พอดี เคยมีผู้ถามในกระทู้เก่าถามทำนองว่า ....
-----------------
พระอริยะ เช่นพระโสดาบัน พระสิกทาคามี พระอนาคามี เมื่อได้อรูปฌาน จะเกิดเป็นอรูปพรหม ได้หรือไม่?
-----------------
ซึ่งได้คำตอบแล้วแต่ไม่ชัดเจนที่สุด ยังเป็นสองกระแสอยู่ ผมจะตอบย้ำอีกครั้งว่า ได้ เพื่อให้ตรงกันเป็นกระแสเดียว คลายความสงสัยรังเลของท่านทั้งหลายเสีย ซึ่งเป็นพุทธพจน์ ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 25 ดังนี้.
---------------------------
อุปสีวปัญหาที่ ๖
[๔๓๐] อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ผู้เดียวไม่อาศัยธรรมหรือบุคคลอะไร
แล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลสได้ข้าแต่พระองค์ผู้สมันต
จักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระองค์พึงอาศัยข้าม
ห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอุปสีวะ
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี
ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็น
ผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้ง
ทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ
อุ. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์ (คืออากิญจัญญา
ยตนสมาบัติ ธรรมเปลื้องสัญญา)เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแลหรือ ฯ
พ. ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติ
อื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็น
อย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลก
นั้น ฯ
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้ ผู้นั้นพึงพ้นจากทุกข์
ต่างๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแหละ พึงเป็นผู้เยือกเย็น
หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึงเกิดเพื่อถือปฏิสนธิอีก ฯ
พ. ดูกรอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ไม่ถึงการ
นับ เปรียบเหมือนเปลวไฟอันถูกกำลังลมพัดไปแล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่
ไม่ได้ ไม่ถึงการนับ ฉะนั้น ฯ
อุ. ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้นั้นไม่มีหรือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีโรค
ด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัส
พยากรณ์ความข้อนั้นให้สำเร็จประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะว่า
ธรรมนั้นพระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น ฯ
พ. ดูกรอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายจะ
พึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นใด กิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น
ของท่านไม่มี เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น)ทั้งปวง ท่านเพิกถอนขึ้นได้
แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมดก็เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว ฯ
จบอุปสีวมาณวกปัญหาที่ ๖
---------------------
อธิบาย >>> เป็นพระอริยตามคำตรัสของพระพุทธเจ้าดังนี้....
-----------------------
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี
ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็น
ผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้ง
ทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ
---------------------
เกิดในอรูปพรหมดังนี้.......
--------------------
พ. ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติ
อื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็น
อย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลก
นั้น ฯ
------------------
และจะดับขันธ์นิพพาน ในอรูปพรหมนั้น ในพุทธดำรัสถัดมานั้นเอง.
ต่อไปเป็นเรื่อง พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ผู้ได้รูปฌาน(ฌาน 1 - ฌาน 4 ) เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เกิดเป็น รูปพรหม ในพรหมโลก ก็จะไม่เวียนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือ เทวดา อีกเลย จะเกิดในรูปพรหมในชั้นที่สูงกว่า จนบรรลุอรหันต์ แล้วดับขันธ์นิพพานบนรูปพรหมนั้นเอง.
ดังนั้นพระอริยเบื้องต้น อย่างพระโสดาบันบุคคล หรือพระสกิทาคามีบุคคล ที่ได้รูปฌาน ในมนุษย์โลก ย่อมสามารถกล่าวได้ว่า ท่านเกิดเป็นมนุษย์ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายได้ นั้นเองเมื่อรักษารูปฌานได้จนสิ้นชีวิต.
ส่วนท่านผู้ใดร่วมสนทนาหรือแสดงข้อมูลต่างๆ ได้ครับ
ตอบปัญหา เรื่องพระอริยะ เช่นพระโสดาบัน พระสิกทาคามี พระอนาคามี เมื่อได้อรูปฌาน จะเกิดเป็นอรูปพรหม ได้หรือไม่
-----------------
พระอริยะ เช่นพระโสดาบัน พระสิกทาคามี พระอนาคามี เมื่อได้อรูปฌาน จะเกิดเป็นอรูปพรหม ได้หรือไม่?
-----------------
ซึ่งได้คำตอบแล้วแต่ไม่ชัดเจนที่สุด ยังเป็นสองกระแสอยู่ ผมจะตอบย้ำอีกครั้งว่า ได้ เพื่อให้ตรงกันเป็นกระแสเดียว คลายความสงสัยรังเลของท่านทั้งหลายเสีย ซึ่งเป็นพุทธพจน์ ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 25 ดังนี้.
---------------------------
อุปสีวปัญหาที่ ๖
[๔๓๐] อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ผู้เดียวไม่อาศัยธรรมหรือบุคคลอะไร
แล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลสได้ข้าแต่พระองค์ผู้สมันต
จักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระองค์พึงอาศัยข้าม
ห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอุปสีวะ
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี
ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็น
ผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้ง
ทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ
อุ. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์ (คืออากิญจัญญา
ยตนสมาบัติ ธรรมเปลื้องสัญญา)เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแลหรือ ฯ
พ. ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติ
อื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็น
อย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลก
นั้น ฯ
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้ ผู้นั้นพึงพ้นจากทุกข์
ต่างๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแหละ พึงเป็นผู้เยือกเย็น
หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึงเกิดเพื่อถือปฏิสนธิอีก ฯ
พ. ดูกรอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ไม่ถึงการ
นับ เปรียบเหมือนเปลวไฟอันถูกกำลังลมพัดไปแล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่
ไม่ได้ ไม่ถึงการนับ ฉะนั้น ฯ
อุ. ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้นั้นไม่มีหรือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีโรค
ด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัส
พยากรณ์ความข้อนั้นให้สำเร็จประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะว่า
ธรรมนั้นพระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น ฯ
พ. ดูกรอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายจะ
พึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นใด กิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น
ของท่านไม่มี เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น)ทั้งปวง ท่านเพิกถอนขึ้นได้
แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมดก็เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว ฯ
จบอุปสีวมาณวกปัญหาที่ ๖
---------------------
อธิบาย >>> เป็นพระอริยตามคำตรัสของพระพุทธเจ้าดังนี้....
-----------------------
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี
ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็น
ผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้ง
ทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ
---------------------
เกิดในอรูปพรหมดังนี้.......
--------------------
พ. ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติ
อื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็น
อย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลก
นั้น ฯ
------------------
และจะดับขันธ์นิพพาน ในอรูปพรหมนั้น ในพุทธดำรัสถัดมานั้นเอง.
ต่อไปเป็นเรื่อง พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ผู้ได้รูปฌาน(ฌาน 1 - ฌาน 4 ) เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เกิดเป็น รูปพรหม ในพรหมโลก ก็จะไม่เวียนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือ เทวดา อีกเลย จะเกิดในรูปพรหมในชั้นที่สูงกว่า จนบรรลุอรหันต์ แล้วดับขันธ์นิพพานบนรูปพรหมนั้นเอง.
ดังนั้นพระอริยเบื้องต้น อย่างพระโสดาบันบุคคล หรือพระสกิทาคามีบุคคล ที่ได้รูปฌาน ในมนุษย์โลก ย่อมสามารถกล่าวได้ว่า ท่านเกิดเป็นมนุษย์ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายได้ นั้นเองเมื่อรักษารูปฌานได้จนสิ้นชีวิต.
ส่วนท่านผู้ใดร่วมสนทนาหรือแสดงข้อมูลต่างๆ ได้ครับ