*อรรถะ-กถา และ พยัญชนะ* ในข้อธรรมะของพระพุทธเจ้า [-ไม่ตามมุมมองของบุคคลใดนั้นฯ-]

"ธรรมตามจริง"


*การหยั่งรู้ การเห็น-ตามความเป็นจริง*
[ ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ ]

"การพ้นทุกข์โดยไม่รู้-ไม่มี ฐานรากแห่งอริยสัจ ๔ นี้-นั้น...มันเป็นไปไม่ได้เลย-นะ !!!"
[ ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ ]


ภิกษุทั้งหลาย...-[ข้อนี้-อริยสัจ ๔ นี้]-เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า...
"ฉันไม่ต้องทำพื้นฐานรากในเบื้องล่างของเรือนดอก  แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้"
ดังนี้        

นี่ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ฉันใด - ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น.
คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า..."ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ
คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์,
เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์, และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นั้นดอก        
แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง" ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย... และ-[ข้อนี้-อริยสัจ ๔ นี้]-เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า...
"ฉันต้องทำฐานรากของเรือนตอนล่างเสียก่อน  จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้"
ดังนี้

นี่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันใด - ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น.
คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า..."ฉันครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ          
คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์,
เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์, และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นั้นแล้ว    
ฉันจึงจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง" ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย... เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง
ว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์"...ดังนี้เถิด.
ที่มา:ศึกษาจาก @:> มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-๖.

ถ้าสติมีปัญญาเป็นประธาน ก็แน่นอนได้ใน พยัญชนะ.  ถ้าปัญญามีสติเป็นประธาน ก็แทงตลอดได้ใน อรรถะ.

สัมมาปัญญา มีคุณสถานเดียว
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ฯ.
ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณและชื่อเสียง ฯ.
คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้...
...แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้


การฟัง (เล่าเรียน) พระธรรม-คำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ทรงสอนมิให้ฟังเพื่อจดจำเท่านั้น
แต่ทรงสอนให้ฟัง [เล่าเรียน ] เพื่อขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด  เพื่อให้เป็นที่เที่ยวไปของใจอย่างสบาย  เพื่อให้บังเกิดความหน่าย, สิ้นความติดใจยินดี  ให้เป็นไปเพื่อดับตัณหา ดับความทะยานอยาก-ดิ้นรน ให้เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม-เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อที่จะหนีไกลจากกิเลสให้อย่างยิ่ง.

พระพุทธองค์ คือสมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสอนให้ ปฎิบัติ [ ปฎิบัติดี-ปฎิบัติชอบ ] ไปพร้อมกับการอ่าน [เล่าเรียน] หรือการฟัง [เล่าเรียน] พระธรรม-คำสอน ให้เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา
เพื่อใช้ปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น แก้ไขจิตใจตนไป-ให้เกิดผลจากการ ปฎิบัติ [คือปฎิบัติดี-ปฎิบัติชอบ] ไปพร้อมกับการฟังหรือการอ่าน[เล่าเรียน]เลยทีเดียว    

มิใช่แค่ พยายามจดจำพระธรรม-คำสอนไว้ [ ให้มาก ] เท่านั้น!!!



ที่มา : ศึกษาจาก @> *วิธีฟังธรรม* [อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ]
ธรรมอบรมจิต : ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
https://sites.google.com/site/smartdhamma/withi-fang-thrrm
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่