ผมอ่านข่าวมติชนเมื่อวาน รู้สึกชื่นชมกับผลการบริหารงานของคุณยิ่งลักษณ์ ที่มีประสบการณ์การบริหารธุรกิจของครอบครัวมูลค่านับพันนับหมื่นล้าน
เพราะอะไรผมถึงชื่นชมครับ ก็เพราะผมเชื่อว่าธุรกิจครอบครัวของคุณยิ่งลักษณ์ คือหมายรวมถึงของคุณทักษิณ คุณเยาวภา คุณโอ๊ค นัันน่ะมีกำไรเพิ่มมากขึ้นมหาศาลแน่นอน (จำนำข้าวอย่างเดียวก็ซัดไปเท่าไหร่แล้ว)
แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนตาดำๆที่เลือกเค้าเหล่านี้เข้ามาบริหารประเทศ กลับมีแต่หนี้ท่วมหัว!
ลองดูข้อมูลด้านล่างนี้ ท่านใดเห็นต่างโปรดใช้วาจาสุภาพ และแสดงความคิดเห็นด้วยสติปัญญา ปราศจากอคติ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อนร่วมบอร์ดท่านอื่นๆนะครับ
.....................................................
คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นกู้หนี้นอกระบบเพิ่ม อ้างของแพง-ค่าครองชีพอ่วม ส่วนคนชั้นกลางก่อหนี้บัตรเครดิต จ่ายแค่ขั้นต่ำ หวั่นดันยอดเอ็นพีแอลกระฉูด ฉุดจีดีพีหดตัวต่ำกว่า 5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จำนวนประชาชนทั่วประเทศ 1,200 ราย ระหว่างวันที่ 18-23 มิถุนายน 2556 พบว่าประชาชน 71.5% ระบุเคยมีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย เนื่องจากภาระใช้จ่ายเพิ่ม จากราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูง และราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้น ซึ่ง 47.8% ระบุเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการลงทุน อีก 19.7% ระบุเพื่อชำระเงินกู้นอกระบบ
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สัดส่วนประชาชน 64.6% ระบุมีภาระหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มต่อเนื่องและสูงสุดในรอบ 7 ปี ทำให้มูลค่าหนี้ครัวเรือนปี 2556 เพิ่มเป็น 1.88 แสนบาท จากปีก่อน 1.68 แสนบาท หรือขยายตัว 12% ทำสถิติมูลค่าและขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี นับจากปี 2552 โดยครัวเรือนจะเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มต่อเนื่องถึง 49.6% สูงสุดในรอบ 8 ปีจากที่ได้ทำสำรวจมา และประชาชน 35% ระบุเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น และ 29% ระบุหนี้นอกระบบลดลง ขณะที่ครัวเรือนเป็นหนี้ในระบบลดลงต่อเนื่องเหลือ 50.4%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ในการสำรวจพบว่าประชาชนมียอดหนี้ผ่อนชำระเฉลี่ยต่อครัวเรือนเดือนละ 11,672 บาท ขยายตัวจากปีก่อน 6.3% แยกเป็นยอดหนี้ในระบบ 10,990 บาท ขยายตัว 5.1% ยอดหนี้นอกระบบ 6,378 บาท ขยายตัว 13.6% ซึ่งสาเหตุการเป็นหนี้เพิ่ม 23.3% ระบุค่าครองชีพสูง รองลงมา 22% ระบุจ่ายค่าเรียนบุตรหลาน 13.5% ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นเช่น บ้านและรถ อีก 10.3% ระบุมีการก่อหนี้ใหม่ ซึ่งประชาชน 70% ระบุเคยมีปัญหาการชำระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้น้อย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน แม้การปรับเพิ่มค่าแรงงานวันละ 300 บาท ประชาชน 41% เห็นว่าการบริโภคและใช้หนี้มากขึ้น แต่การออมลดลง
ส่วนประชาชนที่มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ก็มีการกู้หนี้มากขึ้นและกู้หนี้ผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นสัดส่วนถึง 89.9% จำนวนนี้ 80% เป็นหนี้บัตรเครดิตสูงกว่ารายได้และมีมูลหนี้ 2-4 เท่าของรายได้ เฉลี่ยต่อคนจะมีบัตรเครดิต 2 ใบ
"ที่น่าวิตกคือประชาชนที่ใช้บัตรเครดิต ชำระหนี้เงินขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 17% อีก 25% ชำระบางส่วน และ 2% มีการขาดชำระหนี้แล้ว สะท้อนถึงปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ซึ่งเอ็นพีแอลในอัตรา 2-3% ถือว่าปกติ แต่หากเกิน 5% รัฐบาลคงต้องเอามาดูแลแล้ว เพื่อไม่ให้เกิน 10% ที่เป็นอัตรายอมรับได้และไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก แต่หากถึง 20% จะน่าเป็นห่วงและเป็นอันตรายกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ" นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจได้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ซึมตัวลง และประชาชนกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพแพง และรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวไม่เกิน 5% และการซึมตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะคลี่คลายหลังไตรมาส 4 ปีนี้ ประชาชนจึงเสนอให้รัฐบาลลดค่าครองชีพ ลดอัตราดอกเบี้ยและดอกเบี้ยบัตรเครดิต คุมราคาสินค้าจำเป็น ดูแลราคาก๊าซและราคาน้ำมัน รวมถึงสร้างรายได้
(ที่มา:มติชนรายวัน 26 มิ.ย.2556)
ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ: หนี้ครัวเรือนพุ่ง12%สูงสุดรอบ5ปี รายได้ต่ำแห่กู้นอกระบบ คนชั้นกลางรูดปรื้ดจ่ายแค่ขั้นต่ำ จับตาNPL
เพราะอะไรผมถึงชื่นชมครับ ก็เพราะผมเชื่อว่าธุรกิจครอบครัวของคุณยิ่งลักษณ์ คือหมายรวมถึงของคุณทักษิณ คุณเยาวภา คุณโอ๊ค นัันน่ะมีกำไรเพิ่มมากขึ้นมหาศาลแน่นอน (จำนำข้าวอย่างเดียวก็ซัดไปเท่าไหร่แล้ว)
แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนตาดำๆที่เลือกเค้าเหล่านี้เข้ามาบริหารประเทศ กลับมีแต่หนี้ท่วมหัว!
ลองดูข้อมูลด้านล่างนี้ ท่านใดเห็นต่างโปรดใช้วาจาสุภาพ และแสดงความคิดเห็นด้วยสติปัญญา ปราศจากอคติ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อนร่วมบอร์ดท่านอื่นๆนะครับ
.....................................................
คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นกู้หนี้นอกระบบเพิ่ม อ้างของแพง-ค่าครองชีพอ่วม ส่วนคนชั้นกลางก่อหนี้บัตรเครดิต จ่ายแค่ขั้นต่ำ หวั่นดันยอดเอ็นพีแอลกระฉูด ฉุดจีดีพีหดตัวต่ำกว่า 5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จำนวนประชาชนทั่วประเทศ 1,200 ราย ระหว่างวันที่ 18-23 มิถุนายน 2556 พบว่าประชาชน 71.5% ระบุเคยมีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย เนื่องจากภาระใช้จ่ายเพิ่ม จากราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูง และราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้น ซึ่ง 47.8% ระบุเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการลงทุน อีก 19.7% ระบุเพื่อชำระเงินกู้นอกระบบ
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สัดส่วนประชาชน 64.6% ระบุมีภาระหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มต่อเนื่องและสูงสุดในรอบ 7 ปี ทำให้มูลค่าหนี้ครัวเรือนปี 2556 เพิ่มเป็น 1.88 แสนบาท จากปีก่อน 1.68 แสนบาท หรือขยายตัว 12% ทำสถิติมูลค่าและขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี นับจากปี 2552 โดยครัวเรือนจะเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มต่อเนื่องถึง 49.6% สูงสุดในรอบ 8 ปีจากที่ได้ทำสำรวจมา และประชาชน 35% ระบุเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น และ 29% ระบุหนี้นอกระบบลดลง ขณะที่ครัวเรือนเป็นหนี้ในระบบลดลงต่อเนื่องเหลือ 50.4%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ในการสำรวจพบว่าประชาชนมียอดหนี้ผ่อนชำระเฉลี่ยต่อครัวเรือนเดือนละ 11,672 บาท ขยายตัวจากปีก่อน 6.3% แยกเป็นยอดหนี้ในระบบ 10,990 บาท ขยายตัว 5.1% ยอดหนี้นอกระบบ 6,378 บาท ขยายตัว 13.6% ซึ่งสาเหตุการเป็นหนี้เพิ่ม 23.3% ระบุค่าครองชีพสูง รองลงมา 22% ระบุจ่ายค่าเรียนบุตรหลาน 13.5% ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นเช่น บ้านและรถ อีก 10.3% ระบุมีการก่อหนี้ใหม่ ซึ่งประชาชน 70% ระบุเคยมีปัญหาการชำระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้น้อย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน แม้การปรับเพิ่มค่าแรงงานวันละ 300 บาท ประชาชน 41% เห็นว่าการบริโภคและใช้หนี้มากขึ้น แต่การออมลดลง
ส่วนประชาชนที่มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ก็มีการกู้หนี้มากขึ้นและกู้หนี้ผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นสัดส่วนถึง 89.9% จำนวนนี้ 80% เป็นหนี้บัตรเครดิตสูงกว่ารายได้และมีมูลหนี้ 2-4 เท่าของรายได้ เฉลี่ยต่อคนจะมีบัตรเครดิต 2 ใบ
"ที่น่าวิตกคือประชาชนที่ใช้บัตรเครดิต ชำระหนี้เงินขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 17% อีก 25% ชำระบางส่วน และ 2% มีการขาดชำระหนี้แล้ว สะท้อนถึงปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ซึ่งเอ็นพีแอลในอัตรา 2-3% ถือว่าปกติ แต่หากเกิน 5% รัฐบาลคงต้องเอามาดูแลแล้ว เพื่อไม่ให้เกิน 10% ที่เป็นอัตรายอมรับได้และไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก แต่หากถึง 20% จะน่าเป็นห่วงและเป็นอันตรายกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ" นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจได้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ซึมตัวลง และประชาชนกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพแพง และรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวไม่เกิน 5% และการซึมตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะคลี่คลายหลังไตรมาส 4 ปีนี้ ประชาชนจึงเสนอให้รัฐบาลลดค่าครองชีพ ลดอัตราดอกเบี้ยและดอกเบี้ยบัตรเครดิต คุมราคาสินค้าจำเป็น ดูแลราคาก๊าซและราคาน้ำมัน รวมถึงสร้างรายได้
(ที่มา:มติชนรายวัน 26 มิ.ย.2556)