(ที่มา:มติชนรายวัน 25 ก.ค.2556)
เหมือนจะง่ายๆ แต่ไม่ง่าย
ท่ามกลางกระแสข่าวการถกเถียงเกี่ยวกับการ "นิรโทษกรรม"
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าภาคกลาง แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
โดยจะยึดเนื้อหาตามร่างนิรโทษฯ ฉบับของญาติผู้เสียชีวิต
เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ ของนายอลงกรณ์ รู้กันคร่าวๆ ว่าจะมีไม่กี่มาตรา ครอบคลุมผู้กระทำผิดจาก
ปี 2548 ไม่ครอบคลุมกรณีผู้กระทำผิดตามมาตรา 112
ที่น่าสนใจ ได้แก่ ท่าทีคัดค้านจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค
โดยกล่าวว่า แม้เห็นด้วยกับสาระของร่าง พ.ร.บ.ที่นายอลงกรณ์จะเสนอ แต่พรรคยังไม่ควรเสนอกฎหมายเข้าไป
เพราะเกรงจะกลายเป็นเหยื่อของรัฐบาล โดยใช้เสียงข้างมากอ้างว่า ทุกพรรคเสนอเข้าไป
แล้วนำมารวมกันพิจารณา จะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
พร้อมกับยื่นเงื่อนไขว่า รัฐบาลต้องถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯทุกฉบับในสภาออกมาก่อน
เพราะไม่สอดคล้องกับหลักการที่พรรคสนับสนุน
นายอลงกรณ์ได้ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ผมจะเสนอกฎหมายในฐานะที่เป็น ส.ส.พรรค
และคงจะมีเพียงร่างเดียวที่จะขอให้เป็นร่างของพรรค
หากที่ประชุมพรรคไม่เห็นด้วย ผมก็จะพิจารณาอีกครั้งว่า จะเสนอด้วยตัวเองเข้าสู่สภาหรือไม่
เพราะการที่มีร่างกฎหมายฉบับประชาชนขึ้นมา สะท้อนว่า 4-5 ร่างที่อยู่ในสภา
ไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประชาชน
และการที่ผมเสนอมาในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่เหมาะสม ที่ควรจะมีร่างที่เป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่าย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนแล้วว่าจะไม่เสนอร่างกฎหมายของพรรคเข้าพิจารณา
นายอลงกรณ์กล่าวว่า ถือเป็นความเห็นของนายอภิสิทธิ์ แต่ ส.ส.มีสิทธิที่จะเสนอในที่ประชุมพรรค
วันนี้เราต้องมองข้ามการเมือง จะคิดเล็กคิดน้อย เล่นแง่ทางการเมืองไม่ได้ หรือกลัวตกหลุม
ปชป.ต้องหาทางออกให้กับประเทศ และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงแค่วิพากษ์วิจารณ์
เพราะเราเป็นพรรคการเมืองใหญ่ จึงถึงเวลาที่บทบาทหน้าที่ของเราต้องเปลี่ยนแปลง
และถึงเวลาแล้วที่เราต้องลบรอยบาดแผล
หากเราไม่สมานแผลแล้วจะเดินหน้าไปได้อย่างไร
เป็นอีกครั้ง ที่ทั้งคู่ยืนอยู่คนละฝั่งความเห็น
หลังการเลือกตั้ง 2554 นายอลงกรณ์ออกมาเสนอปฏิรูปพรรค ปชป.
ขณะที่กลุ่มแกนนำพรรคที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ไม่เห็นด้วย
ทำให้แผนการปฏิรูปพรรคแป้กไป
การออกโรงของนายอลงกรณ์ในรอบนี้ จากการเคลื่อนไหวปัญหาภายใน
มาสู่ปัญหาการเมืองที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งใหญ่ในสังคม
ก็เผชิญกับแรงต้านจากกลุ่มเดิมอีกครั้ง
สะท้อนการต่อสู้ทางความคิดในพรรคที่เพิ่มมากขึ้น
คำถามที่กระตุ้นต่อมคิดและเกี่ยวข้องกับอนาคตของพรรคด้วยก็คือ
ความเห็นและจุดยืนของฝั่งไหน เป็นประโยชน์ต่อทั้งพรรค และสังคมส่วนรวมมากกว่ากัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374730657&grpid=&catid=12&subcatid=1200
มาร์คประกาศขวางร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ถึงที่สุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร
เตรียมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ
ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในวันที่ 7 สิงหาคม ว่าน่าผิดหวังที่รัฐบาลไม่สนใจแก้
ปัญหาปากท้องของประชาชน แต่เห็นเรื่องการเมืองของคนเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องการจะได้
รับการนิรโทษกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยไม่คำนึงถึงหลักบ้านเมือง จะเป็นการทำลาย
ระบบกฎหมาย และยังไม่มีหลักประกันหรือความมั่นใจว่า จะไม่มีการพ่วงกฎหมายฉบับอื่น
หรือสอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไป
ส่วนที่มีการอ้างว่า กระทรวงมหาดไทยสำรวจความเห็นคนส่วนใหญ่ ต้องการให้มีการ
นริโทษกรรมนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่เชื่อ ยกเว้นจะมีคำถามในลักษณะชี้นำ เพราะ
สภาพในปัจจุบันไม่มีตรงไหนบ่งชี้ว่า เป็นไปอย่างที่มีการกล่าวอ้าง ดังนั้น
พรรคประชาธิปัตย์จะขอคัดค้านในสภาให้ถึงที่สุด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374750598&grpid=&catid=01&subcatid=0100
เก็บตกมาให้อ่านกัน และก็อยากถามว่า อลงกรณ์ กล้าหาญมากวันนี้ และจะยืนหยัดอยู่กับปชป.
ต่อไปไหม? เห็นต่างกันขนาดนี้ .....หมายความว่า อดีตนายกฯอภิสิทธ์ ต้องการให้ปชช. ที่อยู่ในคุก
อยู่ต่อไป แล้ว เมื่อไปผ่าความจริง ที่ แถวอีสาน จะภูกต่อต้าน ก็อย่าได้แปลกใจกัน
อย่างนี้ จะนิรโทษ หรือปรองดอง เพื่อความชขัดแย้งกันต่อไปไหม?
ข้างน้อย ใน ปชป. อลงกรณ์ พลบุตร จากปฏิรูป สู่ นิรโทษ ........... มติชนออนไลน์
เหมือนจะง่ายๆ แต่ไม่ง่าย
ท่ามกลางกระแสข่าวการถกเถียงเกี่ยวกับการ "นิรโทษกรรม"
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าภาคกลาง แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
โดยจะยึดเนื้อหาตามร่างนิรโทษฯ ฉบับของญาติผู้เสียชีวิต
เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ ของนายอลงกรณ์ รู้กันคร่าวๆ ว่าจะมีไม่กี่มาตรา ครอบคลุมผู้กระทำผิดจาก
ปี 2548 ไม่ครอบคลุมกรณีผู้กระทำผิดตามมาตรา 112
ที่น่าสนใจ ได้แก่ ท่าทีคัดค้านจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค
โดยกล่าวว่า แม้เห็นด้วยกับสาระของร่าง พ.ร.บ.ที่นายอลงกรณ์จะเสนอ แต่พรรคยังไม่ควรเสนอกฎหมายเข้าไป
เพราะเกรงจะกลายเป็นเหยื่อของรัฐบาล โดยใช้เสียงข้างมากอ้างว่า ทุกพรรคเสนอเข้าไป
แล้วนำมารวมกันพิจารณา จะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
พร้อมกับยื่นเงื่อนไขว่า รัฐบาลต้องถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯทุกฉบับในสภาออกมาก่อน
เพราะไม่สอดคล้องกับหลักการที่พรรคสนับสนุน
นายอลงกรณ์ได้ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ผมจะเสนอกฎหมายในฐานะที่เป็น ส.ส.พรรค
และคงจะมีเพียงร่างเดียวที่จะขอให้เป็นร่างของพรรค
หากที่ประชุมพรรคไม่เห็นด้วย ผมก็จะพิจารณาอีกครั้งว่า จะเสนอด้วยตัวเองเข้าสู่สภาหรือไม่
เพราะการที่มีร่างกฎหมายฉบับประชาชนขึ้นมา สะท้อนว่า 4-5 ร่างที่อยู่ในสภา
ไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประชาชน
และการที่ผมเสนอมาในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่เหมาะสม ที่ควรจะมีร่างที่เป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่าย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนแล้วว่าจะไม่เสนอร่างกฎหมายของพรรคเข้าพิจารณา
นายอลงกรณ์กล่าวว่า ถือเป็นความเห็นของนายอภิสิทธิ์ แต่ ส.ส.มีสิทธิที่จะเสนอในที่ประชุมพรรค
วันนี้เราต้องมองข้ามการเมือง จะคิดเล็กคิดน้อย เล่นแง่ทางการเมืองไม่ได้ หรือกลัวตกหลุม
ปชป.ต้องหาทางออกให้กับประเทศ และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงแค่วิพากษ์วิจารณ์
เพราะเราเป็นพรรคการเมืองใหญ่ จึงถึงเวลาที่บทบาทหน้าที่ของเราต้องเปลี่ยนแปลง
และถึงเวลาแล้วที่เราต้องลบรอยบาดแผล
หากเราไม่สมานแผลแล้วจะเดินหน้าไปได้อย่างไร
เป็นอีกครั้ง ที่ทั้งคู่ยืนอยู่คนละฝั่งความเห็น
หลังการเลือกตั้ง 2554 นายอลงกรณ์ออกมาเสนอปฏิรูปพรรค ปชป.
ขณะที่กลุ่มแกนนำพรรคที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ไม่เห็นด้วย
ทำให้แผนการปฏิรูปพรรคแป้กไป
การออกโรงของนายอลงกรณ์ในรอบนี้ จากการเคลื่อนไหวปัญหาภายใน
มาสู่ปัญหาการเมืองที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งใหญ่ในสังคม
ก็เผชิญกับแรงต้านจากกลุ่มเดิมอีกครั้ง
สะท้อนการต่อสู้ทางความคิดในพรรคที่เพิ่มมากขึ้น
คำถามที่กระตุ้นต่อมคิดและเกี่ยวข้องกับอนาคตของพรรคด้วยก็คือ
ความเห็นและจุดยืนของฝั่งไหน เป็นประโยชน์ต่อทั้งพรรค และสังคมส่วนรวมมากกว่ากัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374730657&grpid=&catid=12&subcatid=1200
มาร์คประกาศขวางร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ถึงที่สุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร
เตรียมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ
ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในวันที่ 7 สิงหาคม ว่าน่าผิดหวังที่รัฐบาลไม่สนใจแก้
ปัญหาปากท้องของประชาชน แต่เห็นเรื่องการเมืองของคนเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องการจะได้
รับการนิรโทษกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยไม่คำนึงถึงหลักบ้านเมือง จะเป็นการทำลาย
ระบบกฎหมาย และยังไม่มีหลักประกันหรือความมั่นใจว่า จะไม่มีการพ่วงกฎหมายฉบับอื่น
หรือสอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไป
ส่วนที่มีการอ้างว่า กระทรวงมหาดไทยสำรวจความเห็นคนส่วนใหญ่ ต้องการให้มีการ
นริโทษกรรมนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่เชื่อ ยกเว้นจะมีคำถามในลักษณะชี้นำ เพราะ
สภาพในปัจจุบันไม่มีตรงไหนบ่งชี้ว่า เป็นไปอย่างที่มีการกล่าวอ้าง ดังนั้น
พรรคประชาธิปัตย์จะขอคัดค้านในสภาให้ถึงที่สุด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374750598&grpid=&catid=01&subcatid=0100
เก็บตกมาให้อ่านกัน และก็อยากถามว่า อลงกรณ์ กล้าหาญมากวันนี้ และจะยืนหยัดอยู่กับปชป.
ต่อไปไหม? เห็นต่างกันขนาดนี้ .....หมายความว่า อดีตนายกฯอภิสิทธ์ ต้องการให้ปชช. ที่อยู่ในคุก
อยู่ต่อไป แล้ว เมื่อไปผ่าความจริง ที่ แถวอีสาน จะภูกต่อต้าน ก็อย่าได้แปลกใจกัน
อย่างนี้ จะนิรโทษ หรือปรองดอง เพื่อความชขัดแย้งกันต่อไปไหม?