ยังเป็นปัญหาแก้ไม่ตกสำหรับการทำธุรกรรมของธนาคารรัฐ ที่มีการข้ามเส้นไปแย่งการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ จนทำให้เอกชนมีปัญหาต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงอย่างที่ไม่ควรเป็น
แม้ว่าที่ผ่านมา กระทรวงการคลังในฐานะที่กำกับธนาคารรัฐ จะออกมายืนยันกับสมาคมธนาคารไทย เมื่อครั้งที่ขอโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) โดยคลังจะกำกับดูแลไม่ให้ธนาคารของรัฐไปแย่งธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์แล้วก็ตาม
แต่ในการปฏิบัติจริงยังพบว่า ทั้งการฝากเงินและการให้สินเชื่อของธนาคารรัฐ ได้เข้าไปแย่งลูกค้าธนาคารพาณิชย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
ที่เห็นได้ชัดคือ การระดมเงินฝากของธนาคารรัฐทั้งในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ที่สามารถออกเป็นสลาก ธ.ก.ส. และสลากออมสิน จูงใจให้ผู้ฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์จำนวนมากเทเงินมาซื้อสลากของธนาคารรัฐทั้งสองแห่ง
เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการซื้อสลากก็เหมือนการซื้อหวย ได้ลุ้นรางวัลใหญ่เงินล้านทุกเดือน แถมเงินต้นยังไม่หายเหมือนการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล และยังได้ดอกเบี้ยอีกต่างหากแม้ว่าจะต่ำกว่าเงินฝากทั่วไปก็ตาม
ยังไม่รวมถึงสลากชุดพิเศษ ที่มีการแจกรถ แจกทองเพิ่ม เพื่อล่อใจผู้ฝากเงินมาซื้อสลาก ที่ทั้งสองแห่งจะออกแคมเปญเหล่านี้ตอนที่ต้องการระดมเงินฝากมากๆ
การที่ธนาคารรัฐมีแต้มต่อจากการระดมเงินฝากได้มากและต้นทุนต่ำ ทำให้ปล่อยกู้ดอกเบี้ยไม่สูง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์อยู่ในภาวะเสียเปรียบทั้งขึ้นทั้งล่องมากขึ้นเรื่อยๆ
ยิ่งที่ผ่านมา มีธนาคารรัฐบางแห่งยังมาปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายใหญ่ ยิ่งเป็นการแย่งลูกค้าธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกนโยบายไม่ให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้รายใหญ่แล้วก็ตาม แต่ก็ยังเปิดทางให้ปล่อยกู้กับรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ได้อยู่ดี
ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ที่ผ่านมาก็มีการปรับตัวสู้ ทั้งการออกแคมเปญทำธุรกรรมเงินฝากขอสินเชื่อกับธนาคารได้โทรศัพท์มือถือบ้าง ไอแพดบ้าง แต่ก็โดนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สั่งห้าม เพราะทำให้ลูกค้าไม่สามารถคำนวณผลตอบแทนที่ได้รับแท้จริงได้
การกำกับคนละมาตรฐานภายใต้กฎหมายที่ต่างกัน เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้การแข่งขันของธนาคารรัฐและพาณิชย์มีการเหลื่อมล้ำกันจนแก้ไม่ตก
กระทรวงการคลังกำกับธนาคารรัฐแบบผ่อนปรน เพื่อให้มีการปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้มากที่สุด ขณะที่ ธปท. กำกับดูแลธนาคารอย่างเข้มงวดเพื่อความแข็งแรงของสถาบันการเงินเอง และกับระบบเศรษฐกิจไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนปี 2540 ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อจำนวนมากจนฟองสบู่เศรษฐกิจและหนี้เสียท่วมธนาคารพาณิชย์
หรือแม้แต่นโยบายของรัฐบาลเองก็ทำให้การแข่งขันของธนาคารทั้งสองระบบไม่เป็นธรรม รัฐบาลนี้ได้เข้ามาดำเนินการโอนภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท ให้ ธปท.รับผิดชอบ โดยให้ไปเก็บค่าธรรมเนียมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.47% มาใช้หนี้ดังกล่าว
ธนาคารพาณิชย์ออกมาโวยรัฐบาลว่าการดำเนินการทำให้ธนาคารพาณิชย์เสียเปรียบธนาคารรัฐเพิ่มขึ้นอีก เป็นช่องให้ธนาคารพาณิชย์กดดันรัฐบาลให้เก็บค่าธรรมเนียมธนาคารรัฐด้วยเช่นกัน เพื่อให้ต้นทุนระดมเงินฝากของธนาคารรัฐเพิ่มสูงขึ้น ลดการได้เปรียบของธนาคารรัฐที่มีมากกว่าธนาคารพาณิชย์ให้ลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการตาม แต่เวลาผ่านมากว่า 1 ปี การออกกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียมธนาคารรัฐยังไม่ได้เสร็จ ทำให้ปัจจุบันธนาคารรัฐก็ยังได้เปรียบธนาคารพาณิชย์ในจุดนี้เหมือนเดิม
ล่าสุด ธปท. เริ่มเห็นสัญญาณฟองสบู่และหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูง จึงขอความร่วมมือแกมบังคับไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ออกแคมเปญสินเชื่อบ้านดอกเบี้ย 0% เพื่อลดความร้อนแรงของธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีสัญญาณสูงผิดปกติจนนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมได้
ซึ่งธนาคารพาณิชย์ก็ให้ความร่วมมือกับ ธปท.เป็นอย่างดี แต่ทว่าธนาคารรัฐที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. กลับแย่งกันระดมเงินฝากสินเชื่อบ้าน 0% กันเป็นการใหญ่ โดยมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จุดพลุดอกเบี้ยบ้าน 0% นาน 8 เดือน
ขณะที่ธนาคารออมสินออกสินเชื่อบ้าน 0% นาน 6 เดือน เพื่อแข่งกับธนาคารรัฐด้วยกันเอง และยังเป็นการแย่งลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์ที่ถูกตัดแขนตัดขาไม่ให้มีแต้มต่อในส่วนนี้อีกด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังเตรียมออกสินเชื่อบ้าน 510 ล้านบาท เพื่อเป็นการแย่งลูกค้ารายได้น้อยจาก ธอส. แต่ในอีกทางหนึ่งก็ไปแข่งกันแย่งลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์อีกครา
การควบคุมต่างมาตรฐานต่างกฎหมาย ทำให้เห็นการแข่งขันที่เหลื่อมล้ำของธนาคารรัฐกับธนาคารพาณิชย์อย่างที่เห็น ที่สำคัญการดูแลที่ต่างกันดังกล่าว ยังมีผลกระทบกับการดูแลเศรษฐกิจในภาพใหญ่อีกด้วย
การถกเถียงกันระหว่างกระทรวงการคลังกับ ธปท. ในการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่า คลังกดดันให้ ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่ ธปท. ไม่ดำเนินการเพราะกลัวฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกและหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น
มีการพูดถึงการออกมาตรการควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจที่ตามมา แต่ ธปท.ระบุชัดว่าหากดำเนินการใช้กับธนาคารพาณิชย์ ก็ต้องใช้บังคับกับธนาคารรัฐด้วยเช่นกัน เพราะธนาคารรัฐปัจจุบันปล่อยสินเชื่อถึง 1 ใน 3 ของสินเชื่อทั้งระบบ
จะเห็นว่าการดูแลเศรษฐกิจให้ห่างจากฟองสบู่เศรษฐกิจรอบใหม่ ต้นตอไม่ได้มาจากธนาคารพาณิชย์เท่านั้น แต่มีต้นตอมาจากธนาคารรัฐด้วย ยิ่งในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา ธนาคารรัฐอย่างออมสินขึ้นแท่นเป็นธนาคารที่มีเงินฝากและปล่อยสินเชื่อมากอันดับต้นของธนาคารไทย เพราะการมีแต้มต่อที่ได้เปรียบธนาคารพาณิชย์อยู่มาก
การกำกับดูแลธนาคารรัฐและพาณิชย์ที่เป็นสองมาตรฐาน ยังส่งผลกระทบกับฐานะของธนาคารรัฐอีกด้วย ที่มีการกำกับดูแลที่หละหลวมและมาตรฐานต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มแบงก์) ที่ปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลสั่งจนเกิดเป็นหนี้เสียถึง 3.9 หมื่นล้านบาท หรือ 40% ของสินเชื่อทั้งหมด ส่วนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ก็ปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพทำให้เป็นหนี้เสียจำนวนไม่น้อยถึง 2.4 หมื่นล้านบาท หรือ 20% ของหนี้ทั้งหมด
ทั้งเอสเอ็มอีแบงก์และไอแบงก์มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่า 8.5% ตามมาตรฐานที่ ธปท.กำหนดใช้กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหากเป็นธนาคารพาณิชย์จะต้องถูกควบคุมกิจการเพื่อปกป้องผู้ฝากเงิน และความเสียหายของธนาคารที่จะเกิดขึ้นเพิ่ม
แต่เมื่อธนาคารรัฐทั้งสองแห่งมีรัฐบาลเป็นผู้ประกันเงินฝากร้อยเปอร์เซ็นต์ และฐานะของธนาคารจะแย่แค่ไหนก็เดินหน้าต่อไปได้ ทำให้กลายเป็นดาบสองคม คือธนาคารรัฐยังมีการดำเนินการที่สุ่มเสี่ยงเหมือนเดิม เพราะไม่ต้องกลัวเสียหาย มีรัฐค้ำประกันอยู่ตลอดเวลา
ความหย่อนยานในการกำกับดูแลธนาคารรัฐ นอกจากทำให้ความเหลื่อมล้ำการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ ยังเป็นชนวนสำคัญในการเร่งฟองสบู่เศรษฐกิจอีกด้วย
โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/221938/แบงก์รัฐ-เร่งฟองสบู่เศรษฐกิจ
แบงก์รัฐ เร่งฟองสบู่เศรษฐกิจ
แม้ว่าที่ผ่านมา กระทรวงการคลังในฐานะที่กำกับธนาคารรัฐ จะออกมายืนยันกับสมาคมธนาคารไทย เมื่อครั้งที่ขอโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) โดยคลังจะกำกับดูแลไม่ให้ธนาคารของรัฐไปแย่งธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์แล้วก็ตาม
แต่ในการปฏิบัติจริงยังพบว่า ทั้งการฝากเงินและการให้สินเชื่อของธนาคารรัฐ ได้เข้าไปแย่งลูกค้าธนาคารพาณิชย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
ที่เห็นได้ชัดคือ การระดมเงินฝากของธนาคารรัฐทั้งในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ที่สามารถออกเป็นสลาก ธ.ก.ส. และสลากออมสิน จูงใจให้ผู้ฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์จำนวนมากเทเงินมาซื้อสลากของธนาคารรัฐทั้งสองแห่ง
เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการซื้อสลากก็เหมือนการซื้อหวย ได้ลุ้นรางวัลใหญ่เงินล้านทุกเดือน แถมเงินต้นยังไม่หายเหมือนการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล และยังได้ดอกเบี้ยอีกต่างหากแม้ว่าจะต่ำกว่าเงินฝากทั่วไปก็ตาม
ยังไม่รวมถึงสลากชุดพิเศษ ที่มีการแจกรถ แจกทองเพิ่ม เพื่อล่อใจผู้ฝากเงินมาซื้อสลาก ที่ทั้งสองแห่งจะออกแคมเปญเหล่านี้ตอนที่ต้องการระดมเงินฝากมากๆ
การที่ธนาคารรัฐมีแต้มต่อจากการระดมเงินฝากได้มากและต้นทุนต่ำ ทำให้ปล่อยกู้ดอกเบี้ยไม่สูง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์อยู่ในภาวะเสียเปรียบทั้งขึ้นทั้งล่องมากขึ้นเรื่อยๆ
ยิ่งที่ผ่านมา มีธนาคารรัฐบางแห่งยังมาปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายใหญ่ ยิ่งเป็นการแย่งลูกค้าธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกนโยบายไม่ให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้รายใหญ่แล้วก็ตาม แต่ก็ยังเปิดทางให้ปล่อยกู้กับรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ได้อยู่ดี
ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ที่ผ่านมาก็มีการปรับตัวสู้ ทั้งการออกแคมเปญทำธุรกรรมเงินฝากขอสินเชื่อกับธนาคารได้โทรศัพท์มือถือบ้าง ไอแพดบ้าง แต่ก็โดนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สั่งห้าม เพราะทำให้ลูกค้าไม่สามารถคำนวณผลตอบแทนที่ได้รับแท้จริงได้
การกำกับคนละมาตรฐานภายใต้กฎหมายที่ต่างกัน เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้การแข่งขันของธนาคารรัฐและพาณิชย์มีการเหลื่อมล้ำกันจนแก้ไม่ตก
กระทรวงการคลังกำกับธนาคารรัฐแบบผ่อนปรน เพื่อให้มีการปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้มากที่สุด ขณะที่ ธปท. กำกับดูแลธนาคารอย่างเข้มงวดเพื่อความแข็งแรงของสถาบันการเงินเอง และกับระบบเศรษฐกิจไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนปี 2540 ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อจำนวนมากจนฟองสบู่เศรษฐกิจและหนี้เสียท่วมธนาคารพาณิชย์
หรือแม้แต่นโยบายของรัฐบาลเองก็ทำให้การแข่งขันของธนาคารทั้งสองระบบไม่เป็นธรรม รัฐบาลนี้ได้เข้ามาดำเนินการโอนภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท ให้ ธปท.รับผิดชอบ โดยให้ไปเก็บค่าธรรมเนียมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.47% มาใช้หนี้ดังกล่าว
ธนาคารพาณิชย์ออกมาโวยรัฐบาลว่าการดำเนินการทำให้ธนาคารพาณิชย์เสียเปรียบธนาคารรัฐเพิ่มขึ้นอีก เป็นช่องให้ธนาคารพาณิชย์กดดันรัฐบาลให้เก็บค่าธรรมเนียมธนาคารรัฐด้วยเช่นกัน เพื่อให้ต้นทุนระดมเงินฝากของธนาคารรัฐเพิ่มสูงขึ้น ลดการได้เปรียบของธนาคารรัฐที่มีมากกว่าธนาคารพาณิชย์ให้ลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการตาม แต่เวลาผ่านมากว่า 1 ปี การออกกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียมธนาคารรัฐยังไม่ได้เสร็จ ทำให้ปัจจุบันธนาคารรัฐก็ยังได้เปรียบธนาคารพาณิชย์ในจุดนี้เหมือนเดิม
ล่าสุด ธปท. เริ่มเห็นสัญญาณฟองสบู่และหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูง จึงขอความร่วมมือแกมบังคับไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ออกแคมเปญสินเชื่อบ้านดอกเบี้ย 0% เพื่อลดความร้อนแรงของธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีสัญญาณสูงผิดปกติจนนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมได้
ซึ่งธนาคารพาณิชย์ก็ให้ความร่วมมือกับ ธปท.เป็นอย่างดี แต่ทว่าธนาคารรัฐที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. กลับแย่งกันระดมเงินฝากสินเชื่อบ้าน 0% กันเป็นการใหญ่ โดยมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จุดพลุดอกเบี้ยบ้าน 0% นาน 8 เดือน
ขณะที่ธนาคารออมสินออกสินเชื่อบ้าน 0% นาน 6 เดือน เพื่อแข่งกับธนาคารรัฐด้วยกันเอง และยังเป็นการแย่งลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์ที่ถูกตัดแขนตัดขาไม่ให้มีแต้มต่อในส่วนนี้อีกด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังเตรียมออกสินเชื่อบ้าน 510 ล้านบาท เพื่อเป็นการแย่งลูกค้ารายได้น้อยจาก ธอส. แต่ในอีกทางหนึ่งก็ไปแข่งกันแย่งลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์อีกครา
การควบคุมต่างมาตรฐานต่างกฎหมาย ทำให้เห็นการแข่งขันที่เหลื่อมล้ำของธนาคารรัฐกับธนาคารพาณิชย์อย่างที่เห็น ที่สำคัญการดูแลที่ต่างกันดังกล่าว ยังมีผลกระทบกับการดูแลเศรษฐกิจในภาพใหญ่อีกด้วย
การถกเถียงกันระหว่างกระทรวงการคลังกับ ธปท. ในการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่า คลังกดดันให้ ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่ ธปท. ไม่ดำเนินการเพราะกลัวฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกและหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น
มีการพูดถึงการออกมาตรการควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจที่ตามมา แต่ ธปท.ระบุชัดว่าหากดำเนินการใช้กับธนาคารพาณิชย์ ก็ต้องใช้บังคับกับธนาคารรัฐด้วยเช่นกัน เพราะธนาคารรัฐปัจจุบันปล่อยสินเชื่อถึง 1 ใน 3 ของสินเชื่อทั้งระบบ
จะเห็นว่าการดูแลเศรษฐกิจให้ห่างจากฟองสบู่เศรษฐกิจรอบใหม่ ต้นตอไม่ได้มาจากธนาคารพาณิชย์เท่านั้น แต่มีต้นตอมาจากธนาคารรัฐด้วย ยิ่งในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา ธนาคารรัฐอย่างออมสินขึ้นแท่นเป็นธนาคารที่มีเงินฝากและปล่อยสินเชื่อมากอันดับต้นของธนาคารไทย เพราะการมีแต้มต่อที่ได้เปรียบธนาคารพาณิชย์อยู่มาก
การกำกับดูแลธนาคารรัฐและพาณิชย์ที่เป็นสองมาตรฐาน ยังส่งผลกระทบกับฐานะของธนาคารรัฐอีกด้วย ที่มีการกำกับดูแลที่หละหลวมและมาตรฐานต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มแบงก์) ที่ปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลสั่งจนเกิดเป็นหนี้เสียถึง 3.9 หมื่นล้านบาท หรือ 40% ของสินเชื่อทั้งหมด ส่วนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ก็ปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพทำให้เป็นหนี้เสียจำนวนไม่น้อยถึง 2.4 หมื่นล้านบาท หรือ 20% ของหนี้ทั้งหมด
ทั้งเอสเอ็มอีแบงก์และไอแบงก์มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่า 8.5% ตามมาตรฐานที่ ธปท.กำหนดใช้กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหากเป็นธนาคารพาณิชย์จะต้องถูกควบคุมกิจการเพื่อปกป้องผู้ฝากเงิน และความเสียหายของธนาคารที่จะเกิดขึ้นเพิ่ม
แต่เมื่อธนาคารรัฐทั้งสองแห่งมีรัฐบาลเป็นผู้ประกันเงินฝากร้อยเปอร์เซ็นต์ และฐานะของธนาคารจะแย่แค่ไหนก็เดินหน้าต่อไปได้ ทำให้กลายเป็นดาบสองคม คือธนาคารรัฐยังมีการดำเนินการที่สุ่มเสี่ยงเหมือนเดิม เพราะไม่ต้องกลัวเสียหาย มีรัฐค้ำประกันอยู่ตลอดเวลา
ความหย่อนยานในการกำกับดูแลธนาคารรัฐ นอกจากทำให้ความเหลื่อมล้ำการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ ยังเป็นชนวนสำคัญในการเร่งฟองสบู่เศรษฐกิจอีกด้วย
โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/221938/แบงก์รัฐ-เร่งฟองสบู่เศรษฐกิจ