ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมเห็นว่า ขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น เกิดเพราะมีเหตุปัจจัยหรือ

กระทู้สนทนา
ฟังคลิปมหาตัณหาสังขยสูตร ๓ ขันธ์ ๕ ขันธ์เกิด ขันธ์ดับ, อ.สุภีร์ ทุมทอง-บ้านพุทธธรรมสวนหลวง-๒๐ ก.พ.๒๕๖๓ เรื่อง : -มหาตัณหาสังขยสูตร3 ความรู้เรื่องขันธ์5 ขันธ์เกิด ขันธ์ดับ
https://www.youtube.com/watch?v=Q50YvQs-HEY
----
0.00
--เรื่องขันธ์ 5 พระองค์ก็จะสอบถามพระภิกษุไปหลายประเด็นด้วยกัน หลักๆก็ประเด็นก็คือ
--จะต้องรู้จักสิ่งนั้นตามความเป็นจริง
--รู้จักเหตุเกิดแล้วก็
--รู้จักเหตุดับของมัน
--ฉนั้นประเด็นเกี่ยวกับความรู้เรื่องขันธ์ 5 เนี่ย ประเด็นหลักจะมีอยู่ 3 ประเด็นในการเรียนรู้จะได้หมดความลังเลสงสัยในขันธ์ 5
--จะได้ไม่เข้าใจผิด
--ก็คือ รู้จากตัวมันตามความเป็นจริงว่าทั้งหมดทั้งสากลจักรวาฬนี้มีแค่นี้เท่านั้น มีอันหนึ่ง มีแค่ขันธ์ 5
--อันที่สองรู้ความเกิดรู้เหตุเกิดของมัน
--อย่างที่สามก็คือรู้ความดับเหตุดับของมัน
--น้านี้กรณีการรู้เรื่องขันธ์ 5
--ทีนี้ขันธ์ มันมี 5 ความรู้เกี่ยวกับขันธ์จะต้องครอบคลุม 3 ประเด็นก็เลยเป็น 15 ความรู้
--เป็นรูปเป็นอย่างนี้ อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดของรูป อย่างนี้ความดับของรูป
--อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดของเวทนา อย่างนี้ความดับของเวทนา
--อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดของสัญญา อย่างนี้ความดับของสัญญา
--อย่างนี้สังขารทั้งหลาย อย่างนี้ความเกิดของสังขารทั้งหลาย อย่างนี้ความดับ
--นี้วิญญาน นี้ความเกิดของวิญญาน นี้ความดับของวิญญาน อันนี้คือความรู้ที่สมบูรณ์ในแบบของขันธ์ 5 นะครับ ทำนองนี้
1.30
--ซึ่งเวลาปฏิบัติตามแบบสติปัฏฐานเนี่ย
--เวลาพิจารณาขันธ์ 5 เนี่ยเราต้องพิจารณาเป็นแบบนี้จึงจะเข้าใจสมบูรณ์ นะครับ
--ในพระสูตรนี้พระองค์ก็จะถามภิกษุที่ท่านนั่งฟังอยู่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ นะ แต่ถามรวมเป็นขันธ์ 5 เลย
--หลังจากที่ถามวิญญานมาแล้ว นา ต่อไปก็จะถามเรื่องขันธ์ 5 ในข้อ 401 นะครับ
--บาลีข้อ 401 เอกสารหน้าที่ 4 จนมาจบหน้าที่ 5
--ครับ เดี๋ยวเราอ่านพร้อมกันนะครับ
2.02 - 6.45
--นาต่อไป พระองค์ก็จะได้แสดงพระธรรมเทศนาให้ลึกซึ้งยิ่งๆไป
--ก็คือ ทรงแสดงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมีจริงในจักรวาฬนี้ก็คือ ขันธ์ 5 นั่นเอง นา อันนี้ ในข้อ 401
[๔๔๕]   ภูตมิทํ   ภิกฺขเว   ปสฺสถาติ    ฯ  
พระองค์ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นว่า ขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ใช่หรือไม่
--สิ่งที่เกิดขึ้นจริงมีแต่ขันธ์ 5 ใช่ไหม
--ถามเธอเห็นว่าดังนี้ใช่ไม๊
--เธอย่อมเห็น ปัสสะถะ แปลว่า เห็น นะ
--เธอทั้งหลายย่อมเห็น
--เห็นนี้ก็เป็นกิจของญานของปัญญา
--หมายถึง ถามว่าเธอมีญานมองเห็นไหม ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนี้มีแต่ขันธ์ 5 เท่านั้น
--เห็นไม๊ มองเห็นไม๊ ในสากลจักรวาลทั้งหมด รวมทั้งที่นั่งๆอยู่เนี่ย มีแต่ขันธ์ 5 เห็นไม๊
--ภูตมิทํ
--ภูตะ/ภูตัง แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว
--ภูตะมิทังติ มาจากคำว่า ภูตัง อิทัง ติ /อิติ
--อิติ ก็แปลว่า ว่า นั่นเอง
--อิทัง ก็คือ ขันธ์ 5 อันหนึ่งนี้ นะ
--เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่าขันธ์ 5 นี้เกิดขึ้นแล้วหรือไม่
--เห็นไม๊น๊าว่ามีเท่านี้เองนะทั้งจักรวาลนี้นะทั้งหมดเลยที่นั่งๆอยู่นี้ เห็นไม๊ว่ามีแต่ขันธ์ 5
--สมมุติว่าทุกท่านกำลังนั่งอยู่เนี่ยนะ พระเพียบเลย พระองค์ก็ถามอย่างเนี้ย ทำนองนี้
--เห็นไม๊ครับว่ามีแต่ขันธ์ 5
--บางคนบอกเห็นแต่คนเพียบเห็นเลยทั้งอ้วนทั้งผอม อย่างนี้ไม่ได้ อันนี้เรียกว่าไม่มีญานนะ
--อันนี้ถามพระ พระพุทธเจ้าถามตามญาน ท่านก็ตอบตามญาน เห็นก็ว่าเห็น ไม่เห็นก็ว่าไม่เห็น ใช่ไม๊
--แต่แน่นอน พระองค์ถามก็เห็นชัดว่า ภิกษุมีญานมองเห็นว่ามีแต่ขันธ์ 5
--ภูตมิทํ  ก็คือ ขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้วนี้
--ภูตัง แปลว่า เกิดแล้ว มีแล้ว เป็นแล้ว
--อิทัง แปลว่า สิ่งนี้ที่มีแล้วเป็นแล้วคือขันธ์ 5 นั่นเอง ขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้ว มีแล้ว
--ปสฺสถาติ แปลว่า ย่อมเห็น
--ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า เห็นนี้เป็นหน้าที่ของญานล่ะนะ อย่างที่บอกไปแล้ว แปลเป็นไทยก็คือ เห็นด้วยญานปัญญา มีปัญญาเห็นว่า อย่างนี้ไม๊
--ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลว่า
เอวํ   ภนฺเต  ฯ
อย่างนั้นพระเจ้าข้า
--เห็นอย่างนั้น ภิกษุกลุ่มนี้นะ นอกจากพระสาติแล้วก็เห็นถูกหมด นา เป็นพระอริยะหมดเลย เหลือพระสาติอยู่องค์เดียว เห็นผิดอยู่องค์เดียว
--อาพอเข้าใจไม๊อย่างนี้ นะครับ ทำนองนี้ นะ
--ขนาดแสดงละเอียดขนาดนี้พระสาติก็ยังถือผิดอยู่นั่นนะ
--ส่วนพระภิกษุท่านก็บรรลุธรรมกันไป
--พระองค์ก็ถามปัญหาต่อมา
--ปัญหาที่ 2 เกี่ยวกับขันธ์ 5 ที่ผมบอกไปบ่อยๆนั่นแหละ

ตทาหารสมฺภวนฺติ  ภิกฺขเว  ปสฺสถาติ  ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมเห็นว่า ขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น เกิดเพราะมีเหตุปัจจัยหรือ

--เห็นเหตุปัจจัย 10.04
  เอวํ  ภนฺเต ฯ
ตทาหารนิโรธา ยํ   ภูตํ   ตํ   นิโรธธมฺมนฺติ   ภิกฺขเว  ปสฺสถาติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเต  ฯ
ภูตมิทํ   โนสฺสูติ   ภิกฺขเว   กงฺขาโต   อุปฺปชฺชติ  วิจิกิจฺฉาติ  ฯ  เอวํ ภนฺเต   ฯ  
ตทาหารสมฺภวํ   โนสฺสูติ   ภิกฺขเว   กงฺขาโต   อุปฺปชฺชติ วิจิกิจฺฉาติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเต  ฯ  
ตทาหารนิโรธา  ยํ  ภูตํ  ตํ นิโรธธมฺมํ โนสฺสูติ   ภิกฺขเว  กงฺขาโต  อุปฺปชฺชติ  วิจิกิจฺฉาติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเต  ฯ
ภูตมิทนฺติ   ภิกฺขเว   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย   ปสฺสโต   ยา  วิจิกิจฺฉา สา   ปหิยตีติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเต  ฯ  
ตทาหารสมฺภวนฺติ  ภิกฺขเว  ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต ยา วิจิกิจฺฉา สา ปหิยตีติ ฯ
     {๔๔๕.๑}   เอวํ  ภนฺเต  ฯ
ตทาหารนิโรธา ยํ ภูตํ ตํ นิโรธธมฺมนฺติ ภิกฺขเว  ยถาภูตํ  สมฺมปฺปญฺญาย  ปสฺสโต  ยา  วิจิกิจฺฉา  สา  ปหิยตีติ ฯ เอวํ  ภนฺเต  ฯ  
ภูตมิทนฺติ  ภิกฺขเว  อิติปิ  โว  เอตฺถ  นิพฺพิจิกิจฺฉาติ ฯ เอวํ   ภนฺเต   ฯ  
ตทาหารสมฺภวนฺติ   ภิกฺขเว   อิติปิ   โว   เอตฺถ นิพฺพิจิกิจฺฉาติ   ฯ   เอวํ   ภนฺเต   ฯ  
ตทาหารนิโรธา   ยํ  ภูตํ  ตํ นิโรธธมฺมนฺติ   ภิกฺขเว   อิติปิ   โว   เอตฺถ   นิพฺพิจิกิจฺฉาติ  ฯ  เอวํ ภนฺเต   ฯ  
ภูตมิทนฺติ   ภิกฺขเว   ยถาภูตํ  สมฺมปฺปญฺญาย  สุทิฏฺฐนฺติ  ฯ เอวํ   ภนฺเต   ฯ  
ตทาหารสมฺภวนฺติ   ภิกฺขเว  ยถาภูตํ  สมฺมปฺปญฺญาย สุทิฏฺฐนฺติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเต  ฯ  
ตทาหารนิโรธา  ยํ  ภูตํ ตํ นิโรธธมฺมนฺติ ภิกฺขเว   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย   สุทิฏฺฐนฺติ   ฯ   เอวํ   ภนฺเต   ฯ
อิมญฺเจ   ตุเมฺห   ภิกฺขเว   ทิฏฺฐึ   เอวํ   ปริสุทฺธํ   เอวํ  ปริโยทาตํ อลฺลีเยถ  เกฬาเยถ  ธเนยฺยาถ  ๑-  มมาเยถ  อปิ  นุ  ตุเมฺห ภิกฺขเว
กุลฺลูปมํ  ธมฺมํ  เทสิตํ  อาชาเนยฺยาถ  นิตฺถรณตฺถาย  โน คหณตฺถายาติ ฯ โน  เหตํ  ภนฺเต  ฯ  

อิมญฺเจ  ตุเมฺห  ภิกฺขเว  ทิฏฺฐึ เอวํ ปริสุทฺธํ เอวํ ปริโยทาตํ  น  อลฺลีเยถ  น  เกฬาเยถ  น ธเนยฺยาถ น มมาเยถ อปิ นุ
เม  ตุเมฺห  ภิกฺขเว  กุลฺลูปมํ  ธมฺมํ  เทสิตํ  อาชาเนยฺยาถ นิตฺถรณตฺถาย โน คหณตฺถายาติ ฯ เอวํ ภนฺเต ฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่