ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องคร่อมภพคร่อมชาติ แบบใหน?

จากกระทู้ http://ppantip.com/topic/30440970  ในข้อความของคุณคนดู ใน คคห. ที่ 33

   ถูกใจ  แต่ตรงข้อความนี้ ย่อมเกิดปัญหาได้ ครับ
-------------------
   ดังนั้น  ใครที่ยังกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องคร่อมภพคร่อมชาติ  ผู้นั้นยังห่างไกลคำว่า  "โสดาบัน"  อยู่อีกมากครับ ...
-------------------

ปัญหาคือ  คร่อมภพคร่อมชาติแบบใหน  ซึ่งมี 2 กรณี ที่ผมตั้งข้อสังเกตุไว้ดังนี้.

   กรณีที่ 1.  คือ  ช่วง (อวิชชา> สังขาร> วิญญาณ> นามรูป> สฬายตนะ> ผัสสะ>  เวทนา> ตัณหา> อุปปาทาน> ภพ> ชาติ> ชรา) แล้วหยุดอยู่เพียงแค่นี้ สำหรับภพปัจจุบัน  จะเกิดภพใหม่ หรือชาติใหม่ ก็ต้องตายไปก่อน คือเกิด มรณะ  

   กรณีที่ 2. คือ ปฏิจสมุทปบาท นั้นเกิดขึ้นเนื่องๆ ตลอดสายเป็นวัฏจักรวนอยู่ ในชีวิตหนึ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลสืบเนื่องกันโดยตลอดไม่ขาดช่วง เมื่อกำลังสิ้นชีวิต แต่เมื่อยังมีอวิชชาเป็นปัจจัยอยู่  อวิชชานั้นแหละ เป็นคตินำไปเกิด เป็นสังขารใหม่ วิญญาณใหม่. เปรียบดัง วงกลม เล็ก กลาง ใหญ่ ทีช้อนกันอยู่ และมีเหตุปัจจัยร่วมกันเกิด มีจุดร่วมหรือจุดสัมผัสเดียวกัน คือ อวิชชา แต่ถ้ายกจากพุทธพจน์จะมี วัฏจักร หรือวงกลม ซ้อนกันมากกว่านี้มากนัก  

   สรุป
       กรณีที่ 1. ถ้าแบ่งช่วง ปฏิจสมุทปบาท ออกเป็นช่วงๆ ดังที่ผมแบ่ง หรืออาจจะแบ่ง ช่วงที่สั้นกว่านี้ เป็นคนละชีวิต หรือคนละชาติที่เกิดตายจริงๆ คือแบบคร่อม ชาติ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการเข้าใจ ที่ไม่ตรงกับที่ผมรู้ ผมเข้าใจ    
       กรณีที่ 2. ถ้าเข้าใจว่า ปฏิจสมุทปบาท เป็นปัจจัยกันตลอดสาย หรือจะสั้นกว่าบ้างก็ตามแต่ ซึ่งเกิดเนื่องๆ ในชีวิตหนึ่งเป็นปัจจัยกันไม่เคยขาดสาย  ไม่ว่าจะสั้นกว่าตรงจุดใหน ณ.ตรงจุดนั้นก็เป็นปัจจัยให้ เกิด อวิชชา ได้ทุกตำแหน่ง เมื่อยังไม่เกิดปัญญาญาณดับอวิชชาได้อย่างสิ้นเชิง  ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็ถือว่าเป็นการเข้าใจ ตรงกับที่รู้ ผมเข้าใจ.

   ข้อมูลจากพระไตรปิฏก ที่กล่าวถึง การเวียน เกิด-ดาย ในพระไตรปิฏก และเป็นวัฏจักร ซ้อนก้น หรือวงกลมหลายวงที่มีจุดสัมผัสเดียวกัน คือ อวิชชา ดังใน พระไตรปิฏกเล่มที่ 16
-------------------------------------------------------------
                          ๒ วิภังคสูตร
    [๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจ
สมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาท นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
       [๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป   เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย    จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส  ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
       [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด
ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ  เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความ
ทำลาย ความอันตรธาน  มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ
ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ
ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
        [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง  เกิด  เกิดจำเพาะ  ความ
ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
        [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ    นี้เรียกว่าภพ ฯ

        [๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน   สีลพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
        [๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา  คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ
        [๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัส
สชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา   กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา
เวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
        [๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส    โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ
        [๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ      นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ
        [๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ   นี้เรียกว่านาม มหา
ภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและ   รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านาม
รูป ฯ
        [๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ   โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า   วิญญาณ ฯ
        [๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร  จิตสังขาร นี้เรียก
ว่าสังขาร ฯ
        [๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้
ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
         [๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง ดับ เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
                              จบสูตรที่ ๒
--------------------------

ต่อไปก็ดูความหมายของการ เวียนว่าย ตาย-เกิด ในส่วนของพระสารีบุตร ดังใน พระไตรปิฏกเล่มที่ 12
-----------------------------
                 เรื่องภพและฌาน
         [๔๙๘] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ภพมีเท่าไร?
         สา. ภพมี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ.
         ก. ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต มีได้อย่างไร?
         สา. ความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกัน มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตมีได้อย่างนี้.

         ก. ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จะไม่มีอย่างไร?
         สา. เพราะความสิ้นแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชา และเพราะความดับแห่ง
ตัณหา อย่างนี้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จึงจะไม่มี.
--------------------------

     อธิบาย ซึ่งพระพุทธเจ้า และพระสาวก กล่าวตรงกัน ในเรื่อง ภพ-ชาติ หรือปฏิจสมุทปบาท ดังนี้.

จากพุทธพจน์.....
        [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง  เกิด  เกิดจำเพาะ  ความ
ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
        [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ    นี้เรียกว่าภพ ฯ


จากพระสารีบุตร...
        สา. ความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกัน มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตมีได้อย่างนี้.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่