เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9558182
เผยผลวิจัยจากสถาบันวิจัยท็อกซิก-ฟรี ฟิวเจอร์และสถาบันเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมแห่งอัมสเตอร์ดัม มหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัม เผยว่า จากการทดสอบเครื่องใช้ครัวเรือน 203 รายการที่ผลิตด้วยพลาสติกสีดำ พบว่าร้อยละ 85 มีสารหน่วงการติดไฟผสมอยู่ในปริมาณสูง
งานวิจัยดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในวารสารคีโมสเฟียร์ โดยผู้จัดการด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายของศูนย์วิจัย อธิบายว่า สารหน่วงการติดไฟหรือ Retardant เป็นสารชนิดเดียวกันกับสารที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่าง โทรทัศน์ สมาร์ตโฟน หรือคอมพิวเตอร์
ซึ่งสารดังกล่าวจะถูกพบในอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่ผลิตด้วยพลาสติกสีดำเท่านั้น ไม่มีในพลาสติกสีอื่น เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และเคลือบสารหน่วงการติดไฟเหล่านี้มักจะมีสีดำ จากการตรวจสอบก็พบสารนี้อยู่ในปริมาณที่น่ากังวลใจ
นักวิจัยระบุอีกว่า ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารนี้ ได้แก่ การก่อโรคมะเร็ง รบกวนการทำงานต่อมไร้ท่อ เป็นพิษต่อระบบประสาทและระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งเป็นพิษต่อเด็กในครรภ์
แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่อยี่ห้อหรือผู้ผลิต แต่ทีมวิจัยพบสารหน่วงการติดไฟในระดับสูงสุดในเครื่องใช้ประเภทไม้พาย ถาดซูชิที่เป็นบรรจุภัณฑ์วางขายตามร้านค้า และสร้อยคอลูกปัดพลาสติก
ขณะเดียวกัน เฮเทอร์ สเตเปิลตัน ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันโรนี-ริเชล การ์เซีย-จอห์นสันแห่งมหาวิทยาลัยดุ๊กแนะว่า ควรกำจัดเครื่องใช้ในครัวที่เป็นพลาสติกสีดำทิ้งไป หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ให้น้อยลง
หากว่ายังไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องใช้เสี่ยงอันตรายเหล่านี้ได้ในทันที ก็ควรหลีกเลี่ยงการนำไปใช้หรือสัมผัสของของร้อนเป็นเวลานานๆ แต่หากพลาสติกเหล่านี้ละลายหรือเสียรูปจเมื่อโดนความร้อน ควรเปลี่ยนเครื่องใช้นั้นทิ้งไปในทันที
พร้อมทั้งแนะนำตัวเลือกภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัวที่ดีกว่าพลาสติกสีดำ คือ เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ ไม้และเซรามิก แต่ก็ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9558182
ผลวิจัยชี้ เครื่องครัวที่ทำจากพลาสติกสีดำ มีสารเสี่ยงเกิดมะเร็งในปริมาณสูง
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9558182
เผยผลวิจัยจากสถาบันวิจัยท็อกซิก-ฟรี ฟิวเจอร์และสถาบันเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมแห่งอัมสเตอร์ดัม มหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัม เผยว่า จากการทดสอบเครื่องใช้ครัวเรือน 203 รายการที่ผลิตด้วยพลาสติกสีดำ พบว่าร้อยละ 85 มีสารหน่วงการติดไฟผสมอยู่ในปริมาณสูง
งานวิจัยดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในวารสารคีโมสเฟียร์ โดยผู้จัดการด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายของศูนย์วิจัย อธิบายว่า สารหน่วงการติดไฟหรือ Retardant เป็นสารชนิดเดียวกันกับสารที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่าง โทรทัศน์ สมาร์ตโฟน หรือคอมพิวเตอร์
ซึ่งสารดังกล่าวจะถูกพบในอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่ผลิตด้วยพลาสติกสีดำเท่านั้น ไม่มีในพลาสติกสีอื่น เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และเคลือบสารหน่วงการติดไฟเหล่านี้มักจะมีสีดำ จากการตรวจสอบก็พบสารนี้อยู่ในปริมาณที่น่ากังวลใจ
นักวิจัยระบุอีกว่า ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารนี้ ได้แก่ การก่อโรคมะเร็ง รบกวนการทำงานต่อมไร้ท่อ เป็นพิษต่อระบบประสาทและระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งเป็นพิษต่อเด็กในครรภ์
แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่อยี่ห้อหรือผู้ผลิต แต่ทีมวิจัยพบสารหน่วงการติดไฟในระดับสูงสุดในเครื่องใช้ประเภทไม้พาย ถาดซูชิที่เป็นบรรจุภัณฑ์วางขายตามร้านค้า และสร้อยคอลูกปัดพลาสติก
ขณะเดียวกัน เฮเทอร์ สเตเปิลตัน ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันโรนี-ริเชล การ์เซีย-จอห์นสันแห่งมหาวิทยาลัยดุ๊กแนะว่า ควรกำจัดเครื่องใช้ในครัวที่เป็นพลาสติกสีดำทิ้งไป หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ให้น้อยลง
หากว่ายังไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องใช้เสี่ยงอันตรายเหล่านี้ได้ในทันที ก็ควรหลีกเลี่ยงการนำไปใช้หรือสัมผัสของของร้อนเป็นเวลานานๆ แต่หากพลาสติกเหล่านี้ละลายหรือเสียรูปจเมื่อโดนความร้อน ควรเปลี่ยนเครื่องใช้นั้นทิ้งไปในทันที
พร้อมทั้งแนะนำตัวเลือกภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัวที่ดีกว่าพลาสติกสีดำ คือ เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ ไม้และเซรามิก แต่ก็ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9558182