วิเคราะห์ริชชี่ กับ ภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม

หนังสือ "เดอะท็อปพาวเวอร์" ได้วิเคราะห์ทางจิตวิทยาไว้ว่า ความคิดเป็นเรื่องของสมอง ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ

นางเอกคู่กรรม เล่นด้วยความคิดว่าตัวเองเป็นอังศุมาลิน แต่ ไม่รู้สึกเชื่อว่าตัวเองคืออังศุมาลิน

เคยมีนักข่าวถาม ทอม แฮงค์ ว่า ตอนที่คุณเล่นเรื่อง Cast away  คุณเชื่อหรือไม่ว่า คุณติดเกาะจริงๆ

ทอม แฮงค์ ตอบว่า  ถ้าตัวผมเองยังไม่เชื่อ  แล้วคนดู จะเชื่อได้อย่างไร

เช่นเดียวกัน ตลอดเวลาที่ดูคู่กรรมสองชั่วโมง คนดูไม่รู้สึกเลยว่า นางเอกคือ อังศุมาลิน เพราะเธอเล่นด้วยความคิด

แต่สำหรับ ณเดช เขาสามารถทำให้คนดูเชื่อได้ว่า เขาคิอทหารญี่ปุ่น ที่มาหลงรักสาวไทย

ตอนที่โกโบริ ติดอยู่ในกองซากระเบิด แล้วหมอไม่ยอมช่วย ได้ยินคนในโรงต่อว่าทิ้งเพื่อนได้ยังไง  แบบว่าคงอินจัด

หนังเรื่องคู่กรรม ที่ได้ดูมา  มีอยู่เพียง 3 คนที่ทำให้คนดูเชื่อว่า เขาเป็นตัวตนในภาพยนตร์จริงๆ คือ หมอ  ผู้บังคับบัญชาโกโบริ และ ตัวโกโบริ

ส่วนตัวประกอบที่เหลือ ล้วนเล่นด้วยความคิด ไม่ได้เล่นด้วยจิตวิญญาณ

ที่สำคัญ คนที่คุมนักแสดงทั้งหมด คือ ผู้กำกับ ก็กำกับด้วยความคิด ไม่ใช่ความรู้สึก

ศาสตราจารย์ ศิลป์  พีระศรี ได้สอนย้ำกับนักศึกษา อยู่บ่อยๆว่า "ขณะทำงานศิลป์เธอต้องรู้สึกด้วย ไม่ใช่แค่คิด"

ดวงตา คือ หน้าต่างของตวงใจ  อารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในจิตทั้งหมด จะแสดงออกทางดวงตาชัดที่สุด

ดังนั้น ถ้าเล่นด้วยความเชื่อ แค่มองตา ก็รู้แล้วว่า นักแสดงสวมวิญญาณของตัวละครจริงๆ  เหมือนเรื่องพี่มาก พระโขนง แค่มองตานางเอกตอนขู่ ก็รู้เลยว่า วิญญาณแม่นาคได้เข้าสิงเธอแล้ว

แต่แววตาของนางเอกคู่กรรม ว่างเปล่าที่สุด นับแต่ต้นเรื่อง ยันท้ายเรื่อง

ความสำคัญของ อังศุมาลิน พอๆกับ แม่นาค   และ โกโบริ พอๆ กับพี่มาก   ถ้ารับส่งบทกันได้สูสี หนังจะสนุกมาก

แต่สำหรับคู่กรรม  เหมือนดู ภราดร ตีเทนนิส กับนักเรียน ม.ปลาย ที่ไม่เคยเล่นเทนนิสมาก่อนเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่