ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์แรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากสมาชิกทั่วประเทศ ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด 76 จังหวัด หอการค้าต่างประเทศ 35 ประเทศ สมาคมการค้า 138 สมาคม สมาชิกผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ประกอบการ ร้อยละ 93.9 ไม่เห็นด้วยกับ
นโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตรา 400 บาทต่อวัน เนื่องจาก ยังอยู่ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวน การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท (ขึ้น 30%) เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเกิน 400 บาท จะเป็นการเพิ่มเงินจากผู้ประกอบการเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 20,000 ล้านบาท
ดร.พจน์ กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงได้
เสนอข้อคิดเห็นต่อนโยบายรัฐบาล เรื่อง อัตราค่าจ้าง อาทิ ขอให้ทบทวนแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) รัฐบาลควรมีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติก่อนที่จะมีการพิจารณาประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างทุกครั้ง เนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการจ้างงานทั้งระบบ โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคบริการ ภาคท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้ง จะต้องพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามค่าแรงด้วย อีกทั้ง รัฐบาลควรเร่งกำหนดใช้ “อัตราค่าจ้างแรกเข้า” ในการประกาศใช้อัตราค่าจ้างครั้งต่อไปแทน “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” สิ่งสำคัญรัฐบาลควรส่งเสริม การจัดอบรม และมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงาน เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน
อย่างไรก็ตาม หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาชิกผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศ เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลในการยกระดับศักยภาพของแรงงาน รวมทั้งรายได้ของแรงงาน เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของภาคผู้ใช้แรงงานทั้งหมด การปรับขึ้นค่าจ้างควรคำนึงถึง ทักษะฝีมือแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ อัตราค่าครองชีพ ยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดเป็นสำคัญ และควรเป็นไปตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
หอการค้าฯ สำรวจความเห็นสมาชิกทั่ว ปท. “ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ”
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ประกอบการ ร้อยละ 93.9 ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตรา 400 บาทต่อวัน เนื่องจาก ยังอยู่ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวน การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท (ขึ้น 30%) เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเกิน 400 บาท จะเป็นการเพิ่มเงินจากผู้ประกอบการเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 20,000 ล้านบาท
ดร.พจน์ กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงได้เสนอข้อคิดเห็นต่อนโยบายรัฐบาล เรื่อง อัตราค่าจ้าง อาทิ ขอให้ทบทวนแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) รัฐบาลควรมีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติก่อนที่จะมีการพิจารณาประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างทุกครั้ง เนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการจ้างงานทั้งระบบ โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคบริการ ภาคท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้ง จะต้องพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามค่าแรงด้วย อีกทั้ง รัฐบาลควรเร่งกำหนดใช้ “อัตราค่าจ้างแรกเข้า” ในการประกาศใช้อัตราค่าจ้างครั้งต่อไปแทน “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” สิ่งสำคัญรัฐบาลควรส่งเสริม การจัดอบรม และมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงาน เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน
อย่างไรก็ตาม หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาชิกผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศ เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลในการยกระดับศักยภาพของแรงงาน รวมทั้งรายได้ของแรงงาน เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของภาคผู้ใช้แรงงานทั้งหมด การปรับขึ้นค่าจ้างควรคำนึงถึง ทักษะฝีมือแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ อัตราค่าครองชีพ ยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดเป็นสำคัญ และควรเป็นไปตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี