‘ชญาภา’ จวกปมตำรวจให้บริการแบบวีไอพี เหน็บง่วนสร้างพรรคใหม่ เมินแก้ปัญหาทุนจีนสีเทา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3786505
‘ชญาภา’ จวกปมตำรวจให้บริการแบบวีไอพี เป็นปลาตัวเดียวเน่าทั้งข้อง เปิดสถิติเดือนเดียวตั้ง กก.สอบไป 6 ชุด แนะแก้ต้นเหตุ เหน็บ มัวแต่ง่วนกับการสร้างพรรคใหม่ เมินแก้ปัญหาทุนจีนสีเทา
เมื่อวันที่ 24 มกราคม น.ส.
ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) และผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรค พท. กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวนักท่องเที่ยวชาวจีนอ้างว่าใช้บริการวีไอพีจากตำรวจไทยพร้อมจ่ายเงินตอบแทนว่า เป็นอีกครั้งที่ตำรวจไทยบางส่วนทำงามหน้าประเทศ เป็นปลาตัวเดียวที่ทำให้วงการสีกากีเน่าไปทั้งข้อง ทำเกียรติภูมิของตำรวจไทยเสียหาย สะท้อนไปถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เหลวแหลก พฤติกรรมของตำรวจบางกลุ่มที่ถูกเปิดโปง ต้องยอมรับว่าหากหัวไม่สั่นหางคงไม่กระดิกใช่หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่สั่นคลอนระบบราชการภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องรับผิดด้วย อย่ารับแต่ชอบ
น.ส.
ชญาภา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากี่กรณีแล้วที่พล.อ.ประยุทธ์ ปล่อยปละละเลยให้ธุรกิจสีเทาและทุนจีนสีเทาเฟื่องฟู ยาเสพติดระบาดเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง ระบบการส่งส่วยที่รับเงินสดแบบไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย เมื่อตรวจพบแต่ละครั้งก็ทำได้แค่ย้ายเข้ากรุ ตั้งคณะกรรมการสอบ โดยภายในเดือนมกราคม 2566 เพียงเดือนเดียวพบว่ามีการตั้งกรรมการสอบหน่วยงานของรัฐไปแล้ว 6 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง, กรณีพบส่วยในห้องทำงานข้าราชการระดับสูงกรมอุทยาน, กรณีตำรวจ 191 เรียกทรัพย์หลังค้นบ้านทุนจีนสีเทา, กรณีดีเอสไอกรณีเรียกทรัพย์ค้นบ้านทุนจีนสีเทา, กรณีเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ, กรณีช่วยเหลือคดีตู้ห่าว ซึ่งเพิ่มเติมจากเรื่องเก่าที่ยังไม่มีความคืบหน้า อย่างเรื่องเงินบริจาคของนายตู้ห่าวที่บริจาคให้พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จึงไม่อยากประเมินสถานการณ์ไปถึงอนาคตว่าประเทศไทยจะมีการตั้งคณะกรรมการไปอีกกี่ชุด ทั้งที่การแก้ไขที่ต้นเหตุสามารถทำได้ด้วยการมีผู้นำที่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา และเอาจริงเอาจังในการปราบปรามการทุจริตทุกรูปแบบมากกว่านี้ แต่พล.อ.ประยุทธ์กลับละเลย ฉายา 8 ปีที่แปดเปื้อน ที่สื่อตั้งให้คงสมฉายาแล้ว
“
การบริหารประเทศในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำนาจพิเศษ มาตรา 44 ปกครองประเทศมา 5 ปีโดยไร้การตรวจสอบ ยังปล่อยปละละเลยกรณีทุนจีนสีเทาของนายตู้ห่าวจึงเป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายบริหารจะไม่รับรู้ รัฐธรรมนูญปราบโกง รัฐธรรมนูญคนดี มาถึงวันนี้บ้านเมืองเต็มไปด้วยธุรกิจสีเทา ยาเสพติดระบาด แต่เหมือนพล.อ.ประยุทธ์จะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ยังง่วนกับการสร้างพรรค หวังอยากอยู่ในอำนาจต่อไปอีก ยังไม่ยอมตรวจสอบกรณีที่บริษัทของหลานชายได้งานของรัฐจำนวนมาก ถือเป็นการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ ไร้ประสิทธิภาพ นี่หรือคือการเมืองที่พล.อ.ประยุทธ์เพรียกหา ซึ่งล้มเหลวสิ้นเชิง” น.ส.
ชญาภา กล่าว
โอละพ่อ! รัฐแอบขึ้นค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 151-500 หน่วย ซ้ำเติม ปชช.
https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/554000
โอละพ่อ! รัฐแอบขึ้นค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 151-500 หน่วย ซ้ำเติมประชาชน หลัง กบง. มีมติออกมาตรการแสร้งช่วยเหลือลดค่าไฟประจำเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566
จากมติของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2566 สำหรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) ซึ่งเรียกเก็บที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยกลุ่มเปราะบาง ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ประมาณ 19.66 ล้านราย ประกอบด้วย
จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่ 1-150 หน่วย ส่วนลดค่าไฟฟ้า 92.04 สตางค์ต่อหน่วย ขณะที่จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่ 151-300 หน่วย ส่วนลดค่าไฟฟ้า 67.04 สตางค์ต่อหน่วย วงเงินช่วยเหลือประมาณ 7,500 ล้านบาทนั้น
แหล่งข่าว กล่าวถึงมาตรการดังกล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวหากดูในรายละเอียดจะพบว่า มีการขึ้นค่าไฟในส่วนของกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟตั้งแต่ 151-300 หน่วยต่อเดือน อีก 25 สตางค์ต่อหน่วย เท่ากับว่ากลุ่มนี้จะต้องจ่ายค่าไฟประมาณ 4 บาทต่อหน่วย ไม่ได้จ่ายราคาเดิมคือประมาณ 3.70 บาทต่อหน่วยเช่นเดียวกับกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟระหว่าง 1-150 หน่วยต่อเดือน
ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อเสนอของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่เสนอต่อ กบง. ขณะเดียวกันยังยกเลิกส่วนลดค่าไฟ 15-75% เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ไฟตั้งแต่ 301-500 หน่วยด้วย เท่ากับว่ามาตรการช่วยเหลือค่าไฟของรัฐบาลครั้งนี้มีการปรับรูปแบบ กลุ่มผู้ใช้ไฟตั้งแต่ 151-500 หน่วยต่อเดือนจะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มแน่นอนในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 แม้จะใช้ไฟเท่าเดิม
สำหรับมาตรการช่วยค่าไฟเดิมของงวดเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2565 ได้ตรึงค่าไฟ 3.70 บาทต่อหน่วยต่อเดือน โดยผู้ใช้ไฟกลุ่มเปราะบาง 1-300 หน่วย รวม 19.6 ล้านครัวเรือน ขณะที่กลุ่มใช้ไฟตั้งแต่ 301-500 หน่วย มีจำนวน 2.1 ล้านครัวเรือน
แต่มติกบง.ล่าสุดนี้ตรึงค่าไฟให้กลุ่มเปราะบาง 0-150 หน่วยต่อเดือน เพียง 14.7 ล้านครัวเรือน ขณะที่กลุ่มใช้ตั้งแต่ 151-300 หน่วยต่อเดือน จำนวน 4.9 ล้านครัวเรือนค่าไฟจะแพงขึ้นเพราะต้องจ่าย 4 บาทต่อหน่วย ขณะที่กลุ่มที่ใช้ตั้งแต่ 301-500 หน่วย จำนวน 2.1 ล้านครัวเรือน จะต้องจ่ายค่าไฟในอัตรา 4.72 บาทต่อหน่วยตามราคาปัจจุบัน
รายงานข่าวระบุว่า แนวทางการช่วยค่าไฟที่ กบง.เคาะครั้งนี้คือแนวทางที่ 3 จาก 4 แนวทางที่ กกพ.เสนอ ประกอบด้วย
• ลดค่าไฟเช่นเดียวกับงวดตุลาคม-ธันวาคม2566 ใช้วงเงิน 9,700 ล้านบาท
• ช่วยกลุ่ม 150 หน่วยแรกเท่าเดิมและปรับปรุงกลุ่ม151-500หน่วย วงเงิน 8,000 ล้านบาท
• ช่วยเฉพาะ 300 หน่วยแรก วงเงิน 7,500 ล้านบาท
• ช่วยครึ่งหนึ่งของกรณีศึกษา1 วงเงิน 4,800 ล้านบาท
สาเหตุของมติ กบง.ที่ลดการช่วยเหลือค่าไฟให้กลุ่มเปราะบางและเลิกช่วยประชาชนที่ใช้ไฟไม่ถึง 500 หน่วยต่อเดือน ทั้งที่เป็นมติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นั้น
มาจาก กกพ.มีความเห็นว่า แนวทางการช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟไม่ต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือนตามข้อเสนอของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ที่เสนอให้เพิ่มการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยโดยไม่ผ่านกระบวนการแยกก๊าซของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ(bypass gas)
แทนการจัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยกกพ.เห็นว่า ตามกฎหมายไม่น่าจะสอดคล้องกับมติ กพช. เพราะเป็นการลดต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติไปยังผู้ใช้ก๊าซฯทุกราย ไม่ได้เจาะจงกลุ่มเปราะบางโดยตรง
แต่หาก กบง.จะดำเนินการช่วยรูปแบบเดิมจะต้องเสนอ กพช.ให้มีมติสั่งการ กกพ.อีกครั้ง สรุปคือ กกพ.ไม่คัดค้าน แต่ก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องนี้ กบง.ในส่วนของ กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) พยายามคัดค้านแล้ว แต่กกพ.ยังยืนยันว่าตามกฎหมายทำไม่ได้
นอกจากจากความเห็นประเด็น bypass gas ของ กกพ.แล้ว ยังพบข้อจำกัดเรื่องงบประมาณเร่งด่วน เพราะเดิม กพช.ได้กำหนดให้ ปตท. สนับสนุนเงิน 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โรงแยกก๊าซธรรมชาติ 4,000 ล้านบาท และ bypass gas 2,000 ล้านบาท
ขณะที่อีก 1,500 ล้านบาทกระทรวงพลังงานเสนอขอใช้จากงบกลาง 2566 แต่จากความเห็น กกพ.ที่ไม่สามารถได้เงินจากbypass gas 2,000 ล้านบาทได้ ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเพิ่มวงเงินของบกลางเป็น 3,500 ล้านบาท ขณะที่งบกลางมีจำกัด ทำให้กระทรวงพลังงานค่อนข้างกังวลกับเรื่องนี้
"
มติของกกพ.เกิดขึ้นวันที่ 18 มกราคมช่วงเช้า จากนั้นนำเข้า กบง.ช่วงเย็นวันที่ 18 มกราคม หากกบง.ไม่เห็นชอบตามมติ กกพ. และเลือกเสนอ กพช. จะทำให้กระบวนการช่วยค่าไฟกลับไปเริ่มใหม่ และหากไม่เลือกตามแนวทางที่ กกพ.เสนอ งบประมาณจะยิ่งเกิดปัญหา"
โดยกระทรวงพลังงานต้องการช่วยตามกรณีศึกษา 1 คือ ช่วยเหมือนเดิม 1-500 หน่วย วงเงิน 9,700 ล้านบาท แต่งบกลางไม่พอเพราะต้องใช้สูงถึง 5,700 ล้านบาท เพราะปตท.ไม่สามารถนำเงินมาช่วยได้แล้ว เนื่องจากติดข้อกฎหมายตามที่กกพ.ตั้งข้อสังเกต
"สรท." วอน ธปท. ร่วมแก้ปัญหาบาทแข็งค่า ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ-ส่งออก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3786504
“สรท.” วอน ธปท. ร่วมแก้ปัญหาบาทแข็งค่า ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ-ส่งออก
เมื่อวันที่ 24 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ออกหนังสือถึงสื่อมวลชน โดยระบุว่า ได้รับทราบปัญหาการดำเนินธุรกิจจากสมาชิกซึ่งได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ผลิตเพื่อส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศในสัดส่วนสูง อาทิ กลุ่มสินค้าผักและผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง กระป๋องและแปรรูป ซึ่งสามารถส่งออกเติบโตในปี 2564 ซึ่งค่าเงินบาทอ่อนค่า แต่มูลค่าส่งออกกลับมาหดตัวในไตรมาส 3-4 ของปี 2565 และต่อเนื่องไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อค่าเงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่า โดยการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลต่อการกำหนดราคาและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในประเทศที่ค่าเงินอ่อนกว่าไทย ทั้งการทำสัญญาซื้อขายในปัจจุบันและตลอดปี 2566 ดังนั้น หากไม่สามารถรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าที่มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศในสัดส่วนสูงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
คณะกรรมการสรท. จึงได้พิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางบรรเทาปัญหาและช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกไทย และนำเรียนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ขอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณา “
ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ออกไป เนื่องจาก 1.1) จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งเป็นต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ประกอบการทั้งซัพพลายเชน 1.2) เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่น วัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น
2. ขอให้ ธปท. ดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นเพื่อ “
รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในระดับ 34-35 บาท/เหรียญสหรัฐฯ” หรือ “ที่ไม่แข็งค่าไปกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ”
3. ขอให้ ธปท. “
กำหนดมาตรการและเครื่องมือในการตรวจสอบ ติดตาม กระแสเงินไหลเข้าประเทศอย่างรวดเร็ว” รวมถึงขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินให้ติดตามข้อมูลการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (Non-resident Baht Account) จากสัญญาณของธุรกรรมการเงินต่างประเทศที่เริ่มมีความหนาแน่นกว่าปกติ
4. ขอให้ ธปท. และธนาคารพาณิชย์ พิจารณา “
อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการเลือกใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging)” อาทิ 5.1) จัดสรรหรือขยายวงเงินสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ประกอบการ ทั้งในรูปแบบของ Forward และ Option ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงที่ค่าเงินบาทมีความผันผวน 5.2) ขยายระยะเวลาในการทำประกันความเสี่ยง ทั้งในรูปแบบของ Forward และ Option ให้เหมาะสม 5.3) ออกแคมเปญช่วยเหลือและดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง อาทิ โครงการบริหารความเสี่ยง FX (Option ประกันค่าเงิน) สำหรับ SMEs เป็นต้น
5. ขอให้ ธปท. ร่วมกับ สรท. “
จัดกิจกรรมให้ความรู้ในทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรการและเครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท”.
JJNY : ‘ชญาภา’ จวกปมตำรวจ│โอละพ่อ! รัฐแอบขึ้นค่าไฟ│"สรท."วอนธปท.ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ-ส่งออก│นักข่าวรัสเซีย “ถูกยิงเข่า”
https://www.matichon.co.th/politics/news_3786505
‘ชญาภา’ จวกปมตำรวจให้บริการแบบวีไอพี เป็นปลาตัวเดียวเน่าทั้งข้อง เปิดสถิติเดือนเดียวตั้ง กก.สอบไป 6 ชุด แนะแก้ต้นเหตุ เหน็บ มัวแต่ง่วนกับการสร้างพรรคใหม่ เมินแก้ปัญหาทุนจีนสีเทา
เมื่อวันที่ 24 มกราคม น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) และผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรค พท. กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวนักท่องเที่ยวชาวจีนอ้างว่าใช้บริการวีไอพีจากตำรวจไทยพร้อมจ่ายเงินตอบแทนว่า เป็นอีกครั้งที่ตำรวจไทยบางส่วนทำงามหน้าประเทศ เป็นปลาตัวเดียวที่ทำให้วงการสีกากีเน่าไปทั้งข้อง ทำเกียรติภูมิของตำรวจไทยเสียหาย สะท้อนไปถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เหลวแหลก พฤติกรรมของตำรวจบางกลุ่มที่ถูกเปิดโปง ต้องยอมรับว่าหากหัวไม่สั่นหางคงไม่กระดิกใช่หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่สั่นคลอนระบบราชการภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องรับผิดด้วย อย่ารับแต่ชอบ
น.ส.ชญาภา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากี่กรณีแล้วที่พล.อ.ประยุทธ์ ปล่อยปละละเลยให้ธุรกิจสีเทาและทุนจีนสีเทาเฟื่องฟู ยาเสพติดระบาดเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง ระบบการส่งส่วยที่รับเงินสดแบบไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย เมื่อตรวจพบแต่ละครั้งก็ทำได้แค่ย้ายเข้ากรุ ตั้งคณะกรรมการสอบ โดยภายในเดือนมกราคม 2566 เพียงเดือนเดียวพบว่ามีการตั้งกรรมการสอบหน่วยงานของรัฐไปแล้ว 6 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง, กรณีพบส่วยในห้องทำงานข้าราชการระดับสูงกรมอุทยาน, กรณีตำรวจ 191 เรียกทรัพย์หลังค้นบ้านทุนจีนสีเทา, กรณีดีเอสไอกรณีเรียกทรัพย์ค้นบ้านทุนจีนสีเทา, กรณีเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ, กรณีช่วยเหลือคดีตู้ห่าว ซึ่งเพิ่มเติมจากเรื่องเก่าที่ยังไม่มีความคืบหน้า อย่างเรื่องเงินบริจาคของนายตู้ห่าวที่บริจาคให้พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จึงไม่อยากประเมินสถานการณ์ไปถึงอนาคตว่าประเทศไทยจะมีการตั้งคณะกรรมการไปอีกกี่ชุด ทั้งที่การแก้ไขที่ต้นเหตุสามารถทำได้ด้วยการมีผู้นำที่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา และเอาจริงเอาจังในการปราบปรามการทุจริตทุกรูปแบบมากกว่านี้ แต่พล.อ.ประยุทธ์กลับละเลย ฉายา 8 ปีที่แปดเปื้อน ที่สื่อตั้งให้คงสมฉายาแล้ว
“การบริหารประเทศในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำนาจพิเศษ มาตรา 44 ปกครองประเทศมา 5 ปีโดยไร้การตรวจสอบ ยังปล่อยปละละเลยกรณีทุนจีนสีเทาของนายตู้ห่าวจึงเป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายบริหารจะไม่รับรู้ รัฐธรรมนูญปราบโกง รัฐธรรมนูญคนดี มาถึงวันนี้บ้านเมืองเต็มไปด้วยธุรกิจสีเทา ยาเสพติดระบาด แต่เหมือนพล.อ.ประยุทธ์จะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ยังง่วนกับการสร้างพรรค หวังอยากอยู่ในอำนาจต่อไปอีก ยังไม่ยอมตรวจสอบกรณีที่บริษัทของหลานชายได้งานของรัฐจำนวนมาก ถือเป็นการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ ไร้ประสิทธิภาพ นี่หรือคือการเมืองที่พล.อ.ประยุทธ์เพรียกหา ซึ่งล้มเหลวสิ้นเชิง” น.ส.ชญาภา กล่าว
โอละพ่อ! รัฐแอบขึ้นค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 151-500 หน่วย ซ้ำเติม ปชช.
https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/554000
โอละพ่อ! รัฐแอบขึ้นค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 151-500 หน่วย ซ้ำเติมประชาชน หลัง กบง. มีมติออกมาตรการแสร้งช่วยเหลือลดค่าไฟประจำเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566
จากมติของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2566 สำหรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) ซึ่งเรียกเก็บที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยกลุ่มเปราะบาง ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ประมาณ 19.66 ล้านราย ประกอบด้วย
จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่ 1-150 หน่วย ส่วนลดค่าไฟฟ้า 92.04 สตางค์ต่อหน่วย ขณะที่จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่ 151-300 หน่วย ส่วนลดค่าไฟฟ้า 67.04 สตางค์ต่อหน่วย วงเงินช่วยเหลือประมาณ 7,500 ล้านบาทนั้น
แหล่งข่าว กล่าวถึงมาตรการดังกล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวหากดูในรายละเอียดจะพบว่า มีการขึ้นค่าไฟในส่วนของกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟตั้งแต่ 151-300 หน่วยต่อเดือน อีก 25 สตางค์ต่อหน่วย เท่ากับว่ากลุ่มนี้จะต้องจ่ายค่าไฟประมาณ 4 บาทต่อหน่วย ไม่ได้จ่ายราคาเดิมคือประมาณ 3.70 บาทต่อหน่วยเช่นเดียวกับกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟระหว่าง 1-150 หน่วยต่อเดือน
ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อเสนอของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่เสนอต่อ กบง. ขณะเดียวกันยังยกเลิกส่วนลดค่าไฟ 15-75% เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ไฟตั้งแต่ 301-500 หน่วยด้วย เท่ากับว่ามาตรการช่วยเหลือค่าไฟของรัฐบาลครั้งนี้มีการปรับรูปแบบ กลุ่มผู้ใช้ไฟตั้งแต่ 151-500 หน่วยต่อเดือนจะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มแน่นอนในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 แม้จะใช้ไฟเท่าเดิม
สำหรับมาตรการช่วยค่าไฟเดิมของงวดเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2565 ได้ตรึงค่าไฟ 3.70 บาทต่อหน่วยต่อเดือน โดยผู้ใช้ไฟกลุ่มเปราะบาง 1-300 หน่วย รวม 19.6 ล้านครัวเรือน ขณะที่กลุ่มใช้ไฟตั้งแต่ 301-500 หน่วย มีจำนวน 2.1 ล้านครัวเรือน
แต่มติกบง.ล่าสุดนี้ตรึงค่าไฟให้กลุ่มเปราะบาง 0-150 หน่วยต่อเดือน เพียง 14.7 ล้านครัวเรือน ขณะที่กลุ่มใช้ตั้งแต่ 151-300 หน่วยต่อเดือน จำนวน 4.9 ล้านครัวเรือนค่าไฟจะแพงขึ้นเพราะต้องจ่าย 4 บาทต่อหน่วย ขณะที่กลุ่มที่ใช้ตั้งแต่ 301-500 หน่วย จำนวน 2.1 ล้านครัวเรือน จะต้องจ่ายค่าไฟในอัตรา 4.72 บาทต่อหน่วยตามราคาปัจจุบัน
รายงานข่าวระบุว่า แนวทางการช่วยค่าไฟที่ กบง.เคาะครั้งนี้คือแนวทางที่ 3 จาก 4 แนวทางที่ กกพ.เสนอ ประกอบด้วย
• ลดค่าไฟเช่นเดียวกับงวดตุลาคม-ธันวาคม2566 ใช้วงเงิน 9,700 ล้านบาท
• ช่วยกลุ่ม 150 หน่วยแรกเท่าเดิมและปรับปรุงกลุ่ม151-500หน่วย วงเงิน 8,000 ล้านบาท
• ช่วยเฉพาะ 300 หน่วยแรก วงเงิน 7,500 ล้านบาท
• ช่วยครึ่งหนึ่งของกรณีศึกษา1 วงเงิน 4,800 ล้านบาท
สาเหตุของมติ กบง.ที่ลดการช่วยเหลือค่าไฟให้กลุ่มเปราะบางและเลิกช่วยประชาชนที่ใช้ไฟไม่ถึง 500 หน่วยต่อเดือน ทั้งที่เป็นมติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นั้น
มาจาก กกพ.มีความเห็นว่า แนวทางการช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟไม่ต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือนตามข้อเสนอของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ที่เสนอให้เพิ่มการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยโดยไม่ผ่านกระบวนการแยกก๊าซของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ(bypass gas)
แทนการจัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยกกพ.เห็นว่า ตามกฎหมายไม่น่าจะสอดคล้องกับมติ กพช. เพราะเป็นการลดต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติไปยังผู้ใช้ก๊าซฯทุกราย ไม่ได้เจาะจงกลุ่มเปราะบางโดยตรง
แต่หาก กบง.จะดำเนินการช่วยรูปแบบเดิมจะต้องเสนอ กพช.ให้มีมติสั่งการ กกพ.อีกครั้ง สรุปคือ กกพ.ไม่คัดค้าน แต่ก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องนี้ กบง.ในส่วนของ กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) พยายามคัดค้านแล้ว แต่กกพ.ยังยืนยันว่าตามกฎหมายทำไม่ได้
นอกจากจากความเห็นประเด็น bypass gas ของ กกพ.แล้ว ยังพบข้อจำกัดเรื่องงบประมาณเร่งด่วน เพราะเดิม กพช.ได้กำหนดให้ ปตท. สนับสนุนเงิน 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โรงแยกก๊าซธรรมชาติ 4,000 ล้านบาท และ bypass gas 2,000 ล้านบาท
ขณะที่อีก 1,500 ล้านบาทกระทรวงพลังงานเสนอขอใช้จากงบกลาง 2566 แต่จากความเห็น กกพ.ที่ไม่สามารถได้เงินจากbypass gas 2,000 ล้านบาทได้ ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเพิ่มวงเงินของบกลางเป็น 3,500 ล้านบาท ขณะที่งบกลางมีจำกัด ทำให้กระทรวงพลังงานค่อนข้างกังวลกับเรื่องนี้
"มติของกกพ.เกิดขึ้นวันที่ 18 มกราคมช่วงเช้า จากนั้นนำเข้า กบง.ช่วงเย็นวันที่ 18 มกราคม หากกบง.ไม่เห็นชอบตามมติ กกพ. และเลือกเสนอ กพช. จะทำให้กระบวนการช่วยค่าไฟกลับไปเริ่มใหม่ และหากไม่เลือกตามแนวทางที่ กกพ.เสนอ งบประมาณจะยิ่งเกิดปัญหา"
โดยกระทรวงพลังงานต้องการช่วยตามกรณีศึกษา 1 คือ ช่วยเหมือนเดิม 1-500 หน่วย วงเงิน 9,700 ล้านบาท แต่งบกลางไม่พอเพราะต้องใช้สูงถึง 5,700 ล้านบาท เพราะปตท.ไม่สามารถนำเงินมาช่วยได้แล้ว เนื่องจากติดข้อกฎหมายตามที่กกพ.ตั้งข้อสังเกต
"สรท." วอน ธปท. ร่วมแก้ปัญหาบาทแข็งค่า ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ-ส่งออก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3786504
“สรท.” วอน ธปท. ร่วมแก้ปัญหาบาทแข็งค่า ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ-ส่งออก
เมื่อวันที่ 24 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ออกหนังสือถึงสื่อมวลชน โดยระบุว่า ได้รับทราบปัญหาการดำเนินธุรกิจจากสมาชิกซึ่งได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ผลิตเพื่อส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศในสัดส่วนสูง อาทิ กลุ่มสินค้าผักและผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง กระป๋องและแปรรูป ซึ่งสามารถส่งออกเติบโตในปี 2564 ซึ่งค่าเงินบาทอ่อนค่า แต่มูลค่าส่งออกกลับมาหดตัวในไตรมาส 3-4 ของปี 2565 และต่อเนื่องไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อค่าเงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่า โดยการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลต่อการกำหนดราคาและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในประเทศที่ค่าเงินอ่อนกว่าไทย ทั้งการทำสัญญาซื้อขายในปัจจุบันและตลอดปี 2566 ดังนั้น หากไม่สามารถรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าที่มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศในสัดส่วนสูงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
คณะกรรมการสรท. จึงได้พิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางบรรเทาปัญหาและช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกไทย และนำเรียนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ขอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณา “ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ออกไป เนื่องจาก 1.1) จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งเป็นต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ประกอบการทั้งซัพพลายเชน 1.2) เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่น วัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น
2. ขอให้ ธปท. ดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นเพื่อ “รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในระดับ 34-35 บาท/เหรียญสหรัฐฯ” หรือ “ที่ไม่แข็งค่าไปกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ”
3. ขอให้ ธปท. “กำหนดมาตรการและเครื่องมือในการตรวจสอบ ติดตาม กระแสเงินไหลเข้าประเทศอย่างรวดเร็ว” รวมถึงขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินให้ติดตามข้อมูลการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (Non-resident Baht Account) จากสัญญาณของธุรกรรมการเงินต่างประเทศที่เริ่มมีความหนาแน่นกว่าปกติ
4. ขอให้ ธปท. และธนาคารพาณิชย์ พิจารณา “อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการเลือกใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging)” อาทิ 5.1) จัดสรรหรือขยายวงเงินสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ประกอบการ ทั้งในรูปแบบของ Forward และ Option ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงที่ค่าเงินบาทมีความผันผวน 5.2) ขยายระยะเวลาในการทำประกันความเสี่ยง ทั้งในรูปแบบของ Forward และ Option ให้เหมาะสม 5.3) ออกแคมเปญช่วยเหลือและดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง อาทิ โครงการบริหารความเสี่ยง FX (Option ประกันค่าเงิน) สำหรับ SMEs เป็นต้น
5. ขอให้ ธปท. ร่วมกับ สรท. “จัดกิจกรรมให้ความรู้ในทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรการและเครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท”.