การยอมรับความจริง ว่าพระไตรปิฎกมีการเขียนเรียบเรียงเพิ่มเติมในภายหลัง(บางส่วน) ก็ไม่กระทบคุณค่าและความน่าเชื่อถือ?

เท่าที่อ่าน ๆ ฟัง ๆ มา...นักวิชาการก็เห็นตรงกันว่า ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 และ 3...มีการเขียน, เรียบเรียง, เพิ่มเนื้อหา บางส่วนเข้ามาอีก (ไม่ใช่แค่การจัดหมวดหมู่ใหม่)

โดยหลักฐาน ก็คือ ข้อความในพระไตรปิฎกนั่นเอง...ที่มีการกล่าวถึงการสังคายนาครั้งที่ 1 และ 2...ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 วิ.จุลล. (ซึ่งนักวิชาการเห็นว่า ข้อความเหล่านี้น่าจะเขียนขึ้นในสังคายนาครั้งที่ 3)

...และนักวิชาการส่วนใหญ่ ก็เห็นตรงกันว่า คัมภีร์กถาวัตถุ (คัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรม)...แต่งขึ้นในการสังคายนาครั้งที่ 3 โดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระและคณะ

******************

ดังนั้น การเขียนเพิ่ม หรือ เรียบเรียงจัดหมวดหมู่ใหม่...ในการสังคายนาครั้งหลัง ๆ เช่น ครั้งที่ 3...ก็ไม่ทำให้คุณค่าและความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก--ลดลง...เพราะมีการยอมรับมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ยุคไหนสมัยไหนแล้ว...ประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะมาถถเถียงอะไรกันอีก

...และประเด็นที่ว่า มีบางส่วนเป็นคำพูด/คำสอนของพระสาวก ไม่ใช่คำพูดคำสอน (พระพุทธพจน์, พระพุทธดำรัส) ของพระพุทธเจ้า--อันนี้ คนก็ยอมรับอยู่แล้ว คัมภีร์ก็ระบุไว้อยู่แล้ว ว่าบางส่วน บางเรื่องเป็นคำสอนของพระสาวก เช่น พระสารีบุตร พระเถระ-พระเถรีต่าง ๆ

******************

คำถาม

- แล้วประเด็นปัญหา ที่บางสำนัก/บางวัด/บางรูป เปิดประเด็นขึ้นมาคืออะไร?

- แล้วฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ไปโจมตีสำนัก/วัด/พระภิกษุ นั้น...ไม่เห็นด้วยกับเรื่องอะไร?

- แล้วคุณค่าและความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก...ลดลงตรงไหน?

(ในเมื่อ ทุกฝ่ายยอมรับกันมาตั้งแต่ต้นแล้ว ว่าพระไตรปิฎกมีการเขียนเรียบเรียงเพิ่มเติมในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 หรือ 3...และไม่ใช่พระพุทธพจน์/พระพุทธดำรัส แท้ ๆ ทั้งหมด 100%...มีคำสอนของพระสาวก พระเถระ-พระเถรี รวมอยู่ด้วย)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่