ปัญหาภายในของคุณผู้หญิงนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว
โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกที่พบบ่อยในผู้หญิงและมีเพียงประมาณร้อยละ 20 – 30 ที่แสดงอาการ
กว่าจะรู้ตัวขนาดของเนื้องอกอาจเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบกับอวัยวะใกล้เคียง
ส่งผลให้อาการแย่ลงหรือการรักษามีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
กว่า 70% ของผู้หญิงวัย 30+ มีความเสี่ยงที่จะเป็น เนื้องอกมดลูก แต่รู้ก่อน รักษาทัน ชีวิตก็ปลอดภัย
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ คุณผู้หญิงวัย 30+ รู้หรือไม่ เนื้องอกมดลูกภัยเงียบร้ายที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้
เนื้องอกมดลูก โรคของกล้ามเนื้อมดลูก โดยการโตของเนื้องอกอาจโตในโพรงมดลูกหรือโตเป็นก้อนนูนจากมดลูก
ซึ่งการเติบโตจะค่อย ๆ โตไปอย่างช้า ๆ หรืออาจมีขนาดเท่าเดิม ซึ่งขนาด ตำแหน่ง และจำนวนที่พบจะแตกต่างออกไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล
พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 30 – 40 ปี ส่วนใหญ่เนื้องอกมดลูกไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากรังไข่สามารถกระตุ้นให้เนื้องอกมีขนาดโตขึ้นได้
ในขณะเดียวกันหากเข้าสู่วัยทองหรือหมดประจำเดือนขนาดของเนื้องอกก็สามารถเล็กลงได้
ปัจจุบันทางการแพทย์ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่พบว่าเนื้องอกในมดลูก
มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งสร้างที่รังไข่ ฉะนั้นจะพบว่าหญิงวัยเจริญพันธ์ (อายุ 20-50 ปี)
จะมีอัตราการเกิดเนื้องอกในมดลูกสูง และเนื้องอกมักจะฝ่อตัวเล็กลงหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
เนื้องอกมดลูกมีทั้งเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายและชนิดที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
แต่โดยส่วนใหญ่มากกว่า 80% เนื้องอกที่พบในมดลูกมักพบว่าเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่เนื้อร้ายเท่านั้น
ลักษณะของเนื้องอกในมดลูกเรียกตามตำแหน่งที่เกิดขึ้น ดังนี้
เนื้องอกยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก (Submucosal fibroid)
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก (Intramural fibroid)
เนื้องอกนอกผนังมดลูก (Subserosal fibroid)
สำหรับในช่วงแรกมักไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนให้ทราบ
แต่มักพบเจอได้จากการตรวจภายในผ่านการตรวจสุขภาพประจำปี
และจะเริ่มพบอาการเมื่อก้อนเนื้องอกนั้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นแล้ว
1. ประจำเดือนมาผิดปกติ
มักพบว่ามีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนมานาน มาแบบกะปริดกะปรอย มาบ่อยผิดปกติ รวมถึงมีลิ่มเลือด
หรือเป็นก้อนเลือดปนมาจนทำให้เกิดภาวะซีดได้ โดยอาการเหล่านี้นับว่าเป็นสัญญาณเตือนและอาการบ่งชี้แรกๆ
สำหรับความผิดปกติของเนื้องอกมดลูก
2. ปวดท้องน้อย
อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดหน่วงๆ คล้ายกับปวดท้องประจำเดือนแต่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของขนาดของก้อนเนื้องอก และการกดเบียดอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกรานได้
3. ท้องผูก
บางรายอาจพบว่าตัวเองมีอาการปวดหน่วงที่ทวาร ขับถ่ายลำบาก ท้องผูกเป็นประจำ อุจจาระลำเล็กลง
เนื่องจากเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดทับบริเวณลำไส้ตรง หรือบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ต่อกับทวารหนัก
ทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่ายได้
4. ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะลำบาก
เนื่องจากก้อนเนื้อที่ใหญ่ขึ้นอาจไปกดทับหรือเบียดกับกระเพาะปัสสาวะได้
ซึ่งในรายที่ก้อนเนื้ออยู่ด้านหน้าของกระเพาะปัสสาวะจะทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย
หรือในรายที่เนื้องอกอยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะก็อาจทำให้ปัสสาวะลำบากมากขึ้นได้
5. คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย
ในรายที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีจำนวนก้อนเนื้องอกมากขึ้น ก็อาจจะคลำพบก้อนเนื้อที่บริเวณท้องน้อย
รวมถึงอาจสังเกตได้ว่าท้องน้อยโตขึ้น แม้ไม่ได้รับประทานอาหารจำนวนมากได้
นอกจากนี้อาจมาด้วยเรื่องของภาวะมีบุตรยากหรือแท้งบุตรได้ เพราะเนื้องอกขวางกั้นการฝังตัวของตัวอ่อนได้เช่นกัน
วิธีการตรวจหาเนื้องอกมดลูก
-แพทย์จะทำการซักประวัติและสอบถามอาการเบื้องต้น
-ตรวจภายใน โดยแพทย์จะตรวจและคลำปากมดลูก และปีกมดลูกเพื่อหาความผิดปกติ
-อัลตราซาวด์
-ผ่านหน้าท้อง ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องกลั้นปัสสาวะให้เต็มที่
เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะดันลำไส้ที่อาจบดบังมดลูกให้ขึ้นไป เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่มดลูกชัดเจนขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามอาจมีข้อจำกัดในผู้ที่มีน้ำหนักมาก หรือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
-ผ่านช่องคลอด เป็นวิธีอัลตราซาวน์ที่เห็นอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้ชัดเจนที่สุด
โดยแพทย์จะทำการสอดอุปกรณ์อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด
โดยที่ผู้เข้ารับการตรวจจะอยู่ในท่านอนบนขาหยั่งลักษณะเดียวกันกับท่าตรวจภายใน
การรักษาเนื้องอกมดลูกจะขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอก โดยมีแนวทางการรักษา
-การตรวจติดตามและใช้ยาเพื่อควบคุมอาการผิดปกติ ในผู้ที่มีอาการไม่มาก หรือเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดเล็ก
แพทย์จะนัดติดตามเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงอาการและขนาดเนื้องอกมดลูก
และให้รับประทานยาในรายที่พบอาการผิดปกติร่วมด้วย เช่น เพื่อบรรเทาอาการปวด หยุดเลือดที่ออกมากผิดปกติ
ลดขนาดและควบคุมไม่ให้ก้อนเนื้องอกใหญ่ขึ้น
-การผ่าตัด พิจารณาผ่าตัดในผู้ป่วยที่เนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่ หรือมีอาการผิดปกติที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้
โดยการผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
ทั้งนี้วิธีการผ่าตัดอาจต้องพิจารณาตามแต่ละบุคคลดังนี้
ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาเฉพาะก้อนเนื้องอกออก ซึ่งจะพิจารณาผ่าตัดในผู้ป่วยที่ยังไม่มีบุตร
หรือยังต้องการที่จะมีบุตรเพิ่ม
ผ่าตัดมดลูก มักทำในผู้ป่วยรายที่ไม่ต้องการมีบุตร หรือมีบุตรเพียงพอแล้ว
ที่เหมาะสมกับช่วงอายุเป็นประจำ และหากพบว่าประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดท้องประจำเดือนมาก
ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาความผิดปกติดังกล่าว
การเกิดเนื้องอกมดลูกมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศหญิง
ดังนั้นการดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำหนักเกินจนอ้วนไป หรือการทานน้อยจนผอมไป หรือทำงานและใช้ชีวิตด้วยความเครียด
จะส่งผลทำให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมการทำงานของรังไข่ไม่เป็นปกติ
การดูแลสุขภาพโดยรวมจะช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนเป็นไปอย่างปกติ
ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดี รวมถึงมดลูกและรังไข่มีสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงการเป็นเนื้องอกได้ทางหนึ่ง
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/robotic-assisted-gynecological-surgery/
https://www.youtube.com/watch?v=UQXB1lBX5pg
ผู้หญิงวัย 30+ รู้หรือไม่ เนื้องอกมดลูกภัยเงียบร้ายที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้
โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกที่พบบ่อยในผู้หญิงและมีเพียงประมาณร้อยละ 20 – 30 ที่แสดงอาการ
กว่าจะรู้ตัวขนาดของเนื้องอกอาจเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบกับอวัยวะใกล้เคียง
ส่งผลให้อาการแย่ลงหรือการรักษามีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
กว่า 70% ของผู้หญิงวัย 30+ มีความเสี่ยงที่จะเป็น เนื้องอกมดลูก แต่รู้ก่อน รักษาทัน ชีวิตก็ปลอดภัย
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ คุณผู้หญิงวัย 30+ รู้หรือไม่ เนื้องอกมดลูกภัยเงียบร้ายที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้
เนื้องอกมดลูก โรคของกล้ามเนื้อมดลูก โดยการโตของเนื้องอกอาจโตในโพรงมดลูกหรือโตเป็นก้อนนูนจากมดลูก
ซึ่งการเติบโตจะค่อย ๆ โตไปอย่างช้า ๆ หรืออาจมีขนาดเท่าเดิม ซึ่งขนาด ตำแหน่ง และจำนวนที่พบจะแตกต่างออกไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล
พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 30 – 40 ปี ส่วนใหญ่เนื้องอกมดลูกไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากรังไข่สามารถกระตุ้นให้เนื้องอกมีขนาดโตขึ้นได้
ในขณะเดียวกันหากเข้าสู่วัยทองหรือหมดประจำเดือนขนาดของเนื้องอกก็สามารถเล็กลงได้
ปัจจุบันทางการแพทย์ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่พบว่าเนื้องอกในมดลูก
มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งสร้างที่รังไข่ ฉะนั้นจะพบว่าหญิงวัยเจริญพันธ์ (อายุ 20-50 ปี)
จะมีอัตราการเกิดเนื้องอกในมดลูกสูง และเนื้องอกมักจะฝ่อตัวเล็กลงหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
เนื้องอกมดลูกมีทั้งเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายและชนิดที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
แต่โดยส่วนใหญ่มากกว่า 80% เนื้องอกที่พบในมดลูกมักพบว่าเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่เนื้อร้ายเท่านั้น
ลักษณะของเนื้องอกในมดลูกเรียกตามตำแหน่งที่เกิดขึ้น ดังนี้
เนื้องอกยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก (Submucosal fibroid)
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก (Intramural fibroid)
เนื้องอกนอกผนังมดลูก (Subserosal fibroid)
สำหรับในช่วงแรกมักไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนให้ทราบ
แต่มักพบเจอได้จากการตรวจภายในผ่านการตรวจสุขภาพประจำปี
และจะเริ่มพบอาการเมื่อก้อนเนื้องอกนั้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นแล้ว
1. ประจำเดือนมาผิดปกติ
มักพบว่ามีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนมานาน มาแบบกะปริดกะปรอย มาบ่อยผิดปกติ รวมถึงมีลิ่มเลือด
หรือเป็นก้อนเลือดปนมาจนทำให้เกิดภาวะซีดได้ โดยอาการเหล่านี้นับว่าเป็นสัญญาณเตือนและอาการบ่งชี้แรกๆ
สำหรับความผิดปกติของเนื้องอกมดลูก
2. ปวดท้องน้อย
อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดหน่วงๆ คล้ายกับปวดท้องประจำเดือนแต่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของขนาดของก้อนเนื้องอก และการกดเบียดอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกรานได้
3. ท้องผูก
บางรายอาจพบว่าตัวเองมีอาการปวดหน่วงที่ทวาร ขับถ่ายลำบาก ท้องผูกเป็นประจำ อุจจาระลำเล็กลง
เนื่องจากเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดทับบริเวณลำไส้ตรง หรือบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ต่อกับทวารหนัก
ทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่ายได้
4. ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะลำบาก
เนื่องจากก้อนเนื้อที่ใหญ่ขึ้นอาจไปกดทับหรือเบียดกับกระเพาะปัสสาวะได้
ซึ่งในรายที่ก้อนเนื้ออยู่ด้านหน้าของกระเพาะปัสสาวะจะทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย
หรือในรายที่เนื้องอกอยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะก็อาจทำให้ปัสสาวะลำบากมากขึ้นได้
5. คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย
ในรายที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีจำนวนก้อนเนื้องอกมากขึ้น ก็อาจจะคลำพบก้อนเนื้อที่บริเวณท้องน้อย
รวมถึงอาจสังเกตได้ว่าท้องน้อยโตขึ้น แม้ไม่ได้รับประทานอาหารจำนวนมากได้
นอกจากนี้อาจมาด้วยเรื่องของภาวะมีบุตรยากหรือแท้งบุตรได้ เพราะเนื้องอกขวางกั้นการฝังตัวของตัวอ่อนได้เช่นกัน
วิธีการตรวจหาเนื้องอกมดลูก
-แพทย์จะทำการซักประวัติและสอบถามอาการเบื้องต้น
-ตรวจภายใน โดยแพทย์จะตรวจและคลำปากมดลูก และปีกมดลูกเพื่อหาความผิดปกติ
-อัลตราซาวด์
-ผ่านหน้าท้อง ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องกลั้นปัสสาวะให้เต็มที่
เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะดันลำไส้ที่อาจบดบังมดลูกให้ขึ้นไป เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่มดลูกชัดเจนขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามอาจมีข้อจำกัดในผู้ที่มีน้ำหนักมาก หรือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
-ผ่านช่องคลอด เป็นวิธีอัลตราซาวน์ที่เห็นอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้ชัดเจนที่สุด
โดยแพทย์จะทำการสอดอุปกรณ์อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด
โดยที่ผู้เข้ารับการตรวจจะอยู่ในท่านอนบนขาหยั่งลักษณะเดียวกันกับท่าตรวจภายใน
การรักษาเนื้องอกมดลูกจะขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอก โดยมีแนวทางการรักษา
-การตรวจติดตามและใช้ยาเพื่อควบคุมอาการผิดปกติ ในผู้ที่มีอาการไม่มาก หรือเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดเล็ก
แพทย์จะนัดติดตามเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงอาการและขนาดเนื้องอกมดลูก
และให้รับประทานยาในรายที่พบอาการผิดปกติร่วมด้วย เช่น เพื่อบรรเทาอาการปวด หยุดเลือดที่ออกมากผิดปกติ
ลดขนาดและควบคุมไม่ให้ก้อนเนื้องอกใหญ่ขึ้น
-การผ่าตัด พิจารณาผ่าตัดในผู้ป่วยที่เนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่ หรือมีอาการผิดปกติที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้
โดยการผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
ทั้งนี้วิธีการผ่าตัดอาจต้องพิจารณาตามแต่ละบุคคลดังนี้
ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาเฉพาะก้อนเนื้องอกออก ซึ่งจะพิจารณาผ่าตัดในผู้ป่วยที่ยังไม่มีบุตร
หรือยังต้องการที่จะมีบุตรเพิ่ม
ผ่าตัดมดลูก มักทำในผู้ป่วยรายที่ไม่ต้องการมีบุตร หรือมีบุตรเพียงพอแล้ว
ที่เหมาะสมกับช่วงอายุเป็นประจำ และหากพบว่าประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดท้องประจำเดือนมาก
ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาความผิดปกติดังกล่าว
การเกิดเนื้องอกมดลูกมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศหญิง
ดังนั้นการดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำหนักเกินจนอ้วนไป หรือการทานน้อยจนผอมไป หรือทำงานและใช้ชีวิตด้วยความเครียด
จะส่งผลทำให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมการทำงานของรังไข่ไม่เป็นปกติ
การดูแลสุขภาพโดยรวมจะช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนเป็นไปอย่างปกติ
ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดี รวมถึงมดลูกและรังไข่มีสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงการเป็นเนื้องอกได้ทางหนึ่ง
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/robotic-assisted-gynecological-surgery/
https://www.youtube.com/watch?v=UQXB1lBX5pg