ในขณะที่รัฐบาลต้องการเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในช่วงเวลา 7 ปีข้างหน้า
และเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการลงทุนขนาดมหึมานี้จะดำเนินต่อไปอย่างไม่สะดุด เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ รัฐบาลชุดนี้จึงตัดสินใจเสนอเป็น พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทเข้าสภาฯ (อันนี้เป็นเหตุผลที่รัฐบาลให้ไว้)
จึงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลสมควรเลือกใช้การออก พรบ.เงินกู้ หรือ ควรให้ผ่านช่องทางการจัดทำงบประมาณปกติ ดังที่ฝ่ายค้านเสนอความเห็น
โดยที่ฝ่ายค้านยืนยัน นั่งยัน ตลอดว่า ไม่คัดค้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีความจำเป็นสำหรับประเทศ แต่เสนอให้ใช้วิธีบรรจุในงบประมาณประจำปีของรัฐบาล
แต่รัฐบาลยืนยันที่จะออกเป็น พรบ.เงินกู้ เพื่อความคล่องตัวในการจัดการและมั่นใจในความต่อเนื่องของโครงการ
อย่างไรก็ตาม ผู้คัดค้านก็มีหตุผลในการขัดขวาง เพราะหวั่นเกรงการบริหารจัดการที่ได้อำนาจเต็มจนขาดการตรวจสอบอย่างเข้มข้นเหมือนการผ่านช่องทางปกติ
รัฐบาลพยายามเบี่ยงประเด็น (ได้ชมการให้ข่าวของโฆษกหน้าใหม่เอี่ยมของรัฐบาล) จากฝ่ายคัดค้านที่ค้านวิธีการได้มาซึ่งเงินลงทุน...เป็น เสมือนคัดค้านโครงการไปเลย
โดยโฆษกพยายามอธิบายถึงความจำเป็นในการกู้ 2.2 ล้านล้าน เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
เบี่ยงประเด็นสำคัญไปซะงั้นซะงั้น !!!
แทนที่จะอธิบายลงรายละเอียดให้ประชาชนทั่วไปและผู้คัดค้านได้คลายความกังวลใจ ว่า ในเนื้อหาของ พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท นั้นได้กำหนดวิธีการตรวจสอบเข้มข้น วางใจได้ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการตรวจสอบแบบการตั้งและการใช้จ่ายงบประมาณ ได้อย่างไร
เบี่ยงประเด็นแบบนี้ จะให้เชื่อใจว่า รัฐบาลบริสุทธิ์ใจและมีความจำเป็นจริง..ได้อย่างไรล่ะจ๊ะ ?
๐๐๐๐๐ เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน...ใครค้านเหรอ? ๐๐๐๐๐
และเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการลงทุนขนาดมหึมานี้จะดำเนินต่อไปอย่างไม่สะดุด เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ รัฐบาลชุดนี้จึงตัดสินใจเสนอเป็น พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทเข้าสภาฯ (อันนี้เป็นเหตุผลที่รัฐบาลให้ไว้)
จึงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลสมควรเลือกใช้การออก พรบ.เงินกู้ หรือ ควรให้ผ่านช่องทางการจัดทำงบประมาณปกติ ดังที่ฝ่ายค้านเสนอความเห็น
โดยที่ฝ่ายค้านยืนยัน นั่งยัน ตลอดว่า ไม่คัดค้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีความจำเป็นสำหรับประเทศ แต่เสนอให้ใช้วิธีบรรจุในงบประมาณประจำปีของรัฐบาล
แต่รัฐบาลยืนยันที่จะออกเป็น พรบ.เงินกู้ เพื่อความคล่องตัวในการจัดการและมั่นใจในความต่อเนื่องของโครงการ
อย่างไรก็ตาม ผู้คัดค้านก็มีหตุผลในการขัดขวาง เพราะหวั่นเกรงการบริหารจัดการที่ได้อำนาจเต็มจนขาดการตรวจสอบอย่างเข้มข้นเหมือนการผ่านช่องทางปกติ
รัฐบาลพยายามเบี่ยงประเด็น (ได้ชมการให้ข่าวของโฆษกหน้าใหม่เอี่ยมของรัฐบาล) จากฝ่ายคัดค้านที่ค้านวิธีการได้มาซึ่งเงินลงทุน...เป็น เสมือนคัดค้านโครงการไปเลย
โดยโฆษกพยายามอธิบายถึงความจำเป็นในการกู้ 2.2 ล้านล้าน เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
เบี่ยงประเด็นสำคัญไปซะงั้นซะงั้น !!!
แทนที่จะอธิบายลงรายละเอียดให้ประชาชนทั่วไปและผู้คัดค้านได้คลายความกังวลใจ ว่า ในเนื้อหาของ พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท นั้นได้กำหนดวิธีการตรวจสอบเข้มข้น วางใจได้ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการตรวจสอบแบบการตั้งและการใช้จ่ายงบประมาณ ได้อย่างไร
เบี่ยงประเด็นแบบนี้ จะให้เชื่อใจว่า รัฐบาลบริสุทธิ์ใจและมีความจำเป็นจริง..ได้อย่างไรล่ะจ๊ะ ?