คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ชอบใจคำนี้ครับ
อ่านตำราก่อนแล้วสรุปความเข้าใจนะครับ ไม่เอาตัดแปะครับ
คห.
๑.คำว่า "เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว" ไม่มีในบาลีที่ปรากฎนี้
เป็นการแปลเกินบาลีไป พูดถึงการเกิด จะมีแค่ว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
แปลว่า การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์ ขอไม่มีความเห็นในส่วนที่เกินมา
๒.วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ แปลว่า จิต(ของเรา) ถึงความมีสังขารไปปราศแล้ว
ภาษาชาวบ้านไทยๆ แปลว่า จิต(ของเรา)ไปปราศจากสังขารแล้ว
วิสังขาร มีความหมายตรงกับคำว่า อสงฺขต(ไม่ปรุงแต่ง , ปรุงแต่งไม่ได้)
สงฺขาร และ สงฺขต มาจากคำเดียวกัน ต่างกันเพราะไวยากรณ์ที่ใช้ มีนัยยะ
อันเดียวกัน
สงฺขาร หรือ สงฺขต แปลว่าปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมหรือสภาวะที่ถูกปัจจัยอะไรๆปรุงแต่ง
ขึ้นมา เช่น ร่างกาย ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมาจึงปรากฎทางจักขุทวารดังที่เราเห็น
ปัจจัยที่ปรุงแต่ง เช่น กรรม จิต ฤดู(อุตุ) อาหาร เป็นต้น ที่จริงมากกว่านี้ เมื่อร่างกาย
หรือสิ่งที่ปรากฎมีขึ้น ย่อมเป็นสาเหตุและปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความทะยานอยากในอารมณ์(ตัณหา)
เมื่อรู้ความหมายของคำว่า สงฺขาร แล้ว คำว่า วิสงฺขาร ก็มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า สงฺขาร
วิสงฺขาร จึงมีความหมายว่า สภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้แล้ว (ตรงกันข้ามกับสงฺขาร)
วิสงฺขารคตํ จึงแปลได้ว่า ถึงสภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไปปราศแล้ว ภาษาง่ายๆคือ
ถึงสภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
สภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้แล้ว หมายถึง นิพพาน
เพราะสภาวะนิพพานเท่านั้นไม่มีอะไรปรุงแต่งได้ ไม่มีปัจจัยอะไรๆสามารถปรุงแต่งและ
เป็นเหตุเป็นผลในสภาวะนิพพานได้
สังขตะธรรมไม่มีในสภาวะนิพพาน และ สภาวะนิพพานไม่มีในสังขตะธรรม เพราะเหตุว่า
สภาวะที่ไกลจากสังขาร ชื่อว่า อสังขตะ (อสังขาระ)
ในทางปฏิบัติ จิตที่ถึงสภาวะ วิสังขาระ คือจิตที่ขณะบรรลุเป็นพระอริยะบุคคลและจิตที่อยู่ในสมาบัติต่างๆ
โดยขณะนั้นจิตรับเอานิพพานเป็นอารมณ์
ดูที่บาลี วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ จิต + วิสังขาร แสดงว่ามีจิต และ รับนิพพานเป็นอารมณ์
(ในการอธิบายตอนนี้ สอดคล้องกับที่ จขกท. ยกมา เพราะเป็นพุทธอุทานเมื่อทรงบรรลุธรรม)
มูลเหตุที่จิตถึงวิสังขาระ มีเฉลยไว้ในบาทสุดท้ายคือ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แปลว่า
เพราะถึงทับซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
และจึงเป็นมูลเหตุที่ไม่ทรงกลับมาเกิดหรือมีอัตตภาวะอีก เพราะการสิ้นไปแห่งตัณหา
โดยที่มีคำอธิบายคำว่า คหการํ หมายถึง ตัณหาผู้สร้างภพ (นั่นเอง)
ข้อนี้สอดคล้องกับคำว่า ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ แปลว่า ตัณหาทำให้คนเกิด.
เอวํ.
อ่านตำราก่อนแล้วสรุปความเข้าใจนะครับ ไม่เอาตัดแปะครับ
คห.
๑.คำว่า "เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว" ไม่มีในบาลีที่ปรากฎนี้
เป็นการแปลเกินบาลีไป พูดถึงการเกิด จะมีแค่ว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
แปลว่า การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์ ขอไม่มีความเห็นในส่วนที่เกินมา
๒.วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ แปลว่า จิต(ของเรา) ถึงความมีสังขารไปปราศแล้ว
ภาษาชาวบ้านไทยๆ แปลว่า จิต(ของเรา)ไปปราศจากสังขารแล้ว
วิสังขาร มีความหมายตรงกับคำว่า อสงฺขต(ไม่ปรุงแต่ง , ปรุงแต่งไม่ได้)
สงฺขาร และ สงฺขต มาจากคำเดียวกัน ต่างกันเพราะไวยากรณ์ที่ใช้ มีนัยยะ
อันเดียวกัน
สงฺขาร หรือ สงฺขต แปลว่าปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมหรือสภาวะที่ถูกปัจจัยอะไรๆปรุงแต่ง
ขึ้นมา เช่น ร่างกาย ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมาจึงปรากฎทางจักขุทวารดังที่เราเห็น
ปัจจัยที่ปรุงแต่ง เช่น กรรม จิต ฤดู(อุตุ) อาหาร เป็นต้น ที่จริงมากกว่านี้ เมื่อร่างกาย
หรือสิ่งที่ปรากฎมีขึ้น ย่อมเป็นสาเหตุและปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความทะยานอยากในอารมณ์(ตัณหา)
เมื่อรู้ความหมายของคำว่า สงฺขาร แล้ว คำว่า วิสงฺขาร ก็มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า สงฺขาร
วิสงฺขาร จึงมีความหมายว่า สภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้แล้ว (ตรงกันข้ามกับสงฺขาร)
วิสงฺขารคตํ จึงแปลได้ว่า ถึงสภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไปปราศแล้ว ภาษาง่ายๆคือ
ถึงสภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
สภาวะที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้แล้ว หมายถึง นิพพาน
เพราะสภาวะนิพพานเท่านั้นไม่มีอะไรปรุงแต่งได้ ไม่มีปัจจัยอะไรๆสามารถปรุงแต่งและ
เป็นเหตุเป็นผลในสภาวะนิพพานได้
สังขตะธรรมไม่มีในสภาวะนิพพาน และ สภาวะนิพพานไม่มีในสังขตะธรรม เพราะเหตุว่า
สภาวะที่ไกลจากสังขาร ชื่อว่า อสังขตะ (อสังขาระ)
ในทางปฏิบัติ จิตที่ถึงสภาวะ วิสังขาระ คือจิตที่ขณะบรรลุเป็นพระอริยะบุคคลและจิตที่อยู่ในสมาบัติต่างๆ
โดยขณะนั้นจิตรับเอานิพพานเป็นอารมณ์
ดูที่บาลี วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ จิต + วิสังขาร แสดงว่ามีจิต และ รับนิพพานเป็นอารมณ์
(ในการอธิบายตอนนี้ สอดคล้องกับที่ จขกท. ยกมา เพราะเป็นพุทธอุทานเมื่อทรงบรรลุธรรม)
มูลเหตุที่จิตถึงวิสังขาระ มีเฉลยไว้ในบาทสุดท้ายคือ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แปลว่า
เพราะถึงทับซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
และจึงเป็นมูลเหตุที่ไม่ทรงกลับมาเกิดหรือมีอัตตภาวะอีก เพราะการสิ้นไปแห่งตัณหา
โดยที่มีคำอธิบายคำว่า คหการํ หมายถึง ตัณหาผู้สร้างภพ (นั่นเอง)
ข้อนี้สอดคล้องกับคำว่า ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ แปลว่า ตัณหาทำให้คนเกิด.
เอวํ.
แสดงความคิดเห็น
จิตของเราปราศจากสังขาร เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว มีจิต?
vsจิต(ของเรา)ไปปราศจากสังขารแล้ว (คุณพยายาม)ได้ถึงความดับสูญสิ้นไปแห่งตัณหา อันหาส่วนเหลือมิได้โดยแท้"
ตามที่คุณมหาวิหารเสนอ(เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยว
ไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์๑-
แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว, ท่านจะทำเรือน
อีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่๒- ของท่านเราหักเสียแล้ว
ยอดเรือน เราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่อง
ปรุงแต่งแล้ว, เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว. )
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฐฺโถสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ.
วิสังฺขารขตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
1 วิสังฺขารขตํ จิตฺตํ แปลว่าอะไรครับ?
จิตของเราปราศจากสังขาร เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว
vsจิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว (คุณชาวมหาวิหาร)
vsจิต(ของเรา)ไปปราศจากสังขารแล้ว (คุณพยายาม)
อ่านตำราก่อนแล้วสรุปความเข้าใจนะครับ ไม่เอาตัดแปะครับ
และตอบให้ตรงคำถามนะครับ
2 ตัณหาเป็นนายช่างสร้างเรือน แล้วใครคือผู้แสวงหานายช่างสร้างเรือน
3 เมื่อไม่มีผู้แสวงหาเรือนแสดงว่านายช่างสร้างเรือนร้าง ไม่มีคน ใช่มั๊ยครับ?
4 เรือน(ขันธ์ห้า) แล้วคนที่อยู่ในเรือนคือใคร?