(ข้อความบางตอนในหนังสือ)
การจัดชั้นของบาลีอรรถกถา ก็เนื่องด้วยกาลเวลานั้นเอง
พระไตรปิฎก เป็นของมีมาก่อน ก็จัดเป็นหลักฐานชั้น ๑
คำอธิบายพระไตรปิฎก แต่งขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปีภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงจัดเป็นชั้น ๒
ส่วนฎีกานั้น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๓
อนึ่ง คัมภีร์อนุฎีกานั้น แต่งขึ้นภายหลังฎีกาในยุคต่อ ๆ มา เป็นคำอธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๔
อย่างไรก็ตาม
แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น ๑
เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตในกาลามสูตร ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป
ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น
แสดงว่า
พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล สอบสวนดูให้ประจักษ์แก่ใจตนเอง
เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักษ์ผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง
แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา
เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย
ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรก เรียกว่า ปริยัติ
การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปฏิบัติ
การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ
-----------------------------------------
"พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม"
โดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
ดาวน์โหลด eBook ไฟล์ pdf ได้จาก
http://www.ebooks.in.th/615/พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน/
หรืออ่านออนไลน์ได้ที่
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/
------------------------------------------------------
หัวข้อเนื้อหาภายในเล่ม
# ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก #
- พระไตรปิฎกคืออะไร
- พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง
- ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
- พระอานนท์เกี่ยวกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- เงื่อนไขฝ่ายปฏิเสธ,เงื่อนไขฝ่ายขอร้อง
- พระอุบาลีเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- พระโสณกุฏิกัณณะเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- พระมหากัสสปเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย
- พระสาริบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย
- พระจุนทะเถระผู้ปรารถนาดี
- การสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
- การสวดปาฏิโมกข์ต่างจากการสังคายนาอย่างไร
- ปัญหาเรื่องการนับครั้งในการสังคายนา
- การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
- การสังคายนาครั้งที่ ๑,๒,๓,๔
- การนับสังคายนาของลังกา
- การนับสังคายนาของพม่า
- การนับสังคายนาของไทย
- การนับสังคายนาของฝ่ายมหายาน
- การสังคายนาของมหาสังฆิกะ
- การสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท
- สังคายนานอกประวัติศาสตร์
- ลำดับอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก
- สายวินัยปิฎก, สายสุตตันตปิฎก, สายอภิธัมมปิฎก
- การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
- สมัยที่ ๑ พระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่
- สมัยที่ ๒ รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ
- สมัยที่ ๓ รัชกาลที่ ๕ กรุงเทพฯ
- สมัยที่ ๔ รัชกาลที่ ๗ กรุงเทพฯ
- ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแต่ละปิฎก
- วินัยปิฎก, สุตตันตปิฎก
- ข้อสังเกตุท้ายสุตตันตปิฎก
- อภิธัมมปิฎก
- ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
- คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อของพระอรรถกถาจารย์
# ว่าด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการชำระ, การจารึกและการพิมพ์พระไตรปิฎก ในประเทศไทย #
เอกสารทางประวัติศาสตร์ ที่นำมาพิมพ์ไว้ในภาค ๒ นี้ มี ๓ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑
เกี่ยวกับการชำระและจารึกพระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑ มี ๒ ชิ้น
ส่วนที่ ๒
เกี่ยวกับการชำระ และการพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๕ มี ๓ ชิ้น
ส่วนที่ ๓
เกี่ยวกับการชำระ และการพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๗ มี ๑ ชิ้น
๑. เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการจารึกพระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑ (ฉบับพระราชหัตถเลขา)
คำประกาศเทวดาครั้งสังคายนารัชกาลที่ ๑
๒. เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๕
การสาสนูปถัมภกคือการพิมพ์พระไตรปิฎก
ประกาศสังคายนาย
พระราชดำรัสแก่พระสงฆ์โดยพระองค์
๓. รายงานการสร้างพระไตรปิฎก (รัชกาลที่ ๗)
# ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก #
# พระวินัยปิฎก#
# พระสุตตันตปิฎก #
# พระอภิธรรมปิฎก #
ชวนอ่านและศึกษา - "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม"
(ข้อความบางตอนในหนังสือ)
การจัดชั้นของบาลีอรรถกถา ก็เนื่องด้วยกาลเวลานั้นเอง
พระไตรปิฎก เป็นของมีมาก่อน ก็จัดเป็นหลักฐานชั้น ๑
คำอธิบายพระไตรปิฎก แต่งขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปีภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงจัดเป็นชั้น ๒
ส่วนฎีกานั้น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๓
อนึ่ง คัมภีร์อนุฎีกานั้น แต่งขึ้นภายหลังฎีกาในยุคต่อ ๆ มา เป็นคำอธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๔
อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น ๑
เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตในกาลามสูตร ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป
ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น
แสดงว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล สอบสวนดูให้ประจักษ์แก่ใจตนเอง
เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักษ์ผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง
แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา
เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย
ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรก เรียกว่า ปริยัติ
การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปฏิบัติ
การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ
-----------------------------------------
"พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม"
โดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
ดาวน์โหลด eBook ไฟล์ pdf ได้จาก
http://www.ebooks.in.th/615/พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน/
หรืออ่านออนไลน์ได้ที่
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/
------------------------------------------------------
หัวข้อเนื้อหาภายในเล่ม
# ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก #
- พระไตรปิฎกคืออะไร
- พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง
- ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
- พระอานนท์เกี่ยวกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- เงื่อนไขฝ่ายปฏิเสธ,เงื่อนไขฝ่ายขอร้อง
- พระอุบาลีเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- พระโสณกุฏิกัณณะเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- พระมหากัสสปเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกอย่างไร
- พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย
- พระสาริบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย
- พระจุนทะเถระผู้ปรารถนาดี
- การสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
- การสวดปาฏิโมกข์ต่างจากการสังคายนาอย่างไร
- ปัญหาเรื่องการนับครั้งในการสังคายนา
- การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
- การสังคายนาครั้งที่ ๑,๒,๓,๔
- การนับสังคายนาของลังกา
- การนับสังคายนาของพม่า
- การนับสังคายนาของไทย
- การนับสังคายนาของฝ่ายมหายาน
- การสังคายนาของมหาสังฆิกะ
- การสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท
- สังคายนานอกประวัติศาสตร์
- ลำดับอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก
- สายวินัยปิฎก, สายสุตตันตปิฎก, สายอภิธัมมปิฎก
- การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
- สมัยที่ ๑ พระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่
- สมัยที่ ๒ รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ
- สมัยที่ ๓ รัชกาลที่ ๕ กรุงเทพฯ
- สมัยที่ ๔ รัชกาลที่ ๗ กรุงเทพฯ
- ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแต่ละปิฎก
- วินัยปิฎก, สุตตันตปิฎก
- ข้อสังเกตุท้ายสุตตันตปิฎก
- อภิธัมมปิฎก
- ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
- คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อของพระอรรถกถาจารย์
# ว่าด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการชำระ, การจารึกและการพิมพ์พระไตรปิฎก ในประเทศไทย #
เอกสารทางประวัติศาสตร์ ที่นำมาพิมพ์ไว้ในภาค ๒ นี้ มี ๓ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑
เกี่ยวกับการชำระและจารึกพระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑ มี ๒ ชิ้น
ส่วนที่ ๒
เกี่ยวกับการชำระ และการพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๕ มี ๓ ชิ้น
ส่วนที่ ๓
เกี่ยวกับการชำระ และการพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๗ มี ๑ ชิ้น
๑. เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการจารึกพระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑ (ฉบับพระราชหัตถเลขา)
คำประกาศเทวดาครั้งสังคายนารัชกาลที่ ๑
๒. เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๕
การสาสนูปถัมภกคือการพิมพ์พระไตรปิฎก
ประกาศสังคายนาย
พระราชดำรัสแก่พระสงฆ์โดยพระองค์
๓. รายงานการสร้างพระไตรปิฎก (รัชกาลที่ ๗)
# ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก #
# พระวินัยปิฎก#
# พระสุตตันตปิฎก #
# พระอภิธรรมปิฎก #