พุทธวจน หรือแค่อ้างพุทธวจน เพื่อให้รู้ว่าตนเป็นผู้มีปัญญามาก

กระทู้คำถาม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



พระคึกฤทธิ์ท่านบอกว่าไม่ให้เชื่ออรรถกถา  คือคำของพระอริยสาวกและพระอริยเจ้าในต้นพุทธกาล

แต่คำที่ท่านอธิบายเรื่องน้ำปานะนี้ก็ไม่ต่างจากอรรถกถา (การอธิบายขยายความก็คืออรรถกถานั่นเอง)

แสดงว่าท่านมีความรู้และปัญญามากกว่าพระอริยสาวกและพระอริยเจ้าทั้งหลาย

ที่ทำการสังคายนาแล้วบันทึกเป็นพระไตรปิฏกเมื่อครั้งต้นพุทธกาลอย่างนั้นหรือ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 42
อ้างอิง "พุทธพจน์" "พุทธวจน" มีพระสูตรไหน สนับสนุนให้ "ค้าขายธรรม" เหรอครับ???













เท่เท่เท่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
             พระพุทธพจน์ :-
             ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา
             มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม
             ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=1244&w=ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
             สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             สิคาลสูตรที่ ๒
             [๖๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอได้ฟังเรื่องของสุนัขจิ้งจอกผู้อยู่ในปัจจุสสมัยแห่งราตรีแล้วมิใช่
หรือ ฯ
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกตัญญูบางอย่าง ความกตเวทีบางอย่าง
พึงมีในสุนัขจิ้งจอกแก่นั้น แต่ความกตัญญูบางอย่าง ความกตเวทีบางอย่าง ไม่พึงมี
ในภิกษุบางรูป ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรในธรรมวินัยนี้เลย เพราะเหตุดังนี้นั้น
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้กตัญญู เราจักเป็นผู้กตเวที อุปการะ
แม้น้อยที่บุคคลกระทำแล้วในพวกเรา จักไม่เสื่อมหายไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
             จบสูตรที่ ๑๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7171&Z=7191
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=685

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
             สัจจวิภังคสูตร
[บางส่วน]
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด
ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตร
เปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว
สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง
สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔
ได้โดยพิสดาร
             พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคต ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ฯ
- - - - - - - - - - - - - - -
ควรศึกษาทั้งพระสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9020&Z=9160
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=698

             หมวดหนังสือธรรมะ
             เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html

แนะนำ :-
             อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
             อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
             พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/

             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
             สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?     

             หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
             เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
             เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
             เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่