มะเร็งรังไข่ อีกโรคที่พบได้บ่อยในเพศหญิง


มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) คือ โรคที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ หรือท่อนําไข่ อาจเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง หลังจากนั้นเซลล์มะเร็งก็ได้เจริญเติบโตขึ้น มีขนาดใหญ่ แพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง ทางเดินนํ้าเหลือง กระแสโลหิต รวมทั้งส่งผลกระทบไปยังอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ โรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกช่วงอายุ 

สาเหตุมะเร็งรังไข่

อย่างที่ทราบกันดีว่าการกลายพันธุ์ของเซลล์ในรังไข่ไปเป็นมะเร็ง ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้

- อายุมากกว่า 55 ปี

- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

- ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

- ได้รับฮอร์โมนทดแทน

- สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้หญิงเป็นมะเร็ง

- มีประจำเดือนเร็วหรือหมดช้ากว่าปกติ

- มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางนรีเวช เช่น มะเร็งเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

อาการมะเร็งรังไข่

ในระยะแรกนั้นจะไม่แสดงความผิดปกติแต่อย่างใด หลังจากนั้นจะมีอาการดังนี้

- เบื่ออาหาร

- อิ่มเร็ว

- คลื่นไส้ อาเจียน

- น้ำหนักตัวลดลง

- ท้องอืด บวม

- อาหารไม่ย่อย

- ท้องเสียสลับท้องผูก

- ปัสสาวะบ่อย

- ปวดท้องหรือปวดในอุ้งเชิงกราน  

- มีเลือดออกทางช่องคลอด

การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่

ในขั้นแรกนั้น แพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการ รวมทั้งบุคคลในครอบครัว หลังจากนั้นจะทำการตรวจหาความผิดปกติ ได้แก่

การตรวจภายในช่องคลอด

- เพื่อดูขนาดของรังไข่ และของเหลวที่อาจจะอยู่ภายในท้อง

ตรวจโลหิต

- หาค่าบ่งชี้มะเร็งรังไข่

วัดปริมาณสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น ฮอร์โมน HCG

- การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ

การตรวจความผิดปกติของพันธุกรรม

- ใช้ตัวอย่างเลือดหาการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 และ BRCA2

การตัดชิ้นเนื้อ

- ตัดเนื้องอกระหว่างผ่าตัด นำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

การรักษามะเร็งรังไข่

ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)

- ออกฤทธิ์ให้เซลล์มะเร็งตาย

เคมีบำบัด

- เป็นการกำจัดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายเข้าไปในช่องท้องแล้ว

การฉายรังสี

- เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในรังไข่ เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

การผ่าตัด

- เอาเซลล์มะเร็งบริเวณรังไข่และปีกมดลูกออก หรือตัดเอาอวัยวะใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง มดลูก ออก หากมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณนั้น

การป้องกันมะเร็งรังไข่

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จากวัตถุดิบและกรรมวิธีที่ปลอดจากการเกิดมะเร็ง

- ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว

- ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ก่อนใช้ยา สมุนไพร อาหารเสริมต่าง ๆ โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด

- ผู้หญิงควรตรวจภายในและพบสูตินรีแพทย์อย่างน้อง 1 ครั้ง ต่อปี
 
โรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ ซึ่งมาจากการเจาะเลือด เพื่อวัดปริมาณสาร CA -125 เหมาะสำหรับสุภาพสตรีที่มีความเสี่ยงตามที่กล่าวมาในข้างต้น แม้จะไม่ใช่การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่สามารถช่วยพบร่องรอยของโรคได้ หากท้องอืดบ่อยครั้งภายใน 1 เดือน และมีอาการความผิดปกติใกล้เคียงกับมะเร็งรังไข่ ควรมาพบแพทย์ทันที
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่