การประชุม COP29 ระบุ 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลต่างๆ ยังลดแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ได้
https://thematter.co/brief/234500/234500
หนึ่งในรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ถูกพูดถึงในการประชุม COP29 ระบุว่า ความพยายามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถลดแนวโน้มที่โลกจะร้อนขึ้น แม้ว่าประเทศต่างๆ จะมารวมตัวกันหลายครั้ง เพื่อหารือวิธีควบคุมภาวะโลกร้อนก็ตาม
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate
Change Conference of the Parties หรือ UNFCCC COP) ครั้งที่ 29 ที่จัดขึ้น ณ กรุงบากู อาเซอร์ไบจาน เป็นเวทีสำหรับประเทศต่างๆ มาร่วมกันกำหนดเป้าหมายใหม่ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับหาแนวทางว่า ประเทศร่ำรวยจะสนับสนุนเงินและทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือโลกได้อย่างไร
ทั้งนี้ รายงานของ Climate Action Tracker (CAT) หรือกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษานโยบายของรัฐบาลต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เตือนว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิโลก ตอนนี้ยังคงอยู่ที่ 2.7 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
การคาดการณ์ดังกล่าวอาจชี้ว่า ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา นโยบายลดโลกร้อนของรัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถลดแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
“
การคาดการณ์ภาวะโลกร้อนของเรา ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย ตั้งแต่ปี 2021 รัฐบาลต่างๆ ดูเหมือนจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เห็นผลชัดเจน ในการยับยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน ตั้งแต่อากาศร้อนจัด ไปจนถึงน้ำท่วม และไฟป่า”
บิล แฮร์ (Bill Hare) ซีอีโอของ Climate Analytics หรือสถาบันวิทยาศาสตร์ระดับโลก ผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวแสดงความกังวล
เขากล่าวเสริมว่า หากการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้น และการคาดการณ์อุณหภูมิไม่ลดลงอีกเช่นนี้ เราควรสงสัยว่า การเจรจาเรื่องสภาพอากาศของสหประชาชาติ หรือที่เรียกว่า COP มีประโยชน์หรือไม่
“
มีหลายอย่างที่เกิดขึ้นในด้านดี แต่ในภาพรวมของการดำเนินการ เพื่อลดการปล่อยมลพิษนั้น… สำหรับผมแล้ว มันดูไม่สมเหตุสมผล”
แฮร์กล่าว
แม้ว่าที่ผ่านมา จะมีเวทีระดับโลกที่พยายามหารือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคน ยังคงกังวลว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จะมีแนวโน้มจะเลวร้ายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ที่ผ่านมา เราต่างเห็นความรุนแรงจากปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วมหนัก และอากาศร้อน ที่รุนแรงจนอันตรายต่อมนุษย์
อ้างอิงจาก
apnews.com
newclimate.org
เปิดใจ นันทิยา ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.สมุทรสงคราม พรรคประชาชน อาสาพัฒนาจังหวัดเติบโต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4905310
นันทิยา ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.สมุทรสงคราม เปิดใจหลังพรรคประชาชนเปิดตัวให้ลงในนามพรรค
จากกรณี นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน และ นายศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรคประชาชน แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ในนามพรรคประชาชน จำนวน 12 คน ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน มุกดาหาร หนองคาย
ตราด ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี พังงา สงขลา สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และ นนทบุรี โดยว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.สมุทรสงคราม คือ น.ส.
นันทิยา ลิขิตอำนวยชัย หรือ เก่ง นั้น
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน น.ส.
นันทิยา เปิดเผยว่า สาเหตุที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สมุทรสงคราม เนื่องจากมีความตั้งใจในการพัฒนา จ.สมุทรสงคราม แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ศักยภาพไม่ได้เล็กตามพื้นที่ ทั้ง 3 อำเภอมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งภาคประมง เกษตรกรรม การท่องเที่ยว
น.ส.
นันทิยาล่าวว่า อีกทั้งชาวสมุทรสงครามก็มีอัธยาศัยดี จริงใจ ใจดี หากใส่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ใส่ความรู้ความสามารถที่มีเข้าไป ทำให้สมุทรสงครามพัฒนาเติบโตมากกว่านี้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว รวมทั้งผลผลิตต่างๆ ด้วย
ส่วนทำไมต้องลงในนามพรรคประชาชนนั้น น.ส.นันทิยากล่าวว่า นอกจากตนและที่ปรึกษา ทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในพื้นที่แล้ว ยังได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถระดับประเทศจากพรรคประชาชน ที่จะเข้ามาสนับสนุน ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้การบริหารงานของตนได้ครอบคลุมและสามารถเปลี่ยนแปลงจังหวัดให้ดีขึ้นแน่นอน
น.ส.
นันทิยากล่าวว่า สโลแกนเปลี่ยนสมุทรสงครามเพื่อสร้างและส่งต่อบ้านเมืองที่ดีให้กับลูกหลานของเราคือตนจะเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยจะดึงการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนเข้ามาช่วยกันพัฒนา จ.สมุทรสงคราม ให้มีเศรษฐกิจดี กินดีอยู่ดี สุขภาพดี ทำทุกอย่างให้เกิดความยั่งยืน เพื่อส่งต่อสู่ลูกหลานของชาวสมุทรสงครามในอนาคต
อดิศร ร่ายกลอน เย้ยพรรคปชน. เลือกอบจ.ทีไรแพ้ทุกที ด้าน ส.ส.เชตวัน เขียน 4 บรรทัดโต้คืน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4904742
อดิศร ร่ายกลอน เย้ยพรรคปชน. เลือกอบจ.ทีไรแพ้ทุกที ด้าน ส.ส.เชตวัน เขียน 4 บรรทัดโต้คืน
ควันหลงจาก 2 พรรคใหญ่ เพื่อไทย กับ ประชาชน ยกทัพใหญ่ไปช่วยผู้สมัครตัวเอง ไปหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานีนั้น ล่าสุด นาย
อดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ร่ายบทกลอนผ่านแพลตฟอร์ม X ถึงกรณีพรรคประชาชน โดยมีเนื้อหาดังนี้
ยังไม่เห็นชนะที่ไหน
เลือกอบจ. ทีไรแพ้ทุกที
พิษณุโลก เมืองกาญจน์ ราชบุรี
ที่อุดรธานี ก็ (จะ) เหมือนกัน
ด้าน นาย
เชตวัน เตือประโคน ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาชน อดีตนักเขียน นักกวี ในนามปากกา “
เวฬุ เวสารัช” ได้ร่ายกลอนตอบโต้กลอนของนายอดิศร ดังนี้
แพ้เพื่อสะสมชัยชนะ
แต่ตระบัดสัตย์ย้ายขั้ว รับบ่ได้
เลือกตั้ง ปี 70 คือหมุดหมาย
“ประชาชน” จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน.
https://x.com/slide2495p/status/1857893719749562511
https://x.com/ChetawanPPLE/status/1858069153250513085
สศช. ประเมินลึกนโยบายรัฐบาล “โดนัลด์ ทรัมป์” เขย่าเศรษฐกิจไทยหนัก
https://www.thansettakij.com/business/economy/612204
เลขาฯ สศช. ประเมินผลกระทบนโยบายประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นรัฐบาล แนะทุกหน่วยงานเกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทยหนัก หลังเช็คข้อมูลเดิมสมัยแรกทรัมป์ทำเศรษฐกิจชะลอตัว
วันนี้ (18 สิงหาคม 2567) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 และปี 2568 ว่า ความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดในตอนนี้ นั่นคือ ความไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะเรื่องการกีดกันทางการค้า และความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งเกี่ยวกับการสู้รบที่ยังยังไม่เบาบางลง
ทั้งนี้จากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ โดยเฉพาะเรื่องการกีดกันทางการค้า ซึ่งจากการเก็บข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ตลอดระยะเวลาที่โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ สมัยแรก ปี 2560 มีมาตรการออกมาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 จนถึงปี 2561 ขณะที่จีนก็มีการออกมาตรการตอบโต้สหรัฐเช่นกัน
นายดนุชา กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาแนวทางการรองรับผลกระทบกับประเทศไทยหากสหรัฐและจีนออกมาตรการกีดกันทางการค้าอีกครั้งนั้น เห็นว่ามี 2 เรื่องที่ต้องติดตาม คือ การติดตามความรุนแรงของมาตรการต่าง ๆ ที่จะออกมาว่าจะครอบคลุมด้านใดบ้าง อีกเรื่องคือต้องดูระยะเวลาว่าจะออกมาช่วงใด ก่อนหาทางรับมือต่อไป
"จากข้อมูลที่มีในสมัยที่สองของประธานาธิบดีทรัมป์ ก็อาจแตกต่างกับสมัยแรก โดยภาคการส่งออกของไทยในช่วงต้นน่าจะส่งออกได้อยู่ในไตรมาสแรกต่อเนื่องถึงไตรมาสที่สอง แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของมาตรการที่จะออกมา เพราะเรื่องนี้จะสร้างความผันผวนต่อเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนด้วย โดยภาคเอกชนที่นำเข้าและส่งออกสินค้าต้องมีเครื่องมือทางการเงินเข้ามาบริหารจัดการด้วย" นายดนุชา กล่าว
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาข้อมูลด้านการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีในสมัยแรก จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2562 จะเริ่มชะลอตัวลง เช่นเดียวกับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบ โดยทุกหน่วยงานต้องติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และรวบรวมข้อมูลต่าง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
ขณะเดียวกันในประเด็นเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปแน่นอน ทั้งอัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน รวมไปถึงการเฝ้าระวังเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้
สำหรับข้อเสนอแนวนโยบายของรัฐบาลสหรัฐ ในเบื้องต้นมีรายละเอียดที่ต้องติดตามอยกเป็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การค้าระหว่างประเทศ : การปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทุกประเภท โดยสินค้าจากประเทศจีนอาจมีการเก็บภาษีในอัตรา 60% และ 10-20% สำหรับประเทศอื่น ๆ และการยกเลิกหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) ที่ให้กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน และการถอนตัวจากการกรอบความร่วมมือ Indo-Pacific Economic Framework (IPEF)
แรงงานผู้อพยพ : การเพิ่มความเข้มงวดในการจ้างงานชาวต่างชาติด้วยวีซ่า H-1B รวมถึงการบังคับให้นายจ้างมีการยืนยันสถานะทางการกฎหมาย ของลูกจ้าง และการเข้มงวดกับการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย และการงดการให้สิทธิการเป็นสัญชาติอเมริกันสำหรับเด็กที่เกิดในประเทศ แต่บุพการีไม่มีใบแจ้งการอพยพถิ่นฐาน
ภาษี : การบังคับใช้มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล (Tax Cuts and Jobs Act: TCJA) เป็นการถาวร หลังจากที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2560 และมีกำหนดสิ้นสุดในปี 2568 รวมทั้งการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 20-21% เป็น 15% สำหรับประเทศที่มีการผลิตภายในประเทศ
สิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด : การสนับสนุนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดเงินลงทุนภายใต้กฎหมาย Inflation Reduction Act การยกเลิกเครดิต ภาษีคาร์บอนและเงินสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผ่อนคลายมาตรการควบคุมด้านมลพิษ และการถอนตัวการเป็นสมาชิกของความตกลงปารีส (Paris Agreement)
การเมืองระหว่างประเทศ : ลดการมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งระหว่างประเทศ และมีจุดยืนที่ไม่สนับสนุน NATO และการยกเลิกความช่วยเหลือแก่ยูเครนแต่ยังให้การสนับสนุนอิสราเอล รวมถึงการเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน
JJNY : 5in1 3ปีที่ผ่านมา ยังลดอุณหภูมิโลกไม่ได้│เปิดใจนันทิยา│ร่ายกลอน เชตวันโต้คืน│สศช.ประเมิน“ทรัมป์”│รัสเซียชี้สหรัฐ
https://thematter.co/brief/234500/234500
หนึ่งในรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ถูกพูดถึงในการประชุม COP29 ระบุว่า ความพยายามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถลดแนวโน้มที่โลกจะร้อนขึ้น แม้ว่าประเทศต่างๆ จะมารวมตัวกันหลายครั้ง เพื่อหารือวิธีควบคุมภาวะโลกร้อนก็ตาม
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate
Change Conference of the Parties หรือ UNFCCC COP) ครั้งที่ 29 ที่จัดขึ้น ณ กรุงบากู อาเซอร์ไบจาน เป็นเวทีสำหรับประเทศต่างๆ มาร่วมกันกำหนดเป้าหมายใหม่ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับหาแนวทางว่า ประเทศร่ำรวยจะสนับสนุนเงินและทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือโลกได้อย่างไร
ทั้งนี้ รายงานของ Climate Action Tracker (CAT) หรือกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษานโยบายของรัฐบาลต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เตือนว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิโลก ตอนนี้ยังคงอยู่ที่ 2.7 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
การคาดการณ์ดังกล่าวอาจชี้ว่า ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา นโยบายลดโลกร้อนของรัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถลดแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
“การคาดการณ์ภาวะโลกร้อนของเรา ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย ตั้งแต่ปี 2021 รัฐบาลต่างๆ ดูเหมือนจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เห็นผลชัดเจน ในการยับยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน ตั้งแต่อากาศร้อนจัด ไปจนถึงน้ำท่วม และไฟป่า”
บิล แฮร์ (Bill Hare) ซีอีโอของ Climate Analytics หรือสถาบันวิทยาศาสตร์ระดับโลก ผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวแสดงความกังวล
เขากล่าวเสริมว่า หากการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้น และการคาดการณ์อุณหภูมิไม่ลดลงอีกเช่นนี้ เราควรสงสัยว่า การเจรจาเรื่องสภาพอากาศของสหประชาชาติ หรือที่เรียกว่า COP มีประโยชน์หรือไม่
“มีหลายอย่างที่เกิดขึ้นในด้านดี แต่ในภาพรวมของการดำเนินการ เพื่อลดการปล่อยมลพิษนั้น… สำหรับผมแล้ว มันดูไม่สมเหตุสมผล” แฮร์กล่าว
แม้ว่าที่ผ่านมา จะมีเวทีระดับโลกที่พยายามหารือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคน ยังคงกังวลว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จะมีแนวโน้มจะเลวร้ายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ที่ผ่านมา เราต่างเห็นความรุนแรงจากปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วมหนัก และอากาศร้อน ที่รุนแรงจนอันตรายต่อมนุษย์
อ้างอิงจาก
apnews.com
newclimate.org
เปิดใจ นันทิยา ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.สมุทรสงคราม พรรคประชาชน อาสาพัฒนาจังหวัดเติบโต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4905310
นันทิยา ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.สมุทรสงคราม เปิดใจหลังพรรคประชาชนเปิดตัวให้ลงในนามพรรค
จากกรณี นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน และ นายศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรคประชาชน แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ในนามพรรคประชาชน จำนวน 12 คน ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน มุกดาหาร หนองคาย
ตราด ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี พังงา สงขลา สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และ นนทบุรี โดยว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.สมุทรสงคราม คือ น.ส.นันทิยา ลิขิตอำนวยชัย หรือ เก่ง นั้น
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน น.ส.นันทิยา เปิดเผยว่า สาเหตุที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สมุทรสงคราม เนื่องจากมีความตั้งใจในการพัฒนา จ.สมุทรสงคราม แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ศักยภาพไม่ได้เล็กตามพื้นที่ ทั้ง 3 อำเภอมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งภาคประมง เกษตรกรรม การท่องเที่ยว
น.ส.นันทิยาล่าวว่า อีกทั้งชาวสมุทรสงครามก็มีอัธยาศัยดี จริงใจ ใจดี หากใส่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ใส่ความรู้ความสามารถที่มีเข้าไป ทำให้สมุทรสงครามพัฒนาเติบโตมากกว่านี้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว รวมทั้งผลผลิตต่างๆ ด้วย
ส่วนทำไมต้องลงในนามพรรคประชาชนนั้น น.ส.นันทิยากล่าวว่า นอกจากตนและที่ปรึกษา ทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในพื้นที่แล้ว ยังได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถระดับประเทศจากพรรคประชาชน ที่จะเข้ามาสนับสนุน ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้การบริหารงานของตนได้ครอบคลุมและสามารถเปลี่ยนแปลงจังหวัดให้ดีขึ้นแน่นอน
น.ส.นันทิยากล่าวว่า สโลแกนเปลี่ยนสมุทรสงครามเพื่อสร้างและส่งต่อบ้านเมืองที่ดีให้กับลูกหลานของเราคือตนจะเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยจะดึงการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนเข้ามาช่วยกันพัฒนา จ.สมุทรสงคราม ให้มีเศรษฐกิจดี กินดีอยู่ดี สุขภาพดี ทำทุกอย่างให้เกิดความยั่งยืน เพื่อส่งต่อสู่ลูกหลานของชาวสมุทรสงครามในอนาคต
อดิศร ร่ายกลอน เย้ยพรรคปชน. เลือกอบจ.ทีไรแพ้ทุกที ด้าน ส.ส.เชตวัน เขียน 4 บรรทัดโต้คืน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4904742
อดิศร ร่ายกลอน เย้ยพรรคปชน. เลือกอบจ.ทีไรแพ้ทุกที ด้าน ส.ส.เชตวัน เขียน 4 บรรทัดโต้คืน
ควันหลงจาก 2 พรรคใหญ่ เพื่อไทย กับ ประชาชน ยกทัพใหญ่ไปช่วยผู้สมัครตัวเอง ไปหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานีนั้น ล่าสุด นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ร่ายบทกลอนผ่านแพลตฟอร์ม X ถึงกรณีพรรคประชาชน โดยมีเนื้อหาดังนี้
ยังไม่เห็นชนะที่ไหน
เลือกอบจ. ทีไรแพ้ทุกที
พิษณุโลก เมืองกาญจน์ ราชบุรี
ที่อุดรธานี ก็ (จะ) เหมือนกัน
ด้าน นายเชตวัน เตือประโคน ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาชน อดีตนักเขียน นักกวี ในนามปากกา “เวฬุ เวสารัช” ได้ร่ายกลอนตอบโต้กลอนของนายอดิศร ดังนี้
แพ้เพื่อสะสมชัยชนะ
แต่ตระบัดสัตย์ย้ายขั้ว รับบ่ได้
เลือกตั้ง ปี 70 คือหมุดหมาย
“ประชาชน” จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน.
https://x.com/slide2495p/status/1857893719749562511
https://x.com/ChetawanPPLE/status/1858069153250513085
สศช. ประเมินลึกนโยบายรัฐบาล “โดนัลด์ ทรัมป์” เขย่าเศรษฐกิจไทยหนัก
https://www.thansettakij.com/business/economy/612204
เลขาฯ สศช. ประเมินผลกระทบนโยบายประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นรัฐบาล แนะทุกหน่วยงานเกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทยหนัก หลังเช็คข้อมูลเดิมสมัยแรกทรัมป์ทำเศรษฐกิจชะลอตัว
วันนี้ (18 สิงหาคม 2567) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 และปี 2568 ว่า ความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดในตอนนี้ นั่นคือ ความไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะเรื่องการกีดกันทางการค้า และความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งเกี่ยวกับการสู้รบที่ยังยังไม่เบาบางลง
ทั้งนี้จากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ โดยเฉพาะเรื่องการกีดกันทางการค้า ซึ่งจากการเก็บข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ตลอดระยะเวลาที่โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ สมัยแรก ปี 2560 มีมาตรการออกมาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 จนถึงปี 2561 ขณะที่จีนก็มีการออกมาตรการตอบโต้สหรัฐเช่นกัน
นายดนุชา กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาแนวทางการรองรับผลกระทบกับประเทศไทยหากสหรัฐและจีนออกมาตรการกีดกันทางการค้าอีกครั้งนั้น เห็นว่ามี 2 เรื่องที่ต้องติดตาม คือ การติดตามความรุนแรงของมาตรการต่าง ๆ ที่จะออกมาว่าจะครอบคลุมด้านใดบ้าง อีกเรื่องคือต้องดูระยะเวลาว่าจะออกมาช่วงใด ก่อนหาทางรับมือต่อไป
"จากข้อมูลที่มีในสมัยที่สองของประธานาธิบดีทรัมป์ ก็อาจแตกต่างกับสมัยแรก โดยภาคการส่งออกของไทยในช่วงต้นน่าจะส่งออกได้อยู่ในไตรมาสแรกต่อเนื่องถึงไตรมาสที่สอง แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของมาตรการที่จะออกมา เพราะเรื่องนี้จะสร้างความผันผวนต่อเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนด้วย โดยภาคเอกชนที่นำเข้าและส่งออกสินค้าต้องมีเครื่องมือทางการเงินเข้ามาบริหารจัดการด้วย" นายดนุชา กล่าว
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาข้อมูลด้านการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีในสมัยแรก จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2562 จะเริ่มชะลอตัวลง เช่นเดียวกับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบ โดยทุกหน่วยงานต้องติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และรวบรวมข้อมูลต่าง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
ขณะเดียวกันในประเด็นเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปแน่นอน ทั้งอัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน รวมไปถึงการเฝ้าระวังเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้
สำหรับข้อเสนอแนวนโยบายของรัฐบาลสหรัฐ ในเบื้องต้นมีรายละเอียดที่ต้องติดตามอยกเป็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การค้าระหว่างประเทศ : การปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทุกประเภท โดยสินค้าจากประเทศจีนอาจมีการเก็บภาษีในอัตรา 60% และ 10-20% สำหรับประเทศอื่น ๆ และการยกเลิกหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) ที่ให้กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน และการถอนตัวจากการกรอบความร่วมมือ Indo-Pacific Economic Framework (IPEF)
แรงงานผู้อพยพ : การเพิ่มความเข้มงวดในการจ้างงานชาวต่างชาติด้วยวีซ่า H-1B รวมถึงการบังคับให้นายจ้างมีการยืนยันสถานะทางการกฎหมาย ของลูกจ้าง และการเข้มงวดกับการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย และการงดการให้สิทธิการเป็นสัญชาติอเมริกันสำหรับเด็กที่เกิดในประเทศ แต่บุพการีไม่มีใบแจ้งการอพยพถิ่นฐาน
ภาษี : การบังคับใช้มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล (Tax Cuts and Jobs Act: TCJA) เป็นการถาวร หลังจากที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2560 และมีกำหนดสิ้นสุดในปี 2568 รวมทั้งการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 20-21% เป็น 15% สำหรับประเทศที่มีการผลิตภายในประเทศ
สิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด : การสนับสนุนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดเงินลงทุนภายใต้กฎหมาย Inflation Reduction Act การยกเลิกเครดิต ภาษีคาร์บอนและเงินสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผ่อนคลายมาตรการควบคุมด้านมลพิษ และการถอนตัวการเป็นสมาชิกของความตกลงปารีส (Paris Agreement)
การเมืองระหว่างประเทศ : ลดการมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งระหว่างประเทศ และมีจุดยืนที่ไม่สนับสนุน NATO และการยกเลิกความช่วยเหลือแก่ยูเครนแต่ยังให้การสนับสนุนอิสราเอล รวมถึงการเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน