เคยมีโอกาสไปทำบุญที่วัดระฆังหลายครั้ง ปกติก็รู้จักแต่สมเด็จโต เลยลองไปหาประวัติวัดระฆัง ก็พึ่งรู้ว่า....
ที่วัดระฆังมี สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และท่านก็เคยเป็นพระสังฆราชสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรีอีกต่างหาก
เรียกได้ว่าเป็นทั้ง2ราชวงศ์เลยนะคะ
แต่ที่สำคัญที่สุดท่านเป็นคนที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่1 ด้วย
ลองหาข้อมูลของท่าน ทำให้รู้สึกประทับใจ จึงอยากเอาข้อมูลมาแบ่งปันกับทุกท่าน
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กันคนเข้ามาอ่านนะคะ (ไม่รู้จะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนในพันทิปหรือเปล่า..)
--------
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
ทรงเป็น
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีพระชนมายุอยู่ในช่วง3ราชธานี (อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์)
ประจำอยู่ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2325
สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2337
ดำรงตำแหน่ง 12 พรรษา
พระชนมายุ น่าจะไม่น้อยกว่า 80 พรรษา
ในพระประวัติของท่านช่วงแรกไม่มีการบันทึกไว้ รู้เพียงแค่เดิมเป็นพระอาจารย์ศรีอยู่ วัดพนัญเชิง
แต่หลังจากอยุธยาโดนตีแตก ในปี พ.ศ. 2310 ท่านได้หนีภัยสงครามไปอยู่นครศรีธรรมราช
พอถึงปี พ.ศ. 2312 พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบเมืองนครศรี จึงได้นิมนต์ท่านให้มาอยู่ที่วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม)
และทรงสถาปนาเป็น
สมเด็จพระสังฆราช และเป็น
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 ของกรุงธนบุรี
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2324 ได้ถูกถอดจากตำแหน่ง เนื่องจากถวายวิสัชนาเรื่อง พระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล
เมื่อถึงปี 2325 รัชกาลที่1 ขึ้นครองราชย์ แล้วตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์เดิมให้
สมเด็จพระสังฆราช(ศรี) และไปอยู่ที่วัดระฆังตามเดิม
โดยในยุคต้นรัชกาลนั้น
สมเด็จพระสังฆราชศรี ทรงเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
เพราะช่วงที่ผ่านมาไทยเราอยู่ในยุคเกิดภัยสงครามมาโดยตลอด
สมเด็จพระสังฆราชศรี ได้ลงมาพัฒนาฟื้นฟูทั้ง ในด้านความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระภิกษุ
การซ่อมแซม ปฎิสังขรณ์วัด การเทศน์สอน และตอบคำถามให้ความรู้ธรรมะกับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสังคายนาพระไตรปิฎกในปี 2331
ผลงานที่สำคัญ
งานสังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ.2331
ณ วัดนิพพานาราม หรือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (วัดนี้มีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ลองอ่านได้ใน spoil )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ชื่อเดิมของวัดมหาธาตุ คือ
วัดสลัก เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
วัดนิพพานาราม เป็นชื่อสมัยกรุงธนบุรี กรมพระาชวังบวร ทรงบูรณะ แล้วตั้งชื่อให้ใหม่
วัดพระศรีสรรเพชญ ปี พ.ศ.2331 เป็นชื่อที่รัชกาลที่ 1 ตั้งให้ในช่วงมีการสังคายนาพระไตรปิฎก
วัดมหาธาตุ ปี พ.ศ. 2346 รัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ เนื่องจากที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งครั้งนี้การ
สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการ
สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 ของไทย (ครั้งที่1 ในไทยปี พ.ศ.2020 ที่เมืองเชียงใหม่
โดยรวบรวมบรรดาพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ ตรวจชำระแล้วแปลงเป็นอักษรขอม
และสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ ไว้ศึกษาทุกพระอารามหลวง
ในครั้งนั้น
สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม
เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ 32 คน
การชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ใช้เวลา 5 เดือน
ได้จารึกพระไตรปิฎกลงลานใหญ่ แล้วปิดทองทึบ ทั้งปกหน้าปกหลัง และกรอบ เรียกว่า ฉบับทอง
ทำการสมโภช แล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุก ตั้งไว้ในหอพระมณเทียรธรรม กลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เกร็ดประวัติเรื่องการสังฆยนาพระไตรปิฎก
ในบันทึกพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 บันทึกไว้ว่า ตลอดระยะเวลา 5 เดือน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระอนุชาเสด็จไปพระอารามทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
เวลาเช้าทรงประเคนสำรับอาหาร ส่วนเวลาเย็นทรงถวายน้ำอัฐบาน (น้ำผลไม้คั้น) และธูปเทียนทุกวัน
แสดงให้เห็นพระอุตสาหะและพระราชจริยวัตรอันงดงาม ที่พระองค์ทรงทุ่มเทในฐานะที่เป็นองค์ศาสนูปถัมภก
เพื่อสนับสนุนให้การกระทำสังคายนาครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ให้จงได้
เพื่อยังคำสอนอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คืนกลับมาสู่แผ่นดินไทย ดังพระราชดำรัสว่า…
“ ครั้งนี้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์เกิดขึ้นจงได้
ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้น เป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย
สุดแต่จะให้ปริยัติสมบูรณ์เป็นมูลที่ตั้งพระพุทธศาสนาจงได้ ”
นอกจากนั้น ในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น
มีพระราชปุจฉา (ถาม-ตอบ) เกี่ยวกับการพระศาสนาด้านต่างๆ จากรัชกาลที่ 1
ไปยังสมเด็จพระสังฆราชมากกว่า 50 เรื่อง ซึ่ง
สมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระสงฆ์ราชาคณะ
ก็ได้ถวายพระพรแก้พระราชปุจฉา เป็นที่ต้องตามพระราชประสงค์ทุกประการ
จึงเรียกได้ว่าท่านเป็นทั้งพระสังฆราชที่รวมใจ และเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา อย่างแท้จริงในยุครัตนโกสินทร์ค่ะ
-------
จบค่ะ ... ปลื้ม
ขอให้บุญที่ช่วยเผยแพร่ประวัติ-คำสอน ของพระสังฆราชในครั้งนี้ทำให้ผู้อ่านทุกท่านจงมีความสุขในธรรมนะคะ
(มีคำราชาศัพท์เยอะมาก ยังไม่ค่อยกล้าปรับซักเท่าไร แต่คาดว่าไม่เกินความสามารถของชาวพับทิป
)
นำข้อมูลมาจาก
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=2&page=t30-2-infodetail03.html
http://www.dhammathai.org/thailand/sangkharaja01.php
http://kalyanamitra.org/th/uniboon_detail.php?page=2867
th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระอริยวงษญาณ_สมเด็จพระสังฆราช_(ศรี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13188
พระสังฆราช 2 ราชวงศ์ - สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ผู้สังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
ที่วัดระฆังมี สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และท่านก็เคยเป็นพระสังฆราชสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรีอีกต่างหาก
เรียกได้ว่าเป็นทั้ง2ราชวงศ์เลยนะคะ
แต่ที่สำคัญที่สุดท่านเป็นคนที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่1 ด้วย
ลองหาข้อมูลของท่าน ทำให้รู้สึกประทับใจ จึงอยากเอาข้อมูลมาแบ่งปันกับทุกท่าน
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กันคนเข้ามาอ่านนะคะ (ไม่รู้จะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนในพันทิปหรือเปล่า..)
--------
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีพระชนมายุอยู่ในช่วง3ราชธานี (อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์)
ประจำอยู่ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2325
สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2337
ดำรงตำแหน่ง 12 พรรษา
พระชนมายุ น่าจะไม่น้อยกว่า 80 พรรษา
ในพระประวัติของท่านช่วงแรกไม่มีการบันทึกไว้ รู้เพียงแค่เดิมเป็นพระอาจารย์ศรีอยู่ วัดพนัญเชิง
แต่หลังจากอยุธยาโดนตีแตก ในปี พ.ศ. 2310 ท่านได้หนีภัยสงครามไปอยู่นครศรีธรรมราช
พอถึงปี พ.ศ. 2312 พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบเมืองนครศรี จึงได้นิมนต์ท่านให้มาอยู่ที่วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม)
และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และเป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 ของกรุงธนบุรี
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2324 ได้ถูกถอดจากตำแหน่ง เนื่องจากถวายวิสัชนาเรื่อง พระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล
เมื่อถึงปี 2325 รัชกาลที่1 ขึ้นครองราชย์ แล้วตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์เดิมให้สมเด็จพระสังฆราช(ศรี) และไปอยู่ที่วัดระฆังตามเดิม
โดยในยุคต้นรัชกาลนั้น สมเด็จพระสังฆราชศรี ทรงเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
เพราะช่วงที่ผ่านมาไทยเราอยู่ในยุคเกิดภัยสงครามมาโดยตลอด
สมเด็จพระสังฆราชศรี ได้ลงมาพัฒนาฟื้นฟูทั้ง ในด้านความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระภิกษุ
การซ่อมแซม ปฎิสังขรณ์วัด การเทศน์สอน และตอบคำถามให้ความรู้ธรรมะกับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสังคายนาพระไตรปิฎกในปี 2331
ผลงานที่สำคัญ
งานสังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ.2331
ณ วัดนิพพานาราม หรือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (วัดนี้มีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ลองอ่านได้ใน spoil )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่งครั้งนี้การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 ของไทย (ครั้งที่1 ในไทยปี พ.ศ.2020 ที่เมืองเชียงใหม่
โดยรวบรวมบรรดาพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ ตรวจชำระแล้วแปลงเป็นอักษรขอม
และสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ ไว้ศึกษาทุกพระอารามหลวง
ในครั้งนั้น สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม
เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ 32 คน
การชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ใช้เวลา 5 เดือน
ได้จารึกพระไตรปิฎกลงลานใหญ่ แล้วปิดทองทึบ ทั้งปกหน้าปกหลัง และกรอบ เรียกว่า ฉบับทอง
ทำการสมโภช แล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุก ตั้งไว้ในหอพระมณเทียรธรรม กลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เกร็ดประวัติเรื่องการสังฆยนาพระไตรปิฎก
ในบันทึกพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 บันทึกไว้ว่า ตลอดระยะเวลา 5 เดือน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระอนุชาเสด็จไปพระอารามทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
เวลาเช้าทรงประเคนสำรับอาหาร ส่วนเวลาเย็นทรงถวายน้ำอัฐบาน (น้ำผลไม้คั้น) และธูปเทียนทุกวัน
แสดงให้เห็นพระอุตสาหะและพระราชจริยวัตรอันงดงาม ที่พระองค์ทรงทุ่มเทในฐานะที่เป็นองค์ศาสนูปถัมภก
เพื่อสนับสนุนให้การกระทำสังคายนาครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ให้จงได้
เพื่อยังคำสอนอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คืนกลับมาสู่แผ่นดินไทย ดังพระราชดำรัสว่า…
“ ครั้งนี้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์เกิดขึ้นจงได้
ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้น เป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย
สุดแต่จะให้ปริยัติสมบูรณ์เป็นมูลที่ตั้งพระพุทธศาสนาจงได้ ”
นอกจากนั้น ในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น
มีพระราชปุจฉา (ถาม-ตอบ) เกี่ยวกับการพระศาสนาด้านต่างๆ จากรัชกาลที่ 1
ไปยังสมเด็จพระสังฆราชมากกว่า 50 เรื่อง ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระสงฆ์ราชาคณะ
ก็ได้ถวายพระพรแก้พระราชปุจฉา เป็นที่ต้องตามพระราชประสงค์ทุกประการ
จึงเรียกได้ว่าท่านเป็นทั้งพระสังฆราชที่รวมใจ และเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา อย่างแท้จริงในยุครัตนโกสินทร์ค่ะ
-------
จบค่ะ ... ปลื้ม
ขอให้บุญที่ช่วยเผยแพร่ประวัติ-คำสอน ของพระสังฆราชในครั้งนี้ทำให้ผู้อ่านทุกท่านจงมีความสุขในธรรมนะคะ
(มีคำราชาศัพท์เยอะมาก ยังไม่ค่อยกล้าปรับซักเท่าไร แต่คาดว่าไม่เกินความสามารถของชาวพับทิป )
นำข้อมูลมาจาก
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=2&page=t30-2-infodetail03.html
http://www.dhammathai.org/thailand/sangkharaja01.php
http://kalyanamitra.org/th/uniboon_detail.php?page=2867
th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระอริยวงษญาณ_สมเด็จพระสังฆราช_(ศรี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13188