ได้เคยบอกกับคุณ Cantona_z ไว้นานแล้วว่าจะพูดถึงเรื่องสุญญตาให้ฟัง วันนี้ก็ว่างพอดี เลยเอามาลงให้อ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหมู่พุทธศาสนิกชนเถรวาทและมหายาน
ก่อนอื่น ขอบอกว่าการศึกษาเรื่องสุญญตา เป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจเรื่องอนัตตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ถ้าเราเข้าใจสุญญตาได้ ก็เข้าใจอนัตตาได้เช่นเดียวกัน
ก่อนอื่นมาดูประวัติของท่านผู้ก่อตั้งนิกายนี้ก่อน
ประวัติพระนาคารชุน
ผู้ก่อตั้งพุทธปรัชญาสายนี้ คือ พระนาคารชุน เนื่องจากประวัติของท่านมักมีการกล่าวถึงในแง่ปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก สำหรับประวัติของท่านในฐานะที่เป็นบุคคลจริง ๆ ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า ท่านถือกำเนิดที่เมืองวิทารภะ ในแคว้นโกศลภาคใต้ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร แห่งราชวงศ์อันธระ ราวพุทธศักราช ๖๐๐ – ๗๐๐ ปี ท่านนาคารชุนน่าจะเกิดในช่วงนี้ ดังเช่นที่อาจารย์มุซาชิ ตาชิกาวะ ผู้เขียน An Troduction to the Philosophy of Ngrjuna ได้กำหนดช่วงสมัยของพระนาคารชุนว่า น่าจะอยู่ราว ๆ ปีพ.ศ. ๖๔๓ – ๗๔๓ ไม่เกินนี้
เล่ากันว่า เพราะมารดาของท่านได้ให้กำเนิดท่านที่ใต้ต้นไม้ชื่อว่า อรชุน ท่านจึงได้ชื่อว่า อรชุน ส่วนคำว่า นาคารชุน นั้น เป็นชื่อที่ได้มาเมื่อท่านได้ไปพบกับพวกนาค ซึ่งคอยดูแลคัมภีร์มหายานที่ชื่อ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ที่เมืองนาคพิภพ
ท่านนาคารชุนเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้มาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทากับพระอาจารย์สราหภัทร หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์ราหุลภัทรผู้เป็นอธิการบดีของนาลันทา จนกระทั่งเมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุ ก็ได้รับความไว้วางใจจากพระอาจารย์ให้เป็นพระผู้ดูแลนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และเป็นอธิการบดีแห่งนาลันทาองค์ต่อมา
มีตำนานเล่าว่า เนื่องจากท่านมีความแตกฉานในพระสัทธรรมและนานาลัทธิ ท่านจึงใช้เวลาไปกับการสอนธรรมะแก่พระนักศึกษา และโต้วาทีกับพวกพราหมณ์และเจ้าลัทธิในสมัยนั้น จนครั้งหนึ่ง พวกนาคได้มาฟังธรรมจากท่านแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้นิมนต์ท่านไปยังนาคพิภพ แล้วพาไปชมห้องมหาสมบัติ แล้วมอบถวายพระคัมภีร์ “มหาปรัชญาปารมิตาสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญที่เก็บรักษาที่เมืองนาคไว้ช้านานแล้ว ท่านพระนาคารชุน (อรชุน-ผู้ยิ่งใหญ่ของพวกนาค) ท่านได้ศึกษาคัมภีร์ดังกล่าวจนถี่ถ้วนและทะลุปรุโปร่ง เมื่อกลับมาเมืองมนุษย์ก็ได้นำคัมภีร์ดังกล่าวติดตัวมาด้วย และท่านก็ได้ตั้งหลักปรัชญามาธยมิกะวาท โดยใช้ฐานจากพระสูตรนี้เอง
อาจารย์ เค. สัตจิทานันทะ มูรติ (K. Satchidananda Murty) ได้ให้ข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ต้องมีตำนานการได้คัมภีร์ดังกล่าวมาจากพวกนาค อาจเป็นเพราะว่าท่านได้ตั้งหลักปรัชญาขึ้นบนพื้นฐานของคัมภีร์นี้ และเพื่อให้คัมภีร์นี้ ซึ่งเป็นคัมภีร์มหายานที่เกิดขึ้นใหม่ (ตามที่ทราบกันดีว่า ฝ่ายมหายานได้แต่งคัมภีร์ พระสูตรขึ้นเองมากมาย) ได้รับการยอมรับ จึงต้องมีตำนานว่า ท่านได้รับคัมภีร์นี้มา ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ โดยแท้ แต่เก็บรักษาไว้ที่เมืองนาค
ท่านได้ใช้เวลาตลอดทั้งชีวิตในการตั้งหลักปรัชญาศูนยวาท หรือมาธยมิกวาท ด้วยเหตุที่หลักปรัชญาของท่านนั้นลึกซึ้งยิ่งใหญ่ ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า เป็น Second Buddha (พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง)
สำหรับบั้นปลายชีวิตของท่าน เหตุการณ์หรือประวัติการมรณภาพของท่านนั้น ส่วนมากมีกล่าวไว้เป็นตำนานมากกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ที่พอจะกล่าวถึงเป็นหลักฐานได้บ้างก็คือ ท่านมรณภาพเมื่ออายุได้ ๖๐ ปี ตลอดในช่วงชีวิต ท่านมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งเป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นเหมือนสหายธรรม คือ พระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร ท่านได้เคยเขียนจดหมายสอนธรรมถึงเพื่อนของท่านหลายฉบับ
ผลงานของพระนาคารชุน
คัมภีร์ที่ท่านได้รจนาไว้นั้นมีหลายเล่มด้วยกัน หากจะนำมาแสดงไว้ทั้งหมดก็จะเป็นการทำให้รายงานฉบับนี้ยาวเกินไป จึงขอนำมากล่าวถึงเฉพาะบางเล่ม
๑. คัมภีร์หมวดศาสนา - ปรัชญา
๑) มูลมาธยมิกการิกา หรือ มาธยมิกศาสตร์ หรือ โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง เป็นคัมภีร์ที่มีคาถา ๔๐๐ การิกา แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒๗ บท เนื้อความได้กล่าวถึงการใช้วิภาษวิธี (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นศูนยตาของสรรพสิ่ง สิ่งที่น่าสนใจของคัมภีร์นี้คือ ท่านนาคารชุนได้กล่าวถึงพระสูตรในฝ่ายเถรวาทสูตรหนึ่ง คือ กัจจานโคตตสูตร ซึ่งในพระสูตรดังกล่าว ได้กล่าวถึง “ความเป็น” และ “ความไม่เป็น” ว่า “การบอกว่า สิ่งนี้มี เป็นสุดโต่ง” การบอกว่า “สิ่งนี้ไม่มี ก็เป็นสุดโต่ง”
๒) ศูนยตาสัปตติ เป็นคัมภีร์ที่แต่งเป็นคาถา ๗๐ คาถา อธิบายเรื่องศูนยตา และความว่างเปล่า
๓) มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ เป็นคัมภีร์ที่แต่งอธิบายมหาปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นต้น
๒. คัมภีร์หมวดศิลปะการโต้วาที
๑) วิครหวยาวรตนี เป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องการปฏิเสธข้อโต้แย้งต่างๆ เป็นคาถา ๗๐ คาถา พร้อมด้วยอรรถกถาอธิบายโดยพระนาคารชุนเอง
๒) ไวทัลยสูตร / ไวทัลยปกรณะ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการแยกแยะข้อวินิจฉัยต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ๆ แบบวิภาษวิธี
๓. ผลงานประเภทจดหมายถึงเพื่อน
๑) สุหฤลเลขะ เป็นคัมภีร์ที่มีลักษณะเป็นจดหมาย หรือการเขียนสนทนา ของท่านไปถึงเพื่อน คือพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร แต่งเป็นคาถาจำนวน ๑๒๓ คาถา เนื้อความพูดถึงการประกอบกรรมดี หลักศีลธรรมที่ควรกระทำ ซึ่งเป็นการยืนยันว่า พระนาคารชุนท่านไม่ได้กล่าวถึงแต่เรื่องศูนยวาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หลักศีลธรรมอื่น ๆ ก็สำคัญเช่นกัน
๒) รัตนาวลี เป็นหนังสือสอนธรรมที่ท่านส่งไปถึงเพื่อนของท่าน คือพระเจ้ายัชศรีเคาตมีบุตร เช่นกัน
นอกจากคัมภีร์ที่ท่านพระนาคารชุนแต่ง เพื่ออธิบายปรัชญาธรรมของท่านแล้ว ก็มีลูกศิษย์ของท่าน เช่น พระอารยะเทพ ซึ่งได้แต่งคัมภีร์อธิบายหลักมาธยมิกวาทเหมือนกัน เช่น คัมภีร์ศตศาสตร์การิกา
หลักปรัชญาศูนยวาท หรือหลักสุญญตา
การจะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักปรัชญาศูนยวาท หรือหลักสุญญตานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย หรือก็คือเป็นเรื่องยากเอามาก ๆ เพราะเป็นปรัชญาที่ลึกซึ้ง และยากจะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ด้วยตัวอักษร อนึ่ง หลักศูนยวาทนั้น เป็นหลักธรรมที่เป็นดาบสองคม ดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดพูดคำว่าสุญญตา โดยไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องรองรับ ผู้นั้นย่อมเป็นอุจเฉททิฏฐิโดยถ่ายเดียว”
ข้อนี้หมายความว่า หลักปรัชญาสุญญวาท เป็นหลักเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการไม่ไปสู่สิ่งสุดโต่งสองด้าน ทั้งความมี และความไม่มี แต่เพราะคำว่า สุญญตา หมายถึงความเป็นสูญ คือความไม่มีอะไร จึงเสี่ยงมากที่จะเข้าใจไปว่า หมายถึงการไม่มีอะไร ๆ เลย
ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจคำว่า สุญญตา โดยความเป็นสุญญตาจริง ๆ ก็จะประหัตประหารกิเลส แต่ถ้าพูดคำว่าสุญญตา โดยไม่รู้จักว่า สุญญตาคืออะไร ผู้นั้นก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ มีที่ไปที่เดียวคือโลกันตนรก
ดังนั้น คำว่าสุญญตา ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ได้หมายถึงปรัชญาแห่งความศูนย์เปล่าแต่อย่างใด เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ศูนยวาท หรือมาธยมิกวาทะ ก็จะกลายเป็นอุจเฉทวาท อันเป็นมิจฉาทิฏฐิชนิดร้ายแรง
การจะทำความเข้าใจเรื่องศูนยวาทนั้น จึงต้องทำความเข้าใจไปทีละขั้น ๆ และต้องรู้จักหลักการอธิบายสุญญวาท โดยวิธีการที่พระนาคารชุน และสำนักปรัชญาสุญญวาท (ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่า มาธยมิก) ได้เสนอเอาไว้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
๑) ความหมายของคำว่าสุญญตา
คำว่า สุญญตา ไม่ได้หมายถึงความไม่มีอะไรเลย คำ ๆ นี้ หมายถึงการปฏิเสธคำบัญญัติ หรือความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ ว่า เป็นสิ่งนั้น เป็นสิ่งนี้ เช่น
- เชือกยาว / เชือกสั้น
- ใหญ่ / เล็ก
- ดี / ชั่ว
- มี / ไม่มี
- อวิชชา / วิชชา ฯลฯ
การยึดถือ ในบัญญัติเหล่านี้ หลักปรัชญามาธยมิก ถือว่าเป็นความสุดโต่ง เพราะเมื่อใดที่บอกว่า “เป็นนั่น” หรือ “เป็นนี่” ก็จะมีความรู้สึกกับสิ่งนั้นในแบบหนึ่ง ซึ่งความรู้สึกนั้น คือความยึดติด
ดังนั้น คำว่า สุญญตา คือความว่างเปล่าจากการบอกว่า มีสิ่งนั้นอยู่ หรือมีสิ่งนี้อยู่
หากจะอธิบายให้เห็นชัด ยกตัวอย่างเช่นเราบอกว่า “นรกสวรรค์นั้นมี”
สุญญตาก็จะบอกว่า “นรกสวรรค์ไม่มี”
แต่คำว่า ไม่มี ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการเป็นอุจเฉททิฏฐิ แต่หมายถึง คำบัญญัติอย่างนั้นน่ะ ไม่มี มันมีแต่สภาพที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของกันและกันเท่านั้น เช่น คนทำชั่ว ก็ไปตกนรก คนทำดี ก็ไปสวรรค์ ทั้งนรก และสวรรค์ ล้วนแต่ไม่มีทั้งนั้น มันมีแต่ความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
อธิบายให้เห็นชัดขึ้นไปอีกก็คือ นรกสวรรค์ เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย การไปนรกสวรรค์ ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เราจะบอกว่ามี ก็ไม่ถูก แต่จะบอกว่าไม่มี ก็ไม่ได้เช่นกัน
สุญญตา จึงเป็นคำ ปฏิเสธ ในการบอกว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้เป็นอย่างนี้ เพราะทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อสิ่งใดอาศัยเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็ไม่ได้มีอยู่เป็นอยู่โดยตัวมันเอง และเมื่อสิ่งใดต้องอาศัยเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็บอกไม่ได้ว่า มันเป็น หรือมันไม่เป็นอะไร เพราะเหตุนั้น มันจึงเป็นสุญญตา
หากจะเปรียบเทียบไปแล้ว เมื่อกับเราบอกว่า “มีเชือกยาว” และบอกว่า “มีเชือกสั้น”
แต่แท้จริง เชือกยาวเชือกสั้นนั้น ไม่มีอยู่เลย เพราะเราจะพูดว่า ยาว ก็ต้องอาศัย สั้น เทียบ จะพูดว่า สั้น ก็ต้องอาศัยยาวเทียบ
หากนำเอาเชือก ขนาดประมาณ ๓ เซน มาลองดู อาจจะมีผู้บอกว่า “เชือกเส้นนี้สั้น”
แต่ถ้ามีผู้นำเอาเชือก ขนาด ๑ เซน มาวางเทียบ เชือกยาว ๓ เซนที่มีผู้บอกว่า สั้น ก็จะกลายเป็นเชือกยาวขึ้นมาทันที
การบอกว่า ยาว และ สั้น จึงเป็นเพียงการเทียบกันเท่านั้น
ดังนั้น หลักสุญญตา จึงถูกเรียกโดยพระนาคารชุนว่า มาธยมิก คือ เป็นทางสายกลาง
เพราะไม่อยู่ในข่ายของอะไรเลย จึงเป็นทางสายกลาง ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้น และสิ่งนี้
๒) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่าสุญญตา
มีผู้เข้าใจผิดว่า สุญญตา ที่ท่านนาคารชุนนำเสนอขึ้นมานั้น เป็นการกล่าวถึงความไม่มีอะไรเลย อย่างอุจเฉททิฏฐิ คือทุกอย่างขาดสูญไปหมด ซึ่งการเข้าใจอย่างนี้ ถือว่าเข้าใจผิด เพราะคำว่า “ไม่มีอะไรเลย” ก็เป็นทางสุดโต่งทางหนึ่งเหมือนกัน สุญญตา เป็นการปฏิเสธแม้แต่จะบอกว่า “มี” หรือ “ไม่มี” อะไร เพราะสิ่งนั้นก็เป็นความ “มี” อย่างหนึ่งเหมือนกัน (มีในความมีอะไร, มีในความไม่มีอะไร)
ความเข้าใจผิดอีกแบบหนึ่งเกี่ยวกับคำว่าสุญญตา คือมีผู้เข้าใจว่า สุญญตาเป็นสภาพสูงสุดหรือ สภาพสัมบูรณ์ หรือ ความดีงามสูงสุด อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเข้าใจกันว่า มีการเข้าถึงอะไรสักอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า สุญญตา ซึ่งเป็นความจริงสูงสุดบางอย่าง ความเข้าใจอย่างนี้ก็ผิดเช่นกัน เพราะมาธยมิกถือว่า สุญญตา ไม่ใช่การเข้าถึงอะไรทั้งนั้น แต่เป็นการปฏิเสธความยึดถือในบัญญัติทั้งปวง หรือในการบอกว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งนี้
เนื่องจากการทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าสุญญตา นั้น ยังคลุมเครืออยู่มาก เพราะสุญญตา ไม่อาจเป็นได้แม้แต่ว่า มี หรือ ไม่มีอะไร แต่เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลาง ระหว่างสองสิ่ง หรือก็คือ ไม่เข้าไปเกาะเกี่ยวกับทิฏฐิทั้งสองประการ
อย่างไรก็ตาม เราอาจจะสรุปความหมายของคำว่าสุญญตา ที่แปลว่า “ความว่าง” ได้ว่า มีความหมายเดียวกับคำว่า “อนัตตา” ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะอย่างน้อยที่สุด สุญญตา ก็ไม่ได้หมายถึงความมีตัวตน หรือความปราศจากตัวตนอย่างแน่นอน ดังนั้น เราอาจใช้คำ และความหมายของคำว่า “อนัตตา” เพื่อใช้อธิบายสุญญตา ให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ เพราะเหตุที่สุญญตา เป็นคำปฏิเสธความมีอยู่ของตัวตนทั้งปวงนั่นเอง
ดังที่ท่านนาคารชุน กล่าวถึงสุญญตา ในลัทธิปรัชญาของท่านว่า
“สรวมฺ อนาตมํ” – สิ่งทั้งปวงไม่เป็นอัตตา
“สรวมฺ สุญญํ” – เพราะเหตุนั้นสิ่งทั้งปวงจึงว่างเปล่า
(มีต่อ)
ประวัติพระนาคารชุน และ ความเข้าใจเรื่องสุญญตา
ก่อนอื่น ขอบอกว่าการศึกษาเรื่องสุญญตา เป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจเรื่องอนัตตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ถ้าเราเข้าใจสุญญตาได้ ก็เข้าใจอนัตตาได้เช่นเดียวกัน
ก่อนอื่นมาดูประวัติของท่านผู้ก่อตั้งนิกายนี้ก่อน
ประวัติพระนาคารชุน
ผู้ก่อตั้งพุทธปรัชญาสายนี้ คือ พระนาคารชุน เนื่องจากประวัติของท่านมักมีการกล่าวถึงในแง่ปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก สำหรับประวัติของท่านในฐานะที่เป็นบุคคลจริง ๆ ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า ท่านถือกำเนิดที่เมืองวิทารภะ ในแคว้นโกศลภาคใต้ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร แห่งราชวงศ์อันธระ ราวพุทธศักราช ๖๐๐ – ๗๐๐ ปี ท่านนาคารชุนน่าจะเกิดในช่วงนี้ ดังเช่นที่อาจารย์มุซาชิ ตาชิกาวะ ผู้เขียน An Troduction to the Philosophy of Ngrjuna ได้กำหนดช่วงสมัยของพระนาคารชุนว่า น่าจะอยู่ราว ๆ ปีพ.ศ. ๖๔๓ – ๗๔๓ ไม่เกินนี้
เล่ากันว่า เพราะมารดาของท่านได้ให้กำเนิดท่านที่ใต้ต้นไม้ชื่อว่า อรชุน ท่านจึงได้ชื่อว่า อรชุน ส่วนคำว่า นาคารชุน นั้น เป็นชื่อที่ได้มาเมื่อท่านได้ไปพบกับพวกนาค ซึ่งคอยดูแลคัมภีร์มหายานที่ชื่อ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ที่เมืองนาคพิภพ
ท่านนาคารชุนเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้มาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทากับพระอาจารย์สราหภัทร หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์ราหุลภัทรผู้เป็นอธิการบดีของนาลันทา จนกระทั่งเมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุ ก็ได้รับความไว้วางใจจากพระอาจารย์ให้เป็นพระผู้ดูแลนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และเป็นอธิการบดีแห่งนาลันทาองค์ต่อมา
มีตำนานเล่าว่า เนื่องจากท่านมีความแตกฉานในพระสัทธรรมและนานาลัทธิ ท่านจึงใช้เวลาไปกับการสอนธรรมะแก่พระนักศึกษา และโต้วาทีกับพวกพราหมณ์และเจ้าลัทธิในสมัยนั้น จนครั้งหนึ่ง พวกนาคได้มาฟังธรรมจากท่านแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้นิมนต์ท่านไปยังนาคพิภพ แล้วพาไปชมห้องมหาสมบัติ แล้วมอบถวายพระคัมภีร์ “มหาปรัชญาปารมิตาสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญที่เก็บรักษาที่เมืองนาคไว้ช้านานแล้ว ท่านพระนาคารชุน (อรชุน-ผู้ยิ่งใหญ่ของพวกนาค) ท่านได้ศึกษาคัมภีร์ดังกล่าวจนถี่ถ้วนและทะลุปรุโปร่ง เมื่อกลับมาเมืองมนุษย์ก็ได้นำคัมภีร์ดังกล่าวติดตัวมาด้วย และท่านก็ได้ตั้งหลักปรัชญามาธยมิกะวาท โดยใช้ฐานจากพระสูตรนี้เอง
อาจารย์ เค. สัตจิทานันทะ มูรติ (K. Satchidananda Murty) ได้ให้ข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ต้องมีตำนานการได้คัมภีร์ดังกล่าวมาจากพวกนาค อาจเป็นเพราะว่าท่านได้ตั้งหลักปรัชญาขึ้นบนพื้นฐานของคัมภีร์นี้ และเพื่อให้คัมภีร์นี้ ซึ่งเป็นคัมภีร์มหายานที่เกิดขึ้นใหม่ (ตามที่ทราบกันดีว่า ฝ่ายมหายานได้แต่งคัมภีร์ พระสูตรขึ้นเองมากมาย) ได้รับการยอมรับ จึงต้องมีตำนานว่า ท่านได้รับคัมภีร์นี้มา ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ โดยแท้ แต่เก็บรักษาไว้ที่เมืองนาค
ท่านได้ใช้เวลาตลอดทั้งชีวิตในการตั้งหลักปรัชญาศูนยวาท หรือมาธยมิกวาท ด้วยเหตุที่หลักปรัชญาของท่านนั้นลึกซึ้งยิ่งใหญ่ ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า เป็น Second Buddha (พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง)
สำหรับบั้นปลายชีวิตของท่าน เหตุการณ์หรือประวัติการมรณภาพของท่านนั้น ส่วนมากมีกล่าวไว้เป็นตำนานมากกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ที่พอจะกล่าวถึงเป็นหลักฐานได้บ้างก็คือ ท่านมรณภาพเมื่ออายุได้ ๖๐ ปี ตลอดในช่วงชีวิต ท่านมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งเป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นเหมือนสหายธรรม คือ พระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร ท่านได้เคยเขียนจดหมายสอนธรรมถึงเพื่อนของท่านหลายฉบับ
ผลงานของพระนาคารชุน
คัมภีร์ที่ท่านได้รจนาไว้นั้นมีหลายเล่มด้วยกัน หากจะนำมาแสดงไว้ทั้งหมดก็จะเป็นการทำให้รายงานฉบับนี้ยาวเกินไป จึงขอนำมากล่าวถึงเฉพาะบางเล่ม
๑. คัมภีร์หมวดศาสนา - ปรัชญา
๑) มูลมาธยมิกการิกา หรือ มาธยมิกศาสตร์ หรือ โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง เป็นคัมภีร์ที่มีคาถา ๔๐๐ การิกา แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒๗ บท เนื้อความได้กล่าวถึงการใช้วิภาษวิธี (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นศูนยตาของสรรพสิ่ง สิ่งที่น่าสนใจของคัมภีร์นี้คือ ท่านนาคารชุนได้กล่าวถึงพระสูตรในฝ่ายเถรวาทสูตรหนึ่ง คือ กัจจานโคตตสูตร ซึ่งในพระสูตรดังกล่าว ได้กล่าวถึง “ความเป็น” และ “ความไม่เป็น” ว่า “การบอกว่า สิ่งนี้มี เป็นสุดโต่ง” การบอกว่า “สิ่งนี้ไม่มี ก็เป็นสุดโต่ง”
๒) ศูนยตาสัปตติ เป็นคัมภีร์ที่แต่งเป็นคาถา ๗๐ คาถา อธิบายเรื่องศูนยตา และความว่างเปล่า
๓) มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ เป็นคัมภีร์ที่แต่งอธิบายมหาปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นต้น
๒. คัมภีร์หมวดศิลปะการโต้วาที
๑) วิครหวยาวรตนี เป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องการปฏิเสธข้อโต้แย้งต่างๆ เป็นคาถา ๗๐ คาถา พร้อมด้วยอรรถกถาอธิบายโดยพระนาคารชุนเอง
๒) ไวทัลยสูตร / ไวทัลยปกรณะ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการแยกแยะข้อวินิจฉัยต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ๆ แบบวิภาษวิธี
๓. ผลงานประเภทจดหมายถึงเพื่อน
๑) สุหฤลเลขะ เป็นคัมภีร์ที่มีลักษณะเป็นจดหมาย หรือการเขียนสนทนา ของท่านไปถึงเพื่อน คือพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร แต่งเป็นคาถาจำนวน ๑๒๓ คาถา เนื้อความพูดถึงการประกอบกรรมดี หลักศีลธรรมที่ควรกระทำ ซึ่งเป็นการยืนยันว่า พระนาคารชุนท่านไม่ได้กล่าวถึงแต่เรื่องศูนยวาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หลักศีลธรรมอื่น ๆ ก็สำคัญเช่นกัน
๒) รัตนาวลี เป็นหนังสือสอนธรรมที่ท่านส่งไปถึงเพื่อนของท่าน คือพระเจ้ายัชศรีเคาตมีบุตร เช่นกัน
นอกจากคัมภีร์ที่ท่านพระนาคารชุนแต่ง เพื่ออธิบายปรัชญาธรรมของท่านแล้ว ก็มีลูกศิษย์ของท่าน เช่น พระอารยะเทพ ซึ่งได้แต่งคัมภีร์อธิบายหลักมาธยมิกวาทเหมือนกัน เช่น คัมภีร์ศตศาสตร์การิกา
หลักปรัชญาศูนยวาท หรือหลักสุญญตา
การจะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักปรัชญาศูนยวาท หรือหลักสุญญตานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย หรือก็คือเป็นเรื่องยากเอามาก ๆ เพราะเป็นปรัชญาที่ลึกซึ้ง และยากจะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ด้วยตัวอักษร อนึ่ง หลักศูนยวาทนั้น เป็นหลักธรรมที่เป็นดาบสองคม ดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดพูดคำว่าสุญญตา โดยไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องรองรับ ผู้นั้นย่อมเป็นอุจเฉททิฏฐิโดยถ่ายเดียว”
ข้อนี้หมายความว่า หลักปรัชญาสุญญวาท เป็นหลักเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการไม่ไปสู่สิ่งสุดโต่งสองด้าน ทั้งความมี และความไม่มี แต่เพราะคำว่า สุญญตา หมายถึงความเป็นสูญ คือความไม่มีอะไร จึงเสี่ยงมากที่จะเข้าใจไปว่า หมายถึงการไม่มีอะไร ๆ เลย
ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจคำว่า สุญญตา โดยความเป็นสุญญตาจริง ๆ ก็จะประหัตประหารกิเลส แต่ถ้าพูดคำว่าสุญญตา โดยไม่รู้จักว่า สุญญตาคืออะไร ผู้นั้นก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ มีที่ไปที่เดียวคือโลกันตนรก
ดังนั้น คำว่าสุญญตา ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ได้หมายถึงปรัชญาแห่งความศูนย์เปล่าแต่อย่างใด เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ศูนยวาท หรือมาธยมิกวาทะ ก็จะกลายเป็นอุจเฉทวาท อันเป็นมิจฉาทิฏฐิชนิดร้ายแรง
การจะทำความเข้าใจเรื่องศูนยวาทนั้น จึงต้องทำความเข้าใจไปทีละขั้น ๆ และต้องรู้จักหลักการอธิบายสุญญวาท โดยวิธีการที่พระนาคารชุน และสำนักปรัชญาสุญญวาท (ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่า มาธยมิก) ได้เสนอเอาไว้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
๑) ความหมายของคำว่าสุญญตา
คำว่า สุญญตา ไม่ได้หมายถึงความไม่มีอะไรเลย คำ ๆ นี้ หมายถึงการปฏิเสธคำบัญญัติ หรือความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ ว่า เป็นสิ่งนั้น เป็นสิ่งนี้ เช่น
- เชือกยาว / เชือกสั้น
- ใหญ่ / เล็ก
- ดี / ชั่ว
- มี / ไม่มี
- อวิชชา / วิชชา ฯลฯ
การยึดถือ ในบัญญัติเหล่านี้ หลักปรัชญามาธยมิก ถือว่าเป็นความสุดโต่ง เพราะเมื่อใดที่บอกว่า “เป็นนั่น” หรือ “เป็นนี่” ก็จะมีความรู้สึกกับสิ่งนั้นในแบบหนึ่ง ซึ่งความรู้สึกนั้น คือความยึดติด
ดังนั้น คำว่า สุญญตา คือความว่างเปล่าจากการบอกว่า มีสิ่งนั้นอยู่ หรือมีสิ่งนี้อยู่
หากจะอธิบายให้เห็นชัด ยกตัวอย่างเช่นเราบอกว่า “นรกสวรรค์นั้นมี”
สุญญตาก็จะบอกว่า “นรกสวรรค์ไม่มี”
แต่คำว่า ไม่มี ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการเป็นอุจเฉททิฏฐิ แต่หมายถึง คำบัญญัติอย่างนั้นน่ะ ไม่มี มันมีแต่สภาพที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของกันและกันเท่านั้น เช่น คนทำชั่ว ก็ไปตกนรก คนทำดี ก็ไปสวรรค์ ทั้งนรก และสวรรค์ ล้วนแต่ไม่มีทั้งนั้น มันมีแต่ความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
อธิบายให้เห็นชัดขึ้นไปอีกก็คือ นรกสวรรค์ เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย การไปนรกสวรรค์ ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เราจะบอกว่ามี ก็ไม่ถูก แต่จะบอกว่าไม่มี ก็ไม่ได้เช่นกัน
สุญญตา จึงเป็นคำ ปฏิเสธ ในการบอกว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้เป็นอย่างนี้ เพราะทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อสิ่งใดอาศัยเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็ไม่ได้มีอยู่เป็นอยู่โดยตัวมันเอง และเมื่อสิ่งใดต้องอาศัยเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็บอกไม่ได้ว่า มันเป็น หรือมันไม่เป็นอะไร เพราะเหตุนั้น มันจึงเป็นสุญญตา
หากจะเปรียบเทียบไปแล้ว เมื่อกับเราบอกว่า “มีเชือกยาว” และบอกว่า “มีเชือกสั้น”
แต่แท้จริง เชือกยาวเชือกสั้นนั้น ไม่มีอยู่เลย เพราะเราจะพูดว่า ยาว ก็ต้องอาศัย สั้น เทียบ จะพูดว่า สั้น ก็ต้องอาศัยยาวเทียบ
หากนำเอาเชือก ขนาดประมาณ ๓ เซน มาลองดู อาจจะมีผู้บอกว่า “เชือกเส้นนี้สั้น”
แต่ถ้ามีผู้นำเอาเชือก ขนาด ๑ เซน มาวางเทียบ เชือกยาว ๓ เซนที่มีผู้บอกว่า สั้น ก็จะกลายเป็นเชือกยาวขึ้นมาทันที
การบอกว่า ยาว และ สั้น จึงเป็นเพียงการเทียบกันเท่านั้น
ดังนั้น หลักสุญญตา จึงถูกเรียกโดยพระนาคารชุนว่า มาธยมิก คือ เป็นทางสายกลาง
เพราะไม่อยู่ในข่ายของอะไรเลย จึงเป็นทางสายกลาง ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้น และสิ่งนี้
๒) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่าสุญญตา
มีผู้เข้าใจผิดว่า สุญญตา ที่ท่านนาคารชุนนำเสนอขึ้นมานั้น เป็นการกล่าวถึงความไม่มีอะไรเลย อย่างอุจเฉททิฏฐิ คือทุกอย่างขาดสูญไปหมด ซึ่งการเข้าใจอย่างนี้ ถือว่าเข้าใจผิด เพราะคำว่า “ไม่มีอะไรเลย” ก็เป็นทางสุดโต่งทางหนึ่งเหมือนกัน สุญญตา เป็นการปฏิเสธแม้แต่จะบอกว่า “มี” หรือ “ไม่มี” อะไร เพราะสิ่งนั้นก็เป็นความ “มี” อย่างหนึ่งเหมือนกัน (มีในความมีอะไร, มีในความไม่มีอะไร)
ความเข้าใจผิดอีกแบบหนึ่งเกี่ยวกับคำว่าสุญญตา คือมีผู้เข้าใจว่า สุญญตาเป็นสภาพสูงสุดหรือ สภาพสัมบูรณ์ หรือ ความดีงามสูงสุด อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเข้าใจกันว่า มีการเข้าถึงอะไรสักอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า สุญญตา ซึ่งเป็นความจริงสูงสุดบางอย่าง ความเข้าใจอย่างนี้ก็ผิดเช่นกัน เพราะมาธยมิกถือว่า สุญญตา ไม่ใช่การเข้าถึงอะไรทั้งนั้น แต่เป็นการปฏิเสธความยึดถือในบัญญัติทั้งปวง หรือในการบอกว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งนี้
เนื่องจากการทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าสุญญตา นั้น ยังคลุมเครืออยู่มาก เพราะสุญญตา ไม่อาจเป็นได้แม้แต่ว่า มี หรือ ไม่มีอะไร แต่เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลาง ระหว่างสองสิ่ง หรือก็คือ ไม่เข้าไปเกาะเกี่ยวกับทิฏฐิทั้งสองประการ
อย่างไรก็ตาม เราอาจจะสรุปความหมายของคำว่าสุญญตา ที่แปลว่า “ความว่าง” ได้ว่า มีความหมายเดียวกับคำว่า “อนัตตา” ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะอย่างน้อยที่สุด สุญญตา ก็ไม่ได้หมายถึงความมีตัวตน หรือความปราศจากตัวตนอย่างแน่นอน ดังนั้น เราอาจใช้คำ และความหมายของคำว่า “อนัตตา” เพื่อใช้อธิบายสุญญตา ให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ เพราะเหตุที่สุญญตา เป็นคำปฏิเสธความมีอยู่ของตัวตนทั้งปวงนั่นเอง
ดังที่ท่านนาคารชุน กล่าวถึงสุญญตา ในลัทธิปรัชญาของท่านว่า
“สรวมฺ อนาตมํ” – สิ่งทั้งปวงไม่เป็นอัตตา
“สรวมฺ สุญญํ” – เพราะเหตุนั้นสิ่งทั้งปวงจึงว่างเปล่า
(มีต่อ)