ขณะที่ ร้อยละ 50.4 ระบุโครงการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีมีความโปร่งใส ร้อยละ 51.2 ปรับเงินเดือนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และร้อยละ 51.4 ระบุการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ในขณะที่ร้อยละ 27.2 คิดว่าไม่มีโครงการไหนเลยที่โปร่งใส
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 94.8 เห็นด้วยที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมประเมินการทำงานของรัฐบาลด้านต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ระบุควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินทุกโครงการของรัฐบาล มีเพียงร้อยละ 5.2 ระบุไม่เห็นด้วย
สำหรับในประเด็นของบข่าวที่ประชาชนอยากทราบหรือได้ยิน พบว่า ห้าอันดับแรกของข่าวที่ประชาชนอยากติดตาม คือ อันดับแรก ร้อยละ 90.2 อยากทราบหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ เสียสละ และความโปร่งใสของฝ่ายการเมืองในการจัดทำโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรับจำนำข้าว เงินกู้ของรัฐบาล โครงการการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 88.1 อยากได้ยินข่าวความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 85.4 ระบุข่าวความสงบสุขของประเทศชาติบ้านเมือง ร้อยละ 83.0 ระบุข่าวเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ดีขึ้น และร้อยละ 82.4 ระบุข่าวการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษา สาธารณูประโภค ตามลำดับ
นางสาวปุณฑรีก์ กล่าวว่า รัฐบาลจะโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐบาลทำงานโปร่งใสเพียงอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะสาธารณชนต้องการเห็น "วิธีการ" ที่นำไปสู่การทำงานของรัฐบาลอย่างโปร่งใสมากกว่าคำพูดชี้นำ ดังนั้นเวลานี้ จึงเป็นโอกาสที่สำคัญที่รัฐบาลควรเปิดพื้นที่ให้กับทุกภาคส่วนในสังคมร่วมเป็น "หุ้นส่วนประเทศไทย" ในการรับรู้รับทราบการใช้จ่ายงบประมาณทุกเม็ดเงินของรัฐบาล และรายละเอียดของการบริหารราชการแผ่นดินทั้งโดยภาพรวมและรายพื้นที่ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐและการบริหารประเทศของรัฐบาลในทุกระดับ โดยผลของการประเมินเป็น "ส่วนประกอบ" การพิจารณาจัดสรรงบประมาณและการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าการใช้อำเภอใจของฝ่ายการเมืองและการวิ่งเต้นของเจ้าหน้าที่รัฐ คณะวิจัยจึงเชื่อมั่นว่าแนวทางทั้งสองนี้น่าจะทำให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372485883&grpid=03&catid=&subcatid=
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปรับเปลี่ยนโฆษกรัฐบาลไปแล้วหลายท่าน
ตั้งแต่ฐิติมา ฉายแสง ศันสนีย์ นาคพงศ์ ทศพร เสรีรักษ์
คนล่าสุด นายธีรัตถ์ รัตนเสวี
ด้วยเหตุผล เพื่อความเหมาะสม
เมื่อแรกตั้ง ก็เพราะเห็นว่า มีความเหมาะสม ไม่ถึง 2 ปี เปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม กี่ครั้ง?
การเปลี่ยนโฆษกบ่อย เพราะไม่มีผลงาน มากกว่าเพื่อความเหมาะสม
ทำงานเกือบสองปี ไม่มีการแถลงผลงาน
เปลี่ยนโฆษกรัฐบาลเพื่อโฆษณาชี้นำให้ชวนเชื่อว่า..รัฐบาลนี้ทำงานโปร่งใส มีผลงาน ได้อย่างไร?ใครจะเชื่อ
เพราะไม่ถึง 2 ปี ปรับ ครม. 5 ครั้ง เปลี่ยนโฆษกไม่ต่ำกว่า 3 คน
น่าจะเป็นเพราะมีนายกฯที่ไร้วิสัยทัศน์ ไร้อำนาจในการบริหาร รมต. สั่งการใครก็ไม่ได้ พอไม่ได้ดั่งใจก็ปรับออกไป..ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก
หากจะเปลี่ยนโฆษกรัฐบาลคนต่อไป เปลี่ยน"ผู้นำ"รัฐบาลน่าจะ..เหมาะสมกว่า
รัฐบาลโฆษณา"ชวนเชื่อ"และใช้คำพูด"ชี้นำ"ว่ารัฐบาลทำงานโปร่งใสเพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว หลังจากยอมรับ..ขาดทุน ส่อ ทุจริต
ขณะที่ ร้อยละ 50.4 ระบุโครงการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีมีความโปร่งใส ร้อยละ 51.2 ปรับเงินเดือนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และร้อยละ 51.4 ระบุการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ในขณะที่ร้อยละ 27.2 คิดว่าไม่มีโครงการไหนเลยที่โปร่งใส
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 94.8 เห็นด้วยที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมประเมินการทำงานของรัฐบาลด้านต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ระบุควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินทุกโครงการของรัฐบาล มีเพียงร้อยละ 5.2 ระบุไม่เห็นด้วย
สำหรับในประเด็นของบข่าวที่ประชาชนอยากทราบหรือได้ยิน พบว่า ห้าอันดับแรกของข่าวที่ประชาชนอยากติดตาม คือ อันดับแรก ร้อยละ 90.2 อยากทราบหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ เสียสละ และความโปร่งใสของฝ่ายการเมืองในการจัดทำโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรับจำนำข้าว เงินกู้ของรัฐบาล โครงการการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 88.1 อยากได้ยินข่าวความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 85.4 ระบุข่าวความสงบสุขของประเทศชาติบ้านเมือง ร้อยละ 83.0 ระบุข่าวเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ดีขึ้น และร้อยละ 82.4 ระบุข่าวการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษา สาธารณูประโภค ตามลำดับ
นางสาวปุณฑรีก์ กล่าวว่า รัฐบาลจะโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐบาลทำงานโปร่งใสเพียงอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะสาธารณชนต้องการเห็น "วิธีการ" ที่นำไปสู่การทำงานของรัฐบาลอย่างโปร่งใสมากกว่าคำพูดชี้นำ ดังนั้นเวลานี้ จึงเป็นโอกาสที่สำคัญที่รัฐบาลควรเปิดพื้นที่ให้กับทุกภาคส่วนในสังคมร่วมเป็น "หุ้นส่วนประเทศไทย" ในการรับรู้รับทราบการใช้จ่ายงบประมาณทุกเม็ดเงินของรัฐบาล และรายละเอียดของการบริหารราชการแผ่นดินทั้งโดยภาพรวมและรายพื้นที่ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐและการบริหารประเทศของรัฐบาลในทุกระดับ โดยผลของการประเมินเป็น "ส่วนประกอบ" การพิจารณาจัดสรรงบประมาณและการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าการใช้อำเภอใจของฝ่ายการเมืองและการวิ่งเต้นของเจ้าหน้าที่รัฐ คณะวิจัยจึงเชื่อมั่นว่าแนวทางทั้งสองนี้น่าจะทำให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372485883&grpid=03&catid=&subcatid=
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปรับเปลี่ยนโฆษกรัฐบาลไปแล้วหลายท่าน
ตั้งแต่ฐิติมา ฉายแสง ศันสนีย์ นาคพงศ์ ทศพร เสรีรักษ์
คนล่าสุด นายธีรัตถ์ รัตนเสวี
ด้วยเหตุผล เพื่อความเหมาะสม
เมื่อแรกตั้ง ก็เพราะเห็นว่า มีความเหมาะสม ไม่ถึง 2 ปี เปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม กี่ครั้ง?
การเปลี่ยนโฆษกบ่อย เพราะไม่มีผลงาน มากกว่าเพื่อความเหมาะสม
ทำงานเกือบสองปี ไม่มีการแถลงผลงาน
เปลี่ยนโฆษกรัฐบาลเพื่อโฆษณาชี้นำให้ชวนเชื่อว่า..รัฐบาลนี้ทำงานโปร่งใส มีผลงาน ได้อย่างไร?ใครจะเชื่อ
เพราะไม่ถึง 2 ปี ปรับ ครม. 5 ครั้ง เปลี่ยนโฆษกไม่ต่ำกว่า 3 คน
น่าจะเป็นเพราะมีนายกฯที่ไร้วิสัยทัศน์ ไร้อำนาจในการบริหาร รมต. สั่งการใครก็ไม่ได้ พอไม่ได้ดั่งใจก็ปรับออกไป..ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก
หากจะเปลี่ยนโฆษกรัฐบาลคนต่อไป เปลี่ยน"ผู้นำ"รัฐบาลน่าจะ..เหมาะสมกว่า