....
ช็อกโกแลตซีสต์ เกิดได้อย่างไร
ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ในทางการแพทย์เรียกว่า "เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่" (Endometriosis) เกิดจากเลือดประจำเดือนที่ปกติต้องไหลออกมาทางช่องคลอด แต่กลับไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องผ่านท่อรังไข่ และนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะเกิดถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก ฯลฯ
บริเวณที่พบช็อกโกแล็ตซีสต์ได้บ่อยคือรังไข่ เนื่องจากบริเวณรังไข่เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโต แต่ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน เพราะกล้ามเนื้อมดลูกค่อนข้างแข็ง และเราเรียกภาวะนี้ว่า "Adenomyosis" ซึ่งผลที่ตามมาคือภาวะปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ประจำเดือนมามาก และมีบุตรยาก
ทั้งนี้ เมื่อเวลาที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมา ถุงน้ำที่ฝังตัวอยู่ก็จะมีเลือดออกด้วย แต่เมื่อเลือดประจำเดือนออกหมดแล้วในเดือนนั้น ร่างกายก็จะดูดน้ำจากถุงกลับมา ทำให้เลือดในถุงเข้มข้นขึ้น หากเลือดค้างอยู่ในถุงน้ำนาน ๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า "ถุงน้ำช็อกโกแลต" หรือ "ช็อกโกแลตซีสต์" นั่นเอง
นั่นหมายความว่า แต่ละเดือนที่ผ่านไป ถุงน้ำก็จะยิ่งมีเลือดออกเพิ่มขึ้น และขยายใหญ่ขึ้น แต่จะใหญ่เร็วมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคนคนนั้นว่า จะดูดน้ำกลับได้เร็วเท่าไหร่ ถ้าร่างกายดูดน้ำกลับได้เร็ว ถุงน้ำนั้นก็จะโตขึ้นแบบช้า ๆ
ส่องอาการของโรคช็อกโกแลตซีสต์
คนที่เป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์จะมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังเมื่อมีประจำเดือน และจะปวดมากขึ้นทุก ๆ เดือน โดยจะปวดด้านหน้า ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน ส่วนด้านหลังตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ อาจปวดจนเป็นลม มีอาการลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดมากเวลาขับถ่าย ปวดเสียดในท้อง ปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย รวมทั้งมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์จะมีบุตรยาก เพราะท่อนำไข่ตีบตัน สาเหตุมาจากมีพังผืดรั้งอยู่ ทำให้ท่อนำไข่ไม่สามารถทำงานได้ หากปรารถนาจะมีบุตรต้องรักษาช็อกโกแลตซีสต์ให้หายเสียก่อน
ใครเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีสต์
ผู้ที่สามารถเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ คือ ผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือน ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว พบได้ไม่เกิน 5% แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์มากกว่าคนกลุ่มอื่น คือ
ผู้ที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุน้อย
ผู้ที่มีประจำเดือนรอบสั้น คือ มีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง
ผู้ที่ประจำเดือนออกมามาก หรือนานกว่า 7 วัน
ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะทางมารดา พี่สาว น้องสาว หากเคยเป็นโรคนี้ จะมีเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
ผู้ที่มีความผิดปกติของทางออกประจำเดือน เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาเยื่อพรหมจารีเปิด
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นช็อกโกแลตซีสต์หรือไม่
หลายคนไม่สามารถแยกแยะออกว่า การปวดท้องนั้นเป็นการปวดท้องประจำเดือนปกติ หรือปวดเพราะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ แต่เราสามารถแยกได้โดยโรคนี้มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป หรือวัยก่อนหมดประจำเดือน หากปกติไม่เคยปวดท้องประจำเดือนมาก่อน แต่พออายุ 30 ปีขึ้นไปแล้วกลับมีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ และปวดมากขึ้นทุกเดือน ถึงขนาดต้องหยุดเรียน หยุดงาน ให้สงสัยว่า คุณอาจเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูให้แน่ใจ
อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่มีอาการปวดเลย ยกเว้นเมื่อขนาดของซีสต์โตมาก ๆ แล้วไปกดอวัยวะข้างเคียง หรือแตกออกมา ซึ่งซีสต์มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ราว ๆ 0.3-0.7%
วิธีการตรวจหาช็อกโกแลตซีสต์
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจภายใน เพื่อคลำหาก้อน หรืออาจจะตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการทำอัลตราซาวด์ เพื่อหาถุงน้ำในรังไข่ แต่บางครั้งก้อนมีขนาดเล็กมา มองไม่เห็น จึงต้องใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง โดยเปิดแผลเล็ก ๆ บริเวณใต้สะดือแล้วสอดกล้องขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร-1 เซนติเมตรลงไป เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีก้อนงอกบริเวณมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ลำไส้ หรือไม่ ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจที่แน่นอนที่สุด
มีวิธีไหนรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้บ้างนะ
หากใครพบว่าตัวเองเป็นช็อกโกแลตซีสต์ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เพราะโรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงจนเกินเยียวยา มีหลายวิธีในการรักษาโรคนี้ ได้แก่
1.การใช้ยา หากถุงน้ำที่พบเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก แพทย์จะให้ยารักษา โดยอาจจะให้ทานยา หรือฉีดยาเพื่อลดขนาดซีสต์ ซึ่งยาที่ใช้ก็มีทั้งกลุ่มที่มีฮอร์โมน และไม่มีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของการใช้ยาก็คือ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
2.การผ่าตัด ในกรณีที่ใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือถุงน้ำใหญ่มากจนเกิดอาการปวดรุนแรง หรือไปกดอวัยวะข้างเคียง ส่งผลไปถึงส่วนอื่น ๆ แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป โดยการผ่าตัดอาจตัดเฉพาะตำแหน่งของโรค หรือสลายพังผืดออก ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยเป็นช็อกโกแลตซีสต์ และผ่าตัดออกไปแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ กรณีที่ผ่าตัดเอาแต่พยาธิสภาพออก แต่ยังเก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้
จริงหรือไม่? การตั้งครรภ์ช่วยรักษาช็อกโกแลตซีสต์ได้
หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า การตั้งครรภ์ และมีบุตรสามารถช่วยรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้ แล้วสงสัยว่า เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ขอยืนยันเลยค่ะว่า การตั้งครรภ์ และมีบุตรสามารถรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้จริง เพราะช่วงเวลาตั้งครรภ์ 9 เดือน จนถึงหลังคลอดอีก 3-6 เดือน จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือน ซึ่งจะทำให้ถุงน้ำที่มีอยู่ฝ่อตัวไปได้นั่นเอง
เราจะป้องกันโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้หรือไม่
จริง ๆ แล้ว ในทางการแพทย์ยังไม่แน่ใจว่า สาเหตุใดถึงทำให้เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันโรคนี้ได้อย่างแน่นอน แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ อย่างเช่น
การตั้งครรภ์
การออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะจะไปช่วยลดฮอร์โมนเอสโตรเจน
หลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน เพื่อป้องกันเลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ
นอกจากนี้ ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาคุมกำเนิดตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือน และหยุดยาเมื่อมีบุตร เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว และอาจแนะนำให้แต่งงาน เพื่อให้ตั้งครรภ์เร็ว ๆ
ฟังดูแล้ว "ช็อกโกแลตซีสต์" ก็ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวมาก หากคุณสาว ๆ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง แล้วรีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามกว่าเดิม ก็น่าจะเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดค่ะ
ช็อกโกแลตซีสต์
ช็อกโกแลตซีสต์ เกิดได้อย่างไร
ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ในทางการแพทย์เรียกว่า "เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่" (Endometriosis) เกิดจากเลือดประจำเดือนที่ปกติต้องไหลออกมาทางช่องคลอด แต่กลับไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องผ่านท่อรังไข่ และนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะเกิดถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก ฯลฯ
บริเวณที่พบช็อกโกแล็ตซีสต์ได้บ่อยคือรังไข่ เนื่องจากบริเวณรังไข่เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโต แต่ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน เพราะกล้ามเนื้อมดลูกค่อนข้างแข็ง และเราเรียกภาวะนี้ว่า "Adenomyosis" ซึ่งผลที่ตามมาคือภาวะปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ประจำเดือนมามาก และมีบุตรยาก
ทั้งนี้ เมื่อเวลาที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมา ถุงน้ำที่ฝังตัวอยู่ก็จะมีเลือดออกด้วย แต่เมื่อเลือดประจำเดือนออกหมดแล้วในเดือนนั้น ร่างกายก็จะดูดน้ำจากถุงกลับมา ทำให้เลือดในถุงเข้มข้นขึ้น หากเลือดค้างอยู่ในถุงน้ำนาน ๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า "ถุงน้ำช็อกโกแลต" หรือ "ช็อกโกแลตซีสต์" นั่นเอง
นั่นหมายความว่า แต่ละเดือนที่ผ่านไป ถุงน้ำก็จะยิ่งมีเลือดออกเพิ่มขึ้น และขยายใหญ่ขึ้น แต่จะใหญ่เร็วมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคนคนนั้นว่า จะดูดน้ำกลับได้เร็วเท่าไหร่ ถ้าร่างกายดูดน้ำกลับได้เร็ว ถุงน้ำนั้นก็จะโตขึ้นแบบช้า ๆ
ส่องอาการของโรคช็อกโกแลตซีสต์
คนที่เป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์จะมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังเมื่อมีประจำเดือน และจะปวดมากขึ้นทุก ๆ เดือน โดยจะปวดด้านหน้า ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน ส่วนด้านหลังตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ อาจปวดจนเป็นลม มีอาการลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดมากเวลาขับถ่าย ปวดเสียดในท้อง ปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย รวมทั้งมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์จะมีบุตรยาก เพราะท่อนำไข่ตีบตัน สาเหตุมาจากมีพังผืดรั้งอยู่ ทำให้ท่อนำไข่ไม่สามารถทำงานได้ หากปรารถนาจะมีบุตรต้องรักษาช็อกโกแลตซีสต์ให้หายเสียก่อน
ใครเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีสต์
ผู้ที่สามารถเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ คือ ผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือน ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว พบได้ไม่เกิน 5% แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์มากกว่าคนกลุ่มอื่น คือ
ผู้ที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุน้อย
ผู้ที่มีประจำเดือนรอบสั้น คือ มีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง
ผู้ที่ประจำเดือนออกมามาก หรือนานกว่า 7 วัน
ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะทางมารดา พี่สาว น้องสาว หากเคยเป็นโรคนี้ จะมีเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
ผู้ที่มีความผิดปกติของทางออกประจำเดือน เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาเยื่อพรหมจารีเปิด
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นช็อกโกแลตซีสต์หรือไม่
หลายคนไม่สามารถแยกแยะออกว่า การปวดท้องนั้นเป็นการปวดท้องประจำเดือนปกติ หรือปวดเพราะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ แต่เราสามารถแยกได้โดยโรคนี้มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป หรือวัยก่อนหมดประจำเดือน หากปกติไม่เคยปวดท้องประจำเดือนมาก่อน แต่พออายุ 30 ปีขึ้นไปแล้วกลับมีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ และปวดมากขึ้นทุกเดือน ถึงขนาดต้องหยุดเรียน หยุดงาน ให้สงสัยว่า คุณอาจเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูให้แน่ใจ
อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่มีอาการปวดเลย ยกเว้นเมื่อขนาดของซีสต์โตมาก ๆ แล้วไปกดอวัยวะข้างเคียง หรือแตกออกมา ซึ่งซีสต์มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ราว ๆ 0.3-0.7%
วิธีการตรวจหาช็อกโกแลตซีสต์
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจภายใน เพื่อคลำหาก้อน หรืออาจจะตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการทำอัลตราซาวด์ เพื่อหาถุงน้ำในรังไข่ แต่บางครั้งก้อนมีขนาดเล็กมา มองไม่เห็น จึงต้องใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง โดยเปิดแผลเล็ก ๆ บริเวณใต้สะดือแล้วสอดกล้องขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร-1 เซนติเมตรลงไป เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีก้อนงอกบริเวณมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ลำไส้ หรือไม่ ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจที่แน่นอนที่สุด
มีวิธีไหนรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้บ้างนะ
หากใครพบว่าตัวเองเป็นช็อกโกแลตซีสต์ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เพราะโรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงจนเกินเยียวยา มีหลายวิธีในการรักษาโรคนี้ ได้แก่
1.การใช้ยา หากถุงน้ำที่พบเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก แพทย์จะให้ยารักษา โดยอาจจะให้ทานยา หรือฉีดยาเพื่อลดขนาดซีสต์ ซึ่งยาที่ใช้ก็มีทั้งกลุ่มที่มีฮอร์โมน และไม่มีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของการใช้ยาก็คือ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
2.การผ่าตัด ในกรณีที่ใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือถุงน้ำใหญ่มากจนเกิดอาการปวดรุนแรง หรือไปกดอวัยวะข้างเคียง ส่งผลไปถึงส่วนอื่น ๆ แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป โดยการผ่าตัดอาจตัดเฉพาะตำแหน่งของโรค หรือสลายพังผืดออก ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยเป็นช็อกโกแลตซีสต์ และผ่าตัดออกไปแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ กรณีที่ผ่าตัดเอาแต่พยาธิสภาพออก แต่ยังเก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้
จริงหรือไม่? การตั้งครรภ์ช่วยรักษาช็อกโกแลตซีสต์ได้
หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า การตั้งครรภ์ และมีบุตรสามารถช่วยรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้ แล้วสงสัยว่า เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ขอยืนยันเลยค่ะว่า การตั้งครรภ์ และมีบุตรสามารถรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้จริง เพราะช่วงเวลาตั้งครรภ์ 9 เดือน จนถึงหลังคลอดอีก 3-6 เดือน จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือน ซึ่งจะทำให้ถุงน้ำที่มีอยู่ฝ่อตัวไปได้นั่นเอง
เราจะป้องกันโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้หรือไม่
จริง ๆ แล้ว ในทางการแพทย์ยังไม่แน่ใจว่า สาเหตุใดถึงทำให้เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันโรคนี้ได้อย่างแน่นอน แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ อย่างเช่น
การตั้งครรภ์
การออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะจะไปช่วยลดฮอร์โมนเอสโตรเจน
หลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน เพื่อป้องกันเลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ
นอกจากนี้ ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาคุมกำเนิดตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือน และหยุดยาเมื่อมีบุตร เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว และอาจแนะนำให้แต่งงาน เพื่อให้ตั้งครรภ์เร็ว ๆ
ฟังดูแล้ว "ช็อกโกแลตซีสต์" ก็ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวมาก หากคุณสาว ๆ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง แล้วรีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามกว่าเดิม ก็น่าจะเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดค่ะ