ความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์กันต่อๆมา...พระดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ(วาสนมหาเถระ)เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๐
ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ เพื่อการเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
(จากบล็อกOKnation)
จากความข้างต้นจะเห็นว่า การสังคายนาพระไตรปิฎกนั้นสำคัญและจำเป็น เพราะเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา
จากการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทยที่เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อพ.ศ.๒๐๒๐
การสังคายนาครั้งที่ ๒ ต้องรอจนรัชสมัยของร.๑ และพระราชวังบวรฯในปีพ.ศ.๒๓๓๑ ด้วยเหตุว่าในเวลานั้นว่า พระไตรปิฎกมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก จึงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชและพระสงฆ์อีก ๒๑๘ รูปราชบัณฑิตและอุบาลกอีก ๓๘ คน ชำระและจารึกไว้ในใบลาน เป็นภาษาบาลี ด้วยอักษรขอม เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับทอง
การสังคายนาครั้งที่ ๓ ในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าฯ ร.๕ ครองราชครบ ๒๕ ปี ในพ.ศ.๒๔๓๑ ห่างจากครั้งที่สอง ๑๐๐ ปีพอดี โดยพิมพ์ด้วยอักษรไทย เป็นหนังสือ ๓๙ เล่ม
การสังคายนาครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าร.๗ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับ สยามรัฐ เป็นหนังสือ ๔๕ เล่ม การสังคายนาครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อน ๓๗ ปี
การสังคายนาครั้งที ๕ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ในรัชสมัย ร.๘ ต่อ ร.๙ โดยพระสมเด็จสังฆราช(แพ)เป็นประธาน เพื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
ครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อน ๑๕ ปี เรียกพระไตรปิฎกฉบับหลวง
ครั้งที่ ๖ ๗ และ ๘ ไม่น่าจะใช่การสังคายนา
ครั้งที่ ๙ ใน พ.ศ.๒๕๓๐ ในหลวงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)ทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์ต่อ ๆกันมา เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อน ๔๗ ปี
จะเห็นว่ามีการสังคายนาเพื่อชำระพระไตรปิฎกอยู่โดยตลอด แสดงให้เห็นว่ามีความวิปลาส คลาดเคลื่อน (ใช้คำของพระสังฆราช)อยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเมื่อพบก็ทำการสังคายนาแก้ไขให้ถูกต้อง
และการพบความวิปลาสความคลาดเคลื่อนในพระไตรปิฎกนั้น จะพบได้ในทุกกาลเวลาที่ผ่านมาอยู่ตลอด ทำไมจึงจะเชื่อว่า ในปัจจุบัน จะไม่มีความวิปลาสคลาดเคลื่อนอีกในพระไตรปิฎก
อันว่าด้วยพระไตรปิฎก...มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจาก.....
ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ เพื่อการเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
(จากบล็อกOKnation)
จากความข้างต้นจะเห็นว่า การสังคายนาพระไตรปิฎกนั้นสำคัญและจำเป็น เพราะเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา
จากการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทยที่เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อพ.ศ.๒๐๒๐
การสังคายนาครั้งที่ ๒ ต้องรอจนรัชสมัยของร.๑ และพระราชวังบวรฯในปีพ.ศ.๒๓๓๑ ด้วยเหตุว่าในเวลานั้นว่า พระไตรปิฎกมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก จึงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชและพระสงฆ์อีก ๒๑๘ รูปราชบัณฑิตและอุบาลกอีก ๓๘ คน ชำระและจารึกไว้ในใบลาน เป็นภาษาบาลี ด้วยอักษรขอม เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับทอง
การสังคายนาครั้งที่ ๓ ในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าฯ ร.๕ ครองราชครบ ๒๕ ปี ในพ.ศ.๒๔๓๑ ห่างจากครั้งที่สอง ๑๐๐ ปีพอดี โดยพิมพ์ด้วยอักษรไทย เป็นหนังสือ ๓๙ เล่ม
การสังคายนาครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าร.๗ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับ สยามรัฐ เป็นหนังสือ ๔๕ เล่ม การสังคายนาครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อน ๓๗ ปี
การสังคายนาครั้งที ๕ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ในรัชสมัย ร.๘ ต่อ ร.๙ โดยพระสมเด็จสังฆราช(แพ)เป็นประธาน เพื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
ครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อน ๑๕ ปี เรียกพระไตรปิฎกฉบับหลวง
ครั้งที่ ๖ ๗ และ ๘ ไม่น่าจะใช่การสังคายนา
ครั้งที่ ๙ ใน พ.ศ.๒๕๓๐ ในหลวงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)ทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์ต่อ ๆกันมา เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อน ๔๗ ปี
จะเห็นว่ามีการสังคายนาเพื่อชำระพระไตรปิฎกอยู่โดยตลอด แสดงให้เห็นว่ามีความวิปลาส คลาดเคลื่อน (ใช้คำของพระสังฆราช)อยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเมื่อพบก็ทำการสังคายนาแก้ไขให้ถูกต้อง
และการพบความวิปลาสความคลาดเคลื่อนในพระไตรปิฎกนั้น จะพบได้ในทุกกาลเวลาที่ผ่านมาอยู่ตลอด ทำไมจึงจะเชื่อว่า ในปัจจุบัน จะไม่มีความวิปลาสคลาดเคลื่อนอีกในพระไตรปิฎก