“โต้ง” เตือนคนไทยเตรียมรับสภาพ “ค่าครองชีพสูง” แนะให้ทำใจสู่ยุคข้าวยากหมากแพง ยันไม่ใช่เป็นการทอดทิ้งประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่ต้องการให้ตระหนักถึงภาวะต้นทุน และเกิดการเปลี่ยนแปลง ชี้รัฐจำเป็นต้องลดการอุดหนุนบางรายการ เพื่อสะท้อนต้นทุนแท้จริง “ทนุศักดิ์” ยันขึ้นภาษีดีเซลไม่กระทบราคาน้ำมัน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวชี้แจงระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 โดยยอมรับว่า แนวคิดของรัฐบาลชุดนี้กับรัฐบาลในอดีตไม่ตรงกันจริง แต่ยืนยันว่า รัฐบาลมีวินัยการเงินการคลังที่เข้มแข็งเพื่อไม่ให้มีหนี้สาธารณะไม่เกิน 50% ต่อจีดีพี โดยยอมรับว่า หนี้ครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจริงจาก 0.74% เป็น 0.82% แต่ถ้ามองย้อนกลับไปทุกปีก็พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปี 2551 อยู่ที่ 0.58% ปี2552 ขึ้นเป็น 0.65% ปี 2553 เพิ่ม 0.67% ปี 2554 อยู่ 0.74% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนครั้งล่าสุด เป็นหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญของชีวิต คือ บ้านและรถยนต์ ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะช่วยให้ประชาชนได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ส่วนการประเมินรายได้ของรัฐที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 แสนล้านบาทนั้น ไม่ได้เป็นตัวเลขที่แสดงนัยในการจะจัดเก็บภาษีของประชาชนเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่การเพิ่มมาตรการภาษีบางประการก็เพื่อประโยชน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเพิ่มภาษีสรรพสามิตบางประเภทก็เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภค
รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะที่ปัญหาค่าครองชีพส่วนเรื่องราคาน้ำมันดีเซลในช่วงที่ผ่านมาเราได้ดูแลให้ราคาขายปลีกมีเสถียรภาพอย่างดี และผู้ประกอบการภาคขนส่งมีความมั่นใจจนกำหนดอัตราค่าบริการต่างๆ ที่มีเสถียรภาพที่ดีได้ การดำเนินการในส่วนนี้เราได้ดูแลให้กองทุนน้ำมันอยู่ในภาวะที่มีเสถียรภาพที่ดี แน่นอนว่าในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นนั้น ถ้ารัฐบาลจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกราคาก็อาจจะทะยานขึ้นไปเพราะจะกระทบต่อสินค้าที่อาจสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้ม สาเหตุที่รัฐบาลอาจลดการอุดหนุนก็เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงต้นทุนที่แท้จริง
“ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการทอดทิ้งประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่ต้องการให้ตระหนักถึงภาวะต้นทุน และเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลก็มีนโยบายการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนควบคู่กันไปด้วย” นายกิตติรัตน์ กล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่รัฐบาลไม่ได้จัดงบประมาณอุดหนุนเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในงบประมาณประจำปี 2557 เพราะเห็นว่าปัจจุบันมีกฎหมายตาม พ.ร.บ. กองทุนประกันสังคม มาตรา 40 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบของภาครัฐ และเอกชน สามารถส่งเงินสมทบร่วมกับภาครัฐได้ เพียงแต่ปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 1.2 ล้านคน ทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการระยะยาวเพื่อจูงใจต่อไป ดังนั้น การไม่ส่งเงินให้ กอช.นั้นไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการออมของประชาชนผ่าน กอช.แต่เล็งเห็นว่าหากจะดำเนินการเรื่องใหม่แล้ว ควรต้องมีการสะสางปัญหาก่อน ซึ่งปัจจุบันมีให้เห็นอยู่ในการบริการงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มียุทธศาสตร์ที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะยังไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้าง แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่าจะประวิงเวลา ซึ่งปัจจุบัน การจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ในอัตรา 12.5% จากรายได้ของค่าเช่าในกรณีที่เจ้าของที่ดินได้ให้ผู้อื่นเช่า และแสวงหารายได้ ส่วนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหาที่ดินรกร้างว่างเปล่า และนำมาปรับปรุงให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ และปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ เพื่อให้เกิดรายได้แก่รัฐ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่กองทุน โดยไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์แก่นายทุนรายใหญ่แต่อย่างใด
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า สำหรับการตั้งงบประมาณให้แก่นโยบายรถคันแรก ตามปีงบประมาณ 2557 ไม่ได้เป็นการนำเงินภาษีประชาชนที่ไม่ได้ซื้อรถคันแรกมาจัดสรรให้คนซื้อรถคันแรกตามนโยบายรัฐบาล เพราะเงินในส่วนนี้เป็นเงินที่รัฐบาลได้จัดเก็บมาจากผู้ซื้อรถแต่แรกอยู่แล้วจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต และนำมามาจ่ายให้แก่ผู้ซื้อรถคันแรกได้รับตามสิทธิหลังจากครอบครองรถยนต์มา 1 ปีเท่านั้น ไม่ได้ไปหยิบยืมจากเงินภาษี และเงินคงคลัง
ด้านนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง กล่าวเสริมในประเด็นการขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล 1.50 บาทต่อลิตรว่า รัฐบาลจะมีการปรับขึ้นจริงในเดือน ต.ค. แต่ไม่ใช่การขึ้นราคาน้ำมัน เพราะประชาชนยังสามารถใช้น้ำมันในราคาไม่เกินลิตรละ 30 บาท และปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันพ้นจากการติดลบแล้ว โดยในอีก 4 เดือนนับจากนี้ จะมีเงินไหลเข้ากองทุนมาตลอดในอัตรามากกว่าลิตรละ 1.50 บาท ดังนั้น การเก็บภาษีน้ำมัน 1.50 บาทจะเกิดประโยชน์ 3 ฝ่าย คือ 1.รัฐบาลได้ภาษีเพิ่มขึ้น 2.สามารถจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้มากขึ้น 3.ประชาชนได้ใช้น้ำมันดีเซลในราคาลิตรละไม่เกิน 30 บาท
“รถคันแรกรัฐบาลจ่ายคืนเฉพาะภาษีสรรพสามิตเท่านั้น แต่ภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรถรัฐบาลไม่ได้ยกเว้นให้ และการทิ้งใบจองที่เกิดขึ้นถือเป็นปกติโดยได้สอบถามบริษัทสินเชื่อรถยนต์แล้วพบว่า โดยปกติจะมีการทิ้งใบจองในระดับ 20-30% อยู่แล้ว จึงไม่เกี่ยวข้องกับระบบของราชการ อย่างไรก็ตาม ณ ข้อมูลของผู้ที่ครอบครองรถแล้วยังไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าจะไม่ส่งเงินตามงวด” นายทนุศักดิ์กล่าว
http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064517
“โต้ง” เตือนคนไทยเตรียมรับสภาพ “ค่าครองชีพสูง”
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวชี้แจงระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 โดยยอมรับว่า แนวคิดของรัฐบาลชุดนี้กับรัฐบาลในอดีตไม่ตรงกันจริง แต่ยืนยันว่า รัฐบาลมีวินัยการเงินการคลังที่เข้มแข็งเพื่อไม่ให้มีหนี้สาธารณะไม่เกิน 50% ต่อจีดีพี โดยยอมรับว่า หนี้ครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจริงจาก 0.74% เป็น 0.82% แต่ถ้ามองย้อนกลับไปทุกปีก็พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปี 2551 อยู่ที่ 0.58% ปี2552 ขึ้นเป็น 0.65% ปี 2553 เพิ่ม 0.67% ปี 2554 อยู่ 0.74% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนครั้งล่าสุด เป็นหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญของชีวิต คือ บ้านและรถยนต์ ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะช่วยให้ประชาชนได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ส่วนการประเมินรายได้ของรัฐที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 แสนล้านบาทนั้น ไม่ได้เป็นตัวเลขที่แสดงนัยในการจะจัดเก็บภาษีของประชาชนเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่การเพิ่มมาตรการภาษีบางประการก็เพื่อประโยชน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเพิ่มภาษีสรรพสามิตบางประเภทก็เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภค
รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะที่ปัญหาค่าครองชีพส่วนเรื่องราคาน้ำมันดีเซลในช่วงที่ผ่านมาเราได้ดูแลให้ราคาขายปลีกมีเสถียรภาพอย่างดี และผู้ประกอบการภาคขนส่งมีความมั่นใจจนกำหนดอัตราค่าบริการต่างๆ ที่มีเสถียรภาพที่ดีได้ การดำเนินการในส่วนนี้เราได้ดูแลให้กองทุนน้ำมันอยู่ในภาวะที่มีเสถียรภาพที่ดี แน่นอนว่าในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นนั้น ถ้ารัฐบาลจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกราคาก็อาจจะทะยานขึ้นไปเพราะจะกระทบต่อสินค้าที่อาจสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้ม สาเหตุที่รัฐบาลอาจลดการอุดหนุนก็เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงต้นทุนที่แท้จริง
“ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการทอดทิ้งประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่ต้องการให้ตระหนักถึงภาวะต้นทุน และเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลก็มีนโยบายการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนควบคู่กันไปด้วย” นายกิตติรัตน์ กล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่รัฐบาลไม่ได้จัดงบประมาณอุดหนุนเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในงบประมาณประจำปี 2557 เพราะเห็นว่าปัจจุบันมีกฎหมายตาม พ.ร.บ. กองทุนประกันสังคม มาตรา 40 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบของภาครัฐ และเอกชน สามารถส่งเงินสมทบร่วมกับภาครัฐได้ เพียงแต่ปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 1.2 ล้านคน ทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการระยะยาวเพื่อจูงใจต่อไป ดังนั้น การไม่ส่งเงินให้ กอช.นั้นไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการออมของประชาชนผ่าน กอช.แต่เล็งเห็นว่าหากจะดำเนินการเรื่องใหม่แล้ว ควรต้องมีการสะสางปัญหาก่อน ซึ่งปัจจุบันมีให้เห็นอยู่ในการบริการงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มียุทธศาสตร์ที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะยังไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้าง แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่าจะประวิงเวลา ซึ่งปัจจุบัน การจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ในอัตรา 12.5% จากรายได้ของค่าเช่าในกรณีที่เจ้าของที่ดินได้ให้ผู้อื่นเช่า และแสวงหารายได้ ส่วนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหาที่ดินรกร้างว่างเปล่า และนำมาปรับปรุงให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ และปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ เพื่อให้เกิดรายได้แก่รัฐ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่กองทุน โดยไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์แก่นายทุนรายใหญ่แต่อย่างใด
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า สำหรับการตั้งงบประมาณให้แก่นโยบายรถคันแรก ตามปีงบประมาณ 2557 ไม่ได้เป็นการนำเงินภาษีประชาชนที่ไม่ได้ซื้อรถคันแรกมาจัดสรรให้คนซื้อรถคันแรกตามนโยบายรัฐบาล เพราะเงินในส่วนนี้เป็นเงินที่รัฐบาลได้จัดเก็บมาจากผู้ซื้อรถแต่แรกอยู่แล้วจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต และนำมามาจ่ายให้แก่ผู้ซื้อรถคันแรกได้รับตามสิทธิหลังจากครอบครองรถยนต์มา 1 ปีเท่านั้น ไม่ได้ไปหยิบยืมจากเงินภาษี และเงินคงคลัง
ด้านนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง กล่าวเสริมในประเด็นการขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล 1.50 บาทต่อลิตรว่า รัฐบาลจะมีการปรับขึ้นจริงในเดือน ต.ค. แต่ไม่ใช่การขึ้นราคาน้ำมัน เพราะประชาชนยังสามารถใช้น้ำมันในราคาไม่เกินลิตรละ 30 บาท และปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันพ้นจากการติดลบแล้ว โดยในอีก 4 เดือนนับจากนี้ จะมีเงินไหลเข้ากองทุนมาตลอดในอัตรามากกว่าลิตรละ 1.50 บาท ดังนั้น การเก็บภาษีน้ำมัน 1.50 บาทจะเกิดประโยชน์ 3 ฝ่าย คือ 1.รัฐบาลได้ภาษีเพิ่มขึ้น 2.สามารถจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้มากขึ้น 3.ประชาชนได้ใช้น้ำมันดีเซลในราคาลิตรละไม่เกิน 30 บาท
“รถคันแรกรัฐบาลจ่ายคืนเฉพาะภาษีสรรพสามิตเท่านั้น แต่ภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรถรัฐบาลไม่ได้ยกเว้นให้ และการทิ้งใบจองที่เกิดขึ้นถือเป็นปกติโดยได้สอบถามบริษัทสินเชื่อรถยนต์แล้วพบว่า โดยปกติจะมีการทิ้งใบจองในระดับ 20-30% อยู่แล้ว จึงไม่เกี่ยวข้องกับระบบของราชการ อย่างไรก็ตาม ณ ข้อมูลของผู้ที่ครอบครองรถแล้วยังไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าจะไม่ส่งเงินตามงวด” นายทนุศักดิ์กล่าว
http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064517