ขอนำมาแบ่งปันค่ะ
อ่านแล้วรู้สึกเป็นประโยชน์มาก ซึ่งส่วนตัวก็มีบางอย่างนี้ด้วย
แล้วก็ไม่เคยรู้เลยว่า ของหวาน กับ ความเครียด จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มดลูกผิดปกติด้วย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ห้องแป้งค่ะ
นำมาจากเพจ
สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย
๕ ปัจจัยเสี่ยงทำร้ายมดลูก
ศาสตราจารย์นายแพทย์สมบูรณ์ คุณาธิคม เลขาธิการราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มาตอบคำถาม‘ปัญหาสุขภาพมดลูก’ อย่างกระจ่าง ...ดังนี้
“สิ่งแรกๆ ที่ทำให้เราทราบว่าเกิดความผิดปกติกับมดลูกและระบบสืบพันธุ์ของสตรี คือ การเกิดเลือดออกผิดปกติ และประจำเดือนที่คลาดเคลื่อน หรือขาดหายไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากระบวนการทำงานของฮอร์โมนที่ผิดปกติ และมีต้นเหตุจากหลายประการ...”
ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ “ในกรณีที่พยาธิสภาพของรังไข่ของบางคนอาจมีการทำงานที่ผิดปกติอยู่แล้ว เช่น การทำงานของต่อมไทรอยด์อาจมีปัญหา จึงส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเพื่อมาควบคุมรังไข่ทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ...นี่เป็นส่วนเดียวที่เราไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติได้ นอกเหนือจากนั้นเราต้องรู้จักดูแลตัวเองครับ”
อ้วนเกิน-ผอมเกิน-เครียดเกิน “บางคนอ้วนมากเกินไป บางคนผอมเกินไป หรือ บางคนก็เคร่งแครียด และวิตกกังวลมากๆ ทั้งสามปัจจัยนี้อาจส่งผลให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมการทำงานของรัง ไข่ทำงานได้ไม่เป็นปกติไปจนถึงยับยั้งการตกไข่ คนกลุ่มนี้จึงมักมีปัญหาประจำเดือนคลาดเคลื่อนไปจนถึงขาดหาย หรือมีเลือดออกผิดปกติได้”
ยา และอาหารทำร้ายมดลูก “ทุกวันนี้มีคนที่รับยา(ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ) หรือสารอาหารบางประเภทที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนผสมอยู่เยอะๆ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้เป็นอีกเรื่องที่คอยระวัง เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งโพรงมดลูกได้”
นอกจากนี้คุณหมอสมบูรณ์บอกว่า การป่วยเป็นโรคเบาหวานก็อาจส่งผลร้ายทำให้เป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับมดลูก ได้ สอดคล้องกับที่ดร.สาทิส อินทรกำแหง กูรูของชาวชีวจิตเคยอธิบายไว้ว่า การรับประทานอาหารหวาน หรือขนมหวานต่างๆ มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นซีสต์ที่มดลูกหรือรังไข่ และนำมาซึ่งการเป็นมะเร็งเกี่ยวกับมดลูกได้ต่อไป ดังนั้นหากคุณผู้หญิงคนไหนชื่นชอบการทานขนมหวาน หรือกำลังประสบปัญหาโรคเบาหวานอยู่ ต้องดูแลระมัดระวังตัวเองให้ดีนะคะ
เพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ “การเกิดการอักเสบติดเชื้อภายในมดลูก จะเริ่มต้นมาจากการติดเชื้อที่ช่องคลอดก่อน แล้วเข้ามาสู่มดลูก ท่อนำไข่ (ปีกมดลูก) และรังไข่ ซึ่งเรียกโดยรวมว่าเป็นอาการ ‘อุ้งเชิงกรานอักเสบ’ ซึ่งส่วนใหญ่อาจมีผลมาจากการมีเพศสัมพันธุ์ที่เสี่ยง คือ คู่สมรสมีคู่นอนหลายคนทำให้โอกาสที่จะได้รับเชื้อบางอย่างที่ทำให้มีการ อักเสบนั้นเกิดได้สูง ยกเว้นเพียงในบางรายเท่านั้นที่เราพบว่ามีอาการไส้ติ่งอักเสบแล้วเรื้อรังมา อักเสบต่อยังปีกมดลูกได้”
‘ป้องกันและแก้ไข’ ให้มดลูกแข็งแรง
“สำหรับคนที่ยังไม่เจ็บป่วย สุขภาพที่ดีของมดลูกเป็นผลโดยอ้อมจากการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ สมบูรณ์แข็งแรงครับ เพราะเมื่อสุขภาพเราดี กินอาหารที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายก็จะเป็นปกติ และส่งผลให้มดลูกและรังไข่มีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือนได้อย่างที่ควรจะเป็น เช่นกัน”
“แต่สำหรับใครที่เกิดปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมา เราสามารถแก้ไขตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้นให้กลับมาเป็นปกติได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่น้ำหนักมากเกินก็ควรลดน้ำหนักลงมา ซึ่งเพียงคุณลดได้สักร้อยละ 5-10 จากน้ำหนักตัวเดิม ประจำเดือนก็จะเริ่มมาเป็นปกติขึ้นแล้วครับ”
“ส่วนเรื่องยาและอาหารเสริมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนปริมาณมากก็ควรเลี่ยง และต้องดูแลสุขภาพให้ดี โดยเฉพาะหากเป็นโรคเบาหวานก็ต้องรักษาให้หายขาด และออกกำลังกายสม่ำเสมอ”
ต่อไปนี้เป็น ‘ท่าบริหารช่องคลอดเพื่อสุขภาพมดลูก และป้องกันกระบังลมหย่อน’ ที่คุณหมอแนะนำค่ะ
“สำหรับคุณผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร นอกจากบริหารเพื่อให้หน้าท้องและรูปร่างกลับมาสมส่วนเหมือนเดิมแล้ว การกายบริหารบริเวณช่องคลอดก็มีความสำคัญ เพราะสตรีที่คลอดลูกหลายครั้งมักมีอาการ ‘กระบังลมหย่อน’ หรือ ‘มดลูกหย่อน’ แต่แก้ไขได้ไม่ยาก คือ หลังจากแผลทำคลอดหายเจ็บแล้ว ให้ใช้ ‘วิธีขมิบก้นแล้วคลาย’ ซ้ำๆ ประมาณ 50-100 ครั้งต่อวัน สามารถทำได้แทบทุกเวลาแม้ทำกิจกรรมอื่นอยู่ การทำแบบนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่หย่อนอยู่บริเวณรอบๆ ผนังช่องคลอดแข็งแรงขึ้น”
นอกจากนี้ เราขอแนะนำ ‘ท่าแถม’ ซึ่งเป็นท่าสุดท้ายของการรำกระบอง ที่ชาวชีวจิตทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีค่ะ ท่านี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของอัณฑะและรังไข่ได้เป็นอย่างดี
เริ่มจากยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย หลังจากนั้นนำกระบองมาไว้ด้านหลังลำตัวบริเวณเอวโดยใช้สองแขนคล้องเอาไว้ นำฝ่ามือมาประสานกันหรือวางราบตรงหน้าท้อง หลังจากนั้นเขย่งปลายให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ และลดตัวลงนั่งโดยยังเขย่งปลายเท้าอยู่ ตามองตรง หลังตรงไม่ก้ม และขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง และค่อยๆ ยืนขึ้น ทำแบบนี้ประมาณ 20-30 ครั้งต่อวันค่ะ
นอกจากการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของมดลูกแล้ว คุณหมอสมบูรณ์ยังแนะนำว่า การอยู่แบบ ‘คู่สามี-ภรรยาเดียว’ ก็ช่วยแก้ปัญหาเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ทุกประเภท เพียงแต่สิ่งเหล่านี้ต้องปฏิบัติจริงจัง จะพูดแต่เพียงลมปากไม่ได้ค่ะ
หรือจะใช้ท่าบริหารมดลูก "ท่าเกร็งเชิงกราน"
- นอนหงาย งอเข่าขึ้น
- เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้องโดยทำท่าเหมือนกับในขณะที่เรากำลังหายใจออก คือหน้าท้องจะเคลื่อนเข้าสู่พื้น ให้จินตนาการว่าขณะนี้สะดือของคุณกำลังเคลื่อนที่เข้าหากระดูกสันหลัง พยายามกดให้หลังแนบพื้น และเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานและสะโพกร่วมด้วย
- ค้างไว้ 10 วินาที โดยหายใจเข้าออกตามปกติ
ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 260
http://www.goodhealth.co.th/new_page_106.htm
ปัจจัยเสี่ยงทำร้ายมดลูก
ขอนำมาแบ่งปันค่ะ
อ่านแล้วรู้สึกเป็นประโยชน์มาก ซึ่งส่วนตัวก็มีบางอย่างนี้ด้วย
แล้วก็ไม่เคยรู้เลยว่า ของหวาน กับ ความเครียด จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มดลูกผิดปกติด้วย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ห้องแป้งค่ะ
นำมาจากเพจ
สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย
๕ ปัจจัยเสี่ยงทำร้ายมดลูก
ศาสตราจารย์นายแพทย์สมบูรณ์ คุณาธิคม เลขาธิการราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มาตอบคำถาม‘ปัญหาสุขภาพมดลูก’ อย่างกระจ่าง ...ดังนี้
“สิ่งแรกๆ ที่ทำให้เราทราบว่าเกิดความผิดปกติกับมดลูกและระบบสืบพันธุ์ของสตรี คือ การเกิดเลือดออกผิดปกติ และประจำเดือนที่คลาดเคลื่อน หรือขาดหายไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากระบวนการทำงานของฮอร์โมนที่ผิดปกติ และมีต้นเหตุจากหลายประการ...”
ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ “ในกรณีที่พยาธิสภาพของรังไข่ของบางคนอาจมีการทำงานที่ผิดปกติอยู่แล้ว เช่น การทำงานของต่อมไทรอยด์อาจมีปัญหา จึงส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเพื่อมาควบคุมรังไข่ทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ...นี่เป็นส่วนเดียวที่เราไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติได้ นอกเหนือจากนั้นเราต้องรู้จักดูแลตัวเองครับ”
อ้วนเกิน-ผอมเกิน-เครียดเกิน “บางคนอ้วนมากเกินไป บางคนผอมเกินไป หรือ บางคนก็เคร่งแครียด และวิตกกังวลมากๆ ทั้งสามปัจจัยนี้อาจส่งผลให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมการทำงานของรัง ไข่ทำงานได้ไม่เป็นปกติไปจนถึงยับยั้งการตกไข่ คนกลุ่มนี้จึงมักมีปัญหาประจำเดือนคลาดเคลื่อนไปจนถึงขาดหาย หรือมีเลือดออกผิดปกติได้”
ยา และอาหารทำร้ายมดลูก “ทุกวันนี้มีคนที่รับยา(ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ) หรือสารอาหารบางประเภทที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนผสมอยู่เยอะๆ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้เป็นอีกเรื่องที่คอยระวัง เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งโพรงมดลูกได้”
นอกจากนี้คุณหมอสมบูรณ์บอกว่า การป่วยเป็นโรคเบาหวานก็อาจส่งผลร้ายทำให้เป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับมดลูก ได้ สอดคล้องกับที่ดร.สาทิส อินทรกำแหง กูรูของชาวชีวจิตเคยอธิบายไว้ว่า การรับประทานอาหารหวาน หรือขนมหวานต่างๆ มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นซีสต์ที่มดลูกหรือรังไข่ และนำมาซึ่งการเป็นมะเร็งเกี่ยวกับมดลูกได้ต่อไป ดังนั้นหากคุณผู้หญิงคนไหนชื่นชอบการทานขนมหวาน หรือกำลังประสบปัญหาโรคเบาหวานอยู่ ต้องดูแลระมัดระวังตัวเองให้ดีนะคะ
เพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ “การเกิดการอักเสบติดเชื้อภายในมดลูก จะเริ่มต้นมาจากการติดเชื้อที่ช่องคลอดก่อน แล้วเข้ามาสู่มดลูก ท่อนำไข่ (ปีกมดลูก) และรังไข่ ซึ่งเรียกโดยรวมว่าเป็นอาการ ‘อุ้งเชิงกรานอักเสบ’ ซึ่งส่วนใหญ่อาจมีผลมาจากการมีเพศสัมพันธุ์ที่เสี่ยง คือ คู่สมรสมีคู่นอนหลายคนทำให้โอกาสที่จะได้รับเชื้อบางอย่างที่ทำให้มีการ อักเสบนั้นเกิดได้สูง ยกเว้นเพียงในบางรายเท่านั้นที่เราพบว่ามีอาการไส้ติ่งอักเสบแล้วเรื้อรังมา อักเสบต่อยังปีกมดลูกได้”
‘ป้องกันและแก้ไข’ ให้มดลูกแข็งแรง
“สำหรับคนที่ยังไม่เจ็บป่วย สุขภาพที่ดีของมดลูกเป็นผลโดยอ้อมจากการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ สมบูรณ์แข็งแรงครับ เพราะเมื่อสุขภาพเราดี กินอาหารที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายก็จะเป็นปกติ และส่งผลให้มดลูกและรังไข่มีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือนได้อย่างที่ควรจะเป็น เช่นกัน”
“แต่สำหรับใครที่เกิดปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมา เราสามารถแก้ไขตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้นให้กลับมาเป็นปกติได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่น้ำหนักมากเกินก็ควรลดน้ำหนักลงมา ซึ่งเพียงคุณลดได้สักร้อยละ 5-10 จากน้ำหนักตัวเดิม ประจำเดือนก็จะเริ่มมาเป็นปกติขึ้นแล้วครับ”
“ส่วนเรื่องยาและอาหารเสริมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนปริมาณมากก็ควรเลี่ยง และต้องดูแลสุขภาพให้ดี โดยเฉพาะหากเป็นโรคเบาหวานก็ต้องรักษาให้หายขาด และออกกำลังกายสม่ำเสมอ”
ต่อไปนี้เป็น ‘ท่าบริหารช่องคลอดเพื่อสุขภาพมดลูก และป้องกันกระบังลมหย่อน’ ที่คุณหมอแนะนำค่ะ
“สำหรับคุณผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร นอกจากบริหารเพื่อให้หน้าท้องและรูปร่างกลับมาสมส่วนเหมือนเดิมแล้ว การกายบริหารบริเวณช่องคลอดก็มีความสำคัญ เพราะสตรีที่คลอดลูกหลายครั้งมักมีอาการ ‘กระบังลมหย่อน’ หรือ ‘มดลูกหย่อน’ แต่แก้ไขได้ไม่ยาก คือ หลังจากแผลทำคลอดหายเจ็บแล้ว ให้ใช้ ‘วิธีขมิบก้นแล้วคลาย’ ซ้ำๆ ประมาณ 50-100 ครั้งต่อวัน สามารถทำได้แทบทุกเวลาแม้ทำกิจกรรมอื่นอยู่ การทำแบบนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่หย่อนอยู่บริเวณรอบๆ ผนังช่องคลอดแข็งแรงขึ้น”
นอกจากนี้ เราขอแนะนำ ‘ท่าแถม’ ซึ่งเป็นท่าสุดท้ายของการรำกระบอง ที่ชาวชีวจิตทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีค่ะ ท่านี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของอัณฑะและรังไข่ได้เป็นอย่างดี
เริ่มจากยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย หลังจากนั้นนำกระบองมาไว้ด้านหลังลำตัวบริเวณเอวโดยใช้สองแขนคล้องเอาไว้ นำฝ่ามือมาประสานกันหรือวางราบตรงหน้าท้อง หลังจากนั้นเขย่งปลายให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ และลดตัวลงนั่งโดยยังเขย่งปลายเท้าอยู่ ตามองตรง หลังตรงไม่ก้ม และขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง และค่อยๆ ยืนขึ้น ทำแบบนี้ประมาณ 20-30 ครั้งต่อวันค่ะ
นอกจากการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของมดลูกแล้ว คุณหมอสมบูรณ์ยังแนะนำว่า การอยู่แบบ ‘คู่สามี-ภรรยาเดียว’ ก็ช่วยแก้ปัญหาเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ทุกประเภท เพียงแต่สิ่งเหล่านี้ต้องปฏิบัติจริงจัง จะพูดแต่เพียงลมปากไม่ได้ค่ะ
หรือจะใช้ท่าบริหารมดลูก "ท่าเกร็งเชิงกราน"
- นอนหงาย งอเข่าขึ้น
- เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้องโดยทำท่าเหมือนกับในขณะที่เรากำลังหายใจออก คือหน้าท้องจะเคลื่อนเข้าสู่พื้น ให้จินตนาการว่าขณะนี้สะดือของคุณกำลังเคลื่อนที่เข้าหากระดูกสันหลัง พยายามกดให้หลังแนบพื้น และเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานและสะโพกร่วมด้วย
- ค้างไว้ 10 วินาที โดยหายใจเข้าออกตามปกติ
ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 260
http://www.goodhealth.co.th/new_page_106.htm