หมายเหตุ นี่คือบันทึกเหตุการณ์เรื่องการตัดสินใจยุติการเคลื่อนไหว
ร่วมกับแกนนำนปช.รายอื่น ๆ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ของนายวีระ มุสิกพงศ์ นายอดิศร เพียงเกษ
นางไพจิตร อักษรณรงค์ และนายวิสา คัญทัพ ซึ่งนายวิสาได้เขียนขึ้นและนำไปเผยแพร่ในเว็บเพจเฟซบุ๊กของตนเอง
มติชนออนไลน์เห็นว่างานชิ้นนี้มีความน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้
บันทึกของ วิสา คัญทัพ (ฉบับที่ 1)
เรื่องการยุทธและการหยุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553
. ทำไม วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จึงเขียนจดหมายประกาศยุติบทบาทการต่อสู้
โดยประกาศลงที่สถานีบางซื่อ ไม่ขอเดินทางต่อไปถึงสถานีหัวลำโพง
คำตอบย่อมมาจากการกลั่นกรองเหตุผลหลายประการ จนตกผลึกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ไม่ยอมให้มีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อประชาชนอีกต่อไป
เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ยึดมั่นแนวทางสันติวิธีในการต่อสู้
เป็นการตัดสินใจที่เห็นว่าข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลแล้ว
ตามเงื่อนไขที่ได้เจรจากัน ดังที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนการเจรจา และผ่านมติเป็นเอกฉันท์ในทุกเรื่อง
. รายละเอียดสุดท้ายคือการให้ประกันตัวแกนนำทั้ง 24 คน ซึ่งรัฐบาลยอมรับ
ขณะที่แกนนำบางส่วนไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะทำตามคำพูด เพราะหลายคนยังหวั่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ทั้งยังเพิ่มข้อเรียกร้องเรื่องนายสุเทพ เทือกสุบรรณต้องมอบตัวให้ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม
กรณีสั่งฆ่าประชาชน 10 เมษาฯ อ้างว่าเพื่อเป็นการรับผิดชอบกับชีวิตวีรชนประชาธิปไตย
ข้อเรียกร้องเรื่องสุเทพมอบตัว ทำให้เกิดความสับสนในข้อกฎหมายว่าจะสิ้นสุดลงอย่างไร
จึงจะเป็นที่ยอมรับของแกนนำคนเสื้อแดง
. วีระ มุสิกพงศ์ เลือกลดบทบาทจากแกนนำลงไปเป็นคนเสื้อแดงธรรมดาเพราะเห็นว่า
การทำตามสัจจะที่ได้ประกาศไว้มีความสำคัญต่อสังคมอย่างที่สุด
เมื่อประกาศร่วมกันว่าทั้งสองฝ่ายพร้อมเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ไม่เอาการนิรโทษกรรม ย่อมถือว่าสังคมรับรู้แล้ว เมื่อประกาศจะยุบสภาตามวันเวลาที่ชัดแจ้ง
ก็ผูกมัดรัฐบาลต่อสายตาสังคมโลก แกนนำคนเสื้อแดงสมควรมอบตัวโดยมิต้องหวั่นไหวใดๆ
แม้จะมีการหักหลัง จับกุมกักขังไม่ให้ประกัน แม้อภิสิทธิ์ สุเทพจะหลบหลีกไม่ยอมมอบตัว
ก็เป็นเรื่องปกติของฝ่ายที่ยึดกุมอำนาจรัฐที่สามารถกระทำเช่นนั้นได้
ส่วนเราจะยื้อยุดฉุดดึงไปก็ไร้ประโยชน์ เพราะในความเป็นจริง กระบวนการเอาผิดทางกฎหมายต่อรัฐบาล
อาชญากรมือเปื้อนเลือดก็มิได้ยุติลงในรัฐบาลชุดนี้ อภิสิทธิ์ - สุเทพ หนีความผิดไม่พ้น
ความไม่ชอบธรรมจะตกอยู่กับอภิสิทธิ์ - สุเทพทันที
การเลือกยุติการชุมนุมในจังหวะนี้ ความชอบธรรมจะอยู่กับฝ่าย นปช.
สำคัญที่สุด ประชาชนไม่สมควรต้องสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีกเป็นอันขาด
ประชาชนคนเสื้อแดงจะต้องกลับบ้านอย่างปลอดภัย
องค์กร นปช.แดงทั้งแผ่นดินยังคงเคลื่อนไหว ในหนทางสันติวิธีต่อไปได้
รัฐบาลจะถูกกดดันจากทุกภาคส่วนของสังคม ให้ดำเนินการทุกอย่างไปสู่การยุบสภา
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ จะกลายเป็นซากศพที่เดินได้
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อดิศร เพียงเกษ,ไพจิตร อักษรณรงค์ และผม เห็นด้วยและตัดสินใจลงสถานีเดียวกัน
แนวทางและชุดความคิดดังกล่าว ถูกมองว่าเป็นจิตใจจำนนและถอย ยอมรัฐบาลมากเกินไป
คนที่ยังไม่พร้อมจะลงจึงเดินทางต่อไป ถามว่า การเดินทางต่อมีความคิดชี้นำมาจากองค์ประกอบอื่นๆ
นอกเหนือจากแกนนำที่ร่วมประชุมกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง จึงยังไม่อยากวิเคราะห์ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตาม แนวทางและชุดความคิดนี้หากมองกลับเป็นตรงกันข้าม
ย่อมสามารถมองว่าเป็นการ "ต่อสู้" ได้ เพราะการที่แกนนำเดินทางเข้ามอบตัว
โดยไม่หวั่นกลัวต่อการจับกุมคุมขัง เท่ากับ แกนนำยอมเสียสละอิสรภาพของตน
เพื่อแลกกับการให้ประชาชนกลับบ้าน โดยไม่สูญเสีย ไม่ต้องตายกันอีก เป็นการลงอย่างสันติวิธี ไม่รุนแรง
รักษาองค์กรให้คงอยู่และเคลื่อนไหวต่อสู้ต่อไปได้
หลังการประชุมในตู้คอนเทนเนอร์ ที่เวทีราชประสงค์สิ้นสุดลง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553
วีระ มุสิกพงศ์ ไม่ได้ขึ้นพูดบนเวทีในคืนนั้น แล้วหายไปจากเวที
ส่วน อดิศร เพียงเกษ,ไพจิตร อักษรณรงค์ และผม ยังอยู่ต่อ และเข้าร่วมประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553
อดิศร ชี้แจงเหตุผลที่เขาต้องยุติบทบาท แล้วลงจากตู้คอนเทนเนอร์ไปก่อนการประชุมจะสิ้นสุดลง
ส่วน ไพจิตรและผมได้แจ้งที่ประชุมว่า จะขอลงสถานีบางซื่อเช่นเดียวกับวีระและอดิศร
เช้าวันรุ่งขึ้น ไพจิตร อักษรณรงค์ก็ล้มป่วยเป็นไข้หวัด เจ็บคอ ไม่มีเสียง นอนพักรักษาตัว
เราสามคนไม่ได้กลับเข้าไปที่เวทีตั้งแต่วันนั้น
เมื่อครั้งที่ผมและไพจิตร อักษรณรงค์ได้รับมอบหมายให้ดูแลเวทีปราศรัยที่ผ่านฟ้าลีลาศ
ก่อนเกิดเหตุการณ์ 10 เมษายน เราคุมสถานการณ์ด้วยสันติวิธี ขณะเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาบินวนในช่วงบ่ายวันนั้น
ผมประกาศให้คนออกมาจากเต็นท์ให้หมด มารวมกันหน้าเวที
เพื่อให้เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินที่บินสังเกตุการณ์ ได้เห็นว่ามีคนเสื้อแดงมากมาย
ผมให้พี่น้องนั่งลง สงบนิ่ง ตั้งสติ ทำสมาธิ ยึดหลักการสันติอหิงสา
ปล่อยให้ตำรวจทหารเข้ามาโดยไม่ขัดขวาง หากเขาจะมาจับแกนนำ
ให้เปิดทางให้เขาเข้ามาจับบนเวที พวกเราพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียใดๆกับพี่น้องประชาชน
หลังจากผมพูดจบลง ไมโครโฟนก็ถูกแย่งดึงโดยบางคนที่ปลุกเร้าเร่าร้อน
ระดมกำลังให้ออกไปปะทะเผชิญสะกัดกั้น ไม่ให้ตำรวจทหารผ่านเข้ามาตามด่านต่างๆ
ผลักดันสถานการณ์ไปสู่ความรุนแรง ผมเดินลงจากเวที เพราะผมไม่อยู่ในฐานะที่ไปห้ามปรามแล้วเพื่อนๆจะฟัง
และไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดสวนทางกันให้สับสน ในใจคิดว่าหากมีการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีก คงรับไม่ไหว
ผมติดต่อไปหาณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่เวทีราชประสงค์ให้มาคุมสถานการณ์ที่นี่ด้วยตัวเอง ก่อนที่มันจะลุกลามบานปลาย
แต่ไม่เป็นผล ที่สุดก็ปะทะกันรุนแรง หลังเหตุการณ์นี้ผมเร่งเร้าให้ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ยุติเวทีที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
หากไม่มีคนนำที่แกนนำเชื่อฟังมาคุมเวที ก่อนที่ประวัติศาตร์นองเลือดจะซ้ำรอย
ซึ่งเป็นผลสำเร็จในที่สุดเมื่อตกลงย้ายการชุมนุมไปรวมที่ราชประสงค์จุดเดียว
กรณี 10 เมษายน 2553 คุกคามจิตใจผมให้หดหู่ ขมขื่น และเจ็บปวดอย่างหนัก
สำหรับผม พอแล้ว มันเขียนอะไรไม่ออก มันบอกอะไรไม่ถูก มันไม่ได้สร้างพลังอะไรเลย
นอกจากสำนึกแห่งธรรมที่ว่าการฆ่าคือบาป และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการฆ่าเล่า จะพ้นบาปไปได้อย่างไร
วันที่ 10 พฤษภาคม 2553 เมื่อประธานวีระ มุสิกพงศ์ ลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" บรรลุแล้ว
และแนวทางการต่อสู้ส่อเค้าจะหลุดเฟรมแห่งสันติวิธี มีสำเนียงบางอย่างกระตุ้นเร้าความรุนแรงแทรกซ้อนการนำของ นปช.
ผมจึงเห็นด้วยและขอลงสถานีเดียวกับวีระ ใครจะชิงชังรังเกียจและหยามเหยียดอย่างไรก็ว่ากันไป
เรารับเสียงร่ำไห้แห่งความโศกเศร้า เลือดเนื้อ น้ำตา การบาดเจ็บ สูญเสีย ไม่ได้อีกแล้ว
บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แจงเหตุผลแห่งการยุติบทบาทอย่างเป็นทางการของผมและไพจิตร อักษรณรงค์
หยุดคือหยุด ไม่ให้ใคร ต้องตายอีก
หยุดคือหลีก ความรุนแรง อันแฝงฝัง
หยุดแล้วมวลชนได้ไม่พ่ายพัง
หยุดเขาขังหลอกเราก็เข้าใจ
หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน
ถ้าเราหยุดละวางตรงบางซื่อ
จักได้ความเชื่อถือมหาศาล
คลื่นอธรรมก็จะซัดใส่รัฐบาล
ดำเนินการต้องประกอบด้วยชอบธรรม
หยุดเพราะว่ายุบสภาได้มาแล้ว
เราได้แนวนำเสนอไม่เพ้อพร่ำ
เป็นไปตามยุทธวิธีที่ชี้นำ
ให้ค่อยกินทีละคำจดหมดจาน
เหมือนจะยอม เหมือนจะแพ้ แท้แล้วสู้
ข้างหน้าคุก รออยู่ ไม่สะท้าน
เพื่อหยุดการเข่นฆ่าอย่างสามานย์
นี้คือการ เรียกร้อง หยุดของเรา
(บันทึกนี้เขียนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553)
บันทึกฉบับที่ 1 (การยุทธและการหยุด) โดย วิสา คัญทัพ
ร่วมกับแกนนำนปช.รายอื่น ๆ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ของนายวีระ มุสิกพงศ์ นายอดิศร เพียงเกษ
นางไพจิตร อักษรณรงค์ และนายวิสา คัญทัพ ซึ่งนายวิสาได้เขียนขึ้นและนำไปเผยแพร่ในเว็บเพจเฟซบุ๊กของตนเอง
มติชนออนไลน์เห็นว่างานชิ้นนี้มีความน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้
บันทึกของ วิสา คัญทัพ (ฉบับที่ 1)
เรื่องการยุทธและการหยุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553
. ทำไม วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จึงเขียนจดหมายประกาศยุติบทบาทการต่อสู้
โดยประกาศลงที่สถานีบางซื่อ ไม่ขอเดินทางต่อไปถึงสถานีหัวลำโพง
คำตอบย่อมมาจากการกลั่นกรองเหตุผลหลายประการ จนตกผลึกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ไม่ยอมให้มีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อประชาชนอีกต่อไป
เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ยึดมั่นแนวทางสันติวิธีในการต่อสู้
เป็นการตัดสินใจที่เห็นว่าข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลแล้ว
ตามเงื่อนไขที่ได้เจรจากัน ดังที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนการเจรจา และผ่านมติเป็นเอกฉันท์ในทุกเรื่อง
. รายละเอียดสุดท้ายคือการให้ประกันตัวแกนนำทั้ง 24 คน ซึ่งรัฐบาลยอมรับ
ขณะที่แกนนำบางส่วนไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะทำตามคำพูด เพราะหลายคนยังหวั่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ทั้งยังเพิ่มข้อเรียกร้องเรื่องนายสุเทพ เทือกสุบรรณต้องมอบตัวให้ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม
กรณีสั่งฆ่าประชาชน 10 เมษาฯ อ้างว่าเพื่อเป็นการรับผิดชอบกับชีวิตวีรชนประชาธิปไตย
ข้อเรียกร้องเรื่องสุเทพมอบตัว ทำให้เกิดความสับสนในข้อกฎหมายว่าจะสิ้นสุดลงอย่างไร
จึงจะเป็นที่ยอมรับของแกนนำคนเสื้อแดง
. วีระ มุสิกพงศ์ เลือกลดบทบาทจากแกนนำลงไปเป็นคนเสื้อแดงธรรมดาเพราะเห็นว่า
การทำตามสัจจะที่ได้ประกาศไว้มีความสำคัญต่อสังคมอย่างที่สุด
เมื่อประกาศร่วมกันว่าทั้งสองฝ่ายพร้อมเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ไม่เอาการนิรโทษกรรม ย่อมถือว่าสังคมรับรู้แล้ว เมื่อประกาศจะยุบสภาตามวันเวลาที่ชัดแจ้ง
ก็ผูกมัดรัฐบาลต่อสายตาสังคมโลก แกนนำคนเสื้อแดงสมควรมอบตัวโดยมิต้องหวั่นไหวใดๆ
แม้จะมีการหักหลัง จับกุมกักขังไม่ให้ประกัน แม้อภิสิทธิ์ สุเทพจะหลบหลีกไม่ยอมมอบตัว
ก็เป็นเรื่องปกติของฝ่ายที่ยึดกุมอำนาจรัฐที่สามารถกระทำเช่นนั้นได้
ส่วนเราจะยื้อยุดฉุดดึงไปก็ไร้ประโยชน์ เพราะในความเป็นจริง กระบวนการเอาผิดทางกฎหมายต่อรัฐบาล
อาชญากรมือเปื้อนเลือดก็มิได้ยุติลงในรัฐบาลชุดนี้ อภิสิทธิ์ - สุเทพ หนีความผิดไม่พ้น
ความไม่ชอบธรรมจะตกอยู่กับอภิสิทธิ์ - สุเทพทันที
การเลือกยุติการชุมนุมในจังหวะนี้ ความชอบธรรมจะอยู่กับฝ่าย นปช.
สำคัญที่สุด ประชาชนไม่สมควรต้องสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีกเป็นอันขาด
ประชาชนคนเสื้อแดงจะต้องกลับบ้านอย่างปลอดภัย
องค์กร นปช.แดงทั้งแผ่นดินยังคงเคลื่อนไหว ในหนทางสันติวิธีต่อไปได้
รัฐบาลจะถูกกดดันจากทุกภาคส่วนของสังคม ให้ดำเนินการทุกอย่างไปสู่การยุบสภา
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ จะกลายเป็นซากศพที่เดินได้
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อดิศร เพียงเกษ,ไพจิตร อักษรณรงค์ และผม เห็นด้วยและตัดสินใจลงสถานีเดียวกัน
แนวทางและชุดความคิดดังกล่าว ถูกมองว่าเป็นจิตใจจำนนและถอย ยอมรัฐบาลมากเกินไป
คนที่ยังไม่พร้อมจะลงจึงเดินทางต่อไป ถามว่า การเดินทางต่อมีความคิดชี้นำมาจากองค์ประกอบอื่นๆ
นอกเหนือจากแกนนำที่ร่วมประชุมกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง จึงยังไม่อยากวิเคราะห์ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตาม แนวทางและชุดความคิดนี้หากมองกลับเป็นตรงกันข้าม
ย่อมสามารถมองว่าเป็นการ "ต่อสู้" ได้ เพราะการที่แกนนำเดินทางเข้ามอบตัว
โดยไม่หวั่นกลัวต่อการจับกุมคุมขัง เท่ากับ แกนนำยอมเสียสละอิสรภาพของตน
เพื่อแลกกับการให้ประชาชนกลับบ้าน โดยไม่สูญเสีย ไม่ต้องตายกันอีก เป็นการลงอย่างสันติวิธี ไม่รุนแรง
รักษาองค์กรให้คงอยู่และเคลื่อนไหวต่อสู้ต่อไปได้
หลังการประชุมในตู้คอนเทนเนอร์ ที่เวทีราชประสงค์สิ้นสุดลง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553
วีระ มุสิกพงศ์ ไม่ได้ขึ้นพูดบนเวทีในคืนนั้น แล้วหายไปจากเวที
ส่วน อดิศร เพียงเกษ,ไพจิตร อักษรณรงค์ และผม ยังอยู่ต่อ และเข้าร่วมประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553
อดิศร ชี้แจงเหตุผลที่เขาต้องยุติบทบาท แล้วลงจากตู้คอนเทนเนอร์ไปก่อนการประชุมจะสิ้นสุดลง
ส่วน ไพจิตรและผมได้แจ้งที่ประชุมว่า จะขอลงสถานีบางซื่อเช่นเดียวกับวีระและอดิศร
เช้าวันรุ่งขึ้น ไพจิตร อักษรณรงค์ก็ล้มป่วยเป็นไข้หวัด เจ็บคอ ไม่มีเสียง นอนพักรักษาตัว
เราสามคนไม่ได้กลับเข้าไปที่เวทีตั้งแต่วันนั้น
เมื่อครั้งที่ผมและไพจิตร อักษรณรงค์ได้รับมอบหมายให้ดูแลเวทีปราศรัยที่ผ่านฟ้าลีลาศ
ก่อนเกิดเหตุการณ์ 10 เมษายน เราคุมสถานการณ์ด้วยสันติวิธี ขณะเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาบินวนในช่วงบ่ายวันนั้น
ผมประกาศให้คนออกมาจากเต็นท์ให้หมด มารวมกันหน้าเวที
เพื่อให้เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินที่บินสังเกตุการณ์ ได้เห็นว่ามีคนเสื้อแดงมากมาย
ผมให้พี่น้องนั่งลง สงบนิ่ง ตั้งสติ ทำสมาธิ ยึดหลักการสันติอหิงสา
ปล่อยให้ตำรวจทหารเข้ามาโดยไม่ขัดขวาง หากเขาจะมาจับแกนนำ
ให้เปิดทางให้เขาเข้ามาจับบนเวที พวกเราพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียใดๆกับพี่น้องประชาชน
หลังจากผมพูดจบลง ไมโครโฟนก็ถูกแย่งดึงโดยบางคนที่ปลุกเร้าเร่าร้อน
ระดมกำลังให้ออกไปปะทะเผชิญสะกัดกั้น ไม่ให้ตำรวจทหารผ่านเข้ามาตามด่านต่างๆ
ผลักดันสถานการณ์ไปสู่ความรุนแรง ผมเดินลงจากเวที เพราะผมไม่อยู่ในฐานะที่ไปห้ามปรามแล้วเพื่อนๆจะฟัง
และไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดสวนทางกันให้สับสน ในใจคิดว่าหากมีการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีก คงรับไม่ไหว
ผมติดต่อไปหาณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่เวทีราชประสงค์ให้มาคุมสถานการณ์ที่นี่ด้วยตัวเอง ก่อนที่มันจะลุกลามบานปลาย
แต่ไม่เป็นผล ที่สุดก็ปะทะกันรุนแรง หลังเหตุการณ์นี้ผมเร่งเร้าให้ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ยุติเวทีที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
หากไม่มีคนนำที่แกนนำเชื่อฟังมาคุมเวที ก่อนที่ประวัติศาตร์นองเลือดจะซ้ำรอย
ซึ่งเป็นผลสำเร็จในที่สุดเมื่อตกลงย้ายการชุมนุมไปรวมที่ราชประสงค์จุดเดียว
กรณี 10 เมษายน 2553 คุกคามจิตใจผมให้หดหู่ ขมขื่น และเจ็บปวดอย่างหนัก
สำหรับผม พอแล้ว มันเขียนอะไรไม่ออก มันบอกอะไรไม่ถูก มันไม่ได้สร้างพลังอะไรเลย
นอกจากสำนึกแห่งธรรมที่ว่าการฆ่าคือบาป และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการฆ่าเล่า จะพ้นบาปไปได้อย่างไร
วันที่ 10 พฤษภาคม 2553 เมื่อประธานวีระ มุสิกพงศ์ ลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" บรรลุแล้ว
และแนวทางการต่อสู้ส่อเค้าจะหลุดเฟรมแห่งสันติวิธี มีสำเนียงบางอย่างกระตุ้นเร้าความรุนแรงแทรกซ้อนการนำของ นปช.
ผมจึงเห็นด้วยและขอลงสถานีเดียวกับวีระ ใครจะชิงชังรังเกียจและหยามเหยียดอย่างไรก็ว่ากันไป
เรารับเสียงร่ำไห้แห่งความโศกเศร้า เลือดเนื้อ น้ำตา การบาดเจ็บ สูญเสีย ไม่ได้อีกแล้ว
บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แจงเหตุผลแห่งการยุติบทบาทอย่างเป็นทางการของผมและไพจิตร อักษรณรงค์
หยุดคือหยุด ไม่ให้ใคร ต้องตายอีก
หยุดคือหลีก ความรุนแรง อันแฝงฝัง
หยุดแล้วมวลชนได้ไม่พ่ายพัง
หยุดเขาขังหลอกเราก็เข้าใจ
หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน
ถ้าเราหยุดละวางตรงบางซื่อ
จักได้ความเชื่อถือมหาศาล
คลื่นอธรรมก็จะซัดใส่รัฐบาล
ดำเนินการต้องประกอบด้วยชอบธรรม
หยุดเพราะว่ายุบสภาได้มาแล้ว
เราได้แนวนำเสนอไม่เพ้อพร่ำ
เป็นไปตามยุทธวิธีที่ชี้นำ
ให้ค่อยกินทีละคำจดหมดจาน
เหมือนจะยอม เหมือนจะแพ้ แท้แล้วสู้
ข้างหน้าคุก รออยู่ ไม่สะท้าน
เพื่อหยุดการเข่นฆ่าอย่างสามานย์
นี้คือการ เรียกร้อง หยุดของเรา
(บันทึกนี้เขียนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553)