http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1370168967&grpid=01&catid=&subcatid=
ยุทธบทความ มติชนสุดสัปดาห์
"ประเทศในทางการเมืองก็เหมือนกับป่า เราจำเป็นต้องตัดต้นไม้เก่าออกไป
เพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้ใหม่เติบโตขึ้นทดแทนกัน"
Walter Bagehot
นักเขียนชาวอังกฤษ
(ค.ศ.1826-77)
ไม่น่าเชื่อว่าการยึดอำนาจในการเมืองไทยครั้งก่อนผ่านไปเกือบจะ 8 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับการล้อมปราบครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นใจกลางเมืองหลวงผ่านไปครบรอบ 3 ปี...
การเมืองไทยหลังเหตุการณ์ใหญ่ทั้งสองครั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงไปจนต้องยอมรับว่า
ไม่มีทางที่จะหวนคืนกลับมาเหมือนเก่าอีกต่อไป
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 และหลังจากการปราบปรามใหญ่ที่ทุ่งราชประสงค์ในปี 2553 แล้ว
การเมืองไทยเป็น "การเมืองใหม่" ที่ต้องการการพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง
ความเปลี่ยนแปลงประการแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
อำนาจอันทรงพลังของกองทัพที่มีการรัฐประหารเป็นเครื่องมือนั้น เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
แน่นอนว่าชนชั้นนำและผู้นำทหารอาจจะยังคงยึดมเครื่องมือเหล่านี้ไว้ได้
แต่พลังของเครื่องมือดังกล่าวก็แตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก
จนต้องยอมรับว่า การยึดอำนาจยังเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเมืองไทย
แต่ผลหลังจากการยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้อีกต่อไป
สภาพเช่นนี้ทำให้ปัญหาทหารกับการเมืองไทยไม่เหมือนเช่นในอดีต
เพราะแม้ผู้นำกองทัพจะยังคงมีอำนาจในทางกายภาพที่คุมอาวุธแบบต่างๆ ไว้ในมือ
แต่โอกาสการใช้เครื่องมือเช่นนี้กลับมีความจำกัดอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการเมืองไทย
เพราะแม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ
แต่ก็อาจจะต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากประชาชนเป็นจำนวนมากได้ไม่ยากนัก
ปรากฏการณ์เช่นนี้กำลังบอกแก่เราว่า ผู้คนโดยทั่วไปที่ไม่ยอมรับการใช้กำลังของทหารในการเมืองไทยนั้น
พร้อมที่จะลุกขึ้นเป็นผู้ประท้วงหรือแสดงออกด้วยการต่อต้านการใช้กำลังทหารได้โดยไม่ลังเล
และที่สำคัญก็คือ พวกเขาพร้อมจะต่อต้านอย่างสุดแรงด้วยวิธีการต่างๆ
จนทำให้เกิดการคาดคะเนถึงสถานการณ์ของการใช้กำลังทหารในการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจโดยตรง หรือจะเป็นการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมก็ตาม
สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การจับอาวุธเข้าต่อสู้กับฝ่ายทหาร
ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรนักที่นักสังเกตการณ์ระหว่างประเทศหลายคนจะยังคงมีความกังวลว่า
หากชนชั้นนำและผู้นำทหารตัดสินใจใช้กำลังในการแทรกแซงทางการเมืองเช่นที่ผ่านมาแล้ว
ก็อาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์สงครามกลางเมืองในไทยได้ไม่ยากนัก
หรืออย่างน้อยก็มีผู้เชื่อว่า ถ้าเกิดเช่นนี้จริง ก็จะเป็นโอกาสของสถานการณ์ "Thai Spring"
ในแบบที่เกิดปรากฏการณ์ในโลกอาหรับ (Arab Spring) มาแล้ว
[ไม่ใช่ Thai Spring ที่กำลังเกิดขึ้นในสื่อสังคมไทยปัจจุบัน]
แรงต้านทานเช่นนี้มีส่วนอย่างมากที่จะเป็นเครื่องยับยั้งการตัดสินใจของกลุ่มดังกล่าว
ที่ตัดสินใจผลักดันการเมืองไทยให้กลับสู่วิธีการเดิมด้วยการใช้กำลังทหาร
เพราะพวกเขาเองก็ตระหนักจากตัวอย่างรูปธรรมจากการชุมนุมของการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง
ทั้งในปี 2552 และในปี 2553 ว่า การล้อมปราบโดยเฉพาะการใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าปราบปรามในปี 2553 นั้น
ไม่ได้ทำให้กระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องยุติลงแต่ประการใด
ในทางตรงกันข้ามกลับเกิดปรากฏการณ์แบบ "ยิ่งตีก็ยิ่งโต"
ผลของการปราบปรามในปี 2553 กลับเป็นการพิสูจน์อย่างดีว่า
ทฤษฎีของการใช้กำลังปราบปรามทางการเมืองต่อการชุมนุมขนาดใหญ่ของประชาชนนั้น
ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทางกายภาพอย่างหยาบๆ
แม้นักการทหารบางคนจะพยายามสร้างทฤษฎีด้วยคำอธิบายเช่นที่ปรากฏใน "วารสารเสนาธิปัตย์"
ถึงชัยชนะของพวกเขาต่อการสังหารประชาชนที่ทุ่งราชประสงค์
แต่ความเป็นจริงทางการเมืองกลับทำลายสิ่งที่ถูกเรียกว่า "ชัยชนะทางทหารที่ราชประสงค์" ลงโดยสิ้นเชิง
ปรากฏการณ์ของความพยายามสร้างคำอธิบายด้วยการโฆษณาในวารสารดังกล่าว
จึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าภาพสะท้อนถึง "ความอ่อนหัด" ในการคิดทั้งทางการเมืองและการทหาร
ของฝ่ายอำนวยการในกองทัพไทยที่พวกเขาเชื่อว่า กองทัพสามารถเอาชนะการชุมนุมของประชาชนได้ด้วยการปราบ
ความพยายามที่จะนำเสนอคำอธิบายเช่นที่ปรากฏในวารสารเสนาธิปัตย์นั้นว่าที่จริงไม่ได้สะท้อนอะไรมากไปกว่า
พวกเขายังเชื่อว่า กำลังเป็นปัจจัยชี้ขาดของการต่อสู้ทางการเมือง
หรือกล่าวง่ายๆ ได้ว่า กลุ่มคนที่สถาปนาตัวเองเป็น "นักคิด" ในกองทัพนั้น เชื่อด้วยทัศนะที่ไม่แตกต่างจากสงครามในอดีตว่า
"สงครามการเมืองเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทหาร"...
ทัศนะเช่นนี้นำความพ่ายแพ้มาสู่กองทัพสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามมาแล้ว
จนในที่สุดกองทัพไทยในยุคสงครามคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจเปลี่ยนทัศนะและสร้างแนวคิดทางยุทธศาสตร์ใหม่
ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "สงครามการเมืองเอาชนะด้วยการเมืองที่เหนือกว่า"
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยชนะสงครามภายในได้
แต่ก็น่าคิดว่าถ้าผู้นำทหารไทยไม่เปลี่ยนวิธีคิดทางยุทธศาสตร์แล้ว สงครามในบ้านจะจบอย่างเช่นสงครามในเวียดนามหรือไม่
ดังนั้น กองทัพที่ไม่มีวิธีคิดทางการเมือง นอกจากการใช้กำลังเข้าปราบปราม ความน่ากลัวจึงมีเพียงเพราะพวกเขามีอาวุธที่เหนือกว่าเท่านั้น
แต่ในทางการเมืองแล้ว กองทัพชนิดนี้เป็นปัจจัยของความพ่ายแพ้ในการต่อสู้ทางการเมืองในตัวเอง
เพราะพวกเขาไม่สามารถดำเนินการอย่างไรได้มากกว่าการใช้กำลัง และดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า
กำลังแต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดถึงชัยชนะในทางการเมืองแต่อย่างใด
และสิ่งนี้คือความท้าทายต่อผู้นำกองทัพในการเมืองไทยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
ปรากฏการณ์เช่นนี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า รัฐประหารกลายเป็นเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการเมืองไทย
ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้นำกองทัพไม่สามารถควบคุมการเมืองหลังจากรัฐประหาร 2549 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
หรือควบคุมได้เช่นที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารต้องการแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันการปราบปรามการชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม จนถึงขั้นมีการประกาศเขต "ใช้กระสุนจริง"
ก็ไม่ใช่เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการทำลายขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
และยอดของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการใช้กำลังที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็น "ล็อก" ที่มีต่อสถานะกองทัพ
ดังจะเห็นได้ว่า ผลของการชันสูตรศพล้วนแต่บ่งบอกถึงการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจากอาวุธสงครามทั้งสิ้น
จนทำให้เกิดคำถามในทางกฎหมายว่า ถ้าผู้สั่งการให้เปิดการสังหารประชาชนมีความผิดแล้ว
ผู้รับคำสั่งในปฏิบัติการดังกล่าวควรจะมีความผิดหรือไม่
ตลอดรวมถึงบรรดา "นักพูด" หน้าจอโทรทัศน์ทั้งหลายควรจะมีความผิดในฐานะ "ผู้ร่วมสั่งฆ่า" ด้วยหรือไม่...
แน่นอนว่าในแง่ของบาปบุญคุณโทษ พวกเขารู้อยู่แก่ใจว่า การฆ่าคนเป็นบาป
และการกระทำเช่นนี้จะเป็น "ตราบาป" ติดตามพวกเขาไปนานเท่านาน
เว้นเสียแต่พวกเขาจะใช้วาทกรรมเช่นในปี 2519 ที่มีผู้นำเสนอมาแล้วว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป"
แต่ใครเล่าจะกล้านำเสนอเช่นนั้นอีกในภาวะปัจจุบัน!
ในขณะที่เครื่องมือของชนชั้นนำและผู้นำทหารในการควบคุมการเมืองไทยลดประสิทธิภาพลงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2549
และยิ่งหลังจากการปราบปรามในปี 2553 แล้ว เครื่องมือทหารกลับตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง
จนวันนี้เมื่อมีการพูดถึงรัฐประหารครั้งใด หรือพูดถึงการล้อมปราบครั้งใด กองทัพก็หนีไม่พ้นที่จะตกเป็นเป้าทุกครั้งไป
ดังนั้น คงประเมินได้ไม่ยากนักว่า อำนาจของทหารในการเมืองไทยจะมีข้อจำกัดมากขึ้นในวันข้างหน้า
และแม้สถาบันกองทัพจะยังคงมีอำนาจทางการเมือง แต่ก็เป็นอำนาจที่ถูก "ตีกรอบ" ให้มีความจำกัดมากขึ้น
โอกาสที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารจะสามารถใช้อำนาจนี้ได้อย่างเสรีเช่นในอดีตนั้น จึงดูจะเป็นไปได้ยากในอนาคต
แม้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับการเมืองไทยจะยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเช่นแบบของการเมืองตะวันตก
ที่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพแล้ว
แต่แนวโน้มของการใช้พลังอำนาจทหารในการเมืองไทยก็ไม่อาจดำรงอยู่ในแบบเดิม
โอกาสหวนกลับไปสู่ยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอมเช่นก่อน 14 ตุลาคม 2516 จึงเป็นไปไม่ได้
หรือโอกาสจะหวนกลับสู่ยุค รสช. (รัฐประหาร 2534) ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้เช่นกัน
แต่สำคัญกว่านั้นก็คือ โอกาสหวนคืนกลับสู่ยุค คมช. (รัฐประหาร 2549) ก็ยากที่จะเป็นจริงได้ไม่แตกต่างกัน
จนวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีผู้นำทหารคนไหนอยากเป็นผู้แบกภาระทางการเมืองด้วยการตัดสินใจทำรัฐประหาร
อย่างน้อยก็เห็นได้ชัดเจนว่า หนึ่งในผู้ทำรัฐประหาร 2549 ก็หวนกลับมาเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเวลาต่อมา
และดูจะเป็นการตอบแบบเป็นนัยว่า สุดท้ายแล้วผู้นำทหารก็ต้องกลับมาอยู่กับระบบเลือกตั้ง
ในอีกด้านหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ กลับเห็นการขยายตัวของการจัดตั้งทางการเมือง
พร้อมๆ กับการขยายตัวของการสร้างจิตสำนึกของประชาชน
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ถูกมองว่าเป็นชนชั้นล่างหรือคนในชนบท
ดังจะเห็นได้ว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐประหาร
เป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ซึ่งว่าที่จริง ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนชนบทเท่านั้น หากแต่ยังมีคนในเมืองอีกเป็นจำนวนพอสมควรเข้าร่วมด้วย
และแม้พวกเขาจะถูกล้อมปราบถึง 2 ครั้ง (2552 และ 2553) แต่ขบวนการเมืองชุดนี้กลับไม่ได้ถูกทำลายลง
และยังสามารถเปิดการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
การจัดตั้งขบวนการเมืองของคนเสื้อแดงมีส่วนทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
แม้ก่อนหน้านี้จะมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ขบวนการเมืองของคนเสื้อเหลืองเป็นตัวแบบของ "การเมืองภาคประชาชน"
แต่ว่าที่จริงแล้ว ขบวนเสื้อเหลืองกลับเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องการคงสภาพการเมืองไว้ในแบบเดิม
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ขบวนเสื้อเหลืองกลับทำหน้าที่เป็นผู้สร้างโอกาสให้เกิดการยึดอำนาจ
อีกทั้งยังแสดงออกถึงการต่อต้านระบบการเลือกตั้ง
ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์แล้ว ขบวนการเมืองของคนเสื้อเหลืองก็คือ
"ผู้คลั่งไคล้ในอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง" (Antipolitics Ideology)
ซึ่งเป็นชุดความคิดที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มการเมืองแบบอนุรักษนิยมในหลายประเทศ
คนเหล่านี้มองเห็นการเลือกตั้งเป็นเพียง "ความฉ้อฉลและฉ้อโกง" ของนักการเมืองเท่านั้น
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ พวกเขามองเห็นแต่ด้านลบที่การเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรมในการคัดเลือกคนเข้าสู่การเป็นรัฐบาลได้แต่อย่างใด
แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า พวกเขาต้องการการคัดเลือกแบบใด หรือจะยึดเอาการแต่งตั้งเป็นวิธีการหลักทางการเมือง
ดังนั้น การขยายตัวของคนเป็นจำนวนมากที่เข้าร่วมกับคนเสื้อแดง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
ขบวนเสื้อแดงคือการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง
แน่นอนว่าคนเสื้อเหลืองอาจจะไม่พอใจกับทัศนะเช่นนี้
เพราะวาทกรรมดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อเหลืองในยุคนั้น
ซึ่งวันนี้ขบวนเสื้อเหลืองกลับมีลักษณะถดถอย ซึ่งทำให้การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นได้ยาก
ต่างกับขบวนเสื้อแดงที่สามารถระดมเข้าร่วมได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก
และแม้จะมีการโจมตีขบวนของคนเสื้อแดงมากเท่าใด แต่ก็ดูจะไม่กระทบต่อการมีส่วนร่วมของคนในขบวนนี้แต่อย่างใด
การชุมนุมของคนเสื้อแดงจึงยังมีพลังและเป็นโจทย์ที่จะต้องคิดต่อในอนาคตว่า จะแปลงขบวนนี้ให้เป็นขบวนประชาธิปไตยไทยอย่างไร
ปัญหาสำคัญในอนาคตจึงท้าทายอย่างมากว่า เมื่อเครื่องมือหลักของระบบอำนาจนิยมอ่อนแอลง
และขบวนประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยขยายตัวมากขึ้นแล้ว
รัฐและสังคมไทยจะปรับตัวอย่างไรกับ
อนาคตของการเมืองไทยที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว!
สุรชาติ บำรุงสุข : หลังยึด...หลังปราบ! เรื่องใหม่ในการเมืองไทย
ยุทธบทความ มติชนสุดสัปดาห์
"ประเทศในทางการเมืองก็เหมือนกับป่า เราจำเป็นต้องตัดต้นไม้เก่าออกไป
เพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้ใหม่เติบโตขึ้นทดแทนกัน"
Walter Bagehot
นักเขียนชาวอังกฤษ
(ค.ศ.1826-77)
ไม่น่าเชื่อว่าการยึดอำนาจในการเมืองไทยครั้งก่อนผ่านไปเกือบจะ 8 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับการล้อมปราบครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นใจกลางเมืองหลวงผ่านไปครบรอบ 3 ปี...
การเมืองไทยหลังเหตุการณ์ใหญ่ทั้งสองครั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงไปจนต้องยอมรับว่า
ไม่มีทางที่จะหวนคืนกลับมาเหมือนเก่าอีกต่อไป
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 และหลังจากการปราบปรามใหญ่ที่ทุ่งราชประสงค์ในปี 2553 แล้ว
การเมืองไทยเป็น "การเมืองใหม่" ที่ต้องการการพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง
ความเปลี่ยนแปลงประการแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
อำนาจอันทรงพลังของกองทัพที่มีการรัฐประหารเป็นเครื่องมือนั้น เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
แน่นอนว่าชนชั้นนำและผู้นำทหารอาจจะยังคงยึดมเครื่องมือเหล่านี้ไว้ได้
แต่พลังของเครื่องมือดังกล่าวก็แตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก
จนต้องยอมรับว่า การยึดอำนาจยังเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเมืองไทย
แต่ผลหลังจากการยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้อีกต่อไป
สภาพเช่นนี้ทำให้ปัญหาทหารกับการเมืองไทยไม่เหมือนเช่นในอดีต
เพราะแม้ผู้นำกองทัพจะยังคงมีอำนาจในทางกายภาพที่คุมอาวุธแบบต่างๆ ไว้ในมือ
แต่โอกาสการใช้เครื่องมือเช่นนี้กลับมีความจำกัดอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการเมืองไทย
เพราะแม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ
แต่ก็อาจจะต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากประชาชนเป็นจำนวนมากได้ไม่ยากนัก
ปรากฏการณ์เช่นนี้กำลังบอกแก่เราว่า ผู้คนโดยทั่วไปที่ไม่ยอมรับการใช้กำลังของทหารในการเมืองไทยนั้น
พร้อมที่จะลุกขึ้นเป็นผู้ประท้วงหรือแสดงออกด้วยการต่อต้านการใช้กำลังทหารได้โดยไม่ลังเล
และที่สำคัญก็คือ พวกเขาพร้อมจะต่อต้านอย่างสุดแรงด้วยวิธีการต่างๆ
จนทำให้เกิดการคาดคะเนถึงสถานการณ์ของการใช้กำลังทหารในการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจโดยตรง หรือจะเป็นการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมก็ตาม
สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การจับอาวุธเข้าต่อสู้กับฝ่ายทหาร
ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรนักที่นักสังเกตการณ์ระหว่างประเทศหลายคนจะยังคงมีความกังวลว่า
หากชนชั้นนำและผู้นำทหารตัดสินใจใช้กำลังในการแทรกแซงทางการเมืองเช่นที่ผ่านมาแล้ว
ก็อาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์สงครามกลางเมืองในไทยได้ไม่ยากนัก
หรืออย่างน้อยก็มีผู้เชื่อว่า ถ้าเกิดเช่นนี้จริง ก็จะเป็นโอกาสของสถานการณ์ "Thai Spring"
ในแบบที่เกิดปรากฏการณ์ในโลกอาหรับ (Arab Spring) มาแล้ว
[ไม่ใช่ Thai Spring ที่กำลังเกิดขึ้นในสื่อสังคมไทยปัจจุบัน]
แรงต้านทานเช่นนี้มีส่วนอย่างมากที่จะเป็นเครื่องยับยั้งการตัดสินใจของกลุ่มดังกล่าว
ที่ตัดสินใจผลักดันการเมืองไทยให้กลับสู่วิธีการเดิมด้วยการใช้กำลังทหาร
เพราะพวกเขาเองก็ตระหนักจากตัวอย่างรูปธรรมจากการชุมนุมของการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง
ทั้งในปี 2552 และในปี 2553 ว่า การล้อมปราบโดยเฉพาะการใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าปราบปรามในปี 2553 นั้น
ไม่ได้ทำให้กระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องยุติลงแต่ประการใด
ในทางตรงกันข้ามกลับเกิดปรากฏการณ์แบบ "ยิ่งตีก็ยิ่งโต"
ผลของการปราบปรามในปี 2553 กลับเป็นการพิสูจน์อย่างดีว่า
ทฤษฎีของการใช้กำลังปราบปรามทางการเมืองต่อการชุมนุมขนาดใหญ่ของประชาชนนั้น
ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทางกายภาพอย่างหยาบๆ
แม้นักการทหารบางคนจะพยายามสร้างทฤษฎีด้วยคำอธิบายเช่นที่ปรากฏใน "วารสารเสนาธิปัตย์"
ถึงชัยชนะของพวกเขาต่อการสังหารประชาชนที่ทุ่งราชประสงค์
แต่ความเป็นจริงทางการเมืองกลับทำลายสิ่งที่ถูกเรียกว่า "ชัยชนะทางทหารที่ราชประสงค์" ลงโดยสิ้นเชิง
ปรากฏการณ์ของความพยายามสร้างคำอธิบายด้วยการโฆษณาในวารสารดังกล่าว
จึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าภาพสะท้อนถึง "ความอ่อนหัด" ในการคิดทั้งทางการเมืองและการทหาร
ของฝ่ายอำนวยการในกองทัพไทยที่พวกเขาเชื่อว่า กองทัพสามารถเอาชนะการชุมนุมของประชาชนได้ด้วยการปราบ
ความพยายามที่จะนำเสนอคำอธิบายเช่นที่ปรากฏในวารสารเสนาธิปัตย์นั้นว่าที่จริงไม่ได้สะท้อนอะไรมากไปกว่า
พวกเขายังเชื่อว่า กำลังเป็นปัจจัยชี้ขาดของการต่อสู้ทางการเมือง
หรือกล่าวง่ายๆ ได้ว่า กลุ่มคนที่สถาปนาตัวเองเป็น "นักคิด" ในกองทัพนั้น เชื่อด้วยทัศนะที่ไม่แตกต่างจากสงครามในอดีตว่า
"สงครามการเมืองเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทหาร"...
ทัศนะเช่นนี้นำความพ่ายแพ้มาสู่กองทัพสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามมาแล้ว
จนในที่สุดกองทัพไทยในยุคสงครามคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจเปลี่ยนทัศนะและสร้างแนวคิดทางยุทธศาสตร์ใหม่
ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "สงครามการเมืองเอาชนะด้วยการเมืองที่เหนือกว่า"
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยชนะสงครามภายในได้
แต่ก็น่าคิดว่าถ้าผู้นำทหารไทยไม่เปลี่ยนวิธีคิดทางยุทธศาสตร์แล้ว สงครามในบ้านจะจบอย่างเช่นสงครามในเวียดนามหรือไม่
ดังนั้น กองทัพที่ไม่มีวิธีคิดทางการเมือง นอกจากการใช้กำลังเข้าปราบปราม ความน่ากลัวจึงมีเพียงเพราะพวกเขามีอาวุธที่เหนือกว่าเท่านั้น
แต่ในทางการเมืองแล้ว กองทัพชนิดนี้เป็นปัจจัยของความพ่ายแพ้ในการต่อสู้ทางการเมืองในตัวเอง
เพราะพวกเขาไม่สามารถดำเนินการอย่างไรได้มากกว่าการใช้กำลัง และดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า
กำลังแต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดถึงชัยชนะในทางการเมืองแต่อย่างใด
และสิ่งนี้คือความท้าทายต่อผู้นำกองทัพในการเมืองไทยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
ปรากฏการณ์เช่นนี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า รัฐประหารกลายเป็นเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการเมืองไทย
ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้นำกองทัพไม่สามารถควบคุมการเมืองหลังจากรัฐประหาร 2549 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
หรือควบคุมได้เช่นที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารต้องการแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันการปราบปรามการชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม จนถึงขั้นมีการประกาศเขต "ใช้กระสุนจริง"
ก็ไม่ใช่เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการทำลายขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
และยอดของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการใช้กำลังที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็น "ล็อก" ที่มีต่อสถานะกองทัพ
ดังจะเห็นได้ว่า ผลของการชันสูตรศพล้วนแต่บ่งบอกถึงการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจากอาวุธสงครามทั้งสิ้น
จนทำให้เกิดคำถามในทางกฎหมายว่า ถ้าผู้สั่งการให้เปิดการสังหารประชาชนมีความผิดแล้ว
ผู้รับคำสั่งในปฏิบัติการดังกล่าวควรจะมีความผิดหรือไม่
ตลอดรวมถึงบรรดา "นักพูด" หน้าจอโทรทัศน์ทั้งหลายควรจะมีความผิดในฐานะ "ผู้ร่วมสั่งฆ่า" ด้วยหรือไม่...
แน่นอนว่าในแง่ของบาปบุญคุณโทษ พวกเขารู้อยู่แก่ใจว่า การฆ่าคนเป็นบาป
และการกระทำเช่นนี้จะเป็น "ตราบาป" ติดตามพวกเขาไปนานเท่านาน
เว้นเสียแต่พวกเขาจะใช้วาทกรรมเช่นในปี 2519 ที่มีผู้นำเสนอมาแล้วว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป"
แต่ใครเล่าจะกล้านำเสนอเช่นนั้นอีกในภาวะปัจจุบัน!
ในขณะที่เครื่องมือของชนชั้นนำและผู้นำทหารในการควบคุมการเมืองไทยลดประสิทธิภาพลงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2549
และยิ่งหลังจากการปราบปรามในปี 2553 แล้ว เครื่องมือทหารกลับตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง
จนวันนี้เมื่อมีการพูดถึงรัฐประหารครั้งใด หรือพูดถึงการล้อมปราบครั้งใด กองทัพก็หนีไม่พ้นที่จะตกเป็นเป้าทุกครั้งไป
ดังนั้น คงประเมินได้ไม่ยากนักว่า อำนาจของทหารในการเมืองไทยจะมีข้อจำกัดมากขึ้นในวันข้างหน้า
และแม้สถาบันกองทัพจะยังคงมีอำนาจทางการเมือง แต่ก็เป็นอำนาจที่ถูก "ตีกรอบ" ให้มีความจำกัดมากขึ้น
โอกาสที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารจะสามารถใช้อำนาจนี้ได้อย่างเสรีเช่นในอดีตนั้น จึงดูจะเป็นไปได้ยากในอนาคต
แม้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับการเมืองไทยจะยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเช่นแบบของการเมืองตะวันตก
ที่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพแล้ว
แต่แนวโน้มของการใช้พลังอำนาจทหารในการเมืองไทยก็ไม่อาจดำรงอยู่ในแบบเดิม
โอกาสหวนกลับไปสู่ยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอมเช่นก่อน 14 ตุลาคม 2516 จึงเป็นไปไม่ได้
หรือโอกาสจะหวนกลับสู่ยุค รสช. (รัฐประหาร 2534) ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้เช่นกัน
แต่สำคัญกว่านั้นก็คือ โอกาสหวนคืนกลับสู่ยุค คมช. (รัฐประหาร 2549) ก็ยากที่จะเป็นจริงได้ไม่แตกต่างกัน
จนวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีผู้นำทหารคนไหนอยากเป็นผู้แบกภาระทางการเมืองด้วยการตัดสินใจทำรัฐประหาร
อย่างน้อยก็เห็นได้ชัดเจนว่า หนึ่งในผู้ทำรัฐประหาร 2549 ก็หวนกลับมาเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเวลาต่อมา
และดูจะเป็นการตอบแบบเป็นนัยว่า สุดท้ายแล้วผู้นำทหารก็ต้องกลับมาอยู่กับระบบเลือกตั้ง
ในอีกด้านหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ กลับเห็นการขยายตัวของการจัดตั้งทางการเมือง
พร้อมๆ กับการขยายตัวของการสร้างจิตสำนึกของประชาชน
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ถูกมองว่าเป็นชนชั้นล่างหรือคนในชนบท
ดังจะเห็นได้ว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐประหาร
เป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ซึ่งว่าที่จริง ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนชนบทเท่านั้น หากแต่ยังมีคนในเมืองอีกเป็นจำนวนพอสมควรเข้าร่วมด้วย
และแม้พวกเขาจะถูกล้อมปราบถึง 2 ครั้ง (2552 และ 2553) แต่ขบวนการเมืองชุดนี้กลับไม่ได้ถูกทำลายลง
และยังสามารถเปิดการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
การจัดตั้งขบวนการเมืองของคนเสื้อแดงมีส่วนทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
แม้ก่อนหน้านี้จะมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ขบวนการเมืองของคนเสื้อเหลืองเป็นตัวแบบของ "การเมืองภาคประชาชน"
แต่ว่าที่จริงแล้ว ขบวนเสื้อเหลืองกลับเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องการคงสภาพการเมืองไว้ในแบบเดิม
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ขบวนเสื้อเหลืองกลับทำหน้าที่เป็นผู้สร้างโอกาสให้เกิดการยึดอำนาจ
อีกทั้งยังแสดงออกถึงการต่อต้านระบบการเลือกตั้ง
ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์แล้ว ขบวนการเมืองของคนเสื้อเหลืองก็คือ
"ผู้คลั่งไคล้ในอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง" (Antipolitics Ideology)
ซึ่งเป็นชุดความคิดที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มการเมืองแบบอนุรักษนิยมในหลายประเทศ
คนเหล่านี้มองเห็นการเลือกตั้งเป็นเพียง "ความฉ้อฉลและฉ้อโกง" ของนักการเมืองเท่านั้น
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ พวกเขามองเห็นแต่ด้านลบที่การเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรมในการคัดเลือกคนเข้าสู่การเป็นรัฐบาลได้แต่อย่างใด
แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า พวกเขาต้องการการคัดเลือกแบบใด หรือจะยึดเอาการแต่งตั้งเป็นวิธีการหลักทางการเมือง
ดังนั้น การขยายตัวของคนเป็นจำนวนมากที่เข้าร่วมกับคนเสื้อแดง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
ขบวนเสื้อแดงคือการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง
แน่นอนว่าคนเสื้อเหลืองอาจจะไม่พอใจกับทัศนะเช่นนี้
เพราะวาทกรรมดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อเหลืองในยุคนั้น
ซึ่งวันนี้ขบวนเสื้อเหลืองกลับมีลักษณะถดถอย ซึ่งทำให้การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นได้ยาก
ต่างกับขบวนเสื้อแดงที่สามารถระดมเข้าร่วมได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก
และแม้จะมีการโจมตีขบวนของคนเสื้อแดงมากเท่าใด แต่ก็ดูจะไม่กระทบต่อการมีส่วนร่วมของคนในขบวนนี้แต่อย่างใด
การชุมนุมของคนเสื้อแดงจึงยังมีพลังและเป็นโจทย์ที่จะต้องคิดต่อในอนาคตว่า จะแปลงขบวนนี้ให้เป็นขบวนประชาธิปไตยไทยอย่างไร
ปัญหาสำคัญในอนาคตจึงท้าทายอย่างมากว่า เมื่อเครื่องมือหลักของระบบอำนาจนิยมอ่อนแอลง
และขบวนประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยขยายตัวมากขึ้นแล้ว
รัฐและสังคมไทยจะปรับตัวอย่างไรกับ
อนาคตของการเมืองไทยที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว!