คมนาคมลุ้นระทึกอวสานเงินกู้ 2 ล้านล้าน งัด 4 ทางเลือกลงทุนโปรเจ็กต์ "
งบฯกลางปี"57-งบประมาณปี"58-เงินกู้-ดึงเอกชนลงทุนรูปแบบ PPP" ตั้งแท่นสกรีนรายโครงการทั้งถนน รถไฟฟ้า ทางคู่ ไฮสปีดเทรน เตรียมรายละเอียดโครงการชงรอรัฐบาลใหม่ไฟเขียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
วันที่ 27 ก.พ.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ให้ผู้ที่ร้องและผู้ที่ถูกร้องยื่นคำแถลงปิดคดีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท หลังออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานผู้เชี่ยวชาญตามคำร้องขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรค 1 (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
คมนาคมลุ้นศาล รธน.
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะไม่ผ่านการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
เนื่องมาจากเหตุอื่น เช่น การเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส., การกู้เงินลักษณะนี้ถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการตีความที่ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายโดยตรง ดังนั้น หากไม่มีเงินกู้จาก 2 ล้านล้านบาท แต่โครงการยังจำเป็นต้องลงทุน โดยจะใช้แหล่งเงินลงทุนจากแหล่งอื่น ๆ ต่อไป
"หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่าน ถือเป็นการอวสานเฉพาะแผนกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ตัวโครงการยังไม่ล้ม ต้องหาทางแก้ไขด้วยการกลับไปใช้วิธีปกติที่เคยทำมาก่อนหน้านี้" แหล่งข่าวกล่าว
สนข.เตรียม 4 แผนสำรอง
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า หากโครงการ 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านศาล รธน. สนข.จะปรับเปลี่ยนแผนด้านเงินลงทุนใหม่ โดยวิธีการใช้เงินก่อสร้างจาก 4 แหล่ง ประกอบด้วย 1.งบประมาณกลางปี 2557 2.งบประมาณปี 2558 3.เงินกู้ในประเทศหรือต่างประเทศ และ 4.ให้เอกชนร่วมทุนรูปแบบ PPP
"สาระสำคัญของ
พ.ร.บ.เป็นการหาเงินมาลงทุนให้เสร็จใน 7 ปี แต่เมื่อแนวโน้มกฎหมายนี้จะไม่ผ่าน โครงการยังต้องลงทุนอยู่เพียงแต่อาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนกับขั้นตอนการทำงาน เพราะแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านทำเป็นแพ็กเกจพร้อมกัน แต่วิธีปกติจะต้องขออนุมัติเป็นรายโครงการ"
ล่าสุด กระทรวงเตรียมรวบรวมโครงการรอเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา โดยจัดลำดับความสำคัญโครงการเร่งด่วนก่อนเพื่อขอใช้งบประมาณกลางปี 2557 ในสัดส่วน 20% ของวงเงินลงทุนทั้งโครงการมาดำเนินการ ส่วนใหญ่เป็นงบฯศึกษาและก่อสร้างโครงการระบบราง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่สำหรับสายที่ผ่านการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) นอกจากนี้ มีโครงการซ่อมบูรณะถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เป็นต้น
จัดลำดับโครงการเร่งด่วน
ส่วนแผนการใช้เงินลงทุนภายใต้งบประมาณปี 2558 อยู่ที่หน่วยงานนำเสนอ ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท, ศึกษารถไฟทางคู่ใหม่ 6 สายทาง เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อรัฐบาลต้องการลงทุน รวมทั้งจัดสรรเป็นงบฯเวนคืนที่ดินโครงการที่พร้อม เช่น รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ ฯลฯ
สำหรับโครงการที่วางแผนใช้เงินกู้ เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) และสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ถนน 4 ช่องจราจร ขณะที่โครงการให้เอกชนมาร่วมลงทุน เช่น การเดินรถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง เพื่อลดภาระการใช้เงินของภาครัฐบาล ส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธาทางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนให้ รวมทั้งโครงการมอเตอร์เวย์
"สนข.เชื่อว่าโครงการเหล่านี้จะได้รับการเดินหน้าต่อ เพราะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศที่สำคัญ"
จ้างที่ปรึกษาไฮสปีดเทรน
ในส่วนรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง สนข.จะศึกษาโครงการให้จบก่อน จากนั้นถึงจะประมวลโครงการเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา เนื่องจากเสียเงินจ้างที่ปรึกษาแล้ว ในส่วนของ สนข.มี 3 สายทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน ใช้เงินร่วม 500 ล้านบาท ยังไม่รวมสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้เงินจ้างที่ปรึกษาไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท
"เม็ดเงินค่าจ้างศึกษาโครงการต้องใช้ให้คุ้ม เมื่อผลศึกษาแล้วเสร็จจะนำเสนอต่อรัฐบาลประกอบการตัดสินใจลงทุนทั้งรายละเอียด รูปแบบ ความเป็นไปได้โครงการ รวมข้อเสนอแนะแหล่งเงินลงทุนด้วย ถ้ารัฐบาลเห็นด้วยก็เดินหน้าต่อ ถ้าไม่เห็นด้วยก็จบ แต่ผมก็ยังเชื่อว่าเป็นโครงการที่ดี เหมาะสมกับประเทศไทยที่เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโต" ผอ.สนข.กล่าว
ที่มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393482687
อวสานเงินกู้ 2 ล้านล. "คมนาคม" ชัชชาติ ก คมนาคม สนข งัด 4 ทางเลือกลุยโครงการต่อ
คมนาคมลุ้นระทึกอวสานเงินกู้ 2 ล้านล้าน งัด 4 ทางเลือกลงทุนโปรเจ็กต์ "งบฯกลางปี"57-งบประมาณปี"58-เงินกู้-ดึงเอกชนลงทุนรูปแบบ PPP" ตั้งแท่นสกรีนรายโครงการทั้งถนน รถไฟฟ้า ทางคู่ ไฮสปีดเทรน เตรียมรายละเอียดโครงการชงรอรัฐบาลใหม่ไฟเขียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 ก.พ.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ให้ผู้ที่ร้องและผู้ที่ถูกร้องยื่นคำแถลงปิดคดีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท หลังออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานผู้เชี่ยวชาญตามคำร้องขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรค 1 (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
คมนาคมลุ้นศาล รธน.
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะไม่ผ่านการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องมาจากเหตุอื่น เช่น การเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส., การกู้เงินลักษณะนี้ถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการตีความที่ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายโดยตรง ดังนั้น หากไม่มีเงินกู้จาก 2 ล้านล้านบาท แต่โครงการยังจำเป็นต้องลงทุน โดยจะใช้แหล่งเงินลงทุนจากแหล่งอื่น ๆ ต่อไป
"หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่าน ถือเป็นการอวสานเฉพาะแผนกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ตัวโครงการยังไม่ล้ม ต้องหาทางแก้ไขด้วยการกลับไปใช้วิธีปกติที่เคยทำมาก่อนหน้านี้" แหล่งข่าวกล่าว
สนข.เตรียม 4 แผนสำรอง
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า หากโครงการ 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านศาล รธน. สนข.จะปรับเปลี่ยนแผนด้านเงินลงทุนใหม่ โดยวิธีการใช้เงินก่อสร้างจาก 4 แหล่ง ประกอบด้วย 1.งบประมาณกลางปี 2557 2.งบประมาณปี 2558 3.เงินกู้ในประเทศหรือต่างประเทศ และ 4.ให้เอกชนร่วมทุนรูปแบบ PPP
"สาระสำคัญของ พ.ร.บ.เป็นการหาเงินมาลงทุนให้เสร็จใน 7 ปี แต่เมื่อแนวโน้มกฎหมายนี้จะไม่ผ่าน โครงการยังต้องลงทุนอยู่เพียงแต่อาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนกับขั้นตอนการทำงาน เพราะแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านทำเป็นแพ็กเกจพร้อมกัน แต่วิธีปกติจะต้องขออนุมัติเป็นรายโครงการ"
ล่าสุด กระทรวงเตรียมรวบรวมโครงการรอเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา โดยจัดลำดับความสำคัญโครงการเร่งด่วนก่อนเพื่อขอใช้งบประมาณกลางปี 2557 ในสัดส่วน 20% ของวงเงินลงทุนทั้งโครงการมาดำเนินการ ส่วนใหญ่เป็นงบฯศึกษาและก่อสร้างโครงการระบบราง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่สำหรับสายที่ผ่านการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) นอกจากนี้ มีโครงการซ่อมบูรณะถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เป็นต้น
จัดลำดับโครงการเร่งด่วน
ส่วนแผนการใช้เงินลงทุนภายใต้งบประมาณปี 2558 อยู่ที่หน่วยงานนำเสนอ ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท, ศึกษารถไฟทางคู่ใหม่ 6 สายทาง เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อรัฐบาลต้องการลงทุน รวมทั้งจัดสรรเป็นงบฯเวนคืนที่ดินโครงการที่พร้อม เช่น รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ ฯลฯ
สำหรับโครงการที่วางแผนใช้เงินกู้ เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) และสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ถนน 4 ช่องจราจร ขณะที่โครงการให้เอกชนมาร่วมลงทุน เช่น การเดินรถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง เพื่อลดภาระการใช้เงินของภาครัฐบาล ส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธาทางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนให้ รวมทั้งโครงการมอเตอร์เวย์
"สนข.เชื่อว่าโครงการเหล่านี้จะได้รับการเดินหน้าต่อ เพราะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศที่สำคัญ"
จ้างที่ปรึกษาไฮสปีดเทรน
ในส่วนรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง สนข.จะศึกษาโครงการให้จบก่อน จากนั้นถึงจะประมวลโครงการเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา เนื่องจากเสียเงินจ้างที่ปรึกษาแล้ว ในส่วนของ สนข.มี 3 สายทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน ใช้เงินร่วม 500 ล้านบาท ยังไม่รวมสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้เงินจ้างที่ปรึกษาไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท
"เม็ดเงินค่าจ้างศึกษาโครงการต้องใช้ให้คุ้ม เมื่อผลศึกษาแล้วเสร็จจะนำเสนอต่อรัฐบาลประกอบการตัดสินใจลงทุนทั้งรายละเอียด รูปแบบ ความเป็นไปได้โครงการ รวมข้อเสนอแนะแหล่งเงินลงทุนด้วย ถ้ารัฐบาลเห็นด้วยก็เดินหน้าต่อ ถ้าไม่เห็นด้วยก็จบ แต่ผมก็ยังเชื่อว่าเป็นโครงการที่ดี เหมาะสมกับประเทศไทยที่เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโต" ผอ.สนข.กล่าว
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393482687