ได้อ่านข่าวเรื่องสารรมข้าว บางคนพูดขนาดว่าข้าวที่ผ่านการรมกินไปแล้วเป็นพิษ เป็นมะเร็งก็มี จึงอยากขอแชรฺข้อมูลครับ
สารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชในยุ้งฉางข้าว(Fumigation) ทุกวันนี้มีใช้อยู่หลักๆ คือ เมธิลโบรไมด์ (Methylbromide) และฟอสฟีน (phosphine) ซึ่งแน่นอนว่า ทั้งสองสารเคมีนั้นมีพิษฆ่ามอดแมลงได้
คำถามคือ คนกินข้าวที่รมด้วยสารพิษแล้วจะตายหรือไม่?
ลองเทียบดูกับกระบวนการหนึ่งที่ใช้ทำน้ำประปาที่เราใช้อาบ ใช้ซักล้าง และอาจจะใช้กรองน้ำกินอยู่ทุกวัน แน่นอนว่า การจะฆ่าเชื้อโรค แมลงและไข่แมลงปรสิตทั้งหลายไม่ให้อยู่ในน้ำประปา ก็ต้องใช้สารเคมีอันตรายมีพิษถึงตายเช่นกัน นั่นก็คือ คลอรีน (Chlorine) ก๊าซพิษสีเขียวที่ใช้เป็นอาวุธสงครามเคมีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 คร่าชีวิตทหารไปมากมาย เป็นพิษกว่า “โบรมีน” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเมธิลโบรไมด์ซึ่งใช้รมข้าวเสียอีก
หรือแม้กระทั่งแฮม ไส้กรอก กุนเชียง ของกินแปรรูปต่างๆ ก็ใส่ “สารพิษ” เช่น สารกันบูด วัตถุกันเสีย เพื่อถนอมอาหารไว้เช่นกัน
รอบตัวเราเต็มไปด้วยการใช้ประโยชน์จากสารเคมีที่มีพิษ อยู่ที่ว่าเราจะจัดการปริมาณสารนั้นอย่างไรให้ไม่เหลือตกค้าง และอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งการรมควันสารเคมีข้าวเพื่อกำจัดแมลง ทำมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คิดค้นสารเคมีพวกนี้ได้โน่น ถ้าเป็นมะเร็ง คงเป็นกันทั้งประเทศมาตั้งแต่ยุคจอมพล ป. กระมัง
การทยอยลดการใช้เมธิลโบรไมด์ของประเทศต่างๆ ไม่เกี่ยวกับกับความเป็นพิษหรือก่อมะเร็งต่อมลูกหมาก (ท่านผู้หญิงไม่ต้องกังวล) แต่อย่างใด เพราะถ้าควบคุมไว้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็ไม่มีพิษ แต่นานาชาติกังวลว่าเมธิลโบรไมด์นั้นจะทำลายชั้นโอโซนที่กั้งรังสีในอวกาศต่างหาก จึงลงนามในพิธีสารมอนทรีออล เพื่อระงับการใช้ภายในปี 2558 เหมือนกับตอนที่เราเลิกใช้สาร CFC ส่วนฟอสฟีนนั้น ยังใช้เป็นปกติในทุกประเทศ
นอกจากนั้น จากข้อมูลในรูป จะเห็นได้ว่า ปี 55 และครึ่งปี 56 ประเทศไทยนำเข้าเมธิลโบรไมด์ลดลงตามพันธะที่ลงนามไว้ในพิธีสารมอนทรีออล ไม่ใช่เพิ่มขึ้นอย่างที่ใครก็ไม่รู้ว่ามา!
สารเคมีรมข้าว เป็นพิษจริงหรือ?
สารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชในยุ้งฉางข้าว(Fumigation) ทุกวันนี้มีใช้อยู่หลักๆ คือ เมธิลโบรไมด์ (Methylbromide) และฟอสฟีน (phosphine) ซึ่งแน่นอนว่า ทั้งสองสารเคมีนั้นมีพิษฆ่ามอดแมลงได้
คำถามคือ คนกินข้าวที่รมด้วยสารพิษแล้วจะตายหรือไม่?
ลองเทียบดูกับกระบวนการหนึ่งที่ใช้ทำน้ำประปาที่เราใช้อาบ ใช้ซักล้าง และอาจจะใช้กรองน้ำกินอยู่ทุกวัน แน่นอนว่า การจะฆ่าเชื้อโรค แมลงและไข่แมลงปรสิตทั้งหลายไม่ให้อยู่ในน้ำประปา ก็ต้องใช้สารเคมีอันตรายมีพิษถึงตายเช่นกัน นั่นก็คือ คลอรีน (Chlorine) ก๊าซพิษสีเขียวที่ใช้เป็นอาวุธสงครามเคมีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 คร่าชีวิตทหารไปมากมาย เป็นพิษกว่า “โบรมีน” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเมธิลโบรไมด์ซึ่งใช้รมข้าวเสียอีก
หรือแม้กระทั่งแฮม ไส้กรอก กุนเชียง ของกินแปรรูปต่างๆ ก็ใส่ “สารพิษ” เช่น สารกันบูด วัตถุกันเสีย เพื่อถนอมอาหารไว้เช่นกัน
รอบตัวเราเต็มไปด้วยการใช้ประโยชน์จากสารเคมีที่มีพิษ อยู่ที่ว่าเราจะจัดการปริมาณสารนั้นอย่างไรให้ไม่เหลือตกค้าง และอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งการรมควันสารเคมีข้าวเพื่อกำจัดแมลง ทำมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คิดค้นสารเคมีพวกนี้ได้โน่น ถ้าเป็นมะเร็ง คงเป็นกันทั้งประเทศมาตั้งแต่ยุคจอมพล ป. กระมัง
การทยอยลดการใช้เมธิลโบรไมด์ของประเทศต่างๆ ไม่เกี่ยวกับกับความเป็นพิษหรือก่อมะเร็งต่อมลูกหมาก (ท่านผู้หญิงไม่ต้องกังวล) แต่อย่างใด เพราะถ้าควบคุมไว้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็ไม่มีพิษ แต่นานาชาติกังวลว่าเมธิลโบรไมด์นั้นจะทำลายชั้นโอโซนที่กั้งรังสีในอวกาศต่างหาก จึงลงนามในพิธีสารมอนทรีออล เพื่อระงับการใช้ภายในปี 2558 เหมือนกับตอนที่เราเลิกใช้สาร CFC ส่วนฟอสฟีนนั้น ยังใช้เป็นปกติในทุกประเทศ
นอกจากนั้น จากข้อมูลในรูป จะเห็นได้ว่า ปี 55 และครึ่งปี 56 ประเทศไทยนำเข้าเมธิลโบรไมด์ลดลงตามพันธะที่ลงนามไว้ในพิธีสารมอนทรีออล ไม่ใช่เพิ่มขึ้นอย่างที่ใครก็ไม่รู้ว่ามา!