คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ได้ยินทั่น รมว.คลัง โต้งพูดแล้ว อดนึกถึง white lie ของทั่นไม่ได้
วันนี้ ยังกล่าวได้อีกว่า ........ ยอมรับว่า หนี้ครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจริง
จาก 0.74% เป็น 0.82% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนครั้งล่าสุด
เป็นหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญของชีวิต
คือ บ้านและรถยนต์ ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะช่วยให้ประชาชนได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น........
แสดงว่า ทั่นโต้ง รมว.คลัง ไม่ได้อ่านรายงานสถิติครบถ้วน และแล้วมา นั่งนึกเอาเอง
อยากให้ ทั่นอ่านรายงาน ......ข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เปิดเผยผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2555
โดยระบุว่า ขณะนี้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนของคนรวย
20% แรกของประเทศสูงกว่าค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของคนจน 20% แรกของประเทศถึง 7 เท่า
เทียบกับปี 2554 ที่ห่างกันแค่ 6.3 เท่า
โดยกลุ่มคนรวย 20% บนสุดของประเทศ มีรายจ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนเพิ่มจาก 12,109 บาท ในปี 2554
เป็น 13,867 บาท เพิ่มขึ้น 0.7%
ขณะที่ส่วนคนจน 20% ล่างสุดของประเทศ มีรายจ่ายเพิ่มจาก 1,930 บาท ในปี 2554 เป็น 1,985 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.5%
ขณะที่กลุ่มคนชั้นกลาง 3 กลุ่ม พบว่ารายจ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 2,983-5,829 บาท ในปี 2554 เพิ่มเป็น 3,144 - 6,569 บาท ในปี 2555 น้อยกว่ากลุ่มคนรวย 20% แรกของประเทศ 2-6 เท่า
ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของกลุ่ม
คนรวย กลุ่มคนชั้นกลาง และกลุ่มคนจน 20% ล่างสุดของประเทศอย่างชัดเจน
ขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพของรวยกระจุกจนกระจายได้อย่างชัดเจน
นอกจากหนี้ครัวเรือนแล้ว ในส่วนของรัฐบาลนับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศนานเพียง 1 ปี 6 เดือน
แต่กลับใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างมือเติบและ
ก่อหนี้สาธารณะให้กับประเทศสูงเป็นประวัติศาสตร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท
ไปกับสารพัดโครงการประชานิยมและโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะกลายเป็นภาระแก่คนรุ่นหลัง
สารพัดโครงการประชานิยมของรัฐบาลกำลังกลายเป็นต้นไม้พิษ
ที่กำลังผลิดอกออกผลให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งหนี้ภาคครัวเรือนตลอดจนหนี้ของประเทศที่พุ่งสูงขึ้น
นี่คือผลสืบเนื่องจากที่รัฐบาลเข็นโครงการประชานิยม
ที่ล้วนเพิ่มภาระในการก่อหนี้ให้ภาคครัวเรือน
แทนที่จะสนับสนุนให้ครัวเรือนไทยรู้จักวางแผนการเงินและรู้จักการออม รู้จักการใช้จ่ายอย่างประมาณตนแทบทั้งสิ้น
พิษไข้ที่กำลังก่อตัวขึ้นมาแบบนี้ ไม่แก้ไขไม่ได้แล้ว
...........สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย
โต้งน้ะ โต้ง ควร ออกไปได้แล้วมั้งขอรับ
วันนี้ ยังกล่าวได้อีกว่า ........ ยอมรับว่า หนี้ครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจริง
จาก 0.74% เป็น 0.82% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนครั้งล่าสุด
เป็นหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญของชีวิต
คือ บ้านและรถยนต์ ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะช่วยให้ประชาชนได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น........
แสดงว่า ทั่นโต้ง รมว.คลัง ไม่ได้อ่านรายงานสถิติครบถ้วน และแล้วมา นั่งนึกเอาเอง
อยากให้ ทั่นอ่านรายงาน ......ข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เปิดเผยผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2555
โดยระบุว่า ขณะนี้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนของคนรวย
20% แรกของประเทศสูงกว่าค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของคนจน 20% แรกของประเทศถึง 7 เท่า
เทียบกับปี 2554 ที่ห่างกันแค่ 6.3 เท่า
โดยกลุ่มคนรวย 20% บนสุดของประเทศ มีรายจ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนเพิ่มจาก 12,109 บาท ในปี 2554
เป็น 13,867 บาท เพิ่มขึ้น 0.7%
ขณะที่ส่วนคนจน 20% ล่างสุดของประเทศ มีรายจ่ายเพิ่มจาก 1,930 บาท ในปี 2554 เป็น 1,985 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.5%
ขณะที่กลุ่มคนชั้นกลาง 3 กลุ่ม พบว่ารายจ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 2,983-5,829 บาท ในปี 2554 เพิ่มเป็น 3,144 - 6,569 บาท ในปี 2555 น้อยกว่ากลุ่มคนรวย 20% แรกของประเทศ 2-6 เท่า
ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของกลุ่ม
คนรวย กลุ่มคนชั้นกลาง และกลุ่มคนจน 20% ล่างสุดของประเทศอย่างชัดเจน
ขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพของรวยกระจุกจนกระจายได้อย่างชัดเจน
นอกจากหนี้ครัวเรือนแล้ว ในส่วนของรัฐบาลนับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศนานเพียง 1 ปี 6 เดือน
แต่กลับใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างมือเติบและ
ก่อหนี้สาธารณะให้กับประเทศสูงเป็นประวัติศาสตร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท
ไปกับสารพัดโครงการประชานิยมและโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะกลายเป็นภาระแก่คนรุ่นหลัง
สารพัดโครงการประชานิยมของรัฐบาลกำลังกลายเป็นต้นไม้พิษ
ที่กำลังผลิดอกออกผลให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งหนี้ภาคครัวเรือนตลอดจนหนี้ของประเทศที่พุ่งสูงขึ้น
นี่คือผลสืบเนื่องจากที่รัฐบาลเข็นโครงการประชานิยม
ที่ล้วนเพิ่มภาระในการก่อหนี้ให้ภาคครัวเรือน
แทนที่จะสนับสนุนให้ครัวเรือนไทยรู้จักวางแผนการเงินและรู้จักการออม รู้จักการใช้จ่ายอย่างประมาณตนแทบทั้งสิ้น
พิษไข้ที่กำลังก่อตัวขึ้นมาแบบนี้ ไม่แก้ไขไม่ได้แล้ว
...........สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย
โต้งน้ะ โต้ง ควร ออกไปได้แล้วมั้งขอรับ
แสดงความคิดเห็น
เรื่องค่าครองชีพ "แนะคนไทยยอมรับสภาพค่าครองชีพสูง"
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวชี้แจงระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ยอมรับว่า หนี้ครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจริงจาก 0.74% เป็น 0.82% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนครั้งล่าสุด เป็นหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญของชีวิต คือ บ้านและรถยนต์ ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะช่วยให้ประชาชนได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ส่วนการประเมินรายได้ของรัฐที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 แสนล้านบาทนั้น ไม่ได้เป็นตัวเลขที่แสดงนัยในการจะจัดเก็บภาษีของประชาชนเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่การเพิ่มมาตรการภาษีบางประการก็เพื่อประโยชน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเพิ่มภาษีสรรพสามิตบางประเภทก็เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภค
"ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการทอดทิ้งประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่ต้องการให้ตระหนักถึงภาวะต้นทุน และเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลก็มีนโยบายการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนควบคู่กันไปด้วย" นายกิตติรัตน์ กล่าว
ถ้าจะด่าจะว่า อย่าว่าผมนะคับ ว่าไรก็ขอด่าขอว่าคนที่พูดที่บอกนะคับ ปีเดียวกระชากได้ใจคับ