การตั้งครรภ์นอกมดลูกคืออะไร?
โดยปกติแล้ว เมื่อไข่ได้รับการผสมกับอสุจิ จะเคลื่อนที่ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกเพื่อเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป แต่ในกรณีของการตั้งครรภ์นอกมดลูก ตัวอ่อนกลับไปฝังตัวที่บริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่พบที่ท่อนำไข่ รังไข่ หรือแม้กระทั่งในช่องท้อง
สาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สาเหตุที่พบบ่อยของการตั้งครรภ์นอกมดลูก ได้แก่
- พังผืดในท่อนำไข่: เกิดจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดแก้หมัน
- ความผิดปกติของท่อนำไข่: ท่อมีขนาดแคบ ยาวผิดปกติ หรือมีรอยแผลเป็น ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของตัวอ่อน
- มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดก่อนหน้าที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
- เคยมีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน
- การสูบบุหรี่: เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ปวดท้องน้อย อุ้งเชิงกราน และหลังส่วนล่าง
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- หน้ามืด เป็นลม
- ปวดท้องเฉียบพลัน
อันตรายของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถุงการตั้งครรภ์ที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกอาจแตก ส่งผลให้เกิดเลือดออกในช่องท้อง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูก
แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความรุนแรงของอาการ และความสมบูรณ์ของท่อนำไข่ โดยทั่วไปมี 2 แนวทางหลัก ดังนี้
- การใช้ยาเคมีบำบัด: แพทย์จะฉีดยาเพื่อให้ถุงการตั้งครรภ์สลาย กรณีที่ทราบเร็วว่ามีการท้องนอกมดลูกระยะประมาณ 5-6 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะพิจารณาใช้ยาในกรณีที่ขนาดของถุงการตั้งครรภ์ไม่ใหญ่เกินไป
- การผ่าตัด: แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อนำถุงการตั้งครรภ์ออก และเย็บซ่อมท่อนำไข่ หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหาย แพทย์อาจพิจารณการผ่าตัดท่อนำไข่ออกมาด้วย
ผู้หญิงที่เคยมีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่?
ผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไปหนึ่งข้างยังสามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ แต่หากท่อนำไข่ถูกตัดออกไปทั้ง 2 ข้าง อาจอาศัยการทำเด็กหลอดแก้วหรือที่เรียกว่า ICSI อิ๊กซี่ เพื่อช่วยในการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วไม่จำเป็นต้องอาศัยท่อนำไข่
การป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก
แม้จะไม่มีวิธีป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ 100% แต่ผู้หญิงสามารถลดความเสี่ยงได้โดย ปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนวางแผนมีบุตร
บทความโดย
หมอเต้-นายแพทย์ วรวัฒน์ ศิริปุณย์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ติดตามสารดีๆ เพิ่มเติมได้ทาง Tiktok : หมอเต้ เคล็ดไม่ลับมีลูกง่าย
https://www.tiktok.com/@doctor.tae?is_from_webapp=1&sender_device=pc
ท้องนอกมดลูก เรื่องที่คนอยากมีลูกควรรู้!
โดยปกติแล้ว เมื่อไข่ได้รับการผสมกับอสุจิ จะเคลื่อนที่ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกเพื่อเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป แต่ในกรณีของการตั้งครรภ์นอกมดลูก ตัวอ่อนกลับไปฝังตัวที่บริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่พบที่ท่อนำไข่ รังไข่ หรือแม้กระทั่งในช่องท้อง
สาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สาเหตุที่พบบ่อยของการตั้งครรภ์นอกมดลูก ได้แก่
- พังผืดในท่อนำไข่: เกิดจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดแก้หมัน
- ความผิดปกติของท่อนำไข่: ท่อมีขนาดแคบ ยาวผิดปกติ หรือมีรอยแผลเป็น ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของตัวอ่อน
- มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดก่อนหน้าที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
- เคยมีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน
- การสูบบุหรี่: เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ปวดท้องน้อย อุ้งเชิงกราน และหลังส่วนล่าง
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- หน้ามืด เป็นลม
- ปวดท้องเฉียบพลัน
อันตรายของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถุงการตั้งครรภ์ที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกอาจแตก ส่งผลให้เกิดเลือดออกในช่องท้อง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูก
แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความรุนแรงของอาการ และความสมบูรณ์ของท่อนำไข่ โดยทั่วไปมี 2 แนวทางหลัก ดังนี้
- การใช้ยาเคมีบำบัด: แพทย์จะฉีดยาเพื่อให้ถุงการตั้งครรภ์สลาย กรณีที่ทราบเร็วว่ามีการท้องนอกมดลูกระยะประมาณ 5-6 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะพิจารณาใช้ยาในกรณีที่ขนาดของถุงการตั้งครรภ์ไม่ใหญ่เกินไป
- การผ่าตัด: แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อนำถุงการตั้งครรภ์ออก และเย็บซ่อมท่อนำไข่ หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหาย แพทย์อาจพิจารณการผ่าตัดท่อนำไข่ออกมาด้วย
ผู้หญิงที่เคยมีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่?
ผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไปหนึ่งข้างยังสามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ แต่หากท่อนำไข่ถูกตัดออกไปทั้ง 2 ข้าง อาจอาศัยการทำเด็กหลอดแก้วหรือที่เรียกว่า ICSI อิ๊กซี่ เพื่อช่วยในการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วไม่จำเป็นต้องอาศัยท่อนำไข่
การป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก
แม้จะไม่มีวิธีป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ 100% แต่ผู้หญิงสามารถลดความเสี่ยงได้โดย ปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนวางแผนมีบุตร
บทความโดย
หมอเต้-นายแพทย์ วรวัฒน์ ศิริปุณย์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ติดตามสารดีๆ เพิ่มเติมได้ทาง Tiktok : หมอเต้ เคล็ดไม่ลับมีลูกง่าย
https://www.tiktok.com/@doctor.tae?is_from_webapp=1&sender_device=pc