........................หนังสือพิมพ์กว่างซี เดลี่ : ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา “เขตฯ กว่างซีจ้วง” พยายามปรับโครงสร้างการผลิตผลไม้ของตนเอง เพื่อลดผลกระทบจากการดำเนินข้อตกลง “ภาษีศูนย์” ภายใต้กรอบ FTA ระหว่างจีน-อาเซียน
จีน-ไทย เริ่มลดภาษีระหว่างกันในกลุ่มสินค้าเกษตรพิกัด 07-08 (ผัก และผลไม้) ภายใต้กรอบ Early Harvest จีน-อาเซียน เหลือร้อยละ “ศูนย์” ล่วงหน้า 3 เดือน (เริ่ม 1 ตุลาคม 2546) ก่อนที่กรอบข้อตกลงกรอบใหญ่ (จีนกับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ) จะดำเนินการลดภาษีระหว่างกันในวันที่ 1 มกราคม 2547
การดำเนินนโยบายดังกล่าวสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลไม้ในเขตฯ กว่างซีจ้วงไม่น้อย กว่างซีจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างการผลิตในมณฑลใหม่ โดยลดพื้นที่การปลูกผลไม้เมืองร้อนและหันมาสนับสนุนการผลิตผลไม้เขตกึ่งร้อนทดแทน
ตามรายงาน หลังจากที่จีน-ไทย ดำเนินนโยบาย “ภาษีศูนย์” ได้สร้างความเสียหายให้กับการปลูกผลไม้เมืองร้อนในกว่างซี เช่น ลำใย ลิ้นจี่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 600 ล้านหยวน
ความได้เปรียบด้านคุณภาพ ราคา และรสชาติของผลไม้ชนิดเดียวกันจากอาเซียน ส่งผลให้กว่างซีจำต้องลดพื้นที่การปลูกลง โดยเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน พบว่า พื้นที่ปลูกลำไย ลิ้นจี่ในกว่างซีลดลงมากกว่า 1 ล้านหมู่จีน (ราว 4.16 แสนไร่)
กว่างซีได้ปรับตัวและเบนเข็มไปปลูกผลไม้ประเภทอื่น โดยเฉพาะผลไม้เขตกึ่งร้อน เช่น ส้มชนิดต่างๆ ลูกพลับ กล้วยหอม องุ่น กีวี ฯลฯ เพื่อลดผลกระทบและสร้างแรงแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมผลไม้ของตนเอง
ปัจจุบัน กว่างซีก้าวขึ้นมาเป็นมณฑลที่มีศักยภาพการผลิตผลไม้รายใหญ่อันดับ 5 ของจีน โดยผลไม้หลายชนิดมีปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับหนึ่งของจีน โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลส้ม และลูกพลับ
จากข้อมูลปี 55 กว่างซีมีพื้นที่ปลูกผลไม้ 14.96 ล้านหมู่จีน (ราว 6.23 ล้านไร่) ปริมาณผลผลิต 10.31 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการผลิต 25,200 ล้านหยวน (คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 10 มูลค่าการผลิตภาคการเพาะปลูกของกว่างซี)
BIC ตั้งข้อสังเกตว่า กว่างซีไม่ได้ละทิ้งการปลูกผลไม้เมืองร้อนแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีการลดพื้นที่การปลูกลง แต่ในขณะเดียวกันกว่างซีได้มุ่งมั่นด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ผลไม้เขตร้อนให้ได้คุณภาพทัดเทียมผลไม้จากอาเซียน
อีกทั้ง ยังมีการขยายพื้นที่การปลูกผลไม้บางชนิดที่ยังมีช่องว่างทางการตลาด เพื่อแข่งขันกับประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น แก้วมังกร ชมพู่ และมะม่วง
ดังนั้น อุตสาหกรรมผลไม้ไทยไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะเมื่อใดที่กว่างซี (จีน) สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมผลไม้ของตนเองจนมีคุณภาพเทียบชั้นของไทยแล้ว ตลาดส่งออกของไทยคงได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน
ที่มา
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=12858
"ภาษีศูนย์" บีบอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้กว่างซีต้อง "รุก รับ และปรับตัว"
จีน-ไทย เริ่มลดภาษีระหว่างกันในกลุ่มสินค้าเกษตรพิกัด 07-08 (ผัก และผลไม้) ภายใต้กรอบ Early Harvest จีน-อาเซียน เหลือร้อยละ “ศูนย์” ล่วงหน้า 3 เดือน (เริ่ม 1 ตุลาคม 2546) ก่อนที่กรอบข้อตกลงกรอบใหญ่ (จีนกับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ) จะดำเนินการลดภาษีระหว่างกันในวันที่ 1 มกราคม 2547
การดำเนินนโยบายดังกล่าวสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลไม้ในเขตฯ กว่างซีจ้วงไม่น้อย กว่างซีจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างการผลิตในมณฑลใหม่ โดยลดพื้นที่การปลูกผลไม้เมืองร้อนและหันมาสนับสนุนการผลิตผลไม้เขตกึ่งร้อนทดแทน
ตามรายงาน หลังจากที่จีน-ไทย ดำเนินนโยบาย “ภาษีศูนย์” ได้สร้างความเสียหายให้กับการปลูกผลไม้เมืองร้อนในกว่างซี เช่น ลำใย ลิ้นจี่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 600 ล้านหยวน
ความได้เปรียบด้านคุณภาพ ราคา และรสชาติของผลไม้ชนิดเดียวกันจากอาเซียน ส่งผลให้กว่างซีจำต้องลดพื้นที่การปลูกลง โดยเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน พบว่า พื้นที่ปลูกลำไย ลิ้นจี่ในกว่างซีลดลงมากกว่า 1 ล้านหมู่จีน (ราว 4.16 แสนไร่)
กว่างซีได้ปรับตัวและเบนเข็มไปปลูกผลไม้ประเภทอื่น โดยเฉพาะผลไม้เขตกึ่งร้อน เช่น ส้มชนิดต่างๆ ลูกพลับ กล้วยหอม องุ่น กีวี ฯลฯ เพื่อลดผลกระทบและสร้างแรงแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมผลไม้ของตนเอง
ปัจจุบัน กว่างซีก้าวขึ้นมาเป็นมณฑลที่มีศักยภาพการผลิตผลไม้รายใหญ่อันดับ 5 ของจีน โดยผลไม้หลายชนิดมีปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับหนึ่งของจีน โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลส้ม และลูกพลับ
จากข้อมูลปี 55 กว่างซีมีพื้นที่ปลูกผลไม้ 14.96 ล้านหมู่จีน (ราว 6.23 ล้านไร่) ปริมาณผลผลิต 10.31 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการผลิต 25,200 ล้านหยวน (คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 10 มูลค่าการผลิตภาคการเพาะปลูกของกว่างซี)
BIC ตั้งข้อสังเกตว่า กว่างซีไม่ได้ละทิ้งการปลูกผลไม้เมืองร้อนแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีการลดพื้นที่การปลูกลง แต่ในขณะเดียวกันกว่างซีได้มุ่งมั่นด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ผลไม้เขตร้อนให้ได้คุณภาพทัดเทียมผลไม้จากอาเซียน
อีกทั้ง ยังมีการขยายพื้นที่การปลูกผลไม้บางชนิดที่ยังมีช่องว่างทางการตลาด เพื่อแข่งขันกับประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น แก้วมังกร ชมพู่ และมะม่วง
ดังนั้น อุตสาหกรรมผลไม้ไทยไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะเมื่อใดที่กว่างซี (จีน) สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมผลไม้ของตนเองจนมีคุณภาพเทียบชั้นของไทยแล้ว ตลาดส่งออกของไทยคงได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน
ที่มา http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=12858