พอดีไปอ่านรายงานที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานให้ ครม.ทราบ เกี่ยวกับโครงการโชห่วยช่วยชาติ "ร้านถูกใจ" ก็เลยเกิดความสงสัย ในวิธีการทำรายงานของกระทรวงพาณิชย์ ยุคที่มีรมว.ชื่อบุญทรง รมช.ชื่อณัฐวุฒิ
ขอยกรายงานข้อ 2 และข้อ 3 มาก่อน เพื่อขอความเห็นว่า ผมเข้าใจอะไรผิดหรือป่าว
ผมขอสรุปความเข้าใจแบบนี้นะครับ
2.1.2 ข้าวถุง 5 กก.ขายได้สัปดาห์ละ 500,000 ถุง ราคาขายถุงละ 70 บาท (ราคาต้นทุนของร้านค้า ผมให้ประมาณ 50 บาท หรือ กก.ละ 10 บาท(ตันละ 1 หมื่นบาท) เพื่อคิดง่าย)
หมายความว่า โครงการสามารถขายข้าวให้ร้านถูกใจสัปดาห์ละ 2.5 ล้าน กก. เป็นเงินมูลค่า 25 ล้านบาท / สัปดาห์
เดือนนึง ก็ 100 ล้านบาท
โครงการ 10 เดือน ก็ 1,000 ล้านบาท (หรือคิดเป็นข้าว 1 แสนตัน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อันนี้ไม่รู้ว่า ข้าวรัฐบาลอนุมัติไปทำข้าวถุงถูกใจ 500,000 ตัน แต่ทำขายได้แค่ 100,000 ตัน แต่กลับมีข่าวว่า มีการทำอนุมัติข้าวไปทำเพิ่มขึ้นจากที่อนุมัติไว้เดิมอีก อันนี้ก็ไม่รู้ว่า ตกลงเอาข้าวถุงไปขายที่ไหน
2.1.3 ร้านค้าถูกใจ มีการสั่งซื้อสินค้ารวมมูลค่า 2,557 ล้านบาท แต่ส่งของให้ร้านถูกใจได้แค่ 1,552 ล้านบาท หรือประมาณ 60% แค่นั้น
ก็สรุปว่า ร้านถูกใจมีปัญหาการจัดส่งสินค้าจริง ๆ มีคนอยากซื้อของ แต่ส่งของให้ไม่ได้ เพราะดูแล้วสินค้าขายดี คงไม่มีทางของขาดแน่ ๆ เพราะอนุมัติไว้เยอะกว่า ที่ขายได้เยอะ
2.2 ใช้เงินไปทั้งหมด 1,125 ล้านบาท จากเงินที่ได้รับไป 1,320 ล้านบาท ก็เหลือประมาณ 200 ล้านบาท
3.2 ข้อนี้เป็นจุดเด่นของรายงานฉบับนี้ ผมอ่านแล้ว คงเพราะผมความรู้น้อยเกินไป เลยตามตัวเลขไม่ทัน
ขายของได้ทั้งหมด 1,552 ล้านบาท
โดยการใช้เงินในการทำโครงการไป 1,125 ล้านบาท
แต่สามารถลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มรายได้ทางตรงประมาณ 2,370 ล้านบาท (มันมาจากไหน ตัวเลขนี้ ใครรู้ช่วยอธิบายหน่อยก็ดีครับ)
แล้วยังไม่พอ
เงินก้อนที่ลดภาระได้ รวมทั้งรายได้ทางตรงที่เพิ่มขึ้น จะถูกนำไปหมุนเวียนในระบบอีก 4 รอบ ทำให้มีเงินเพิ่มขึ้น 9,480 ล้านบาท เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 10,100 ล้านบาท
ถ้าหากตัวเลขนี้ไม่มีปัญหา ผมว่า อีกหน่อย ไม่ว่ารัฐบาลทำโครงการอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะล้มเหลวขนาดไหน ก็จะสามารถเอาสูตรนี้ไปใช้ ทำให้มันดูดีได้เสมอ
ขายของได้เงิน 1,552 ล้าน (ยังไม่รวมต้นทุนสินค้า) โดยใช้เงินในการบริหารจัดการไป 1,125 ล้าน แต่กลับสามารถทำให้มีกำไรในระบบ 2,370 ล้านบาทได้ แล้วยังไม่พอ คิดไปคิดมา ทำให้กลายเป็นมีเงินหมุนในระบบ 10,100 ล้านบาทได้
ใครอ่านแล้วเข้าใจที่มาที่ไป ก็รบกวนช่วยอธิบายหน่อยแล้วกันครับ
โครงการร้านถูกใจ : สำเร็จหรือล้มเหลว
ขอยกรายงานข้อ 2 และข้อ 3 มาก่อน เพื่อขอความเห็นว่า ผมเข้าใจอะไรผิดหรือป่าว
ผมขอสรุปความเข้าใจแบบนี้นะครับ
2.1.2 ข้าวถุง 5 กก.ขายได้สัปดาห์ละ 500,000 ถุง ราคาขายถุงละ 70 บาท (ราคาต้นทุนของร้านค้า ผมให้ประมาณ 50 บาท หรือ กก.ละ 10 บาท(ตันละ 1 หมื่นบาท) เพื่อคิดง่าย)
หมายความว่า โครงการสามารถขายข้าวให้ร้านถูกใจสัปดาห์ละ 2.5 ล้าน กก. เป็นเงินมูลค่า 25 ล้านบาท / สัปดาห์
เดือนนึง ก็ 100 ล้านบาท
โครงการ 10 เดือน ก็ 1,000 ล้านบาท (หรือคิดเป็นข้าว 1 แสนตัน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2.1.3 ร้านค้าถูกใจ มีการสั่งซื้อสินค้ารวมมูลค่า 2,557 ล้านบาท แต่ส่งของให้ร้านถูกใจได้แค่ 1,552 ล้านบาท หรือประมาณ 60% แค่นั้น
ก็สรุปว่า ร้านถูกใจมีปัญหาการจัดส่งสินค้าจริง ๆ มีคนอยากซื้อของ แต่ส่งของให้ไม่ได้ เพราะดูแล้วสินค้าขายดี คงไม่มีทางของขาดแน่ ๆ เพราะอนุมัติไว้เยอะกว่า ที่ขายได้เยอะ
2.2 ใช้เงินไปทั้งหมด 1,125 ล้านบาท จากเงินที่ได้รับไป 1,320 ล้านบาท ก็เหลือประมาณ 200 ล้านบาท
3.2 ข้อนี้เป็นจุดเด่นของรายงานฉบับนี้ ผมอ่านแล้ว คงเพราะผมความรู้น้อยเกินไป เลยตามตัวเลขไม่ทัน
ขายของได้ทั้งหมด 1,552 ล้านบาท
โดยการใช้เงินในการทำโครงการไป 1,125 ล้านบาท
แต่สามารถลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มรายได้ทางตรงประมาณ 2,370 ล้านบาท (มันมาจากไหน ตัวเลขนี้ ใครรู้ช่วยอธิบายหน่อยก็ดีครับ)
แล้วยังไม่พอ
เงินก้อนที่ลดภาระได้ รวมทั้งรายได้ทางตรงที่เพิ่มขึ้น จะถูกนำไปหมุนเวียนในระบบอีก 4 รอบ ทำให้มีเงินเพิ่มขึ้น 9,480 ล้านบาท เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 10,100 ล้านบาท
ถ้าหากตัวเลขนี้ไม่มีปัญหา ผมว่า อีกหน่อย ไม่ว่ารัฐบาลทำโครงการอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะล้มเหลวขนาดไหน ก็จะสามารถเอาสูตรนี้ไปใช้ ทำให้มันดูดีได้เสมอ
ขายของได้เงิน 1,552 ล้าน (ยังไม่รวมต้นทุนสินค้า) โดยใช้เงินในการบริหารจัดการไป 1,125 ล้าน แต่กลับสามารถทำให้มีกำไรในระบบ 2,370 ล้านบาทได้ แล้วยังไม่พอ คิดไปคิดมา ทำให้กลายเป็นมีเงินหมุนในระบบ 10,100 ล้านบาทได้
ใครอ่านแล้วเข้าใจที่มาที่ไป ก็รบกวนช่วยอธิบายหน่อยแล้วกันครับ