ราคาไข่ไก่ก็ปกติของตลาดอยู่แล้วโวยอะไรกันครับ.ก็ขึ้นอยู่กับสถาการณ์ในขณะนั้นๆ
ว่าด้วยไข่(ไม่)เข้มแข็ง….ข่าวเล่าย้อนหลังราคาไข่จากอดีตถึงปัจจุบัน
ข่าวของราคาไข่กับคนบริโภคไข่เป็นอาจินต์ดูจะไม่สบอารมณ์ในการครองชีพแต่ละวันเอาเสียเลยสำหรับคนหาเช้ากินค่ำ เพราะราคาไข่พุ่งขึ้นไปที่ 3.30 บาทต่อฟอง ทำให้ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว เพราะราคาไข่ที่กรุงเทพ 3.30 บาทต่อฟองก็จริงอยู่ แต่ที่บ้านนอกชานเมือง มันไม่ใช่ราคานี้ มันสูงกว่าราคานี้ประมาณ 20 สตางค์ต่อฟอง ไม่เชื่อก็ลองขับรถไปชานเมืองบ้านนอก พบตลาดนัดที่ไหนก็ลองไปเยี่ยมคนขายไข่ และดูป้ายปิดราคาไข่ก็จะพบคำตอบว่าราคาไข่แข็งขึ้น แต่คนผู้บริโภคกลับอ่อนใจเพราะรายได้ที่ได้มาไม่เพิ่มขึ้น แต่กลับถูกไข่มากดดันให้เพิ่มรายจ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคไข่หรือผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับไข่เป็นหลักจะกระทบสุด ๆ
ที่นำมาเล่าแบ่งปันนี้มิได้จะพาดพิงไปถึงการบริหารราคาไข่หรือจะวิพากษ์วิจารณ์ใคร แต่เมื่อข่าวไข่เผยแพร่ออกไป ก็คิดว่าน่าจะหาข้อมูลที่เคยปรากฏเรื่องราคาไข่หรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับไข่มาให้อ่าน เพื่อช่วยในการลดอารมณ์ในการวิพากษ์ราคาไข่ลดลงได้บ้าง
จากสถิติปี 2553 ที่ปรากฏในกรุงเทพธุรกิจออไลน์มีบันทึกไว้ว่าคนไทยบริโภคไข่คนละ 160 ฟองต่อปี เฉลี่ย ทอด ต้ม เจียว ตุ๋น ไข่ดาว เดือนละ 13 ฟองต่อคน แต่ก็ยังถือว่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ จีน ที่กินไข่ 320-330 ฟองต่อคนต่อปี ฮ่องกงกินไข่ 270 ฟองต่อคนต่อปี ญี่ปุ่นสูงถึง 390 ฟองต่อคนต่อปีจึงทำให้ประชากรในประเทศของเขาล้ำหน้าไปมากในด้านการพัฒนาสติปัญญา เรียกได้ว่าทุกวันทุกคนจะต้องมีไข่เข้าปากกันทุกวันเป็นประจำ เพราะไข่เป็นโปรตีนราคาถูกที่สุด
ราคาไข่ไก่เริ่มเป็นที่สนใจของพลเมืองมาตั้งแต่สมัยไหนเป็นสมัยแรกไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ว่ากันว่า ราคาไข่ไก่เปรียบเปรยกันมาตั้งแต่ จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ไปตลาดซื้อไข่ไก่สมัยนั้น ฟองละ 50-75 สตางค์ ถือว่าราคายังไม่แพงเกินไปนัก เศรษฐกิจไม่ลำบาก ไข่ยังเป็นอาหารหลักของคนจนได้
ต่อมาสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ไข่ไก่ยังฟองละ 75 สตางค์อยู่ แต่ไข่เบอร์ใหญ่ขายปลีกตามท้องตลาดราคาฟองละ 1.50 บาท สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นยุคฟองสบู่ เศรษฐกิจอู้ฟู่ ผู้คนฟุ่มเฟือยทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในอัตราที่สูงขึ้นจากเดิม ไข่ไก่สมัย พล.อ.ชาติชาย จึงทะลุไปที่ฟองละ 2 บาท ซึ่งถือว่าแพงมากในสมัยนั้น มารู้ตัวอีกทีไข่ในรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์ของไข่ไม่ได้ดีขึ้น ราคาไข่ฟองละ 2 บาท ถึง 2.50 บาท ก็ยังแพงอยู่
มาสมัย นายชวน หลีกภัย ราคาข้าวของเครื่องใช้ยังพุ่งสูงไม่ลด โดยเฉพาะราคาไข่พุ่งขยับไปขายกันอยู่ที่ฟองละ 2.70 บาท และยิ่งแพงขึ้นไปอีกสมัยของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ตกอยู่ที่ฟองละ 3 บาท เป็นรัฐบาลที่ไม่สามารถทำให้ราคาไข่อ่อนตัวลดลงได้
ส่วนสมัยที่ราคาไข่ถูกอย่างน่าใจหาย คือสมัยของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ราคาไข่ไก่ตกไปอยู่ที่ฟองละ 1 บาท แต่เมื่อ เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้ราคาไข่ไก่พลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยขยับไปอยู่ที่ใบละ 4 บาท นั่นคือสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทุบสถิติไข่แพงมหาโหดลบสถิติไข่สมัยนายชวน หลีกภัย จากราคาไข่ไก่ปี 2547 ซึ่งก่อนช่วงการระบาดของไข่หวัดนก ไข่ไก่ เบอร์ 0 ฟองละ 2.62 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.47 บาท เบอร์ 5 ฟองละ 2.02 บาท
พอถึงช่วงเดือนมีนาคม 2547 ที่เมืองไทยเจอโรคไข้หวัดนกเล่นงาน ไข่ไก่เบอร์ 0 เหลือแค่ฟองละ 2.40 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.25 บาท เบอร์ 5 ฟองละ 1.77 บาท
หลังจากนั้นช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 ไข่ไก่เบอร์ 0 ราคาพุ่งขึ้นไปถึงฟองละ 3.20 บาท ไข่เบอร์ 1 ฟองละ 3.10 บาท และเบอร์ 5 ฟองละ 2.70 บาท
ยุค พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2550 ไข่ราคาถูกลง โดยที่เบอร์ 0 ราคาฟองละ 3 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.80 บาท เบอร์ 2 ฟองละ 2.60 บาท และเบอร์ 6 (เล็กสุด) ฟองละ 1.90 บาท
พอมาสมัยของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ราคาไข่ไก่ที่ชาวบ้านซื้อหาเอาเบอร์กลางๆ อย่างเบอร์ 3 ราคาฟองละ 2.50 บาท เพราะเบอร์ 0 ยังอยู่ที่ฟองละ 3 บาท แถมยังมีเบอร์เล็กสุด เบอร์ 6 ฟองละ 2.10 บาท ดังนั้น อนุมานได้ว่าอัตราเงินเฟ้อของรัฐบาลยุคนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ 4.33 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าปีก่อน แต่ถือว่าเป็นอัตราเงินเฟ้อพองาม ยังรับได้
แต่มาปัจจุบันทุกวันนี้ สมัยของ นายอภิสิทธ เวชชาชีวะ ราคาไข่ต่อฟอง 3.30 บาทที่จะถูกบันทึกไว้เล่าขานเป็นตำนานราคาไข่ ไว้ให้อ่านกันต่อไป และจะปรากฏเป็นข่าวทุกครั้งที่ราคาไข่แข็งขึ้น ซึ่งก็เป็นความแปลกอีกประการหนึ่งด้วยที่เมื่อราคาไข่แข็งขึ้นและเป็นข่าว ในวงการที่จะแก้ไขปัญหาไข่ก็ยังไม่มีคำอธิบายหรือคำตอบใด ๆ ให้เป็นที่ชื่นใจประชาชน
ขณะที่มาเล่าแบ่งบันทึกนี้ ราคาของไข่ก็ยังแข็งอยู่ไม่หยุดยังไม่มีวี่แววว่าจะอ่อนตัวลง เป็นราคาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันว่าที่ไข่แข็งขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไรในสังคมประเทศ ส่วนผู้เขียนบันทึกที่นำมาเล่าวันนี้อยากให้ผู้อ่านได้เห็นสถิติของข้อมูลที่เกี่ยวกับไข่ หากจะนำไปวิพากษ์ วิจารณ์ก็น่าจะนำไปใช้ได้
ปัจจุบันราคา 3.25-3.85 โวยอะไรกันครับ.
แหล่งอ้างอิงข้อมูล......กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2553
ราคาไข่ไก่ก็ปกติของตลาดอยู่แล้วโวยอะไรกันครับ.
ว่าด้วยไข่(ไม่)เข้มแข็ง….ข่าวเล่าย้อนหลังราคาไข่จากอดีตถึงปัจจุบัน
ข่าวของราคาไข่กับคนบริโภคไข่เป็นอาจินต์ดูจะไม่สบอารมณ์ในการครองชีพแต่ละวันเอาเสียเลยสำหรับคนหาเช้ากินค่ำ เพราะราคาไข่พุ่งขึ้นไปที่ 3.30 บาทต่อฟอง ทำให้ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว เพราะราคาไข่ที่กรุงเทพ 3.30 บาทต่อฟองก็จริงอยู่ แต่ที่บ้านนอกชานเมือง มันไม่ใช่ราคานี้ มันสูงกว่าราคานี้ประมาณ 20 สตางค์ต่อฟอง ไม่เชื่อก็ลองขับรถไปชานเมืองบ้านนอก พบตลาดนัดที่ไหนก็ลองไปเยี่ยมคนขายไข่ และดูป้ายปิดราคาไข่ก็จะพบคำตอบว่าราคาไข่แข็งขึ้น แต่คนผู้บริโภคกลับอ่อนใจเพราะรายได้ที่ได้มาไม่เพิ่มขึ้น แต่กลับถูกไข่มากดดันให้เพิ่มรายจ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคไข่หรือผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับไข่เป็นหลักจะกระทบสุด ๆ
ที่นำมาเล่าแบ่งปันนี้มิได้จะพาดพิงไปถึงการบริหารราคาไข่หรือจะวิพากษ์วิจารณ์ใคร แต่เมื่อข่าวไข่เผยแพร่ออกไป ก็คิดว่าน่าจะหาข้อมูลที่เคยปรากฏเรื่องราคาไข่หรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับไข่มาให้อ่าน เพื่อช่วยในการลดอารมณ์ในการวิพากษ์ราคาไข่ลดลงได้บ้าง
จากสถิติปี 2553 ที่ปรากฏในกรุงเทพธุรกิจออไลน์มีบันทึกไว้ว่าคนไทยบริโภคไข่คนละ 160 ฟองต่อปี เฉลี่ย ทอด ต้ม เจียว ตุ๋น ไข่ดาว เดือนละ 13 ฟองต่อคน แต่ก็ยังถือว่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ จีน ที่กินไข่ 320-330 ฟองต่อคนต่อปี ฮ่องกงกินไข่ 270 ฟองต่อคนต่อปี ญี่ปุ่นสูงถึง 390 ฟองต่อคนต่อปีจึงทำให้ประชากรในประเทศของเขาล้ำหน้าไปมากในด้านการพัฒนาสติปัญญา เรียกได้ว่าทุกวันทุกคนจะต้องมีไข่เข้าปากกันทุกวันเป็นประจำ เพราะไข่เป็นโปรตีนราคาถูกที่สุด
ราคาไข่ไก่เริ่มเป็นที่สนใจของพลเมืองมาตั้งแต่สมัยไหนเป็นสมัยแรกไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ว่ากันว่า ราคาไข่ไก่เปรียบเปรยกันมาตั้งแต่ จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ไปตลาดซื้อไข่ไก่สมัยนั้น ฟองละ 50-75 สตางค์ ถือว่าราคายังไม่แพงเกินไปนัก เศรษฐกิจไม่ลำบาก ไข่ยังเป็นอาหารหลักของคนจนได้
ต่อมาสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ไข่ไก่ยังฟองละ 75 สตางค์อยู่ แต่ไข่เบอร์ใหญ่ขายปลีกตามท้องตลาดราคาฟองละ 1.50 บาท สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นยุคฟองสบู่ เศรษฐกิจอู้ฟู่ ผู้คนฟุ่มเฟือยทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในอัตราที่สูงขึ้นจากเดิม ไข่ไก่สมัย พล.อ.ชาติชาย จึงทะลุไปที่ฟองละ 2 บาท ซึ่งถือว่าแพงมากในสมัยนั้น มารู้ตัวอีกทีไข่ในรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์ของไข่ไม่ได้ดีขึ้น ราคาไข่ฟองละ 2 บาท ถึง 2.50 บาท ก็ยังแพงอยู่
มาสมัย นายชวน หลีกภัย ราคาข้าวของเครื่องใช้ยังพุ่งสูงไม่ลด โดยเฉพาะราคาไข่พุ่งขยับไปขายกันอยู่ที่ฟองละ 2.70 บาท และยิ่งแพงขึ้นไปอีกสมัยของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ตกอยู่ที่ฟองละ 3 บาท เป็นรัฐบาลที่ไม่สามารถทำให้ราคาไข่อ่อนตัวลดลงได้
ส่วนสมัยที่ราคาไข่ถูกอย่างน่าใจหาย คือสมัยของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ราคาไข่ไก่ตกไปอยู่ที่ฟองละ 1 บาท แต่เมื่อ เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้ราคาไข่ไก่พลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยขยับไปอยู่ที่ใบละ 4 บาท นั่นคือสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทุบสถิติไข่แพงมหาโหดลบสถิติไข่สมัยนายชวน หลีกภัย จากราคาไข่ไก่ปี 2547 ซึ่งก่อนช่วงการระบาดของไข่หวัดนก ไข่ไก่ เบอร์ 0 ฟองละ 2.62 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.47 บาท เบอร์ 5 ฟองละ 2.02 บาท
พอถึงช่วงเดือนมีนาคม 2547 ที่เมืองไทยเจอโรคไข้หวัดนกเล่นงาน ไข่ไก่เบอร์ 0 เหลือแค่ฟองละ 2.40 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.25 บาท เบอร์ 5 ฟองละ 1.77 บาท
หลังจากนั้นช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 ไข่ไก่เบอร์ 0 ราคาพุ่งขึ้นไปถึงฟองละ 3.20 บาท ไข่เบอร์ 1 ฟองละ 3.10 บาท และเบอร์ 5 ฟองละ 2.70 บาท
ยุค พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2550 ไข่ราคาถูกลง โดยที่เบอร์ 0 ราคาฟองละ 3 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.80 บาท เบอร์ 2 ฟองละ 2.60 บาท และเบอร์ 6 (เล็กสุด) ฟองละ 1.90 บาท
พอมาสมัยของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ราคาไข่ไก่ที่ชาวบ้านซื้อหาเอาเบอร์กลางๆ อย่างเบอร์ 3 ราคาฟองละ 2.50 บาท เพราะเบอร์ 0 ยังอยู่ที่ฟองละ 3 บาท แถมยังมีเบอร์เล็กสุด เบอร์ 6 ฟองละ 2.10 บาท ดังนั้น อนุมานได้ว่าอัตราเงินเฟ้อของรัฐบาลยุคนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ 4.33 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าปีก่อน แต่ถือว่าเป็นอัตราเงินเฟ้อพองาม ยังรับได้
แต่มาปัจจุบันทุกวันนี้ สมัยของ นายอภิสิทธ เวชชาชีวะ ราคาไข่ต่อฟอง 3.30 บาทที่จะถูกบันทึกไว้เล่าขานเป็นตำนานราคาไข่ ไว้ให้อ่านกันต่อไป และจะปรากฏเป็นข่าวทุกครั้งที่ราคาไข่แข็งขึ้น ซึ่งก็เป็นความแปลกอีกประการหนึ่งด้วยที่เมื่อราคาไข่แข็งขึ้นและเป็นข่าว ในวงการที่จะแก้ไขปัญหาไข่ก็ยังไม่มีคำอธิบายหรือคำตอบใด ๆ ให้เป็นที่ชื่นใจประชาชน
ขณะที่มาเล่าแบ่งบันทึกนี้ ราคาของไข่ก็ยังแข็งอยู่ไม่หยุดยังไม่มีวี่แววว่าจะอ่อนตัวลง เป็นราคาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันว่าที่ไข่แข็งขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไรในสังคมประเทศ ส่วนผู้เขียนบันทึกที่นำมาเล่าวันนี้อยากให้ผู้อ่านได้เห็นสถิติของข้อมูลที่เกี่ยวกับไข่ หากจะนำไปวิพากษ์ วิจารณ์ก็น่าจะนำไปใช้ได้
ปัจจุบันราคา 3.25-3.85 โวยอะไรกันครับ.
แหล่งอ้างอิงข้อมูล......กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2553