Posted by ประภาคาร ภราดรภิบาล
ThaiVI
ช่วงเดือนนี้ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นคงได้เห็นถึงความผันผวนอย่างหนักของตลาดหุ้นที่มีการขึ้น-ลงวันละหลายสิบจุด หลายคนถึงกับเปรียบเปรยความผันผวนของตลาดหุ้นว่าเหมือนกับการ “นั่งรถไฟเหาะตีลังกา” เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลงจนหัวใจแทบจะวาย
ในสภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ ผมนึกไปถึงการอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่คลาสสิคและถูกนำมากล่าวอ้างอิงมากที่สุด นั่นก็คือการอุปมาอุปไมยของ “เบนจามิน เกรแฮม” ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า” ซึ่งเปรียบเทียบความผันผวนของตลาดหุ้นเหมือนกับอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยของบุรุษผู้มีนามว่า “มิสเตอร์มาร์เก็ต” (Mr.Market)
“มิสเตอร์มาร์เก็ต” ถูกกล่าวถึงในหนังสือ “The Intelligent Investor” ของ “เบนจามิน เกรแฮม” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1949 หนังสือเล่มนี้ถูกจัดว่าเป็นหนังสือการลงทุนคลาสสิค และยังได้รับการยกย่องจาก สุดยอดนักลงทุนระดับโลกอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ว่าเป็นหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีการเขียนกันมา (มีฉบับภาษาไทยในชื่อว่า “คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” แปลและเรียบเรียงโดยคุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข)
ในหนังสือเล่มดังกล่าว “เกรแฮม” เขียนถึง “มิสเตอร์มาร์เก็ต” ไว้ดังนี้
“…ลองจินตนาการว่า คุณมีหุ้นมูลค่า 1,000 ดอลลาร์ในธุรกิจนอกตลาด และหุ้นส่วนคนหนึ่งของคุณคือมิสเตอร์มาร์เก็ต เป็นหุ้นส่วนที่มีประโยชน์มาก ทุกๆวันเขาจะบอกคุณว่า หุ้นที่คุณมีอยู่มีมูลค่าเท่าไร และเขาจะเสนอซื้อหุ้นจากคุณหรือเสนอขายหุ้นเพิ่มเติมให้แก่คุณ บางครั้งความคิดเห็นในเรื่องมูลค่าหุ้นของเขาก็ดูสอดคล้องกับอนาคตและปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ในทางตรงกันข้าม หลายๆครั้งมิสเตอร์มาร์เก็ตจะปล่อยให้ความกระตือรือร้นหรือความกลัวของเขาเข้าครอบงำ ซึ่งจะทำให้มูลค่าหุ้นที่เขาเสนอดูเป็นสิ่งโง่เขลา
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนผู้รอบคอบหรือนักธุรกิจผู้มีเหตุผล คุณจะปล่อยให้ราคาที่มิสเตอร์มาร์เก็ตเสนอให้คุณในแต่ละวันมากำหนดมุมมองของคุณที่มีต่อหุ้นมูลค่า 1,000 ดอลลาร์ในบริษัทแห่งนี้หรือเปล่า? คำตอบก็คือ มันควรจะเป็นเช่นนั้นแต่เฉพาะในกรณีที่คุณเห็นด้วยกับเขาหรือต้องการซื้อขายหุ้นกับเขาเท่านั้น คุณอาจจะยินดีขายหุ้นให้แก่เขา หากราคาที่เสนออยู่ในระดับสูงมากจนน่าเหลือเชื่อ และคุณก็อาจจะยินดีซื้อหุ้นจากเขา หากราคาขายของเขาอยู่ในระดับต่ำเตี้ยติดดิน”
“เกรแฮม” กล่าวว่า นักลงทุนสามารถหาประโยชน์จากความผันผวนของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน “โดยพื้นฐานแล้ว ความผันผวนของราคามีความสำคัญต่อนักลงทุนพันธุ์แท้ในแง่มุมเดียวเท่านั้น นั่นก็คือมันจะให้โอกาสพวกเขาซื้อหุ้นในตอนที่ราคาหุ้นลดลงอย่างหนัก และให้โอกาสพวกเขาขายหุ้นออกไปเมื่อตลาดได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปมาก ในช่วงเวลาอื่นๆ การละเลยตลาดหุ้นและหันไปใส่ใจต่อเงินปันผลและผลการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับพวกเขา”
ช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นคึกคักเป็นกระทิงเปลี่ยว หุ้นพุ่งกระฉูดทะลุทุกๆแนวต้าน “มิสเตอร์มาร์เก็ต” มีอาการฮึกเหิม มองโลกในแง่ดี เสนอราคาหุ้นสูงลิบลิ่ว นั่นเป็นโอกาสที่เราจะขายหุ้นให้กับเขาไป แต่ในช่วงที่ตลาดหุ้นตกแบบถล่มทลาย ชนิดที่ว่าแนวรับไหนๆก็เอาไม่อยู่ “มิสเตอร์มาร์เก็ต” หดหู่ซึมเศร้า ยอมตั้งราคาหุ้นต่ำๆ นั่นก็เป็นโอกาสให้เราได้ซื้อหุ้นดีๆในราคาที่ถูกเป็นพิเศษ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเราว่า จะตัดสินใจซื้อ-ขาย หรือว่าจะอยู่เฉยๆ เพราะไม่ว่าเราจะตัดสินใจอย่างไร “มิสเตอร์มาร์เก็ต” ก็ไม่ปริปากบ่น และพร้อมที่จะกลับมาเสนอราคากับเราใหม่ในวันทำการถัดไป เพราะนั่นคือบทบาทของเขา ส่วนบทบาทของเราก็คือ การตัดสินใจว่าการซื้อหรือขายหุ้นในราคาที่ “มิสเตอร์มาร์เก็ต” เสนอมานั้นทำให้เราได้เปรียบหรือเปล่า
แต่สิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องระวังเอาไว้ก็คือ อย่าเปลี่ยน “ความได้เปรียบ” เป็น “ความเสียเปรียบ” ด้วยการไปรับบทเป็น “มิสเตอร์มาร์เก็ต” เสียเอง
อ่านจนเยิน
สามก๊ก สายลงทุน
มิสเตอร์มาร์เก็ต (หนังสือของ เบนจามิน เกรแฮม ไม่เคยตกยุคสมัย ผู้เป็นบิดาแห่งการลงทุนเน้นคุณค่า)
ThaiVI
ช่วงเดือนนี้ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นคงได้เห็นถึงความผันผวนอย่างหนักของตลาดหุ้นที่มีการขึ้น-ลงวันละหลายสิบจุด หลายคนถึงกับเปรียบเปรยความผันผวนของตลาดหุ้นว่าเหมือนกับการ “นั่งรถไฟเหาะตีลังกา” เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลงจนหัวใจแทบจะวาย
ในสภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ ผมนึกไปถึงการอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่คลาสสิคและถูกนำมากล่าวอ้างอิงมากที่สุด นั่นก็คือการอุปมาอุปไมยของ “เบนจามิน เกรแฮม” ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า” ซึ่งเปรียบเทียบความผันผวนของตลาดหุ้นเหมือนกับอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยของบุรุษผู้มีนามว่า “มิสเตอร์มาร์เก็ต” (Mr.Market)
“มิสเตอร์มาร์เก็ต” ถูกกล่าวถึงในหนังสือ “The Intelligent Investor” ของ “เบนจามิน เกรแฮม” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1949 หนังสือเล่มนี้ถูกจัดว่าเป็นหนังสือการลงทุนคลาสสิค และยังได้รับการยกย่องจาก สุดยอดนักลงทุนระดับโลกอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ว่าเป็นหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีการเขียนกันมา (มีฉบับภาษาไทยในชื่อว่า “คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” แปลและเรียบเรียงโดยคุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข)
ในหนังสือเล่มดังกล่าว “เกรแฮม” เขียนถึง “มิสเตอร์มาร์เก็ต” ไว้ดังนี้
“…ลองจินตนาการว่า คุณมีหุ้นมูลค่า 1,000 ดอลลาร์ในธุรกิจนอกตลาด และหุ้นส่วนคนหนึ่งของคุณคือมิสเตอร์มาร์เก็ต เป็นหุ้นส่วนที่มีประโยชน์มาก ทุกๆวันเขาจะบอกคุณว่า หุ้นที่คุณมีอยู่มีมูลค่าเท่าไร และเขาจะเสนอซื้อหุ้นจากคุณหรือเสนอขายหุ้นเพิ่มเติมให้แก่คุณ บางครั้งความคิดเห็นในเรื่องมูลค่าหุ้นของเขาก็ดูสอดคล้องกับอนาคตและปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ในทางตรงกันข้าม หลายๆครั้งมิสเตอร์มาร์เก็ตจะปล่อยให้ความกระตือรือร้นหรือความกลัวของเขาเข้าครอบงำ ซึ่งจะทำให้มูลค่าหุ้นที่เขาเสนอดูเป็นสิ่งโง่เขลา
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนผู้รอบคอบหรือนักธุรกิจผู้มีเหตุผล คุณจะปล่อยให้ราคาที่มิสเตอร์มาร์เก็ตเสนอให้คุณในแต่ละวันมากำหนดมุมมองของคุณที่มีต่อหุ้นมูลค่า 1,000 ดอลลาร์ในบริษัทแห่งนี้หรือเปล่า? คำตอบก็คือ มันควรจะเป็นเช่นนั้นแต่เฉพาะในกรณีที่คุณเห็นด้วยกับเขาหรือต้องการซื้อขายหุ้นกับเขาเท่านั้น คุณอาจจะยินดีขายหุ้นให้แก่เขา หากราคาที่เสนออยู่ในระดับสูงมากจนน่าเหลือเชื่อ และคุณก็อาจจะยินดีซื้อหุ้นจากเขา หากราคาขายของเขาอยู่ในระดับต่ำเตี้ยติดดิน”
“เกรแฮม” กล่าวว่า นักลงทุนสามารถหาประโยชน์จากความผันผวนของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน “โดยพื้นฐานแล้ว ความผันผวนของราคามีความสำคัญต่อนักลงทุนพันธุ์แท้ในแง่มุมเดียวเท่านั้น นั่นก็คือมันจะให้โอกาสพวกเขาซื้อหุ้นในตอนที่ราคาหุ้นลดลงอย่างหนัก และให้โอกาสพวกเขาขายหุ้นออกไปเมื่อตลาดได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปมาก ในช่วงเวลาอื่นๆ การละเลยตลาดหุ้นและหันไปใส่ใจต่อเงินปันผลและผลการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับพวกเขา”
ช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นคึกคักเป็นกระทิงเปลี่ยว หุ้นพุ่งกระฉูดทะลุทุกๆแนวต้าน “มิสเตอร์มาร์เก็ต” มีอาการฮึกเหิม มองโลกในแง่ดี เสนอราคาหุ้นสูงลิบลิ่ว นั่นเป็นโอกาสที่เราจะขายหุ้นให้กับเขาไป แต่ในช่วงที่ตลาดหุ้นตกแบบถล่มทลาย ชนิดที่ว่าแนวรับไหนๆก็เอาไม่อยู่ “มิสเตอร์มาร์เก็ต” หดหู่ซึมเศร้า ยอมตั้งราคาหุ้นต่ำๆ นั่นก็เป็นโอกาสให้เราได้ซื้อหุ้นดีๆในราคาที่ถูกเป็นพิเศษ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเราว่า จะตัดสินใจซื้อ-ขาย หรือว่าจะอยู่เฉยๆ เพราะไม่ว่าเราจะตัดสินใจอย่างไร “มิสเตอร์มาร์เก็ต” ก็ไม่ปริปากบ่น และพร้อมที่จะกลับมาเสนอราคากับเราใหม่ในวันทำการถัดไป เพราะนั่นคือบทบาทของเขา ส่วนบทบาทของเราก็คือ การตัดสินใจว่าการซื้อหรือขายหุ้นในราคาที่ “มิสเตอร์มาร์เก็ต” เสนอมานั้นทำให้เราได้เปรียบหรือเปล่า
แต่สิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องระวังเอาไว้ก็คือ อย่าเปลี่ยน “ความได้เปรียบ” เป็น “ความเสียเปรียบ” ด้วยการไปรับบทเป็น “มิสเตอร์มาร์เก็ต” เสียเอง
อ่านจนเยิน
สามก๊ก สายลงทุน