*** Foreign Ex. >> แกะรอยบาท! เท่าไหร่ๆ จึง... " เหมาะสม? "

Siam Business  :  แกะรอยบาท! เท่าไหร่ๆ จึง... " เหมาะสม? "
       หากไปดูข้อเสนอ ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือ สภาอุตฯ ที่เสนอแนวทางแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า จะเห็นว่า ข้อเสนอส่วนใหญ่ ไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ เป็น ข้อเสนอเดิมๆ ทั้งสิ้น , ไม่ว่าจะเป็น ข้อเสนอให้ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย + การใช้มาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าหรือ ลดค่าธรรมเนียมในการซื้อเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Hedge)

Example เสนอให้ทาง เก็กซิม_Bank (EXIM Bank) มีวงเงินช่วยเหลือธุรกิจขนาด กลาง&ย่อม หรือ SMEs
       โดยการลดค่าธรรมเนียมซื้อความเสี่ยงค่าเงินล่วงหน้า หรือ Forward Contract เพราะ SMEs ส่วนใหญ่ ไม่มีเงินซื้อ Forward Contact เนื่องจาก กำไรที่ได้จากการส่งออก แต่ละล็อตไม่มาก ถ้าต้องใช้เงินจำนวนหนึ่งซื้อ Forward Contact ก็เหลือกำไร นิ๊ดดดดด.... เดียว! ผู้ประกอบการ SMEs จึงใช้ วิธี... " เสี่ยงดวง " ถ้าค่าเงินในวันที่ได้รับเงินค่าสินค้าไม่เปลี่ยนแปลง ก็... " OK. " หรือ ถ้าค่าเงินบาทอ่อนตัวถือว่าโชคดีกว่าที่คิด แต่ถ้าค่าเงินในช่วงดังกล่าวแข็งค่า ก็... " ตัวใคร_ตัวมัน "

       ซึ่งการทำสัญญา Forward Contact เป็นสัญญาการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนในวันส่งมอบ ไม่ว่าค่าเงิน ณ. เวลานั้น จะแข็งค่า หรืออ่อนค่า ก็ยังแลกได้ในอัตรา เท่าเดิม , นอกเหนือจาก การทำForward Contact แล้ว ยังมีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนอีกหลายประเภท ซึ่งการเลือกเครื่องมือประกันความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม จะต้องพิจารณาเงื่อนไขเฉพาะ ของเครื่องมือนั้นๆ ว่าเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่? ทว่า! นั่นก็ยังไม่สำคัญเท่ากับ ผู้ประกอบการไม่มีเงินทุนเพียงพอ ที่จะซื้อเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ข้อเรียกร้องนี้จึงเป็นเรื่องที่ ภาครัฐควรเร่งช่วยเหลือเป็นการด่วน ไม่ใช่ปล่อย เลยตามเลย

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ปธ.กก.หอการค้าไทย & สภาหอฯ กล่าวว่า...
     " ผู้ประกอบการมีการแก้ปัญหาโดยซื้อความเสี่ยง จาก อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Con-tract) แต่ SMEs หลายรายไม่สามารถซื้อ ได้เพราะ ไม่มีวงเงินและต้นทุนการซื้อความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทำให้กำไรลดลง ดังนั้น จึงเสนอให้ทาง EXIM BANK มีวงเงินช่วย SMEs โดยการลดๆๆ ค่าธรรมเนียมการซื้อความเสี่ยงล่วงหน้า " & ที่แย่กว่านั้นคือ ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราส่วนมากกว่า 6% แต่เพื่อนบ้าน อย่าง Vietnam - Malaysia กลับค่อนข้าง นิ้ง... นิ่ง! & บางประเทศอ่อนลง ด้วยซ้ำ ทำให้ Order บางส่วนที่หดหายจากประเทศไทย โผล่ไปใช้บริการในประเทศเหล่านั้นแทน เนื่องจาก ค่าจ้างผลิตถูกกว่า

     " ตอนนี้ภาคธุรกิจได้รับผลฯ จากการที่เงินบาทแข็งค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประเทศคู่ค้า มีค่าเงินที่อ่อน & ประเทศคู่แข่งเรา มีค่าเงินที่ค่อนข้างนิ่ง ขณะนี้ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก... มากส์ & ส่งผลต่อการขายของผู้ประกอบการ โดยไม่สามารถรับ Order_ล่วงหน้าได้ เพราะ ไม่สามารถตั้งราคาได้จากค่าเงินบาทไม่คงที่ >> หอการค้า จึงเสนอให้ ธปท. ร่วมกับ ก.การคลัง ควบคุมค่าเงินบาทให้คงที่ ไปในทางเดียวกันกับประเทศในภูมิภาค โดยอยู่ในระดับที่เหมาะสม "

ไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาปธ.สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า...
        รัฐบาล ต้องอย่าเข้าใจผิดว่า ผู้ส่งออกเรียกร้องให้ค่าเงินอ่อน เราต้องการให้อยู่ระดับที่เหมาะสม แล้วอยู่นิ่งๆ ไม่ผันผวนเร็ว ถ้าเงินบาทผันผวน เดี๋ยวอ่อน_เดี๋ยวแข็ง ก็ไม่มีใคร กล้าขายสินค้าล่วงหน้า เพราะกำหนดราคาไม่ได้ กลัวขาดทุน จากส่วนต่างค่าเงิน , กรณีที่รัฐบาล แนะนำให้ผู้ประกอบการขนาด กลาง&ย่อม หรือ SMEs ไปลงทุนในประเทศ เพื่อนบ้าน อย่าง... สปป.ลาว - กัมพูชา หรือพม่า เพื่อลดปัญหาด้านต้นทุน เป็นเพียงทฤษฎีที่พูดให้สวยหรู แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ , การจะไปลงทุนในต่างประเทศ ต้องใช้เวลาศึกษา อย่างน้อย 3 - 5ปี พูดวันนี้ พรุ่งนี้จะให้ไปลงทุนเลย ใครจะทำได้ แม้กระทั่ง บอกให้ใช้ช่วงเวลานี้ นำเข้าเครื่องจักรราคาถูก จากต่างประเทศ จะซื้อได้ยังไง ในเมื่อ... " ไม่มีเงิน "

ด้านศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ระบุว่า...
        การทำแบบสำรวจสอบถามผู้ประกอบการ ได้บทสรุปว่า อัตราค่าเงินบาทที่เหมาะสม ที่... ซู๊ดดดด! คือ 30.48บ.ต่อ 1$_สหรัฐ
.                      

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่