็นความจริง ซึ่งแตกต่างการ
“ไทยเข้มแข็ง” ของรัฐบาลที่แล้ว ที่กลับกลายเป็นตัวอย่างของความรั่วไหล ล่าช้า และไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
6. โครงการทั้งหมดจะมีการเสนอให้ประเมินผลและรายงานต่อรัฐสภาทุกสิ้นปีงบประมาณด้วย
7. รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความตั้งใจและแนวคิดในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน
ที่สำคัญคือการที่ฝ่ายค้านพยายามพูดว่า คิดมาก่อนแล้ว แต่กลับไม่ทำ เป็นการตอกย้ำว่า “ดีแต่พูด” เพราะเมื่อประชาชน
ได้เลือกให้เข้ามาทำงานแล้วก็ต้องกล้าตัดสินใจและลงมือทำจริง หากจะคิดฝัน จะยกร่างพิมพ์เขียว เชื่อว่าประชาชนรอ
ไม่ได้ ความเจริญก้าวทันโลกไม่รอใคร การที่นายกฯยิ่งลักษณ์กล้าตัดสินใจและลงมือทำจริง ทั้งๆที่หลายโครงการอาจ
ไม่เสร็จในช่วงระยะเวลาของรัฐบาลปัจจุบัน แต่ก็สะท้อนการมีวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตมากกว่าการหาเสียงทางการเมืองด้วย
ลมปากไปวันๆ ส่วนฝ่ายค้านที่คิดจะยกร่างพิมพ์เขียวประเทศไทยสำหรับปี 2020 นั้น จะให้เวลาคิดถึงปีดังกล่าว เพราะ
ถึงเวลานั้น โครงการต่างๆของรัฐบาลก็จะเสร็จ ฝ่ายค้านจะได้คิดต่อและพูดต่อได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364123165&grpid=&catid=01&subcatid=0100
ถามกันจังเรื่องเงินกู้ 2.2 ล้านบาท เอามาให้ดูกันอีกที ...ระหว่าง คุณกรณ์ vs คุณสุรนันท์ ......
ด่ามาร์ค .... อวยปู ...... ค่ะ ไม่ได้บูชาแม้ว ... นะคะ